การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ เริ่มเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม ก่อนที่จะมีการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หารือในเรื่องต่าง ๆ ต่อที่ประชุม เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้ดำเนินการตามระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ซึ่งไม่มี และวาระที่ ๒ ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๒.๑ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒.๒ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว
๒.๓ รับทราบผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ
๒.๓.๑ ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. ….
๒.๓.๒ ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ….)
พ.ศ. ….
๒.๔ รับทราบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน ๒ เรื่อง
๒.๔.๑ เรื่อง ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็น
สมาชิกของแต่ละสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย กรณีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๘
วรรคหนึ่ง หรือไม่
๒.๔.๒ เรื่อง ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตาม
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญในการ
ตราร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. ….
โดยในกรณีนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ถามประธานรัฐสภาเนื่องจากมีประเด็นสงสัยรวม ๓ ประเด็น คือ
๑. มีหลักเกณฑ์อย่างไรในการส่งเรื่องที่มีความขัดแย้งให้องค์กรอิสระพิจารณาวินิจฉัย
เรื่องต่าง ๆ
๒. ประเด็นความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎเกิดจากสาเหตุใด
ระหว่างการบันทึกคำอภิปรายคลาดเคลื่อนกับความเห็นขัดแย้ง
๓. หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้วสภาผู้แทนราษฎรจะต้องทำอย่างไรต่อไป
เพราะศาลรัฐธรรมนูญกำหนดแนวทางการปฏิบัติไว้เฉพาะในส่วนของวุฒิสภาเท่านั้น
ซึ่งประธานฯ ได้ตอบข้อคำถามดังนี้
๑. การส่งเรื่องต่าง ๆ ไปยังองค์กรอิสระเพื่อให้มีคำวินิจฉัยนั้นไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวขึ้น
อยู่กับเนื้อหาสาระของแต่ละเรื่องเป็นหลักเพราะแต่ละเรื่องมีเนื้อหาสาระและสาเหตุที่ไม่เหมือนกัน
๒. ประเด็นความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎนั้นเกิดจากสาเหตุใด
ต้องรอมติของวุฒิสภาที่จะส่งกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ซึ่งหากไม่ตรงกับคำวินิจฉัยของศาล
รัฐธรรมนูญต้องนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาต่อไป
๓. ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามีความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ราชภัฎอย่างชัดเจน และให้แก้ไขเฉพาะประเด็นที่มีความขัดแย้งเท่านั้นไม่ต้องแก้ไขทั้งฉบับโดยให้วุฒิสภาเป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ดังนั้นภายหลังจากได้รับคำวินิจฉัยแล้วในฐานะประธานรัฐสภาจึงส่งบันทึกไปให้วุฒิสภาดำเนินการตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวุฒิสภา
พิจารณาเสร็จแล้วควรจะส่งร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขแล้วกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาอีกครั้ง
เหมือนกับกระบวนการพิจารณากฎหมายทั่วไปที่ใช้อยู่ กล่าวคือ เมื่อกฎหมายผ่านการพิจารณาของ
สภาผู้แทนราษฎรแล้ว จึงนำเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาและหากมีการแก้ไขในขั้นตอนของวุฒิสภาต้อง
ส่งคืนให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาอีกครั้ง ดังนั้นจึงน่าจะอนุโลมให้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย
ราชภัฎใช้กระบวนการพิจารณานี้ด้วยเช่นกัน
จากนั้น นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ เสนอให้เลื่อน เรื่องด่วนที่ ๑๑ พระราชกำหนดเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และเรื่องด่วนที่ ๑๒ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ขึ้น มาพิจารณาก่อนและต่อด้วย เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๔ เรื่อง คือ ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. ….
