นายจุติ ไกรฤกษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน กรณีการขอลดค่าสัมปทานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี …
อยากจะฝากประเด็นไปถึงรองนายกฯวิษณุว่า ประชาชนและฝ่ายตรวจสอบจับตาท่านอยู่ ในการเจรจาเรื่องสัมปทานไอทีวี ที่ผ่านมาเราเปิดโอกาสให้ท่านทำงานอย่างเต็มที่เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมือง มาวันนี้ก็ชักไม่แน่ใจว่าที่ท่านรองนายกฯบอกว่า เจรจาเก่งจะสามารถรักษาผลประโยชน์ของรัฐได้หรือไม่ ในประเด็นแรกที่อยากจะฝาก คือเรื่องที่การเจรจาตกลงกับภาคเอกชนว่าจะไม่ให้ภาคเอกชนดำเนินการฟ้องร้องรัฐ เรื่องนี้ต้องไปดูว่าใครเป็นคนที่ทำให้รัฐเสียหาย ถูกละเมิดอ้างว่าเป็นเหตุในการฟ้องร้องตั้งแต่ต้น ต้องหาพวกนั้น แล้วก็นำมาลงโทษให้ได้ ประเด็นที่สอง เหตุของการละเมิดได้มีการยกเลิกค่าสัมปทานหรือค่าเสียหายในส่วนของรัฐบาลแล้วหรือยัง เพราะที่ผ่านมาท่านรองนายกฯก็เคยเป็นเลขาธิการนายกฯ และเคยรักษาการตำแหน่งรมต.และเคยมาชี้แจงกับสภาฯไปแล้ว หวังว่าคำพูดเหล่านั้นท่านคงจะรักษาเอาไว้
ประเด็นต่อมาคือการเจรจากับภาคเอกชนที่ได้รับสัมปทานโทรทัศน์ หากมีการตกลงกันโดยไม่มีการแก้ไขสัญญา แต่ว่าให้มีการปรับผังรายการ การปรับผังรายการนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของเทคนิคอย่างเดียว เพราะหมายถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นของภาคเอกชน ก็ต้องถามว่าหากปรับผังรายการแล้วทำให้เอกชนมีรายได้เพิ่ม แล้วเอกชนจะนำรายได้ที่เพิ่มนั้นมาจ่ายให้รัฐเพิ่มเติมหรือเปล่า ไม่ใช่จ่ายให้ลดลงเพราะการปรับผังรายการ รายได้ต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะเดิมช่วง PRIME TIME นั้นห้ามมีการโฆษณา โดยกำหนดให้เป็นรายการสาระ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วสังคมจะเสียประโยชน์ เพราะไอทีวีจะไม่ใช่สถานีอย่างที่คนจินตนาการแล้ว แต่ไม่เป็นไรเพราะเมื่อเป็นอย่างนี้แล้วก็หมายถึงว่า หากภาคเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้นก็ควรต้องจ่ายให้รัฐเพิ่มขึ้น ไม่ใช่จ่ายน้อยลงหรือไม่จ่ายเลย และวันนี้ผมไม่เชื่อว่าท่านรองนายกฯจะซูเอี๋ยกับภาคเอกชน ผมไม่เชื่อ
