อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยเป็นหนึ่งใน 13 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาให้มีศักยภาพในการผลิตที่ทัดเทียมหรือเหนือกว่าคู่แข่งขัน เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศคู่แข่งอย่าง จีน เวียดนาม ที่ได้เปรียบไทยในเรื่องของต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่าแต่สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับสินค้าของไทยมากยิ่งขึ้น
การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศไทย ประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์พลาสติก ท่อพีวีซีและข้อต่อ ถุงและกระสอบพลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พลาสติกปูพื้นและผนัง กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก และเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น โดยผลผลิต 70% จำหน่ายในประเทศ ที่เหลือเป็นการส่งออก โรงงานส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กมีถึงร้อยละ 90 ส่วนอีกร้อยละ 10 เป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการส่งออก ส่วนใหญ่ใช้แรงงานในสัดส่วนที่สูง และได้รับเทคโนโลยีการผลิตจากต่างชาติที่ร่วมทุน ส่วนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ เม็ดพลาสติก HDPE, LDPE, LLDPE, PP, PS, ABS เป็นต้น โดยมียอดการใช้เม็ดพลาสติกในการผลิตในประเทศปีละประมาณ 2.4 ล้านตัน ซึ่งมาจากแหล่งในประเทศ 1.7 ล้านตัน และนำเข้า 0.7 ล้านตัน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกประมาณ 4,100 ราย ส่วนใหญ่โรงงานผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกประมาณ 80-90% กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล มีการจ้างแรงงานโดยตรงในอุตสาหกรรม ประมาณ 130,000 คน และมีแรงงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอีกประมาณ 1.3 ล้านคน (ที่มา: สำนักบริการส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออก)
สำหรับการส่งออกสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทย ได้แก่ บรรจุภัณฑ์พลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ถุงและกระสอบพลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบ กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก หลอดและท่อพลาสติก พลาสติกปูพื้นและผนัง เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ เป็นต้น จากข้อมูลของกรมเจราจาการค้าระหว่างประเทศ และกรมศุลกากร พบว่ามูลค่าการส่งออกรวมผลิตภัณฑ์พลาสติกตั้งแต่ปี 2542-2546 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวมตั้งแต่ปี 2542-2545 เท่ากับ 28,720.9 ล้านบาท 35,439.8 ล้านบาท 38,052.1 ล้านบาท และ 42,667.7 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในปี 2546 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 51,523.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.76 เมื่อเทียบปี 2545
สำหรับตลาดหลักในการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2546 มากที่สุดถึง 8,645.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.78 ของมูลค่าการส่งออกรวม รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และฮ่องกง โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 8,271.2 ล้านบาท 5,176.7 ล้านบาท 2,660.40 ล้านบาท และ 2,641.6 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีผลิตภัณฑ์พลาสติกหลักที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดคือ ถุงและกระสอบพลาสติกมีมูลค่าส่งออกถึง 16,092.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.23 ของมูลค่าส่งออกรวมในกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก รองลงมาคือการส่งออกแผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ และผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ มีมูลค่าส่งออกเท่ากับ 14,696.1 ล้านบาท และ 14,313.4 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.52 และร้อยละ 27.78 ตามลำดับ
สำหรับตลาดที่มีศักยภาพในการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทย ได้แก่ประเทศออสเตรเลีย จีนอินโดนีเชีย เกาหลีใต้ ปากีสถาน และกัมพูชา ซึ่งในปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศดังกล่าวมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงมาก จึงเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยที่จะทำการขยายตลาดการส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ให้มากขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งออกในปี 2547 ที่ทางกรมส่งเสริมการส่งออกคาดว่ามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.62 จากปี 2546
