แนวทางป้องกันการทุจริตโดยการใช้เครื่องบันทึกข้อมูลในแถบแม่เหล็ก (Skimmer)ดึงข้อมูลบัตรลูกค้าจากเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการฝากและถอนเงิน (เครื่อง ATM) เพื่อทำบัตรปลอม
ปัจจุบันปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นกับเครื่อง ATM ในประเทศไทยเริ่มมีจำนวนมากขึ้น โดยวิธีการทุจริตที่แพร่หลายได้แก่ การใช้เครื่องบันทึกข้อมูลในแถบแม่เหล็ก (Skimmer) ติดไว้บริเวณช่องสอดบัตรของเครื่อง ATM เพื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ของบัตร และนำไปทำบัตรปลอม ประกอบกับการใช้วิธีการเพื่อให้เจ้าของบัตรเปิดเผยรหัสผ่านหรือลักลอบติดตั้งเครื่องมือเพื่อให้ได้รหัสผ่าน และนำไปใช้ควบคู่กับบัตรปลอมที่ทำขึ้น ซึ่งทำให้ผู้กระทำทุจริตสามารถทำรายการถอนเงินหรือโอนเงินจากบัญชีของเจ้าของบัตรได้
ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้มีหนังสือเวียนถึงสถาบันการเงินทุกแห่งที่มีการให้บริการผ่านเครื่อง ATM เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้น และจัดให้มีแนวทางป้องกันการทุจริตดังกล่าว ดังนี้
1. การเพิ่มความระมัดระวังและจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับการให้บริการทางการเงินผ่านเครื่อง ATM ให้มีความเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงและพื้นที่ที่ ATM ตั้งอยู่
2. การให้ข้อมูลและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้บริการทางการเงินผ่านเครื่อง ATM ได้อย่างปลอดภัย
3. การจัดให้มีช่องทางในการรับแจ้งปัญหาและข้อร้องเรียนจากลูกค้า เช่น การจัดให้มีหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ไว้ที่เครื่อง ATM และที่ด้านหลังของบัตรที่ใช้ทำรายการอย่างชัดเจน เป็นต้น
4. การดูแลและรับผิดชอบลูกค้าให้ได้รับความคุ้มครองจากความสูญเสียที่เกิดจากการกระทำทุจริตโดยบุคคลอื่น โดยการให้บริการผ่านเครื่อง ATM และการสอบสวนข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สถาบันการเงินต้องถือปฏิบัติตามหนังสือเวียนที่ ธปท.งก. (ว) 1230/2537 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 เรื่อง หลักเกณฑ์การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5. การนำแนวทางป้องกันข้างต้นไปประยุกต์ใช้กับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่นที่มีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกัน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ปัจจุบันปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นกับเครื่อง ATM ในประเทศไทยเริ่มมีจำนวนมากขึ้น โดยวิธีการทุจริตที่แพร่หลายได้แก่ การใช้เครื่องบันทึกข้อมูลในแถบแม่เหล็ก (Skimmer) ติดไว้บริเวณช่องสอดบัตรของเครื่อง ATM เพื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ ของบัตร และนำไปทำบัตรปลอม ประกอบกับการใช้วิธีการเพื่อให้เจ้าของบัตรเปิดเผยรหัสผ่านหรือลักลอบติดตั้งเครื่องมือเพื่อให้ได้รหัสผ่าน และนำไปใช้ควบคู่กับบัตรปลอมที่ทำขึ้น ซึ่งทำให้ผู้กระทำทุจริตสามารถทำรายการถอนเงินหรือโอนเงินจากบัญชีของเจ้าของบัตรได้
ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้มีหนังสือเวียนถึงสถาบันการเงินทุกแห่งที่มีการให้บริการผ่านเครื่อง ATM เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้น และจัดให้มีแนวทางป้องกันการทุจริตดังกล่าว ดังนี้
1. การเพิ่มความระมัดระวังและจัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับการให้บริการทางการเงินผ่านเครื่อง ATM ให้มีความเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงและพื้นที่ที่ ATM ตั้งอยู่
2. การให้ข้อมูลและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้บริการทางการเงินผ่านเครื่อง ATM ได้อย่างปลอดภัย
3. การจัดให้มีช่องทางในการรับแจ้งปัญหาและข้อร้องเรียนจากลูกค้า เช่น การจัดให้มีหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ไว้ที่เครื่อง ATM และที่ด้านหลังของบัตรที่ใช้ทำรายการอย่างชัดเจน เป็นต้น
4. การดูแลและรับผิดชอบลูกค้าให้ได้รับความคุ้มครองจากความสูญเสียที่เกิดจากการกระทำทุจริตโดยบุคคลอื่น โดยการให้บริการผ่านเครื่อง ATM และการสอบสวนข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สถาบันการเงินต้องถือปฏิบัติตามหนังสือเวียนที่ ธปท.งก. (ว) 1230/2537 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 เรื่อง หลักเกณฑ์การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5. การนำแนวทางป้องกันข้างต้นไปประยุกต์ใช้กับการให้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ประเภทอื่นที่มีความเสี่ยงในลักษณะเดียวกัน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-