บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญทั่วไป)

ข่าวการเมือง Friday April 2, 2004 10:37 —รัฐสภา

                        บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันจันทร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๔๕ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาประชุมครบองค์ประชุม นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา
นายสหัส พินทุเสนีย์ รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่อง
คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดพิจิตร
แทนตำแหน่งที่ว่าง ปรากฏว่า นางบัวล้อม พูลลาภ เป็นผู้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา
จังหวัดพิจิตร แทนตำแหน่งที่ว่าง
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้กล่าวนำสมาชิกวุฒิสภาใหม่ (นางบัวล้อม พูลลาภ)
ปฏิญาณตนในที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เหตุขัดข้องที่ไม่อาจบรรจุกระทู้ถามเข้าระเบียบวาระการประชุมได้ภายในกำหนด
เวลา ๑๕ วัน ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๖ วรรคสาม จำนวน ๒ กระทู้ คือ
๑) กระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาด้านสุขภาพของสัตว์ป่า ของนางเพ็ญศักดิ์ จักษุจินดา
ถามนายกรัฐมนตรี
๒) กระทู้ถาม เรื่อง การกระทำที่ไม่สุจริตและผิดกฎหมายของบริษัทผู้ให้เช่ารถยนต์
(ไฟแนนซ์) ของนายสนิท จันทรวงศ์ ถามนายกรัฐมนตรี
๒. รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง การจัดสรรปริมาณข้าวส่งออกภายใต้โควต้าภาษี
ไปสหภาพยุโรป สำหรับปี ๒๕๔๗ ของคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา
ต่อจากนั้น ประธานวุฒิสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่อง คณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาศึกษาจุดผ่อนปรนจุดผ่านแดนชั่วคราวและจุดผ่านแดนถาวร ขอขยายเวลา
การพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าว ออกไปอีก ๑ ปี นับแต่วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๗
ให้ที่ประชุมพิจารณา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ และมีมติให้ขยายเวลาออกไปอีก ๖ เดือน
หลังจากนั้น ประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ได้ผลัดเปลี่ยนกัน
ทำหน้าที่ประธานของที่ประชุม โดยประธานของที่ประชุมได้เสนอที่ประชุมพิจารณากระทู้ถาม
ตามลำดับ ดังนี้
๑. กระทู้ถามด่วน เรื่อง ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาใน ๓ จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ของนายบุญเลิศ ไพรินทร์ ถามนายกรัฐมนตรี
๒. กระทู้ถามด่วน เรื่อง ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาใน ๓ จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ของนายผ่อง เล่งอี้ ถามนายกรัฐมนตรี
๓. กระทู้ถามด่วน เรื่อง ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาใน ๓ จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ของนายปราโมทย์ ไพชนม์ ถามนายกรัฐมนตรี
๔. กระทู้ถามด่วน เรื่อง ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาใน ๓ จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ของนายลำพอง พิลาสมบัติ ถามนายกรัฐมนตรี
ในการพิจารณากระทู้ถามตามลำดับที่ ๑ ถึงลำดับที่ ๔ รองนายกรัฐมนตรี
(นายวิษณุ เครืองาม) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ถามทั้ง ๔ เรื่องดังกล่าว
อนึ่ง กระทู้ถามด่วน เรื่อง ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ของนายสมควร จิตแสง ถามนายกรัฐมนตรี ผู้ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนกระทู้ถามดังกล่าว
ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๓๘
ต่อมา ประธานของที่ประชุมได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำ ญัตติ เรื่อง
ขอเสนอญัตติเรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษากรณีการหายตัวไปของ
นายสมชาย นีละไพจิตร ซึ่งนายสัก กอแสงเรือง เป็นผู้เสนอ ให้ที่ประชุมพิจารณา
ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานของที่ประชุมจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าว
เมื่อผู้เสนอญัตติได้แถลงเหตุผล และมีสมาชิกฯ อภิปรายแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติให้
ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๑๕ คน ประกอบด้วย
