กรุงเทพ--31 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
แถลงข่าวร่วม ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-ลาวอย่างไม่เป็นทางการ ที่เมืองปากเซ
แขวงจำปาสัก และจังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 20 มีนาคม 2547
1. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ มิตรภาพและความร่วมมืออันดี ฯพณฯ บุนยัง วอละจิด นายก
รัฐมนตรี
แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ ฯพณฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราช
อาณาจักรไทย ได้ตกลง จัดการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-ลาวอย่างไม่เป็นทางการ ที่เมืองปากเซ แขวง
จำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ราชอาณาจักรไทยใน
วันที่ 20 มีนาคม 2547
2. คณะรัฐบาลลาวและคณะรัฐบาลไทยได้แสดงความพึงพอใจที่เห็นว่า ความสัมพันธ์ มิตรภาพ
และ
ความร่วมมือในหลายด้านระหว่างราชอาณาจักรไทยกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในระยะที่ผ่าน
มาได้ขยายตัวอย่างสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานที่ระบุไว้ในแถลงการณ์ร่วมฉบับลงวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1976
วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1979 วันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1979 และ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 รวมทั้ง
สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กับราชอาณาจักรไทย ฉบับ
ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 และตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชนไทย-ลาว
3. การประชุมได้ดำเนินไปในบรรยากาศแห่งไมตรีจิตมิตรภาพและความ เข้าใจซึ่งกันและกัน
อย่าง
ยิ่ง ฉันบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีสายสัมพันธ์กันมาแต่โบราณกาล ผู้นำรัฐบาลของทั้งสองประเทศได้ยืนยัน
เจตนารมณ์ในการกำหนดนโยบายพื้นฐานและแผนความร่วมมือระหว่างไทย-ลาวในระยะใหม่ ในโอกาสนี้ สอง
ฝ่ายได้ลงนามสัญญาและความตกลงร่วมกัน ได้แก่สนธิสัญญาว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและ ความร่วม
มือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา ความตกลงว่าด้วย กรอบความร่วมมือในการพัฒนา
เศรษฐกิจไทย-ลาว ความตกลงว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหืองไทย-ลาว บันทึกความเข้าใจ
ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการไทย-ลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา สัญญาเงินกู้โครงการก่อสร้างทาง
รถไฟจากสะพานมิตรภาพ-ท่านาแล้ง สัญญาเดินรถโดยสารประจำทางไทย-ลาวระหว่างบริษัทขนส่ง จำกัด กับ
รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองคู่แฝด
ระหว่างแขวงสะหวันนะเขตและจังหวัดมุกดาหาร
4. การประชุมครั้งนี้ได้ทบทวนความก้าวหน้าและวางแนวทางในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง
ราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในระยะใหม่ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความพึงพอใจที่
ความสัมพันธ์ มิตรภาพ และความร่วมมือระหว่างไทย-ลาวได้ก้าวหน้าดียิ่งขึ้น ทั้งในกรอบทวิภาคี ไตรภาคีและ
พหุภาคี ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
5. ด้านการเมืองและความมั่นคง
5.1 สองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อขยายความสัมพันธ์ มิตรภาพและความ
ร่วม
มือระหว่างประเทศทั้งสองให้ก้าวสู่ระยะใหม่และแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายสนใจร่วม
กัน ทั้งทางด้านการเมืองและ ความมั่นคง
5.2 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ ความร่วมมือ และส่งเสริมความเข้าอก เข้าใจกัน
ให้ดี
ยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันกำหนดมาตรการที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพเพื่อสกัดกั้นและขัดขวางการเคลื่อนไหว
ของคนที่ไม่หวังดีต่อความสัมพันธ์ไทย-ลาว ตามบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ ทั้งสองฝ่ายจะไม่ยินยอมให้
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ไม่หวังดีมาใช้พื้นที่ภายใต้เขตอธิปไตยของฝ่ายใดฝายหนึ่งเคลื่อนไหวเพื่อโจมตีหรือบ่อน
ทำลายอีกฝ่าย และจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาบุคคลผู้ไม่หวังดีต่อความสัมพันธ์ไทย-ลาวภายในขอบเขตกฎหมาย
ของแต่ละฝ่าย ตลอดจนหลักการและกฎหมายระหว่างประเทศ ในกรณีที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้ตั้งถิ่น
ฐานอยู่บริเวณชายแดนร่วม ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันแก้ไขโดยเร็ว ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้จัดจุดที่ตั้งทางทหารที่จำ
เป็นตามบริเวณชายแดนระหว่างแขวงและจังหวัดชายแดนให้เท่าเทียมกันตามความตกลง ว่าด้วยความร่วมมือ
ด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย-ลาว
5.3 ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนให้คณะกรรมการร่วมไทย-ลาวเพื่อดูแลการดำเนิน