ดังนั้นไอทีวีควรมีการทบทวนรายได้ หากมีการปรับรายได้เพิ่มจากการปรับผังสัญญา ผมเชื่อว่าภาคเอกชนต้องมีความยุติธรรม รักษาสัญญาและแบ่งรายได้ส่วนนั้นให้ภาครัฐด้วย ส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นผมเชื่อว่าอยู่ในวิสัยทัศน์ที่ภาคเอกชนจะตรวจสอบได้ว่า ในปัจจุบันนี้อัตราค่าโฆษณาในช่วงเวลา PRIME TIME นาทีละเท่าไหร่ และในขณะเดียวกันสัญญาสัมปทานเหลืออีก 20 ปี แล้วอัตราที่คิดก็ไม่ใช่อัตราปัจจุบัน เป็นการคิดในอัตรา 20 ปีข้างหน้า ราคาค่าโฆษณาจะเป็นนาทีเท่าไหร่ ควรจะนำตรงนั้นมาคำนวณด้วย เพราะผมเชื่อว่าเราต้องเป็นธรรม คือเป็นธรรมกับภาคเอกชนและภาครัฐ เพราะเวลาประมูลมา ใครก็ตามที่ประมูลมานิติบุคคลใดก็ตาม ก็ต้องรู้เงื่อนไขอยู่แล้วว่าทำได้มีกำไร และเมื่อประมูลไปแล้วจะมาขอแก้ไขสัญญาเพื่อให้จ่ายต่ำลง ผมว่าไม่เป็นธรรมกับคนที่ร่วมประมูลตั้งแต่ต้น ถ้าเป็นเช่นนั้นควรจะมีการเปิดประมูลใหม่เพราะรัฐจะไม่เสียประโยชน์
ประเด็นถัดมาคือ หากมีการละเมิดสัญญาจริงท่านรองนายกฯจะยกเลิกสัมปทานจริงเพื่อให้มีการประมูลใหม่หรือไม่ เพราะหากมีการประมูลใหม่ในยุคที่เศรษฐกิจดีขึ้นและมีการแข่งขันเสรีมากขึ้น เชื่อว่าอาจจะมีเอกชนเจ้าอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าปัจจุบันก็เป็นไปได้ นอกจากนั้นแล้วหากมีการเจรจายกเลิกสัมปทานหรือเพิ่มรายได้ให้กับรัฐแล้ว ก็ต้องดูด้วยว่า การที่ทำให้รัฐนั้นต้องตกอยู่ในสภาพของความเสียเปรียบนั้นควรจะมีการทบทวนหรือไม่ ในฐานะที่รองนายกฯวิษณุ เป็นนักกฎหมายว่า จะทบทวนยกเลิกกฎหมายอนุญาโตตุลาการหรือไม่ เพราะขณะนี้ รัฐนั้นเสียค่าโง่ซ้ำซาก สิ่งนี้คือประเด็นที่ฝากรองนายกฯไว้ว่าเราจับตาอยู่ อย่าทำให้เราผิดหวัง
อย่างไรก็ตามคิดว่าเรื่องนี้คงไม่ต้องไปเจรจาอะไรมาก หากเพียงแต่ท่านนายกฯ จะขอร้องครอบครัวท่านว่าอย่าไปเรียกร้องค่าเสียหายอะไรจากรัฐ เพราะว่าท่านจะคืนให้กับแผ่นดินที่ให้ท่านมาเยอะ ผมว่าเรื่องงนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเรียกร้องอะไรจากภาครัฐอีกแล้ว ส่วนการปรับผังในวันที่ 1 เมษายนนี้ ผมคงไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องรอให้ถึงเวลานั้นก่อน แล้วค่อยมาดูว่ารัฐเสียหายหรือภาคเอกชนเสียหาย อย่าไปดูในสิ่งที่ยังไม่เกิด วันที่ 1 เมษายนถ้าเกิดขึ้นแล้วค่อยมาดูกัน วันนี้ผมคิดว่าสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุดคือท่านนายกฯ บอกกับลูกน้องท่าน บอกกับคนในครอบครัวท่านว่า ‘อาตมาพอแล้ว หยุดแค่นี้’ เพราะผมเชื่อในคำพูดท่านายกฯว่า ท่านให้รองนายกฯรักษาผลประโยชน์ของรัฐสูงสุด คำว่าผลประโยชน์ของรัฐสูงสุดนั้น ไม่ได้หมายความว่ารัฐจะไม่ต้องเสียอะไรเพิ่ม โดยการแลก การปรับผังสัญญา ประโยชน์ของรัฐสูงสุดหมายถึงว่าถ้าเอกชนมีรายได้เพิ่ม ควรcบ่งรายได้เพิ่มนั้นให้กับรัฐด้วย … จบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30/03/47--จบ--
