แท็ก
อุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยสามารถทำรายได้เข้าประเทศไทยปีละหลายหมื่นล้านบาท และมีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมซิป กระดุม การฟอกย้อม เป็นต้น ทั้งนี้มีโรงงานที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมสิ่งทอรวมทั้งสิ้น 4,570 โรงงาน และเป็นแหล่งจ้างงานกว่า 1.1 ล้านคน หรือคิดเป็น 20% ของจำนวนการจ้างงานทั้งหมดของแรงงานประเทศไทย (5,039,700 คน) โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก
ในอดีตสิ่งทอของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เนื่องจากไทยมีความได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เช่น ต้นทุนแรงงาน และวัตถุดิบ เป็นต้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยเริ่มประสบกับปัญหาด้านการแข่งขัน เนื่องจากความได้เปรียบในด้านต้นทุนแรงงานของไทยนั้นหมดไป รวมทั้งต้นทุนวัตถุดิบของไทยที่สูงขึ้น เนื่องจากต้องนำเข้าวัตถุดิบบางชนิดจากต่างประเทศ นอกจากนี้ไทยยังมีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไม่เพียงพอ และไม่สามารถปรับตัวตามความต้องการของตลาดโลกได้อย่างทันท่วงที ในขณะที่การลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เช่น จีน ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
อุตสาหกรรมสิ่งทอมีรายได้ในการส่งออกติดอันดับ 1 ใน 3 ของภาคอุตสาหกรรมไทยทั้งหมดมาโดยตลอดระยะเวลา 6 ปี โดยในปี 2546 ที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด 353,008 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 เท่ากับร้อยละ 1.37 ถ้าพิจารณามูลค่าการส่งออกในอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยตั้งแต่ปี 2541 | 2546 พบว่ามีมูลค่าส่งออกมากกว่า 300,000 ล้านบาทมาโดยตลอด และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ยกเว้นปี 2542 และปี 2545 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวในอัตราที่ถดถอยเท่ากับร้อยละ |8.31 และร้อยละ |6.68 ตามลำดับ (รายละเอียดตามตาราง)
ตารางแสดงมูลค่าการส่งออกรวมในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอปี 2541-2546 (หน่วย : ล้านบาท)
2541 2542 2543 2544 2545 2546
มูลค่าการส่งออก 339,096 310,917 355,163 373,157 348,237 353,008
Growth (%) -8.31 14.23 5.07 -6.68 1.37
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ส่วนตลาดส่งออกหลักที่สำคัญของไทยในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดในปี 2546 เท่ากับ 144,506 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 40.9 รองลงมาคือ ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร ฮ่องกง และประเทศจีน โดยมีมูลค่าการส่งออก ในปี 2546 เท่ากับ 23,812 ล้านบาท, 19,015 ล้านบาท, 7,870 ล้านบาท และ 7,535 ล้านบาท ตามลำดับ โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีนมีอัตราการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากปี 2545 สูงถึงร้อยละ 45.61 เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น และฮ่องกงซึ่งมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.91 และ 8.36 ตามลำดับ ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรมีแนวโน้มการส่งออกลดลงโดยมีอัตราการขยายตัวลดลงเท่ากับร้อยละ |6.53 และร้อยละ |1.37 ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังมีประเทศหรือตลาดที่น่าสนใจอีกหลายประเทศสำหรับการขยายการส่งออก สินค้าด้านสิ่งทอไทยให้มีมากขึ้น ได้แก่ ประเทศอียิปต์ อิหร่าน มาเลเชีย เวียดนาม อินเดีย บังกลาเทศ และประเทศอิตาลี โดยพิจารณาจากแนวโน้มของอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกในปี 2546 เทียบกับปี 2545 ที่ผ่านมา พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงโดยมีอัตราการขยายตัวการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.89, ร้อยละ 55.18, ร้อยละ 37.1, ร้อยละ 32.26, ร้อยละ 26.67, ร้อยละ 23.15 และร้อยละ 21.53 ตามลำดับ ซึ่งประเทศดังกล่าวนี้น่าจะเป็นตลาดที่มีศักยภาพและเป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับการส่งออกสินค้าด้านสิ่งทอ ซึ่งไทยต้องให้ความสำคัญมากขึ้นในการขยายตลาดใหม่ไปยังประเทศดังกล่าว เพื่อรองรับกับการเปิดการค้าเสรีที่จะเกิดขึ้นในปี 2548 ซึ่งจะมีการแข่งขันรุนแรงอย่างมากในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
จากมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าสิ่งทอของไทยซึ่งมีมูลค่าส่งออกในแต่ละปีมากกว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการนำรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล ภาครัฐจึงได้ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้นทางกระทรวงอุตสาหกรรมจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสากรรมด้านนี้โดยตรง เพื่อให้มีศักยภาพทั้งด้านคุณภาพของกระบวนการผลิต ด้านระบบการจัดการที่ดี ด้านมีความสามารถในการลดต้นทุน ด้านมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นสากล และด้านกลยุทธ์การแข่งขันในระดับการค้าโลก โดยมีนโยบายจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสิ่งทอ (IT Master Plan) เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายในอุตสาหกรรมสิ่งทอของสายการผลิตทั้งระบบให้มีศักยภาพสู่ระบบมาตรฐานสากล สามารถเชื่อมข้อมูลระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และลูกค้าได้ครบวงจร ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายด้านการตลาดของอุตสาหกรรมสิ่งทอให้มีความแข็งแกร่ง
ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยในอุตสาหกรรมสิ่งทอซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ภาครัฐจะสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และในขณะเดียวกันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องมีการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และสามารถแข่งขันให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก แม้ว่าจะอยู่ในสภาวะที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงมากขึ้นก็ตาม