๑. นายสัก กอแสงเรือง ๒. นายพนัส ทัศนียานนท์
๓. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์ ๔. พันตำรวจเอก ไพจิตร ศรีคงคา
๕. นายแก้วสรร อติโพธิ ๖. นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ
๗. นายพิชัย ขำเพชร ๘. นายสุนทร จินดาอินทร์
๙. นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ๑๐. นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ
๑๑. นายโสภณ สุภาพงษ์ ๑๒. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
๑๓. พันตำรวจเอก สุรพงศ์ ไผ่นวล ๑๔. พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย
๑๕. นายสมพงษ์ สระกวี
โดยมีกำหนดการปฏิบัติภารกิจภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชุดนี้
จากนั้น ประธานของที่ประชุมได้เสนอที่ประชุมพิจารณาเรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ
พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติ
ในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
จำนวน ๒๗ คน ประกอบด้วย
๑. นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์ ๒. นายสุริยน ภูมิรัตนประพิณ
๓. นายธวัชชัย เมืองนาง ๔. นายสมควร จิตแสง
๕. พลตำรวจตรี วีระ อนันตกูล ๖. นางมลิวัลย์ เงินหมื่น
๗. นายวีระพล วัชรประทีป ๘. นายสามารถ รัตนประทีปพร
๙. นายปรีชา ปิตานนท์ ๑๐. นายสนิท กุลเจริญ
๑๑. พลเอก พนม จีนะวิจารณะ ๑๒. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
๑๓. นายสัก กอแสงเรือง ๑๔. นายอุบล เอื้อศรี
๑๕. นายสวัสดิ์ ทรัพย์เจริญ ๑๖. นายสมพร คำชื่น
๑๗. นายวิบูลย์ แช่มชื่น ๑๘. นายอนันตชัย คุณานันทกุล
๑๙. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ ๒๐. นางเตือนใจ ดีเทศน์
๒๑. นายคำพันธ์ ป้องปาน ๒๒. พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์
๒๓. นายพนัส ทัศนียานนท์ ๒๔. นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
๒๕. ร้อยตำรวจเอก ขจร เทศมาสา ๒๖. นายประเสริฐศิริ สุขะวัธนกุล
๒๗. นายวรรณชัย บุญบำรุง
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติ
เห็นชอบแล้ว หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายวราเทพ รัตนากร) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติ
ไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๗ คน ประกอบด้วย
๑. นายพิชัย ขำเพชร ๒. นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี
๓. นายวิสิษฐ์ เตชะธีราวัฒน์ ๔. นายสามารถ รัตนประทีปพร
๕. นายวิกรม อัยศิริ ๖. นายสมสิทธิ์ ศิริเจริญไชย
๗. นายสวัสดิภาพ กันทาธรรม ๘. นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ
๙. นายรส มะลิผล ๑๐. นายวรวิทย์ เชื้อเพ็ชร์
๑๑. นายปรีชา ปิตานนท์ ๑๒. นายมนัส รุ่งเรือง
๑๓. นายประเกียรติ นาสิมมา ๑๔. นายสุนทร จินดาอินทร์
๑๕. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง ๑๖. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน
๑๗. นายวิทยา มะเสนา ๑๘. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์
๑๙. นายเด่น โต๊ะมีนา ๒๐. นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช
๒๑. พลตำรวจตรี เสกสันต์ อุ่นสำราญ ๒๒. นายพิเชฐ พัฒนโชติ
๒๓. นายอิมรอน มะลูลีม ๒๔. นายการุณ ใสงาม
๒๕. นายชวลิต เศรษฐเมธีกุล ๒๖. นายมนัส คำภักดี
๒๗. นายตรีทศ นิโครธางกูร
โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. .... ซึ่งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมได้พิจารณาในวาระที่ ๒ เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนถึงมาตรา ๕ ประธานของที่ประชุมได้สั่งให้เลื่อนการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปพิจารณาต่อในการประชุมวุฒิสภาครั้งต่อไป
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๔๐ นาฬิกา
(นายมนตรี รูปสุวรรณ)
เลขาธิการวุฒิสภา
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา จำนวน ๒ ฉบับ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติการเฉลี่ยความเสียหายทั่วไปจากภยันตรายในการเดินเรือ
พ.ศ. ....
๒. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
กลุ่มงานรายงานการประชุม
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
โทร. ๐ ๒๖๖๘ ๖๒๙๐ - ๕ ต่อ ๑๑๐-๑๑๑
โทรสาร ๐ ๒๖๖๘ ๖๒๙๐ - ๕ ต่อ ๑๒๑

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