-สส-
อยากจะฝากประเด็นไปถึงรองนายกฯวิษณุว่า ประชาชนและฝ่ายตรวจสอบจับตาท่านอยู่ ในการเจรจาเรื่องสัมปทานไอทีวี ที่ผ่านมาเราเปิดโอกาสให้ท่านทำงานอย่างเต็มที่เพื่อรักษาประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมือง มาวันนี้ก็ชักไม่แน่ใจว่าที่ท่านรองนายกฯบอกว่า เจรจาเก่งจะสามารถรักษาผลประโยชน์ของรัฐได้หรือไม่ ในประเด็นแรกที่อยากจะฝาก คือเรื่องที่การเจรจาตกลงกับภาคเอกชนว่าจะไม่ให้ภาคเอกชนดำเนินการฟ้องร้องรัฐ เรื่องนี้ต้องไปดูว่าใครเป็นคนที่ทำให้รัฐเสียหาย ถูกละเมิดอ้างว่าเป็นเหตุในการฟ้องร้องตั้งแต่ต้น ต้องหาพวกนั้น แล้วก็นำมาลงโทษให้ได้ ประเด็นที่สอง เหตุของการละเมิดได้มีการยกเลิกค่าสัมปทานหรือค่าเสียหายในส่วนของรัฐบาลแล้วหรือยัง เพราะที่ผ่านมาท่านรองนายกฯก็เคยเป็นเลขาธิการนายกฯ และเคยรักษาการตำแหน่งรมต.และเคยมาชี้แจงกับสภาฯไปแล้ว หวังว่าคำพูดเหล่านั้นท่านคงจะรักษาเอาไว้
ประเด็นต่อมาคือการเจรจากับภาคเอกชนที่ได้รับสัมปทานโทรทัศน์ หากมีการตกลงกันโดยไม่มีการแก้ไขสัญญา แต่ว่าให้มีการปรับผังรายการ การปรับผังรายการนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องของเทคนิคอย่างเดียว เพราะหมายถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นของภาคเอกชน ก็ต้องถามว่าหากปรับผังรายการแล้วทำให้เอกชนมีรายได้เพิ่ม แล้วเอกชนจะนำรายได้ที่เพิ่มนั้นมาจ่ายให้รัฐเพิ่มเติมหรือเปล่า ไม่ใช่จ่ายให้ลดลงเพราะการปรับผังรายการ รายได้ต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะเดิมช่วง PRIME TIME นั้นห้ามมีการโฆษณา โดยกำหนดให้เป็นรายการสาระ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วสังคมจะเสียประโยชน์ เพราะไอทีวีจะไม่ใช่สถานีอย่างที่คนจินตนาการแล้ว แต่ไม่เป็นไรเพราะเมื่อเป็นอย่างนี้แล้วก็หมายถึงว่า หากภาคเอกชนมีรายได้เพิ่มขึ้นก็ควรต้องจ่ายให้รัฐเพิ่มขึ้น ไม่ใช่จ่ายน้อยลงหรือไม่จ่ายเลย และวันนี้ผมไม่เชื่อว่าท่านรองนายกฯจะซูเอี๋ยกับภาคเอกชน ผมไม่เชื่อ
