สศอ.เร่งศึกษาเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมชา รับกระแสความตื่นตัวของคนไทยในการรักษาสุขภาพ ทำให้ความนิยมการบริโภคชาเพิ่มขึ้น ยอดนำเข้าพุ่งกว่า 97 ล้านบาท เตรียมหนุนผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) พัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนสร้างตราสินค้าสู่ตลาดโลก
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (รศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. กำลังศึกษาเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมใบชา เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมชาไทยให้มีการเติบโตแบบยั่งยืน หลังจากมีการศึกษาพบว่า ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ทำให้ “ชา” เข้ามามีบทบาทและเป็นเครื่องดื่มที่นิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทยโดยเฉพาะ ชาเขียวสำเร็จรูป ซึ่งกำลังเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้ จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องมีการปรับตัวและทราบทิศทางของตลาด
ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมใบชา สศอ.จะหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในการวางเป้าหมายที่จะส่งเสริมผู้ผลิต และผู้ประกอบการไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นในด้านกรรมวิธีการผลิต ตั้งแต่ระดับรากหญ้า ไปจนถึงการแปรรูป โดยเน้นการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การใช้เครื่องจักรทันสมัยและบรรจุภัณฑ์ที่ถูกหลักอนามัย การสร้างตราสินค้าไทย เพื่อเป็นแนวทางในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในต่างประเทศได้
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยหันมาทำธุรกิจ ผลิตเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปกว่า 9 บริษัท อาทิ UNIF, LIPTON, NESTEA, OISHI, NUBOON, TIPCO, PRECO, บีทาเก้น, เมจิ และมาโนบุนอกจากนี้ มีผู้นำเข้าชาญี่ปุ่นพร้อมดื่ม จำนวน 2 บริษัท คือ ชาลีวัง และ POKKA GREEN TEA ส่งผลให้ภาวะการแข่งขันช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดสูงมาก
ทั้งนี้ พบว่าอุตสาหกรรมผลิตใบชาของไทยยังมีปัญหาในเรื่อง การขาดแคลนแรงงานรวมทั้ง ไม่สามารถแข่งขันทางด้านค่าแรงกับจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่ครองส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ของโลกได้ แม้ว่าไทยจะมีศักยภาพด้านการผลิตที่เพียงพอ
นอกจากนี้ การซื้อขายชาของไทยนั้น จะเป็นลักษณะการดำเนินธุรกิจแบบค้าส่ง และการบรรจุหีบห่อส่วนใหญ่ ก็จะเป็นการบรรจุที่มากกว่า 3 กิโลกรัม ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาแนวโน้มการส่งออกที่ลดลง ในขณะที่ ความต้องการนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้รวบรวมข้อมูลสถิติการส่งออกชาไทย พบว่าในปี 2546 มีมูลค่าทั้งสิ้น 60,769,025 บาท ประกอบด้วย ชาเขียว ร้อยละ 13 ของมูลค่าการส่งออกชาทั้งหมด ที่เหลือร้อยละ 87 เป็นมูลค่าส่งออกชาดำ แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกชาของไทย เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดแล้ว พบว่ามีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 1 โดยประเทศส่งออกสำคัญ คือ ไต้หวัน (มูลค่า 28,881,666 บาท คิดเป็นร้อยละ 47.53) รองลงมาคือ เนเธอร์แลนด์ (มูลค่า 11,335,374 บาท คิดเป็นร้อยละ 18.65) สหรัฐอเมริกา (มูลค่า 4,177,076 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.87) สวีเดน (มูลค่า 2,295,919 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.78) และสวิตเซอร์แลนด์ (มูลค่า 1,522,131 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.50) ตามลำดับ
สำหรับมูลค่าการนำเข้าชาเพิ่มขึ้น เป็น 97,734,750 บาท แหล่งนำเข้าสำคัญ คือ จีน (มูลค่า 37,395,348 บาท คิดเป็นร้อยละ 38.26) อินโดนีเซีย (มูลค่า 14,482,190 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.81) สหราชอาณาจักร (มูลค่า 14,197,094 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.52) อินเดีย (มูลค่า 8,694,093 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.90) และญี่ปุ่น (มูลค่า 5,902,322 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.04) ตามลำดับ
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกชา ประมาณ 96,000 ไร่ แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคเหนือ อาทิ เชียงราย เชียงใหม่ เป็นต้น โดยรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญ และโอกาสเติบโตในตลาด จึงจัดให้ชาเป็นพืชเศรษฐกิจ และกำหนดนโยบายขยายพื้นที่เพาะปลูกเป็น 200,000 ไร่ ภายในระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-