กิจกรรมต่างๆ
ตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองเป็นกลไกเดียวที่รับผิดชอบการพิจารณาปัญหาผลกระทบต่อตลิ่งและฝั่งรวมทั้งระบบ
นิเวศวิทยาอันเนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมของแต่ละฝ่าย
5.4 ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความพึงพอใจต่อผลการสำรวจและจัดทำ หลักเขตแดนใน
ระยะ
ที่ผ่านมาที่ได้มีผลสำเร็จพอสมควร อย่างไรก็ดี โดยที่การสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนยังไม่แล้วเสร็จตาม
แผนที่ได้กำหนดไว้ สองฝ่ายจึงได้ตกลง กำหนดเป้าหมายให้การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกให้แล้ว
เสร็จภายในปี 2547 และทางน้ำในปี 2548 บนพื้นฐานหลักการต่าง ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายได้รับรองแล้วเพื่อให้ชาย
แดนระหว่างสองประเทศเป็นชายแดนแห่งสันติภาพ มิตรภาพและความร่วมมืออย่าง แท้จริง 5.5 ฝ่ายลาวชื่น
ชมนโยบายของรัฐบาลไทยในการประกาศสงครามต่อต้านยาเสพติดอย่างเด็ดขาดและต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลดีต่อ
ฝ่ายลาวเช่นกัน ในการนี้ สองฝ่ายจะร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อขจัดปัญหายาเสพติดให้หมดสิ้นไป โดยจะ
กระชับความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนการฝึกอบรม โดยฝ่ายไทยได้เสนอให้มี
การพัฒนาโครงสร้างและกลไกทางด้านกฎหมายซึ่งจะเป็น เครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้
อย่างจริงจัง
5.6 ทั้งสองฝ่ายจะเพิ่มช่องทางผ่านแดนระหว่างกันเพื่ออำนวยความสะดวกด้าน
การค้า
การลงทุน การท่องเที่ยวและการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชน และรับทราบด้วยความยินดีที่ฝ่ายลาวจะยกระดับ
ด่านปากซัน แขวงบอลิไซ ตรงข้ามอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายขึ้นเป็นด่านสากลในช่วงสงกรานต์ ปี 2547
และ ยกระดับด่านคอนผึ้ง เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ตรงข้ามด่านปากห้วย อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ขึ้น
เป็นด่านสากลก่อนโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว แล้วเสร็จเพื่อรองรับการเปิดใช้สะพาน
5.7 ฝ่ายไทยยินดีสนับสนุนที่ฝ่ายลาวจะยกเว้นการตรวจลงตรา สำหรับบุคคล
สัญชาติไทย
ที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดา เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป
6. ด้านเศรษฐกิจ
6.1 สองฝ่ายเห็นชอบให้คงมีความร่วมมือด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งฝ่ายไทย
จะยัง
คงใช้หลักการจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement | PPA) เป็นพื้นฐานในการรับซื้อ
ไฟฟ้าจากลาวและให้กลุ่มผู้ลงทุนเริ่มเจรจากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเรื่อง PPA ได้สำหรับ
โครงการน้ำงึม 2 โครงการน้ำงึม 3 โครงการหงสาลิกไนต์ โครงการน้ำเทิน-หินบูน + น้ำเทิน 3 และ
โครงการน้ำเงี๊ยบ เมื่อโครงการใดพร้อมก่อน และเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานในระยะยาวร่วมกัน
1.2 เพื่อให้การค้าเป็นปัจจัยส่งเสริมการผลิตในลาว นอกจากจะได้ ให้สิทธิพิเศษ
ทาง
ภาษีศุลกากรสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences |
AISP) แก่ลาวจำนวน 179 รายการและยกเว้นอากรขาเข้าในลักษณะ One Way Free Trade แก่สินค้า
เกษตรจากลาวจำนวน 9 รายการ (ถั่วเหลือง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ละหุ่ง ถั่วลิสง เม็ดมะม่วง
หิมพานต์ มันฝรั่ง ไม้ยูคาลิปตัส และลูกเดือย) แล้ว ฝ่ายไทยยังรับที่จะพิจารณาคำขอของฝ่ายลาวให้ยกเว้น
อากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ One Way Free Trade แก่สินค้าเกษตรที่ฝ่ายลาวที่มีความสามารถในการส่ง
ออกได้จริงอีกจำนวน 16 รายการ ได้แก่ กะหล่ำปลี พืชผัก (มะระหวาน ยอดมะระหวาน และผักกาดน้ำ)
ตระกูลมีฝัก (ถั่วแขก ถั่วเขียว) มะเขือเทศ ใบยาสูบ (3 รายการ) ลูกตาว งา เมล็ดกาแฟ กาแฟคั่ว ข้าว
เปลือก ข้าวสาร หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบ และไม้อัด ทั้งนี้ สองฝ่ายได้ยืนยันว่าจะร่วมกันอำนวยความสะดวก
ด้านการค้าระหว่าง สองประเทศและฝ่ายไทยจะเร่งรัดให้มีการปฏิบัติตามความตกลงอย่างเป็นรูปธรรม โดย
เร็ว
6.3 ที่ประชุมยังได้แสดงความยินดีที่หน่วยงานประจำด่านชายแดน ของทั้งสอง
ประเทศมี
แผนความร่วมมือเพื่อให้มีการบริการอย่างรวดเร็วเพื่ออำนวย ความสะดวกแก่การขนส่งสินค้าและการเดินทาง
ของนักท่องเที่ยวยิ่งขึ้น
6.4 สองฝ่ายได้แสดงความยินดีต่อการดำเนินการตามความตกลง ว่าด้วยการขน
ส่งทาง
ถนนไทย-ลาวซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2547 เป็นต้นมาโดย ได้เปิดเสรีผู้ประกอบการขนส่งทางถนนไทย-
ลาวเพิ่มจากเดิม 5 รายเป็น 44 รายและ ยังเปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจมาขออนุญาตเพิ่มเติมได้อีก สอง
ฝ่ายเห็นพ้องกันว่า จะแจ้งรายละเอียดของการจัดเก็บค่าบริการต่าง ๆ ของภาครัฐให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบและ
ยินดีจะพิจารณาลดหรือยกเลิกค่าธรรมเนียมดังกล่าวเพื่อทำให้ค่าขนส่งลดลง รวมทั้ง จะร่วมกันแก้ไขปัญหา