ลำดับต่อมา นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมีเนื้อหาสาระให้การเพิ่มโทษความผิดฐานการก่อการร้ายเข้าไปในประมวลกฎหมาย
อาญาซึ่งมีขอบข่ายในลักษณะดังนี้คือ การที่ผู้ก่อการร้ายบังคับขู่เข็ญ รัฐบาลไทยและต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง รวมทั้งการ ก่อเหตุอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ โทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐ หรือของบุคคล หรือต่อสิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างสำคัญและกำหนดให้บุคคลที่ขู่เข็ญที่จะก่อการร้าย การสะสมกำลังพล อาวุธต่าง ๆ มีความผิดด้วยสำหรับบุคคลซึ่งสหประชาชาติมีมติหรือประกาศของคณะ มนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งรัฐบาลไทยได้รับรองแล้วกำหนดให้เป็นผู้ก่อการร้ายให้มีความผิดตามพระราชกำหนดนี้ด้วย อีกทั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติที่ ๑๓๗๓ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๑ ขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิกในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย
การพิจารณาพระราชกำหนดนี้สอดคล้องกับพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประธานฯ จึงอนุญาตให้พิจารณาและอภิปรายไปในคราวเดียวกันด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการเสนอร่างพระราชกำหนดฉบับนี้ว่าสาระสำคัญคือ การเพิ่มเติมความผิดที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายในประมวลกฎหมายอาญาเป็นฐานความผิดในกฎหมายการฟอกเงินด้วยเพื่อให้สามารถใช้กลไกตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ยึดทรัพย์ผู้ก่อการร้ายได้ ประกอบกับสถานการณ์การก่อการร้ายที่ประสงค์ต่อชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนในปัจจุบันมีมากขึ้นในประเทศใกล้เคียงและมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในประเทศไทย อันจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรงซึ่ง นายจุติ ไกรฤกษ์ นายพินิจ จันทรสุรินทร์ นายธานินทร์ ใจสมุทร นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายอลงกรณ์ พลบุตร นายสาธิต ปิตุเตชะ นายสนั่น สุธากุล นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และนายสุวโรช พะลัง ได้อภิปรายการไม่เห็นด้วย กับการตรากฎหมายทั้งสองฉบับนี้ของรัฐบาลว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างไรที่ต้องตรากฎหมายเป็น พระราชกำหนด เหตุผลการตรากฎหมายฉบับนี้เหมาะสมกับประเทศไทยมากน้อยเพียงใดสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทยหรือไม่ ควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและผลกระทบกับบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศในตะวันออกกลาง ส่วนประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
ไม่สามารถลงโทษผู้กระทำผิดในลักษณะนี้ได้ใช่หรือไม่ ในทางกลับกันการตรากฎหมายนี้จะสามารถยับยั้งการก่อการร้ายได้จริงหรือ สาเหตุที่ต้องรวบรัดการตรากฎหมายอยู่ภายใต้การกดดันจากต่างประเทศหรือไม่ ทั้งนี้ได้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดและตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนเป็นที่ตั้งหรือไม่ นอกจากนี้ขอให้รัฐบาลนำหลักรัฐศาสตร์เข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศไปพร้อมกับหลักนิติศาสตร์ด้วย สำหรับส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานฟอกเงินนั้นการขยายฐานความผิดนั้นจะเป็นการสร้างภาวะอันตรายให้กับประเทศมากกว่าปัจจุบันหรือไม่ การเพิ่มอำนาจรัฐให้มากขึ้นในกฎหมายฟอกเงินนั้นสามารถแก้ไขปัญหาความรุนแรงในประเทศได้จริงหรือในขณะที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาลอภิปรายสนับสนุนการเห็นด้วยกับการตรากฎหมายทั้ง ๒ ฉบับ ในหลายประเด็น คือ
๑. เพราะภาวะของทั้งโลกมีการก่อการร้ายรุนแรงมากขึ้นและเข้ามาใกล้ประเทศเราด้วย
จนกระทั่งมีบุคคลผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศมาหลบซ่อนตัวในประเทศไทย ดังนั้นต้องมีเครื่องมือในการจัดการกับผู้ก่อการร้าย และการก่อการร้ายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกประเทศในโลก
๒. เราเป็นประเทศสมาชิกสหประชาชาติดังนั้นจึงต้องให้ความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติ
๓. การใช้ประมวลกฎหมายอาญาที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
โดยตรงเป็นเพียงใกล้เคียงเท่านั้น และไม่ครอบคลุมจนถึงความเสียหายที่มีผลต่อเศรษฐกิจ
๔. พระราชกำหนดนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่ามีความชอบธรรมที่จะบังคับใช้ได้
๕. การออกกฎหมายฉบับนี้มีเจตนารมณ์ใช้บังคับกับประชาชนทั่วไปทุกคน
จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ตอบข้อซักถามการอภิปรายของสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรว่าพระราชกำหนดนี้ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองและได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน สำหรับประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้อยู่นั้นไม่ครอบคลุมกับฐานความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นการออกกฎหมายเพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยภายในประเทศมิได้เกิดจากการกดดันจาก ต่างประเทศแต่อย่างใด
จากนั้น นายสนั่น สุธากุล เสนอให้นับองค์ประชุม ซึ่งนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมจึงสั่งปิดประชุม
ปิดการประชุมเวลา ๑๙.๒๐ นาฬิกา
-----------------------------------------------
ชัญญา ชำนาญกุล / ผู้สรุป
กรรณิการ์ ผ่านไกร / พิมพ์
๒.๑ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๐๒ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒.๒ รับทราบเรื่องวุฒิสภาได้ลงมติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๗ พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
ลงมติเห็นชอบแล้ว
๒.๓ รับทราบผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๒ ฉบับ
๒.๓.๑ ร่างพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. ….