นางสาวสุชาดา วราภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (รศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. กำลังศึกษาเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมใบชา เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมชาไทยให้มีการเติบโตแบบยั่งยืน หลังจากมีการศึกษาพบว่า ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ทำให้ “ชา” เข้ามามีบทบาทและเป็นเครื่องดื่มที่นิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทยโดยเฉพาะ ชาเขียวสำเร็จรูป ซึ่งกำลังเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้ จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องมีการปรับตัวและทราบทิศทางของตลาด
ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรมใบชา สศอ.จะหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในการวางเป้าหมายที่จะส่งเสริมผู้ผลิต และผู้ประกอบการไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นในด้านกรรมวิธีการผลิต ตั้งแต่ระดับรากหญ้า ไปจนถึงการแปรรูป โดยเน้นการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การใช้เครื่องจักรทันสมัยและบรรจุภัณฑ์ที่ถูกหลักอนามัย การสร้างตราสินค้าไทย เพื่อเป็นแนวทางในการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในต่างประเทศได้
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการไทยหันมาทำธุรกิจ ผลิตเครื่องดื่มชาเขียวสำเร็จรูปกว่า 9 บริษัท อาทิ UNIF, LIPTON, NESTEA, OISHI, NUBOON, TIPCO, PRECO, บีทาเก้น, เมจิ และมาโนบุนอกจากนี้ มีผู้นำเข้าชาญี่ปุ่นพร้อมดื่ม จำนวน 2 บริษัท คือ ชาลีวัง และ POKKA GREEN TEA ส่งผลให้ภาวะการแข่งขันช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดสูงมาก
ทั้งนี้ พบว่าอุตสาหกรรมผลิตใบชาของไทยยังมีปัญหาในเรื่อง การขาดแคลนแรงงานรวมทั้ง ไม่สามารถแข่งขันทางด้านค่าแรงกับจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่ครองส่วนแบ่งตลาดส่วนใหญ่ของโลกได้ แม้ว่าไทยจะมีศักยภาพด้านการผลิตที่เพียงพอ
นอกจากนี้ การซื้อขายชาของไทยนั้น จะเป็นลักษณะการดำเนินธุรกิจแบบค้าส่ง และการบรรจุหีบห่อส่วนใหญ่ ก็จะเป็นการบรรจุที่มากกว่า 3 กิโลกรัม ซึ่งขณะนี้ ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาแนวโน้มการส่งออกที่ลดลง ในขณะที่ ความต้องการนำเข้ากลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้รวบรวมข้อมูลสถิติการส่งออกชาไทย พบว่าในปี 2546 มีมูลค่าทั้งสิ้น 60,769,025 บาท ประกอบด้วย ชาเขียว ร้อยละ 13 ของมูลค่าการส่งออกชาทั้งหมด ที่เหลือร้อยละ 87 เป็นมูลค่าส่งออกชาดำ แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกชาของไทย เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกทั้งหมดแล้ว พบว่ามีสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 1 โดยประเทศส่งออกสำคัญ คือ ไต้หวัน (มูลค่า 28,881,666 บาท คิดเป็นร้อยละ 47.53) รองลงมาคือ เนเธอร์แลนด์ (มูลค่า 11,335,374 บาท คิดเป็นร้อยละ 18.65) สหรัฐอเมริกา (มูลค่า 4,177,076 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.87) สวีเดน (มูลค่า 2,295,919 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.78) และสวิตเซอร์แลนด์ (มูลค่า 1,522,131 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.50) ตามลำดับ
สำหรับมูลค่าการนำเข้าชาเพิ่มขึ้น เป็น 97,734,750 บาท แหล่งนำเข้าสำคัญ คือ จีน (มูลค่า 37,395,348 บาท คิดเป็นร้อยละ 38.26) อินโดนีเซีย (มูลค่า 14,482,190 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.81) สหราชอาณาจักร (มูลค่า 14,197,094 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.52) อินเดีย (มูลค่า 8,694,093 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.90) และญี่ปุ่น (มูลค่า 5,902,322 บาท คิดเป็นร้อยละ 6.04) ตามลำดับ
ทั้งนี้ ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกชา ประมาณ 96,000 ไร่ แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคเหนือ อาทิ เชียงราย เชียงใหม่ เป็นต้น โดยรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญ และโอกาสเติบโตในตลาด จึงจัดให้ชาเป็นพืชเศรษฐกิจ และกำหนดนโยบายขยายพื้นที่เพาะปลูกเป็น 200,000 ไร่ ภายในระยะเวลา 5 ปี เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-