อุปสรรคด้านการขนส่งต่าง ๆ นอกจากนั้น สองฝ่ายพร้อมที่จะเปิดให้บริการเดินรถโดยสารประจำทางเส้นทาง
หนองคาย-เวียงจันทน์ และอุดรธานี- เวียงจันทน์ ซึ่งได้มีการลงนามสัญญาเดินรถดังกล่าวในช่วงการประชุม
และจะพิจารณาขยายเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางระหว่างอุบลราชธานี-จำปาสักในระยะต่อไป
6.5 ที่ประชุมรับทราบด้วยความยินดีว่า ฝ่ายไทยได้ปรับกฎระเบียบ เพื่ออำนวย
ความ
สะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดนให้สามารถขนส่งได้เพิ่มเติมที่ด่านศุลกากรนครพนม มุกดาหาร พิบูลมังสาหาร
เชียงแสน เชียงของ บึงกาฬ ท่าลี่ และ ทุ่งช้าง โดยไม่ต้องเปิดตรวจตู้สินค้า รวมทั้งรับทราบคำขอของฝ่าย
ลาวให้สามารถใช้ ทุกเส้นทางผ่านแดนและทุกจุดผ่านแดนถาวรระหว่างไทย-ลาวไปยังท่าเรือในประเทศไทย
การบรรทุกสินค้าหลายชนิดในรถขนส่งคันเดียวกัน การยกเลิกค่าธรรมเนียมสำหรับ สินค้าผ่านแดน และ
การมอบให้สมาคมขนส่งเป็นผู้ค้ำประกันสินค้าผ่านแดน
6.6 สองฝ่ายแสดงความยินดีที่กระทรวงคมนาคมของทั้งสองประเทศ ได้มีความ
ร่วมมือ
กันด้วยดีตลอดมา ในการประชุมครั้งนี้ สองประเทศได้ลงนามในสัญญาโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟไทย-
ลาวสายแรกจากกึ่งกลางสะพานมิตรภาพถึงสถานี ท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ ที่ประชุมยังได้รับทราบผล
การเจรจาและเห็นชอบ ในหลักการเกี่ยวกับแนวทางดำเนินโครงการพัฒนาสนามบินวัดไตในวงเงิน 320 ล้าน
บาท โครงการพัฒนาสนามบินปากเซ ในวงเงิน 320 ล้านบาท และโครงการขุดร่องระบายน้ำและปรับปรุงถนน
สาย T2 ในนครหลวงเวียงจันทน์ในวงเงิน 160 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า จะสามารถลงนามร่วมกันในโอกาสอัน
ใกล้นี้ โดยให้ความสำคัญในลำดับต้นกับโครงการปรับปรุงสนามบินวัดไต ในการนี้ ฝ่ายลาวรับที่จะอำนวยความ
สะดวกด้านการขนส่ง และยกเว้นภาษีวัสดุ/อุปกรณ์ก่อสร้างและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถดำเนินการ
ให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2547
6.7 ที่ประชุมได้แสดงความยินดีที่จะมีพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานข้าม แม่น้ำโขง
มุกดาหาร-
สะหวันนะเขต เพื่อเชื่อมโยงแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และในส่วนการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยง
ไทย-ลาว-จีน (R 3) ในแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ที่ประชุมแสดงความยินดีที่รัฐบาลไทยเห็นชอบในหลัก
การที่จะพิจารณาสนับสนุน งบประมาณร้อยละ 50 ของวงเงินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่าง
เชียงของ จังหวัดเชียงราย กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว นอกจากนั้น ฝ่ายไทยได้ส่งมอบผลการศึกษาผล
กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการออกแบบรายละเอียดเส้นทางห้วยโก๋น-ปากแบ่งในการประชุมครั้งนี้ พร้อมกันนี้ ที่
ประชุมได้แสดงความยินดีที่รัฐบาลไทยได้อนุมัติ งบประมาณเพื่อก่อสร้างทางลาดขึ้น-ลง (RAMP) บริเวณท่า
เทียบเรือแขวงคำม่วนและโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมท่าเทียบเรือแขวงคำม่วน- ถนนหมายเลข 13 ระยะทาง
1.85 กิโลเมตรซึ่งรัฐบาลไทยได้สนับสนุนงบประมาณในวงเงิน 34.365 ล้านบาท และ 29.825 ล้านบาท
ตามลำดับ และยังได้ให้ความเห็นชอบในหลักการที่จะพิจารณาสนับสนุน งบประมาณก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ
โขงระหว่างนครพนม-คำม่วน
6.8 ที่ประชุมได้แสดงความยินดีและสนับสนุนให้มีการศึกษาความ เป็นไปได้ในการ
พัฒนา
สนามบินสะหวันนะเขตเพื่อให้สองประเทศได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันตามทิศทางการส่งเสริมความร่วมมือแนวพื้นที่
เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และ โครงการเมืองคู่แฝดมุกดาหาร-สะหวันนะเขต
6.9 ที่ประชุมแสดงความยินดีที่ฝ่ายไทยจะสนับสนุนการจัดตั้ง ศูนย์วิจัยการเกษตร
พันธุ์
พืช-พันธุ์สัตว์ ที่แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว พร้อมกันนี้ ฝ่ายไทยยินดีให้ความ
ร่วมมือด้านเทคโนโลยีการเกษตร และการพัฒนาบุคลากรและการสร้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมทั้งจะให้
ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในโครงการที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เช่น โครงการทดลองการผลิตวัตถุดิบ ในส่วน
ของวัตถุดิบอาหารสัตว์ (ถั่วเหลือง) โครงการทดลองการผลิตวัตถุดิบเพื่อแปรรูปในอุตสาหกรรมแปรรูปผัก (
ข้าวโพดฝักอ่อน) และโครงการปรับปรุงศูนย์วิจัยการเกษตรแห่งชาติ (นาพอก) ฝ่ายไทยยินดีให้การสนับสนุน
แผนงานพัฒนาด้านการเกษตรและ ป่าไม้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยจะส่งผู้เชี่ยวชาญและที่
ปรึกษา มาช่วยจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อขอรับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าและการ กู้ยืมเงินจากรัฐบาล
ไทย
6.10 ที่ประชุมแสดงความยินดีที่ฝ่ายไทยจะประสานให้นักธุรกิจไทย มาช่วยเหลือ