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
ในอดีตสิ่งทอของไทยเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เนื่องจากไทยมีความได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เช่น ต้นทุนแรงงาน และวัตถุดิบ เป็นต้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยเริ่มประสบกับปัญหาด้านการแข่งขัน เนื่องจากความได้เปรียบในด้านต้นทุนแรงงานของไทยนั้นหมดไป รวมทั้งต้นทุนวัตถุดิบของไทยที่สูงขึ้น เนื่องจากต้องนำเข้าวัตถุดิบบางชนิดจากต่างประเทศ นอกจากนี้ไทยยังมีความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไม่เพียงพอ และไม่สามารถปรับตัวตามความต้องการของตลาดโลกได้อย่างทันท่วงที ในขณะที่การลงทุนจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมีการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า เช่น จีน ลาว กัมพูชา และเวียดนาม
อุตสาหกรรมสิ่งทอมีรายได้ในการส่งออกติดอันดับ 1 ใน 3 ของภาคอุตสาหกรรมไทยทั้งหมดมาโดยตลอดระยะเวลา 6 ปี โดยในปี 2546 ที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด 353,008 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2545 เท่ากับร้อยละ 1.37 ถ้าพิจารณามูลค่าการส่งออกในอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยตั้งแต่ปี 2541 | 2546 พบว่ามีมูลค่าส่งออกมากกว่า 300,000 ล้านบาทมาโดยตลอด และมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ยกเว้นปี 2542 และปี 2545 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวในอัตราที่ถดถอยเท่ากับร้อยละ |8.31 และร้อยละ |6.68 ตามลำดับ (รายละเอียดตามตาราง)
ตารางแสดงมูลค่าการส่งออกรวมในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอปี 2541-2546 (หน่วย : ล้านบาท)
2541 2542 2543 2544 2545 2546
มูลค่าการส่งออก 339,096 310,917 355,163 373,157 348,237 353,008
Growth (%) -8.31 14.23 5.07 -6.68 1.37
ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ส่วนตลาดส่งออกหลักที่สำคัญของไทยในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดในปี 2546 เท่ากับ 144,506 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 40.9 รองลงมาคือ ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร ฮ่องกง และประเทศจีน โดยมีมูลค่าการส่งออก ในปี 2546 เท่ากับ 23,812 ล้านบาท, 19,015 ล้านบาท, 7,870 ล้านบาท และ 7,535 ล้านบาท ตามลำดับ โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศจีนมีอัตราการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นจากปี 2545 สูงถึงร้อยละ 45.61 เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น และฮ่องกงซึ่งมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.91 และ 8.36 ตามลำดับ ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรมีแนวโน้มการส่งออกลดลงโดยมีอัตราการขยายตัวลดลงเท่ากับร้อยละ |6.53 และร้อยละ |1.37 ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังมีประเทศหรือตลาดที่น่าสนใจอีกหลายประเทศสำหรับการขยายการส่งออก สินค้าด้านสิ่งทอไทยให้มีมากขึ้น ได้แก่ ประเทศอียิปต์ อิหร่าน มาเลเชีย เวียดนาม อินเดีย บังกลาเทศ และประเทศอิตาลี โดยพิจารณาจากแนวโน้มของอัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกในปี 2546 เทียบกับปี 2545 ที่ผ่านมา พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงโดยมีอัตราการขยายตัวการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.89, ร้อยละ 55.18, ร้อยละ 37.1, ร้อยละ 32.26, ร้อยละ 26.67, ร้อยละ 23.15 และร้อยละ 21.53 ตามลำดับ ซึ่งประเทศดังกล่าวนี้น่าจะเป็นตลาดที่มีศักยภาพและเป็นกลุ่มเป้าหมายสำหรับการส่งออกสินค้าด้านสิ่งทอ ซึ่งไทยต้องให้ความสำคัญมากขึ้นในการขยายตลาดใหม่ไปยังประเทศดังกล่าว เพื่อรองรับกับการเปิดการค้าเสรีที่จะเกิดขึ้นในปี 2548 ซึ่งจะมีการแข่งขันรุนแรงอย่างมากในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
จากมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าสิ่งทอของไทยซึ่งมีมูลค่าส่งออกในแต่ละปีมากกว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการนำรายได้เข้าประเทศอย่างมหาศาล ภาครัฐจึงได้ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยเป็นอย่างมาก ดังนั้นทางกระทรวงอุตสาหกรรมจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสากรรมด้านนี้โดยตรง เพื่อให้มีศักยภาพทั้งด้านคุณภาพของกระบวนการผลิต ด้านระบบการจัดการที่ดี ด้านมีความสามารถในการลดต้นทุน ด้านมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นสากล และด้านกลยุทธ์การแข่งขันในระดับการค้าโลก โดยมีนโยบายจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสิ่งทอ (IT Master Plan) เพื่อสร้างเป็นเครือข่ายในอุตสาหกรรมสิ่งทอของสายการผลิตทั้งระบบให้มีศักยภาพสู่ระบบมาตรฐานสากล สามารถเชื่อมข้อมูลระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และลูกค้าได้ครบวงจร ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายด้านการตลาดของอุตสาหกรรมสิ่งทอให้มีความแข็งแกร่ง
ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยในอุตสาหกรรมสิ่งทอซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ภาครัฐจะสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และในขณะเดียวกันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องมีการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และสามารถแข่งขันให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก แม้ว่าจะอยู่ในสภาวะที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรงมากขึ้นก็ตาม
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-