จากข้อสรุปของการหารือกันระหว่างคณะกรรมการประสานงานการปฏิบัติตามกฎหมายร่วมทุนระหว่างเอกชนกับรัฐที่มีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เป็นประธาน ร่วมกับ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ในเรื่องสัญญาสัมปทานและผังรายการใหม่ของไอทีวี ที่มีมติให้ขยายเวลาไพรม์ไทม์จาก 19.00 — 21.30 น. เป็น 18.00 — 23.00 น. โดยให้เหตุผลว่ามติครม.เมื่อวันที่ 4 พ.ย.2546 ออกมารองรับให้ช่วงเวลาไพรม์ไทม์ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ส่วนการปรับผังรายการใหม่ของไอทีวีในวันที่ 1 เม.ย.นี้ให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาสัญญาไอทีวีทั้งระบบ ขึ้นมาศึกษาอย่างละเอียดอีกครั้งว่าจะมีการแก้สัญญาไอทีวีเปลี่ยนแปลงผังรายการได้หรือไม่
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (31 มี.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการข่าวยามเช้า ทางคลื่นวิทยุ 101.0 เมกกะเฮิรต์ ถึงกรณีดังกล่าวว่า คงไม่ใช่เรื่องที่จะต้องประนีประนอมกัน ตนคิดว่าสิ่งที่ทุกฝ่ายเรียกร้องคือ 1.ต้องรักษาเจตนารมณ์ของการมีโทรทัศน์เสรีที่เกิดขึ้นมาเพื่อจะให้เป็นโทรทัศน์ที่รับใช้สังคมในเรื่องของข้อมูลข่าวสารมากกว่าที่จะคำนึงถึงเรื่องของผลตอบแทนทางธุรกิจ และก็ไม่อยากให้มีการแทรกแซงทางการเมือง 2.ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเป็นผลประโยชน์ที่ขัดกันอย่างชัดเจนระหว่างผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่รัฐพึงจะได้รับจากไอทีวี
‘เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก ประการหนึ่งก็คือว่าในส่วนของการที่จะมากระทบกับเจตนารมณ์ของไอทีวี การไปเปลี่ยนนิยามหรือขยายนิยามของคำว่าไพรม์ไทม์ คือช่วงเวลาที่คนดูมากที่สุดเพื่อไปเปิดโอกาสให้ไอทีวีสามารถเสนอรายการอื่นที่ไม่ใช่เรื่องของข่าว สาระ แต่เป็นเรื่องของบันเทิงตรงนี้ถือว่าผิดเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานีนี้ขึ้นมา อีกประการหนึ่งการที่ไปเจรจายอมรับตรงนี้ทำให้อำนาจต่อรองของฝ่ายรัฐหรือฝ่ายประชาชนเสียไปมาก เพราะว่าเป็นที่ทราบกันดีว่าไอทีวีอยากจะปรับผังรายการในวันที่ 1 เม.ย.อยู่แล้ว ทีนี้สัญญายังไม่ได้มีการแก้ไขเพราะฉะนั้นถ้าไอทีวียังยืนยันจะปรับผังรายการ รัฐต้องยืนยันชัดเจนว่าไอทีวีทำผิดสัญญา เมื่อผิดสัญญาก็ต้องมีการดำเนินการฟ้องร้อง แต่ถ้าหากว่าคนของรัฐบาลไปบอกทำนองว่ามันทำได้อันนี้ก็ทำให้อำนาจต่อรองของฝ่ายรัฐสูญเสียไปอย่างมาก’ นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า ค่อนข้างจะสมประโยชน์กับทางฝ่ายไอทีวีเลยทีเดียว มันไม่ใช่เรื่องของการไปต่อรองหรือไปอะไรเลยด้วยซ้ำ ซึ่งเท่ากับเป็นการไปเปิดช่องรับรองในสิ่งที่ไอทีวีต้องการจะทำอยู่แล้ว คือการที่จะปรับผังรายการ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยืนยันว่าสัญญาไอทีวียังไม่ได้แก้ไข เพราะฉะนั้นถ้ามีการไปปรับผังรายการ รัฐต้องยืนยันจุดเดียวว่าเป็นการทำผิดสัญญา ส่วนกรณีที่จะอ้างคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ จุดยืนของรัฐบาลก็ควรจะชัดเจนเช่นเดียวกันว่า อนุญาโตตุลาการไม่มีอำนาจในการที่จะไปวินิจฉัยในทำนองที่จะนำไปสู่การแก้ไขสัญญาได้ อนุญาโตฯทำได้เพียงแค่ดูว่ามีการกระทำผิดสัญญาและจะชดเชยความเสียหายกันอย่างไร แต่ไม่ใช่มาแก้ไขสัญญาด้วยตัวเอง สิ่งนี้ก็ควรเป็นประเด็นหลักที่รัฐจะต้องนำเรื่องของคำวินิจฉัยไปฟ้องร้องต่อศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 31/03/47--จบ--