เกษตรกรลาวในการส่งเสริมการเพาะปลูกและรับประกันราคาตลาดที่ แน่นอน (Contract Farming) เพื่อ
เป็นการเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างเมืองชายแดน ร่วมกัน โดยฝ่ายลาวจะอำนวยความสะดวกและคุ้มครองนัก
ธุรกิจไทยที่มาลงทุนใน กิจการดังกล่าวอย่างเต็มที่
6.11 ทั้งสองฝ่ายจะขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนอย่างเป็น
รูปธรรม
โดยฝ่ายลาวยินดีสนับสนุนให้บริษัทเอกชนไทยเข้ามาลงทุน ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล รวมทั้งจะร่วมมือ
ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและ เครือข่ายประสานงานระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นอก
จากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะดำเนินการตามเจตนารมณ์ของที่ประชุมระดับผู้นำว่าด้วย ยุทธศาสตร์ความร่วม
มือทางเศรษฐกิจ (ACMECS) ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า โดยฝ่ายไทยยินดีให้ความร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจ
พิเศษสะหวัน-เซโนต่อไป
6.12 ที่ประชุมแสดงความยินดีที่สองฝ่ายได้นำโครงการความร่วมมือ ในกรอบ
ACMECS
มาจัดทำเป็นแผนความร่วมมือสำหรับสองประเทศ โดยได้มอบ ให้คณะกรรมการแผนการและการร่วมมือกับ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการศึกษาและแสวงหา
มาตรการเพื่อดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามในความตกลงว่าด้วย กรอบความร่วมมือ
ในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย-ลาว
7. ด้านสังคมและการพัฒนา
1.1 สองฝ่ายเห็นชอบที่จะขยายความร่วมมือจากโครงการเชี่อมโยงอินเทอร์เน็ต
ไทย-
ลาวให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ฝ่ายลาวเห็นชอบที่จะศึกษาข้อเสนอของฝ่ายไทย ในการสนับสนุนความร่วมมือในการ
เชื่อมต่อเครือข่ายข้อมูลข่าวสาร ICT Corridor ระหว่างไทย-ลาว-เวียดนาม สำหรับรายละเอียดได้มอบ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรึกษาหารือกันต่อไป และรับทราบด้วยความยินดีว่า รัฐบาลไทยได้อนุมัติงบประมาณ
สนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 40 เครื่องแก่มหาวิทยาลัยสุพานุวง แขวงหลวงพระบาง
7.2 ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนการปฏิบัติตามโครงการความร่วมมือ สาขาสาธารณสุขที่
ตกลงกันแล้ว เช่น โครงการความร่วมมือด้านอาหารและยา นอกจากนี้ ยังให้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดใน
การสกัดกั้นและการระงับโรคระบาดต่าง ๆ อย่างทันกาล
7.3 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา แรงงาน
ระหว่าง
ไทย-ลาวให้ถูกต้องตามระเบียบกฎหมายของแต่ละประเทศ โดยปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจ้าง
แรงงานที่ได้ลงนามแล้ว พร้อมกันนี้ ได้เห็นชอบ ที่จะสนับสนุนให้สองฝ่ายลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการ
ขจัดการค้าเด็กและสตรีโดยเร็ว พร้อมนี้ฝ่ายไทยยินดีสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่
ปากเซ 1 แห่ง เพื่อส่งเสริมฝีมือแรงงานและรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต
7.4 ที่ประชุมแสดงความยินดีที่ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วม
มือด้าน
การศึกษาระหว่างไทย-ลาว เพื่อขยายความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องทั้งในระดับส่วน
กลางและท้องถิ่น
7.5 ฝ่ายลาวแสดงความขอบคุณที่ฝ่ายไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์แก่ศูนย์
ข้อมูล
ข่าวสารด้านการท่องเที่ยวสามเหลี่ยมมรกตที่เมืองปากเซ โดยได้จัดพิธีส่งมอบในโอกาสการประชุมร่วมครั้งนี้
นอกจากนั้น สองฝ่ายสนับสนุน ความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวไทย-ลาวทั้งในเชิงอนุรักษ์และ
เชิงประวัติศาสตร์โดยจะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อหารือรายละเอียดในเรื่องนี้ต่อไป และเห็นชอบให้มีการจัด
กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวร่วมกันในระดับส่วนกลาง และท้องถิ่น อาทิ การจัดคาราวาน งานบุญประเพณีต่าง ๆ
รวมทั้งเห็นชอบให้ จัดการท่องเที่ยวแบบ Package Tour ระหว่างสองประเทศหรือ 3-4 ประเทศ
7.6 ทั้งสองฝ่ายจะคงความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านกีฬาทั้งใน ระดับส่วน
กลาง
และท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ ฝ่ายไทยยินดีให้การสนับสนุน และช่วยเหลือสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาวในการเตรียมความพร้อม สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในปี 2552
8. ที่ประชุมเห็นชอบให้มอบหน่วยงานต่าง ๆ ของทั้งสองฝ่ายนำผล การประชุมครั้งนี้ไปดำเนิน
การ
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง
9. ทั้งสองฝ่ายแสดงความพึงพอใจและให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลของ การประชุมครั้งนี้ ที่
ดำเนิน
ไปด้วยบรรยากาศสร้างสรรค์ ตรงไปตรงมา และเข้าอก เข้าใจกันเป็นอย่างดี อุบลราชธานี ราชอาณาจักร
ไทย20 มีนาคม 2547
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร.