๒.๓.๒ ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ….)
พ.ศ. ….
๒.๔ รับทราบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน ๒ เรื่อง
๒.๔.๑ เรื่อง ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็น
สมาชิกของแต่ละสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย กรณีพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๘
วรรคหนึ่ง หรือไม่
๒.๔.๒ เรื่อง ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตาม
รัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๖ กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญในการ
ตราร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. ….
โดยในกรณีนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ถามประธานรัฐสภาเนื่องจากมีประเด็นสงสัยรวม ๓ ประเด็น คือ
๑. มีหลักเกณฑ์อย่างไรในการส่งเรื่องที่มีความขัดแย้งให้องค์กรอิสระพิจารณาวินิจฉัย
เรื่องต่าง ๆ
๒. ประเด็นความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎเกิดจากสาเหตุใด
ระหว่างการบันทึกคำอภิปรายคลาดเคลื่อนกับความเห็นขัดแย้ง
๓. หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้วสภาผู้แทนราษฎรจะต้องทำอย่างไรต่อไป
เพราะศาลรัฐธรรมนูญกำหนดแนวทางการปฏิบัติไว้เฉพาะในส่วนของวุฒิสภาเท่านั้น
ซึ่งประธานฯ ได้ตอบข้อคำถามดังนี้
๑. การส่งเรื่องต่าง ๆ ไปยังองค์กรอิสระเพื่อให้มีคำวินิจฉัยนั้นไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวขึ้น
อยู่กับเนื้อหาสาระของแต่ละเรื่องเป็นหลักเพราะแต่ละเรื่องมีเนื้อหาสาระและสาเหตุที่ไม่เหมือนกัน
๒. ประเด็นความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎนั้นเกิดจากสาเหตุใด
ต้องรอมติของวุฒิสภาที่จะส่งกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง ซึ่งหากไม่ตรงกับคำวินิจฉัยของศาล
รัฐธรรมนูญต้องนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาต่อไป
๓. ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ามีความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ราชภัฎอย่างชัดเจน และให้แก้ไขเฉพาะประเด็นที่มีความขัดแย้งเท่านั้นไม่ต้องแก้ไขทั้งฉบับโดยให้วุฒิสภาเป็นผู้ดำเนินการให้เป็นไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ดังนั้นภายหลังจากได้รับคำวินิจฉัยแล้วในฐานะประธานรัฐสภาจึงส่งบันทึกไปให้วุฒิสภาดำเนินการตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวุฒิสภา
พิจารณาเสร็จแล้วควรจะส่งร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขแล้วกลับมาให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาอีกครั้ง
เหมือนกับกระบวนการพิจารณากฎหมายทั่วไปที่ใช้อยู่ กล่าวคือ เมื่อกฎหมายผ่านการพิจารณาของ
สภาผู้แทนราษฎรแล้ว จึงนำเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาและหากมีการแก้ไขในขั้นตอนของวุฒิสภาต้อง
ส่งคืนให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาอีกครั้ง ดังนั้นจึงน่าจะอนุโลมให้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย
ราชภัฎใช้กระบวนการพิจารณานี้ด้วยเช่นกัน
จากนั้น นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ เสนอให้เลื่อน เรื่องด่วนที่ ๑๑ พระราชกำหนดเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และเรื่องด่วนที่ ๑๒ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ขึ้น มาพิจารณาก่อนและต่อด้วย เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว จำนวน ๔ เรื่อง คือ ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. ….