ดังนั้นไอทีวีควรมีการทบทวนรายได้ หากมีการปรับรายได้เพิ่มจากการปรับผังสัญญา ผมเชื่อว่าภาคเอกชนต้องมีความยุติธรรม รักษาสัญญาและแบ่งรายได้ส่วนนั้นให้ภาครัฐด้วย ส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นผมเชื่อว่าอยู่ในวิสัยทัศน์ที่ภาคเอกชนจะตรวจสอบได้ว่า ในปัจจุบันนี้อัตราค่าโฆษณาในช่วงเวลา PRIME TIME นาทีละเท่าไหร่ และในขณะเดียวกันสัญญาสัมปทานเหลืออีก 20 ปี แล้วอัตราที่คิดก็ไม่ใช่อัตราปัจจุบัน เป็นการคิดในอัตรา 20 ปีข้างหน้า ราคาค่าโฆษณาจะเป็นนาทีเท่าไหร่ ควรจะนำตรงนั้นมาคำนวณด้วย เพราะผมเชื่อว่าเราต้องเป็นธรรม คือเป็นธรรมกับภาคเอกชนและภาครัฐ เพราะเวลาประมูลมา ใครก็ตามที่ประมูลมานิติบุคคลใดก็ตาม ก็ต้องรู้เงื่อนไขอยู่แล้วว่าทำได้มีกำไร และเมื่อประมูลไปแล้วจะมาขอแก้ไขสัญญาเพื่อให้จ่ายต่ำลง ผมว่าไม่เป็นธรรมกับคนที่ร่วมประมูลตั้งแต่ต้น ถ้าเป็นเช่นนั้นควรจะมีการเปิดประมูลใหม่เพราะรัฐจะไม่เสียประโยชน์
ประเด็นถัดมาคือ หากมีการละเมิดสัญญาจริงท่านรองนายกฯจะยกเลิกสัมปทานจริงเพื่อให้มีการประมูลใหม่หรือไม่ เพราะหากมีการประมูลใหม่ในยุคที่เศรษฐกิจดีขึ้นและมีการแข่งขันเสรีมากขึ้น เชื่อว่าอาจจะมีเอกชนเจ้าอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าปัจจุบันก็เป็นไปได้ นอกจากนั้นแล้วหากมีการเจรจายกเลิกสัมปทานหรือเพิ่มรายได้ให้กับรัฐแล้ว ก็ต้องดูด้วยว่า การที่ทำให้รัฐนั้นต้องตกอยู่ในสภาพของความเสียเปรียบนั้นควรจะมีการทบทวนหรือไม่ ในฐานะที่รองนายกฯวิษณุ เป็นนักกฎหมายว่า จะทบทวนยกเลิกกฎหมายอนุญาโตตุลาการหรือไม่ เพราะขณะนี้ รัฐนั้นเสียค่าโง่ซ้ำซาก สิ่งนี้คือประเด็นที่ฝากรองนายกฯไว้ว่าเราจับตาอยู่ อย่าทำให้เราผิดหวัง
อย่างไรก็ตามคิดว่าเรื่องนี้คงไม่ต้องไปเจรจาอะไรมาก หากเพียงแต่ท่านนายกฯ จะขอร้องครอบครัวท่านว่าอย่าไปเรียกร้องค่าเสียหายอะไรจากรัฐ เพราะว่าท่านจะคืนให้กับแผ่นดินที่ให้ท่านมาเยอะ ผมว่าเรื่องงนี้ก็ไม่จำเป็นต้องเรียกร้องอะไรจากภาครัฐอีกแล้ว ส่วนการปรับผังในวันที่ 1 เมษายนนี้ ผมคงไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ต้องรอให้ถึงเวลานั้นก่อน แล้วค่อยมาดูว่ารัฐเสียหายหรือภาคเอกชนเสียหาย อย่าไปดูในสิ่งที่ยังไม่เกิด วันที่ 1 เมษายนถ้าเกิดขึ้นแล้วค่อยมาดูกัน วันนี้ผมคิดว่าสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุดคือท่านนายกฯ บอกกับลูกน้องท่าน บอกกับคนในครอบครัวท่านว่า ‘อาตมาพอแล้ว หยุดแค่นี้’ เพราะผมเชื่อในคำพูดท่านายกฯว่า ท่านให้รองนายกฯรักษาผลประโยชน์ของรัฐสูงสุด คำว่าผลประโยชน์ของรัฐสูงสุดนั้น ไม่ได้หมายความว่ารัฐจะไม่ต้องเสียอะไรเพิ่ม โดยการแลก การปรับผังสัญญา ประโยชน์ของรัฐสูงสุดหมายถึงว่าถ้าเอกชนมีรายได้เพิ่ม ควรcบ่งรายได้เพิ่มนั้นให้กับรัฐด้วย … จบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30/03/47--จบ--
-สส-