643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
แถลงข่าวร่วม ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-ลาวอย่างไม่เป็นทางการ ที่เมืองปากเซ
แขวงจำปาสัก และจังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 20 มีนาคม 2547
1. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ มิตรภาพและความร่วมมืออันดี ฯพณฯ บุนยัง วอละจิด นายก
รัฐมนตรี
แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ ฯพณฯ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราช
อาณาจักรไทย ได้ตกลง จัดการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-ลาวอย่างไม่เป็นทางการ ที่เมืองปากเซ แขวง
จำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ราชอาณาจักรไทยใน
วันที่ 20 มีนาคม 2547
2. คณะรัฐบาลลาวและคณะรัฐบาลไทยได้แสดงความพึงพอใจที่เห็นว่า ความสัมพันธ์ มิตรภาพ
และ
ความร่วมมือในหลายด้านระหว่างราชอาณาจักรไทยกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในระยะที่ผ่าน
มาได้ขยายตัวอย่างสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานที่ระบุไว้ในแถลงการณ์ร่วมฉบับลงวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1976
วันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1979 วันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1979 และ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 รวมทั้ง
สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กับราชอาณาจักรไทย ฉบับ
ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 และตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชนไทย-ลาว
3. การประชุมได้ดำเนินไปในบรรยากาศแห่งไมตรีจิตมิตรภาพและความ เข้าใจซึ่งกันและกัน
อย่าง
ยิ่ง ฉันบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีสายสัมพันธ์กันมาแต่โบราณกาล ผู้นำรัฐบาลของทั้งสองประเทศได้ยืนยัน
เจตนารมณ์ในการกำหนดนโยบายพื้นฐานและแผนความร่วมมือระหว่างไทย-ลาวในระยะใหม่ ในโอกาสนี้ สอง
ฝ่ายได้ลงนามสัญญาและความตกลงร่วมกัน ได้แก่สนธิสัญญาว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและ ความร่วม
มือในการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา ความตกลงว่าด้วย กรอบความร่วมมือในการพัฒนา
เศรษฐกิจไทย-ลาว ความตกลงว่าด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหืองไทย-ลาว บันทึกความเข้าใจ
ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการไทย-ลาวว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา สัญญาเงินกู้โครงการก่อสร้างทาง
รถไฟจากสะพานมิตรภาพ-ท่านาแล้ง สัญญาเดินรถโดยสารประจำทางไทย-ลาวระหว่างบริษัทขนส่ง จำกัด กับ
รัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจันทน์ และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองคู่แฝด
ระหว่างแขวงสะหวันนะเขตและจังหวัดมุกดาหาร
4. การประชุมครั้งนี้ได้ทบทวนความก้าวหน้าและวางแนวทางในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง
ราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในระยะใหม่ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความพึงพอใจที่
ความสัมพันธ์ มิตรภาพ และความร่วมมือระหว่างไทย-ลาวได้ก้าวหน้าดียิ่งขึ้น ทั้งในกรอบทวิภาคี ไตรภาคีและ
พหุภาคี ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
5. ด้านการเมืองและความมั่นคง
5.1 สองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อขยายความสัมพันธ์ มิตรภาพและความ
ร่วม
มือระหว่างประเทศทั้งสองให้ก้าวสู่ระยะใหม่และแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายสนใจร่วม
กัน ทั้งทางด้านการเมืองและ ความมั่นคง
5.2 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ ความร่วมมือ และส่งเสริมความเข้าอก เข้าใจกัน
ให้ดี
ยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันกำหนดมาตรการที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพเพื่อสกัดกั้นและขัดขวางการเคลื่อนไหว
ของคนที่ไม่หวังดีต่อความสัมพันธ์ไทย-ลาว ตามบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ ทั้งสองฝ่ายจะไม่ยินยอมให้
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลผู้ไม่หวังดีมาใช้พื้นที่ภายใต้เขตอธิปไตยของฝ่ายใดฝายหนึ่งเคลื่อนไหวเพื่อโจมตีหรือบ่อน
ทำลายอีกฝ่าย และจะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาบุคคลผู้ไม่หวังดีต่อความสัมพันธ์ไทย-ลาวภายในขอบเขตกฎหมาย
ของแต่ละฝ่าย ตลอดจนหลักการและกฎหมายระหว่างประเทศ ในกรณีที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้ตั้งถิ่น
ฐานอยู่บริเวณชายแดนร่วม ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันแก้ไขโดยเร็ว ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้จัดจุดที่ตั้งทางทหารที่จำ
เป็นตามบริเวณชายแดนระหว่างแขวงและจังหวัดชายแดนให้เท่าเทียมกันตามความตกลง ว่าด้วยความร่วมมือ
ด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย-ลาว
5.3 ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนให้คณะกรรมการร่วมไทย-ลาวเพื่อดูแลการดำเนิน