ลำดับต่อมา นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมีเนื้อหาสาระให้การเพิ่มโทษความผิดฐานการก่อการร้ายเข้าไปในประมวลกฎหมาย
อาญาซึ่งมีขอบข่ายในลักษณะดังนี้คือ การที่ผู้ก่อการร้ายบังคับขู่เข็ญ รัฐบาลไทยและต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรง รวมทั้งการ ก่อเหตุอย่างร้ายแรงแก่ระบบการขนส่งสาธารณะ โทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐ หรือของบุคคล หรือต่อสิ่งแวดล้อมอันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างสำคัญและกำหนดให้บุคคลที่ขู่เข็ญที่จะก่อการร้าย การสะสมกำลังพล อาวุธต่าง ๆ มีความผิดด้วยสำหรับบุคคลซึ่งสหประชาชาติมีมติหรือประกาศของคณะ มนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งรัฐบาลไทยได้รับรองแล้วกำหนดให้เป็นผู้ก่อการร้ายให้มีความผิดตามพระราชกำหนดนี้ด้วย อีกทั้งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีมติที่ ๑๓๗๓ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ค.ศ. ๒๐๐๑ ขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิกในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย
การพิจารณาพระราชกำหนดนี้สอดคล้องกับพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประธานฯ จึงอนุญาตให้พิจารณาและอภิปรายไปในคราวเดียวกันด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมจึงชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการเสนอร่างพระราชกำหนดฉบับนี้ว่าสาระสำคัญคือ การเพิ่มเติมความผิดที่เกี่ยวกับการก่อการร้ายในประมวลกฎหมายอาญาเป็นฐานความผิดในกฎหมายการฟอกเงินด้วยเพื่อให้สามารถใช้กลไกตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ยึดทรัพย์ผู้ก่อการร้ายได้ ประกอบกับสถานการณ์การก่อการร้ายที่ประสงค์ต่อชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนในปัจจุบันมีมากขึ้นในประเทศใกล้เคียงและมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในประเทศไทย อันจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรงซึ่ง นายจุติ ไกรฤกษ์ นายพินิจ จันทรสุรินทร์ นายธานินทร์ ใจสมุทร นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายอลงกรณ์ พลบุตร นายสาธิต ปิตุเตชะ นายสนั่น สุธากุล นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และนายสุวโรช พะลัง ได้อภิปรายการไม่เห็นด้วย กับการตรากฎหมายทั้งสองฉบับนี้ของรัฐบาลว่า มีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างไรที่ต้องตรากฎหมายเป็น พระราชกำหนด เหตุผลการตรากฎหมายฉบับนี้เหมาะสมกับประเทศไทยมากน้อยเพียงใดสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทยหรือไม่ ควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและผลกระทบกับบางประเทศ โดยเฉพาะประเทศในตะวันออกกลาง ส่วนประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
ไม่สามารถลงโทษผู้กระทำผิดในลักษณะนี้ได้ใช่หรือไม่ ในทางกลับกันการตรากฎหมายนี้จะสามารถยับยั้งการก่อการร้ายได้จริงหรือ สาเหตุที่ต้องรวบรัดการตรากฎหมายอยู่ภายใต้การกดดันจากต่างประเทศหรือไม่ ทั้งนี้ได้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดและตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพพื้นฐานของประชาชนเป็นที่ตั้งหรือไม่ นอกจากนี้ขอให้รัฐบาลนำหลักรัฐศาสตร์เข้ามาแก้ไขปัญหาของประเทศไปพร้อมกับหลักนิติศาสตร์ด้วย สำหรับส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานฟอกเงินนั้นการขยายฐานความผิดนั้นจะเป็นการสร้างภาวะอันตรายให้กับประเทศมากกว่าปัจจุบันหรือไม่ การเพิ่มอำนาจรัฐให้มากขึ้นในกฎหมายฟอกเงินนั้นสามารถแก้ไขปัญหาความรุนแรงในประเทศได้จริงหรือในขณะที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาลอภิปรายสนับสนุนการเห็นด้วยกับการตรากฎหมายทั้ง ๒ ฉบับ ในหลายประเด็น คือ
๑. เพราะภาวะของทั้งโลกมีการก่อการร้ายรุนแรงมากขึ้นและเข้ามาใกล้ประเทศเราด้วย
จนกระทั่งมีบุคคลผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศมาหลบซ่อนตัวในประเทศไทย ดังนั้นต้องมีเครื่องมือในการจัดการกับผู้ก่อการร้าย และการก่อการร้ายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกประเทศในโลก
๒. เราเป็นประเทศสมาชิกสหประชาชาติดังนั้นจึงต้องให้ความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติ
๓. การใช้ประมวลกฎหมายอาญาที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย
โดยตรงเป็นเพียงใกล้เคียงเท่านั้น และไม่ครอบคลุมจนถึงความเสียหายที่มีผลต่อเศรษฐกิจ
๔. พระราชกำหนดนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วว่ามีความชอบธรรมที่จะบังคับใช้ได้
๕. การออกกฎหมายฉบับนี้มีเจตนารมณ์ใช้บังคับกับประชาชนทั่วไปทุกคน
จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ตอบข้อซักถามการอภิปรายของสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรว่าพระราชกำหนดนี้ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองและได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน สำหรับประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้อยู่นั้นไม่ครอบคลุมกับฐานความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นการออกกฎหมายเพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยภายในประเทศมิได้เกิดจากการกดดันจาก ต่างประเทศแต่อย่างใด
จากนั้น นายสนั่น สุธากุล เสนอให้นับองค์ประชุม ซึ่งนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมจึงสั่งปิดประชุม
ปิดการประชุมเวลา ๑๙.๒๐ นาฬิกา
-----------------------------------------------
ชัญญา ชำนาญกุล / ผู้สรุป
กรรณิการ์ ผ่านไกร / พิมพ์