ส่วนการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยตั้งแต่ปี 2542-2545 พบว่ามีมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นทุกปีโดยมีมูลค่านำเข้ารวม 29,002.5 ล้านบาท, 37,981.7 ล้านบาท, 38,411.3 ล้านบาท, 41,814.1 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในปี 2546 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวม 44,943.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.48 โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน มาเลเชีย และสิงค์โปร์ โดยผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด คือ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าถึง 24,547.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.61 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกโดยรวม และอัตราการขยายตัวของการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ถึงร้อยละ 12.58
หากพิจารณาภาวะดุลการค้าตั้งแต่ปี 2542-2544 พบว่าไทยมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก โดยเฉพาะในปี 2543 ไทยขาดดุลการค้าถึง 2,541.9 ล้านบาท อย่างไรก็ตามในปี 2545 และปี 2546 ไทยเริ่มมีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมากกว่ามูลค่าการนำเข้าโดยเฉพาะในปี 2546 ไทยมีมูลค่าการส่งออกมากกว่านำเข้าถึง 6,579.9 ล้านบาท จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกไทยที่จะมีโอกาสเติบโตในการขยายตลาดใหม่สำหรับการส่งออกให้มากขึ้นในอนาคต
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในปัจจุบันประสบปัญหาด้านการส่งออกที่สำคัญคือ
1) ผู้นำเข้าในต่างประเทศมีการกีดกันการค้าโดยมีการกำหนดมาตรการปกป้องสภาพแวดล้อมด้วยการลดการนำเข้าสินค้าบรรจุภัณฑ์พลาสติก หรือมีการเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์
2) เม็ดพลาสติกขาดแคลนและราคาแพงบางช่วง
3) ต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะค่าแรงเมื่อเทียบกับ จีน อินเดีย เวียดนาม
4) ผู้ส่งออกขาดข้อมูลตลาด เศรษฐกิจ และข้อมูลของประเทศเป้าหมายในตลาดส่งออกใหม่ๆ
ดังนั้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกโดยเฉพาะที่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ควรพัฒนาด้านการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ และมีมาตรฐานตามที่ตลาดโลกต้องการ ส่วนภาครัฐควรจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกสินค้าสำเร็จรูปพลาสติกให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีช่องทางในการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมากขึ้นต่อไป
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกในประเทศไทย ประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์พลาสติก ท่อพีวีซีและข้อต่อ ถุงและกระสอบพลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พลาสติกปูพื้นและผนัง กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก และเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น โดยผลผลิต 70% จำหน่ายในประเทศ ที่เหลือเป็นการส่งออก โรงงานส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็กมีถึงร้อยละ 90 ส่วนอีกร้อยละ 10 เป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการส่งออก ส่วนใหญ่ใช้แรงงานในสัดส่วนที่สูง และได้รับเทคโนโลยีการผลิตจากต่างชาติที่ร่วมทุน ส่วนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ เม็ดพลาสติก HDPE, LDPE, LLDPE, PP, PS, ABS เป็นต้น โดยมียอดการใช้เม็ดพลาสติกในการผลิตในประเทศปีละประมาณ 2.4 ล้านตัน ซึ่งมาจากแหล่งในประเทศ 1.7 ล้านตัน และนำเข้า 0.7 ล้านตัน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกประมาณ 4,100 ราย ส่วนใหญ่โรงงานผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกประมาณ 80-90% กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล มีการจ้างแรงงานโดยตรงในอุตสาหกรรม ประมาณ 130,000 คน และมีแรงงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอีกประมาณ 1.3 ล้านคน (ที่มา: สำนักบริการส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออก)
สำหรับการส่งออกสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทย ได้แก่ บรรจุภัณฑ์พลาสติก ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ถุงและกระสอบพลาสติก แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก เครื่องแต่งกายและของใช้ประกอบ กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก เครื่องใช้สำนักงานทำด้วยพลาสติก หลอดและท่อพลาสติก พลาสติกปูพื้นและผนัง เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารพลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ เป็นต้น จากข้อมูลของกรมเจราจาการค้าระหว่างประเทศ และกรมศุลกากร พบว่ามูลค่าการส่งออกรวมผลิตภัณฑ์พลาสติกตั้งแต่ปี 2542-2546 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรวมตั้งแต่ปี 2542-2545 เท่ากับ 28,720.9 ล้านบาท 35,439.8 ล้านบาท 38,052.1 ล้านบาท และ 42,667.7 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในปี 2546 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 51,523.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.76 เมื่อเทียบปี 2545
สำหรับตลาดหลักในการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมในปี 2546 มากที่สุดถึง 8,645.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.78 ของมูลค่าการส่งออกรวม รองลงมาคือประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และฮ่องกง โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 8,271.2 ล้านบาท 5,176.7 ล้านบาท 2,660.40 ล้านบาท และ 2,641.6 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีผลิตภัณฑ์พลาสติกหลักที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุดคือ ถุงและกระสอบพลาสติกมีมูลค่าส่งออกถึง 16,092.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.23 ของมูลค่าส่งออกรวมในกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติก รองลงมาคือการส่งออกแผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบ และผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ มีมูลค่าส่งออกเท่ากับ 14,696.1 ล้านบาท และ 14,313.4 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.52 และร้อยละ 27.78 ตามลำดับ
สำหรับตลาดที่มีศักยภาพในการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทย ได้แก่ประเทศออสเตรเลีย จีนอินโดนีเชีย เกาหลีใต้ ปากีสถาน และกัมพูชา ซึ่งในปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศดังกล่าวมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงมาก จึงเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยที่จะทำการขยายตลาดการส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้ให้มากขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งออกในปี 2547 ที่ทางกรมส่งเสริมการส่งออกคาดว่ามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.62 จากปี 2546
ส่วนการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยตั้งแต่ปี 2542-2545 พบว่ามีมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นทุกปีโดยมีมูลค่านำเข้ารวม 29,002.5 ล้านบาท, 37,981.7 ล้านบาท, 38,411.3 ล้านบาท, 41,814.1 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในปี 2546 ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีมูลค่าการนำเข้ารวม 44,943.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.48 โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน มาเลเชีย และสิงค์โปร์ โดยผลิตภัณฑ์หลักที่มีมูลค่านำเข้าสูงสุด คือ แผ่นฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติก มีมูลค่าการนำเข้าถึง 24,547.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.61 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกโดยรวม และอัตราการขยายตัวของการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ถึงร้อยละ 12.58
หากพิจารณาภาวะดุลการค้าตั้งแต่ปี 2542-2544 พบว่าไทยมีมูลค่าการส่งออกน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก โดยเฉพาะในปี 2543 ไทยขาดดุลการค้าถึง 2,541.9 ล้านบาท อย่างไรก็ตามในปี 2545 และปี 2546 ไทยเริ่มมีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมากกว่ามูลค่าการนำเข้าโดยเฉพาะในปี 2546 ไทยมีมูลค่าการส่งออกมากกว่านำเข้าถึง 6,579.9 ล้านบาท จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกไทยที่จะมีโอกาสเติบโตในการขยายตลาดใหม่สำหรับการส่งออกให้มากขึ้นในอนาคต
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยในปัจจุบันประสบปัญหาด้านการส่งออกที่สำคัญคือ
1) ผู้นำเข้าในต่างประเทศมีการกีดกันการค้าโดยมีการกำหนดมาตรการปกป้องสภาพแวดล้อมด้วยการลดการนำเข้าสินค้าบรรจุภัณฑ์พลาสติก หรือมีการเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์
2) เม็ดพลาสติกขาดแคลนและราคาแพงบางช่วง
3) ต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะค่าแรงเมื่อเทียบกับ จีน อินเดีย เวียดนาม
4) ผู้ส่งออกขาดข้อมูลตลาด เศรษฐกิจ และข้อมูลของประเทศเป้าหมายในตลาดส่งออกใหม่ๆ
ดังนั้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกโดยเฉพาะที่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ควรพัฒนาด้านการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ และมีมาตรฐานตามที่ตลาดโลกต้องการ ส่วนภาครัฐควรจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกสินค้าสำเร็จรูปพลาสติกให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีช่องทางในการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมากขึ้นต่อไป
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-