-สส-
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (31 มี.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการข่าวยามเช้า ทางคลื่นวิทยุ 101.0 เมกกะเฮิรต์ ถึงกรณีดังกล่าวว่า คงไม่ใช่เรื่องที่จะต้องประนีประนอมกัน ตนคิดว่าสิ่งที่ทุกฝ่ายเรียกร้องคือ 1.ต้องรักษาเจตนารมณ์ของการมีโทรทัศน์เสรีที่เกิดขึ้นมาเพื่อจะให้เป็นโทรทัศน์ที่รับใช้สังคมในเรื่องของข้อมูลข่าวสารมากกว่าที่จะคำนึงถึงเรื่องของผลตอบแทนทางธุรกิจ และก็ไม่อยากให้มีการแทรกแซงทางการเมือง 2.ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเป็นผลประโยชน์ที่ขัดกันอย่างชัดเจนระหว่างผลตอบแทนหรือผลประโยชน์ที่รัฐพึงจะได้รับจากไอทีวี
‘เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก ประการหนึ่งก็คือว่าในส่วนของการที่จะมากระทบกับเจตนารมณ์ของไอทีวี การไปเปลี่ยนนิยามหรือขยายนิยามของคำว่าไพรม์ไทม์ คือช่วงเวลาที่คนดูมากที่สุดเพื่อไปเปิดโอกาสให้ไอทีวีสามารถเสนอรายการอื่นที่ไม่ใช่เรื่องของข่าว สาระ แต่เป็นเรื่องของบันเทิงตรงนี้ถือว่าผิดเจตนารมณ์ของการก่อตั้งสถานีนี้ขึ้นมา อีกประการหนึ่งการที่ไปเจรจายอมรับตรงนี้ทำให้อำนาจต่อรองของฝ่ายรัฐหรือฝ่ายประชาชนเสียไปมาก เพราะว่าเป็นที่ทราบกันดีว่าไอทีวีอยากจะปรับผังรายการในวันที่ 1 เม.ย.อยู่แล้ว ทีนี้สัญญายังไม่ได้มีการแก้ไขเพราะฉะนั้นถ้าไอทีวียังยืนยันจะปรับผังรายการ รัฐต้องยืนยันชัดเจนว่าไอทีวีทำผิดสัญญา เมื่อผิดสัญญาก็ต้องมีการดำเนินการฟ้องร้อง แต่ถ้าหากว่าคนของรัฐบาลไปบอกทำนองว่ามันทำได้อันนี้ก็ทำให้อำนาจต่อรองของฝ่ายรัฐสูญเสียไปอย่างมาก’ นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า ค่อนข้างจะสมประโยชน์กับทางฝ่ายไอทีวีเลยทีเดียว มันไม่ใช่เรื่องของการไปต่อรองหรือไปอะไรเลยด้วยซ้ำ ซึ่งเท่ากับเป็นการไปเปิดช่องรับรองในสิ่งที่ไอทีวีต้องการจะทำอยู่แล้ว คือการที่จะปรับผังรายการ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยืนยันว่าสัญญาไอทีวียังไม่ได้แก้ไข เพราะฉะนั้นถ้ามีการไปปรับผังรายการ รัฐต้องยืนยันจุดเดียวว่าเป็นการทำผิดสัญญา ส่วนกรณีที่จะอ้างคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ จุดยืนของรัฐบาลก็ควรจะชัดเจนเช่นเดียวกันว่า อนุญาโตตุลาการไม่มีอำนาจในการที่จะไปวินิจฉัยในทำนองที่จะนำไปสู่การแก้ไขสัญญาได้ อนุญาโตฯทำได้เพียงแค่ดูว่ามีการกระทำผิดสัญญาและจะชดเชยความเสียหายกันอย่างไร แต่ไม่ใช่มาแก้ไขสัญญาด้วยตัวเอง สิ่งนี้ก็ควรเป็นประเด็นหลักที่รัฐจะต้องนำเรื่องของคำวินิจฉัยไปฟ้องร้องต่อศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 31/03/47--จบ--
-สส-