กิจกรรมต่างๆ
ตามแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหืองเป็นกลไกเดียวที่รับผิดชอบการพิจารณาปัญหาผลกระทบต่อตลิ่งและฝั่งรวมทั้งระบบ
นิเวศวิทยาอันเนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมของแต่ละฝ่าย
5.4 ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความพึงพอใจต่อผลการสำรวจและจัดทำ หลักเขตแดนใน
ระยะ
ที่ผ่านมาที่ได้มีผลสำเร็จพอสมควร อย่างไรก็ดี โดยที่การสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนยังไม่แล้วเสร็จตาม
แผนที่ได้กำหนดไว้ สองฝ่ายจึงได้ตกลง กำหนดเป้าหมายให้การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกให้แล้ว
เสร็จภายในปี 2547 และทางน้ำในปี 2548 บนพื้นฐานหลักการต่าง ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายได้รับรองแล้วเพื่อให้ชาย
แดนระหว่างสองประเทศเป็นชายแดนแห่งสันติภาพ มิตรภาพและความร่วมมืออย่าง แท้จริง 5.5 ฝ่ายลาวชื่น
ชมนโยบายของรัฐบาลไทยในการประกาศสงครามต่อต้านยาเสพติดอย่างเด็ดขาดและต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลดีต่อ
ฝ่ายลาวเช่นกัน ในการนี้ สองฝ่ายจะร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อขจัดปัญหายาเสพติดให้หมดสิ้นไป โดยจะ
กระชับความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การแลกเปลี่ยนการฝึกอบรม โดยฝ่ายไทยได้เสนอให้มี
การพัฒนาโครงสร้างและกลไกทางด้านกฎหมายซึ่งจะเป็น เครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดได้
อย่างจริงจัง
5.6 ทั้งสองฝ่ายจะเพิ่มช่องทางผ่านแดนระหว่างกันเพื่ออำนวยความสะดวกด้าน
การค้า
การลงทุน การท่องเที่ยวและการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชน และรับทราบด้วยความยินดีที่ฝ่ายลาวจะยกระดับ
ด่านปากซัน แขวงบอลิไซ ตรงข้ามอำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคายขึ้นเป็นด่านสากลในช่วงสงกรานต์ ปี 2547
และ ยกระดับด่านคอนผึ้ง เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี ตรงข้ามด่านปากห้วย อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ขึ้น
เป็นด่านสากลก่อนโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพน้ำเหืองไทย-ลาว แล้วเสร็จเพื่อรองรับการเปิดใช้สะพาน
5.7 ฝ่ายไทยยินดีสนับสนุนที่ฝ่ายลาวจะยกเว้นการตรวจลงตรา สำหรับบุคคล
สัญชาติไทย
ที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดา เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็นต้นไป
6. ด้านเศรษฐกิจ
6.1 สองฝ่ายเห็นชอบให้คงมีความร่วมมือด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งฝ่ายไทย
จะยัง
คงใช้หลักการจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement | PPA) เป็นพื้นฐานในการรับซื้อ
ไฟฟ้าจากลาวและให้กลุ่มผู้ลงทุนเริ่มเจรจากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเรื่อง PPA ได้สำหรับ
โครงการน้ำงึม 2 โครงการน้ำงึม 3 โครงการหงสาลิกไนต์ โครงการน้ำเทิน-หินบูน + น้ำเทิน 3 และ
โครงการน้ำเงี๊ยบ เมื่อโครงการใดพร้อมก่อน และเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนพัฒนาพลังงานในระยะยาวร่วมกัน
1.2 เพื่อให้การค้าเป็นปัจจัยส่งเสริมการผลิตในลาว นอกจากจะได้ ให้สิทธิพิเศษ
ทาง
ภาษีศุลกากรสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (ASEAN Integration System of Preferences |
AISP) แก่ลาวจำนวน 179 รายการและยกเว้นอากรขาเข้าในลักษณะ One Way Free Trade แก่สินค้า
เกษตรจากลาวจำนวน 9 รายการ (ถั่วเหลือง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ละหุ่ง ถั่วลิสง เม็ดมะม่วง
หิมพานต์ มันฝรั่ง ไม้ยูคาลิปตัส และลูกเดือย) แล้ว ฝ่ายไทยยังรับที่จะพิจารณาคำขอของฝ่ายลาวให้ยกเว้น
อากรขาเข้าสินค้าในลักษณะ One Way Free Trade แก่สินค้าเกษตรที่ฝ่ายลาวที่มีความสามารถในการส่ง
ออกได้จริงอีกจำนวน 16 รายการ ได้แก่ กะหล่ำปลี พืชผัก (มะระหวาน ยอดมะระหวาน และผักกาดน้ำ)
ตระกูลมีฝัก (ถั่วแขก ถั่วเขียว) มะเขือเทศ ใบยาสูบ (3 รายการ) ลูกตาว งา เมล็ดกาแฟ กาแฟคั่ว ข้าว
เปลือก ข้าวสาร หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบ และไม้อัด ทั้งนี้ สองฝ่ายได้ยืนยันว่าจะร่วมกันอำนวยความสะดวก
ด้านการค้าระหว่าง สองประเทศและฝ่ายไทยจะเร่งรัดให้มีการปฏิบัติตามความตกลงอย่างเป็นรูปธรรม โดย
เร็ว
6.3 ที่ประชุมยังได้แสดงความยินดีที่หน่วยงานประจำด่านชายแดน ของทั้งสอง
ประเทศมี
แผนความร่วมมือเพื่อให้มีการบริการอย่างรวดเร็วเพื่ออำนวย ความสะดวกแก่การขนส่งสินค้าและการเดินทาง
ของนักท่องเที่ยวยิ่งขึ้น
6.4 สองฝ่ายได้แสดงความยินดีต่อการดำเนินการตามความตกลง ว่าด้วยการขน
ส่งทาง
ถนนไทย-ลาวซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2547 เป็นต้นมาโดย ได้เปิดเสรีผู้ประกอบการขนส่งทางถนนไทย-
ลาวเพิ่มจากเดิม 5 รายเป็น 44 รายและ ยังเปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจมาขออนุญาตเพิ่มเติมได้อีก สอง
ฝ่ายเห็นพ้องกันว่า จะแจ้งรายละเอียดของการจัดเก็บค่าบริการต่าง ๆ ของภาครัฐให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบและ
ยินดีจะพิจารณาลดหรือยกเลิกค่าธรรมเนียมดังกล่าวเพื่อทำให้ค่าขนส่งลดลง รวมทั้ง จะร่วมกันแก้ไขปัญหา
อุปสรรคด้านการขนส่งต่าง ๆ นอกจากนั้น สองฝ่ายพร้อมที่จะเปิดให้บริการเดินรถโดยสารประจำทางเส้นทาง
หนองคาย-เวียงจันทน์ และอุดรธานี- เวียงจันทน์ ซึ่งได้มีการลงนามสัญญาเดินรถดังกล่าวในช่วงการประชุม
และจะพิจารณาขยายเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทางระหว่างอุบลราชธานี-จำปาสักในระยะต่อไป
6.5 ที่ประชุมรับทราบด้วยความยินดีว่า ฝ่ายไทยได้ปรับกฎระเบียบ เพื่ออำนวย
ความ
สะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดนให้สามารถขนส่งได้เพิ่มเติมที่ด่านศุลกากรนครพนม มุกดาหาร พิบูลมังสาหาร
เชียงแสน เชียงของ บึงกาฬ ท่าลี่ และ ทุ่งช้าง โดยไม่ต้องเปิดตรวจตู้สินค้า รวมทั้งรับทราบคำขอของฝ่าย
ลาวให้สามารถใช้ ทุกเส้นทางผ่านแดนและทุกจุดผ่านแดนถาวรระหว่างไทย-ลาวไปยังท่าเรือในประเทศไทย
การบรรทุกสินค้าหลายชนิดในรถขนส่งคันเดียวกัน การยกเลิกค่าธรรมเนียมสำหรับ สินค้าผ่านแดน และ
การมอบให้สมาคมขนส่งเป็นผู้ค้ำประกันสินค้าผ่านแดน
6.6 สองฝ่ายแสดงความยินดีที่กระทรวงคมนาคมของทั้งสองประเทศ ได้มีความ
ร่วมมือ
กันด้วยดีตลอดมา ในการประชุมครั้งนี้ สองประเทศได้ลงนามในสัญญาโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟไทย-
ลาวสายแรกจากกึ่งกลางสะพานมิตรภาพถึงสถานี ท่านาแล้ง นครหลวงเวียงจันทน์ ที่ประชุมยังได้รับทราบผล
การเจรจาและเห็นชอบ ในหลักการเกี่ยวกับแนวทางดำเนินโครงการพัฒนาสนามบินวัดไตในวงเงิน 320 ล้าน
บาท โครงการพัฒนาสนามบินปากเซ ในวงเงิน 320 ล้านบาท และโครงการขุดร่องระบายน้ำและปรับปรุงถนน
สาย T2 ในนครหลวงเวียงจันทน์ในวงเงิน 160 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า จะสามารถลงนามร่วมกันในโอกาสอัน
ใกล้นี้ โดยให้ความสำคัญในลำดับต้นกับโครงการปรับปรุงสนามบินวัดไต ในการนี้ ฝ่ายลาวรับที่จะอำนวยความ
สะดวกด้านการขนส่ง และยกเว้นภาษีวัสดุ/อุปกรณ์ก่อสร้างและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถดำเนินการ
ให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2547
6.7 ที่ประชุมได้แสดงความยินดีที่จะมีพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานข้าม แม่น้ำโขง
มุกดาหาร-
สะหวันนะเขต เพื่อเชื่อมโยงแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และในส่วนการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยง
ไทย-ลาว-จีน (R 3) ในแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ที่ประชุมแสดงความยินดีที่รัฐบาลไทยเห็นชอบในหลัก
การที่จะพิจารณาสนับสนุน งบประมาณร้อยละ 50 ของวงเงินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงระหว่าง
เชียงของ จังหวัดเชียงราย กับเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว นอกจากนั้น ฝ่ายไทยได้ส่งมอบผลการศึกษาผล
กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการออกแบบรายละเอียดเส้นทางห้วยโก๋น-ปากแบ่งในการประชุมครั้งนี้ พร้อมกันนี้ ที่
ประชุมได้แสดงความยินดีที่รัฐบาลไทยได้อนุมัติ งบประมาณเพื่อก่อสร้างทางลาดขึ้น-ลง (RAMP) บริเวณท่า
เทียบเรือแขวงคำม่วนและโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมท่าเทียบเรือแขวงคำม่วน- ถนนหมายเลข 13 ระยะทาง
1.85 กิโลเมตรซึ่งรัฐบาลไทยได้สนับสนุนงบประมาณในวงเงิน 34.365 ล้านบาท และ 29.825 ล้านบาท
ตามลำดับ และยังได้ให้ความเห็นชอบในหลักการที่จะพิจารณาสนับสนุน งบประมาณก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ
โขงระหว่างนครพนม-คำม่วน
6.8 ที่ประชุมได้แสดงความยินดีและสนับสนุนให้มีการศึกษาความ เป็นไปได้ในการ
พัฒนา
สนามบินสะหวันนะเขตเพื่อให้สองประเทศได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันตามทิศทางการส่งเสริมความร่วมมือแนวพื้นที่
เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก และ โครงการเมืองคู่แฝดมุกดาหาร-สะหวันนะเขต
6.9 ที่ประชุมแสดงความยินดีที่ฝ่ายไทยจะสนับสนุนการจัดตั้ง ศูนย์วิจัยการเกษตร
พันธุ์
พืช-พันธุ์สัตว์ ที่แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว พร้อมกันนี้ ฝ่ายไทยยินดีให้ความ
ร่วมมือด้านเทคโนโลยีการเกษตร และการพัฒนาบุคลากรและการสร้างผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมทั้งจะให้
ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในโครงการที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน เช่น โครงการทดลองการผลิตวัตถุดิบ ในส่วน
ของวัตถุดิบอาหารสัตว์ (ถั่วเหลือง) โครงการทดลองการผลิตวัตถุดิบเพื่อแปรรูปในอุตสาหกรรมแปรรูปผัก (
ข้าวโพดฝักอ่อน) และโครงการปรับปรุงศูนย์วิจัยการเกษตรแห่งชาติ (นาพอก) ฝ่ายไทยยินดีให้การสนับสนุน
แผนงานพัฒนาด้านการเกษตรและ ป่าไม้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยจะส่งผู้เชี่ยวชาญและที่
ปรึกษา มาช่วยจัดทำรายละเอียดโครงการเพื่อขอรับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าและการ กู้ยืมเงินจากรัฐบาล
ไทย
6.10 ที่ประชุมแสดงความยินดีที่ฝ่ายไทยจะประสานให้นักธุรกิจไทย มาช่วยเหลือ
