กรุงเทพ--20 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (19 พฤษภาคม 2548) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ภายหลังเสร็จสิ้นการเยือนบรูไน ดารุสซาลาม อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤษภาคม 2548 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การเยือนครั้งนี้ เป็นการเยือนบรูไนอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซันนัล โบลเกียห์แห่งบรูไน เข้าเฝ้า ฯ เจ้าชายโมฮาเหม็ดพระอนุชา ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ พร้อมทั้งได้พบปะกับแรงงานไทยในบรูไน ได้เยี่ยมชมสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนชาวบรูไน ตลอดจนได้พบสนทนากับนักธุรกิจผู้ประกอบการไทยและนักศึกษาไทยในบรูไนด้วย
2. บรูไนเป็นประเทศที่มีความสำคัญ ในฐานะที่มีทรัพยากรน้ำมัน ความสัมพันธ์ไทยและบรูไน ดำเนินมาด้วยความราบรื่นโดยตลอดโดยไม่มีปัญหา การหารือข้อราชการระหว่างการเยือนในครั้งนี้จึงเน้นการกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือระหว่างกันให้มากขึ้น
3. ในระหว่างการเข้าเฝ้า ฯ สมเด็จพระราชาธิบดี รัฐมนตรีว่าการ ฯ ได้กราบบังคมทูลเชิญชวนให้ชาวบรูไนเดินทางมาประเทศไทยเพื่อใช้บริการของโรงพยาบาลและระบบการรักษาพยาบาลของไทย ซึ่งได้มาตรฐานสากล โดยที่ทราบว่า ปัจจุบันประชาชนบรูไนจำนวนไม่น้อยใช้บริการการรักษาพยาบาลที่สิงคโปร์และมาเลเซีย และฝ่ายบรูไนก็ยินดีรับพิจารณา
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการขยายความร่วมมือด้านการศึกษา ซึ่งไทยประสงค์ที่จะสนับสนุนให้นักศึกษาไทยที่สนใจ โดยเฉพาะนักศึกษาไทยมุสลิม สามารถเดินทางไปศึกษาในสถาบันการศึกษาของบรูไน เช่น University of Brunei Darussalam มากขึ้น ทั้งวิชาการด้านศาสนาอิสลาม และสาขาวิชาชีพ เช่น วิชาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน เนื่องจากบรูไนเป็นประเทศมุสลิมสายกลาง ระบบการเรียนการสอนได้มาตรฐาน และมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ในปัจจุบันมีนักศึกษาไทยศึกษาในบรูไนประมาณ 20 คน นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เสนอให้เพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างกันมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อระหว่างกัน อนึ่ง ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในเรื่องการปฏิรูปสหประชาชาติด้วย ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าควรดำเนินการเพื่อประโยชน์โดยส่วนรวมของประเทศสมาชิกทั้งหมด
4. ในการพบปะกับตัวแทนภาคเอกชนและชุมชนชาวไทยในบรูไนนั้น ได้ทราบว่า โอกาสทางธุรกิจของไทยในบรูไนยังมีอยู่ไม่น้อย เช่น ธุรกิจการก่อสร้าง ความร่วมมือด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและธุรกิจการโรงแรม ร้านอาหารไทยในบรูไนก็เป็นที่นิยมมากและยังมีอยู่ไม่มากนัก แรงงานไทยในบรูไนทั้งประเทศมีประมาณ 9,000 คน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีโอกาสพบปะกับคนงานไทยที่ โรงงานของบริษัท Jati Freedom Textiles จำกัด ซึ่งมีจำนวนกว่า 300 คน และได้เห็นว่า คนงานไทยมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวลือเรื่องอัตราค่าจ้างที่อาจถูกปรับลดลง ซึ่งได้สร้างความกังวลให้กับแรงงานไทย แต่ในระหว่างการพบปะกับรัฐมนตรีว่าการฯ ทางบริษัทได้ประกาศยืนยันว่าจะไม่มีการปรับลดเป็นอย่างใด นอกจากนั้น แรงงานไทยยังได้รับโอกาสที่จะทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างด้วย
5. ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการที่คณะผู้แทนของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ มีความพยายามที่จะเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ กรณีเหตุการณ์ อ. ตากใบนั้น รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่าได้ทราบเรื่องแล้ว และฝ่ายไทยไม่มีข้อขัดข้อง เพราะฝ่ายไทยดำเนินการด้วยความโปร่งใส ไม่มีปัญหา ผู้แทนดังกล่าวมิได้มุ่งที่จะมาประเทศไทยเพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ แต่มีกำหนดการที่จะมาประชุมในประเทศไทยอยู่แล้ว ที่ผ่านมาได้เคยมีคณะอื่น เช่น ประธานองค์การศาสนาอิสลาม Nahdlatul Ulama ของอินโดนีเซีย ก็เคยลงไปดูข้อเท็จจริงในพื้นที่ภาคใต้ นอกจากนั้น เชื่อว่าการที่รัฐบาลไทยตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติขึ้น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวานนี้ (19 พฤษภาคม 2548) ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ภายหลังเสร็จสิ้นการเยือนบรูไน ดารุสซาลาม อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤษภาคม 2548 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การเยือนครั้งนี้ เป็นการเยือนบรูไนอย่างเป็นทางการตามคำเชิญของเจ้าชายโมฮาเหม็ด โบลเกียห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซันนัล โบลเกียห์แห่งบรูไน เข้าเฝ้า ฯ เจ้าชายโมฮาเหม็ดพระอนุชา ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ พร้อมทั้งได้พบปะกับแรงงานไทยในบรูไน ได้เยี่ยมชมสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนชาวบรูไน ตลอดจนได้พบสนทนากับนักธุรกิจผู้ประกอบการไทยและนักศึกษาไทยในบรูไนด้วย
2. บรูไนเป็นประเทศที่มีความสำคัญ ในฐานะที่มีทรัพยากรน้ำมัน ความสัมพันธ์ไทยและบรูไน ดำเนินมาด้วยความราบรื่นโดยตลอดโดยไม่มีปัญหา การหารือข้อราชการระหว่างการเยือนในครั้งนี้จึงเน้นการกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือระหว่างกันให้มากขึ้น
3. ในระหว่างการเข้าเฝ้า ฯ สมเด็จพระราชาธิบดี รัฐมนตรีว่าการ ฯ ได้กราบบังคมทูลเชิญชวนให้ชาวบรูไนเดินทางมาประเทศไทยเพื่อใช้บริการของโรงพยาบาลและระบบการรักษาพยาบาลของไทย ซึ่งได้มาตรฐานสากล โดยที่ทราบว่า ปัจจุบันประชาชนบรูไนจำนวนไม่น้อยใช้บริการการรักษาพยาบาลที่สิงคโปร์และมาเลเซีย และฝ่ายบรูไนก็ยินดีรับพิจารณา
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการขยายความร่วมมือด้านการศึกษา ซึ่งไทยประสงค์ที่จะสนับสนุนให้นักศึกษาไทยที่สนใจ โดยเฉพาะนักศึกษาไทยมุสลิม สามารถเดินทางไปศึกษาในสถาบันการศึกษาของบรูไน เช่น University of Brunei Darussalam มากขึ้น ทั้งวิชาการด้านศาสนาอิสลาม และสาขาวิชาชีพ เช่น วิชาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน เนื่องจากบรูไนเป็นประเทศมุสลิมสายกลาง ระบบการเรียนการสอนได้มาตรฐาน และมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ในปัจจุบันมีนักศึกษาไทยศึกษาในบรูไนประมาณ 20 คน นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เสนอให้เพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างกันมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อระหว่างกัน อนึ่ง ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในเรื่องการปฏิรูปสหประชาชาติด้วย ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าควรดำเนินการเพื่อประโยชน์โดยส่วนรวมของประเทศสมาชิกทั้งหมด
4. ในการพบปะกับตัวแทนภาคเอกชนและชุมชนชาวไทยในบรูไนนั้น ได้ทราบว่า โอกาสทางธุรกิจของไทยในบรูไนยังมีอยู่ไม่น้อย เช่น ธุรกิจการก่อสร้าง ความร่วมมือด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและธุรกิจการโรงแรม ร้านอาหารไทยในบรูไนก็เป็นที่นิยมมากและยังมีอยู่ไม่มากนัก แรงงานไทยในบรูไนทั้งประเทศมีประมาณ 9,000 คน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ ได้มีโอกาสพบปะกับคนงานไทยที่ โรงงานของบริษัท Jati Freedom Textiles จำกัด ซึ่งมีจำนวนกว่า 300 คน และได้เห็นว่า คนงานไทยมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวลือเรื่องอัตราค่าจ้างที่อาจถูกปรับลดลง ซึ่งได้สร้างความกังวลให้กับแรงงานไทย แต่ในระหว่างการพบปะกับรัฐมนตรีว่าการฯ ทางบริษัทได้ประกาศยืนยันว่าจะไม่มีการปรับลดเป็นอย่างใด นอกจากนั้น แรงงานไทยยังได้รับโอกาสที่จะทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างด้วย
5. ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับการที่คณะผู้แทนของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ มีความพยายามที่จะเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ กรณีเหตุการณ์ อ. ตากใบนั้น รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่าได้ทราบเรื่องแล้ว และฝ่ายไทยไม่มีข้อขัดข้อง เพราะฝ่ายไทยดำเนินการด้วยความโปร่งใส ไม่มีปัญหา ผู้แทนดังกล่าวมิได้มุ่งที่จะมาประเทศไทยเพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ แต่มีกำหนดการที่จะมาประชุมในประเทศไทยอยู่แล้ว ที่ผ่านมาได้เคยมีคณะอื่น เช่น ประธานองค์การศาสนาอิสลาม Nahdlatul Ulama ของอินโดนีเซีย ก็เคยลงไปดูข้อเท็จจริงในพื้นที่ภาคใต้ นอกจากนั้น เชื่อว่าการที่รัฐบาลไทยตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติขึ้น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-