เกษตรกรลาวในการส่งเสริมการเพาะปลูกและรับประกันราคาตลาดที่ แน่นอน (Contract Farming) เพื่อ
เป็นการเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างเมืองชายแดน ร่วมกัน โดยฝ่ายลาวจะอำนวยความสะดวกและคุ้มครองนัก
ธุรกิจไทยที่มาลงทุนใน กิจการดังกล่าวอย่างเต็มที่
6.11 ทั้งสองฝ่ายจะขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและการลงทุนอย่างเป็น
รูปธรรม
โดยฝ่ายลาวยินดีสนับสนุนให้บริษัทเอกชนไทยเข้ามาลงทุน ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล รวมทั้งจะร่วมมือ
ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและ เครือข่ายประสานงานระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นอก
จากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะดำเนินการตามเจตนารมณ์ของที่ประชุมระดับผู้นำว่าด้วย ยุทธศาสตร์ความร่วม
มือทางเศรษฐกิจ (ACMECS) ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า โดยฝ่ายไทยยินดีให้ความร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจ
พิเศษสะหวัน-เซโนต่อไป
6.12 ที่ประชุมแสดงความยินดีที่สองฝ่ายได้นำโครงการความร่วมมือ ในกรอบ
ACMECS
มาจัดทำเป็นแผนความร่วมมือสำหรับสองประเทศ โดยได้มอบ ให้คณะกรรมการแผนการและการร่วมมือกับ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการศึกษาและแสวงหา
มาตรการเพื่อดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามในความตกลงว่าด้วย กรอบความร่วมมือ
ในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย-ลาว
7. ด้านสังคมและการพัฒนา
1.1 สองฝ่ายเห็นชอบที่จะขยายความร่วมมือจากโครงการเชี่อมโยงอินเทอร์เน็ต
ไทย-
ลาวให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ฝ่ายลาวเห็นชอบที่จะศึกษาข้อเสนอของฝ่ายไทย ในการสนับสนุนความร่วมมือในการ
เชื่อมต่อเครือข่ายข้อมูลข่าวสาร ICT Corridor ระหว่างไทย-ลาว-เวียดนาม สำหรับรายละเอียดได้มอบ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรึกษาหารือกันต่อไป และรับทราบด้วยความยินดีว่า รัฐบาลไทยได้อนุมัติงบประมาณ
สนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 40 เครื่องแก่มหาวิทยาลัยสุพานุวง แขวงหลวงพระบาง
7.2 ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนการปฏิบัติตามโครงการความร่วมมือ สาขาสาธารณสุขที่
ตกลงกันแล้ว เช่น โครงการความร่วมมือด้านอาหารและยา นอกจากนี้ ยังให้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดใน
การสกัดกั้นและการระงับโรคระบาดต่าง ๆ อย่างทันกาล
7.3 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา แรงงาน
ระหว่าง
ไทย-ลาวให้ถูกต้องตามระเบียบกฎหมายของแต่ละประเทศ โดยปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจ้าง
แรงงานที่ได้ลงนามแล้ว พร้อมกันนี้ ได้เห็นชอบ ที่จะสนับสนุนให้สองฝ่ายลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการ
ขจัดการค้าเด็กและสตรีโดยเร็ว พร้อมนี้ฝ่ายไทยยินดีสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่
ปากเซ 1 แห่ง เพื่อส่งเสริมฝีมือแรงงานและรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต
7.4 ที่ประชุมแสดงความยินดีที่ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วม
มือด้าน
การศึกษาระหว่างไทย-ลาว เพื่อขยายความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่องทั้งในระดับส่วน
กลางและท้องถิ่น
7.5 ฝ่ายลาวแสดงความขอบคุณที่ฝ่ายไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์แก่ศูนย์
ข้อมูล
ข่าวสารด้านการท่องเที่ยวสามเหลี่ยมมรกตที่เมืองปากเซ โดยได้จัดพิธีส่งมอบในโอกาสการประชุมร่วมครั้งนี้
นอกจากนั้น สองฝ่ายสนับสนุน ความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวไทย-ลาวทั้งในเชิงอนุรักษ์และ
เชิงประวัติศาสตร์โดยจะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อหารือรายละเอียดในเรื่องนี้ต่อไป และเห็นชอบให้มีการจัด
กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวร่วมกันในระดับส่วนกลาง และท้องถิ่น อาทิ การจัดคาราวาน งานบุญประเพณีต่าง ๆ
รวมทั้งเห็นชอบให้ จัดการท่องเที่ยวแบบ Package Tour ระหว่างสองประเทศหรือ 3-4 ประเทศ
7.6 ทั้งสองฝ่ายจะคงความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนด้านกีฬาทั้งใน ระดับส่วน
กลาง
และท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ ฝ่ายไทยยินดีให้การสนับสนุน และช่วยเหลือสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาวในการเตรียมความพร้อม สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในปี 2552
8. ที่ประชุมเห็นชอบให้มอบหน่วยงานต่าง ๆ ของทั้งสองฝ่ายนำผล การประชุมครั้งนี้ไปดำเนิน
การ
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง
9. ทั้งสองฝ่ายแสดงความพึงพอใจและให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลของ การประชุมครั้งนี้ ที่
ดำเนิน
ไปด้วยบรรยากาศสร้างสรรค์ ตรงไปตรงมา และเข้าอก เข้าใจกันเป็นอย่างดี อุบลราชธานี ราชอาณาจักร
ไทย20 มีนาคม 2547
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร.
643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-