เศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวต่อเนื่อง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูงตามอุปสงค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักยังคงเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรเป็นสำคัญ สำหรับในภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานสูงเนื่องจากเทศกาลตรุษจีนในปีก่อนอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
สำหรับอุปสงค์ในประเทศขยายตัวดีทั้งการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน แม้ว่าความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจปรับลดลงบ้าง ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจก็ได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์จากต่างประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ขณะที่หนี้ต่างประเทศในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นบ้างจากเดือนก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกุมภาพันธ์ มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 16.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว อาทิ ฐานการผลิตในอุตสาหกรรมยาสูบและปิโตรเลียมในปีก่อนค่อนข้างต่ำเนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน แต่โดยรวมการขยายตัวสูงของผลผลิตอุตสาหกรรมก็สะท้อนถึงอุปสงค์ที่ขยายตัวดีทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะหมวดยานยนต์ที่มีการผลิตเพื่อทยอยส่งมอบให้แก่ผู้สั่งจองสินค้าในงาน Motor Expo ในช่วงปลายปีก่อน หมวดวัสดุก่อสร้างและหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กตามการขยายตัวดีของธุรกิจก่อสร้างในประเทศ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากการขยายตัวของการส่งออกแผงวงจรรวม และหมวดเครื่องดื่มตามความนิยมบริโภคสุราภายใต้บรรจุภัณฑ์ใหม่ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 75.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนสอดคล้องกับการขยายตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 2.7 ในเดือนมกราคมและสะท้อนกิจกรรมการอุปโภคบริโภคที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้ผู้บริโภคจะมีความกังวลต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่อยู่บ้าง
ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 23.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นมากจากร้อยละ 14.7 ในเดือนมกราคมโดยเครื่องชี้การลงทุนทั้งด้านก่อสร้างและด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ยังคงขยายตัวดี
3. ภาคการคลัง รายได้รัฐบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.8 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของรายได้ ที่มิใช่ภาษีถึงร้อยละ 60.5 เนื่องจากในเดือนนี้มีการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจน้อยกว่าระยะเดียวกันปีก่อนมาก ขณะที่รายได้ภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 7.2 และ 13.2 ตามลำดับ สำหรับรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ดุลเงินในงบประมาณยังคงเกินดุล 0.2 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 5.0 พันล้านบาทจากรายจ่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพและรายจ่ายภาษีที่จัดเก็บให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) รัฐบาลจึงขาดดุลเงินสด 4.8 พันล้านบาทในเดือนนี้
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ตามราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้นจากภาวะการส่งออกที่ดี กอปรกับราคาเนื้อสุกรก็เพิ่มขึ้นตามความต้องการบริโภคเพื่อทดแทนการบริโภคเนื้อไก่ที่ประสบปัญหาจากความกังวลเกี่ยวกับโรคระบาด ส่วนราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและค่ารถโดยสารธรรมดา ซึ่งการปรับขึ้นค่ารถโดยสารธรรมดานี้ได้ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนด้วย
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด โดยราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.6 ขณะที่ราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.8 และ 0.4 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ ดุลการค้าเกินดุล 510 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกมีมูลค่า 7,218 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 22.3 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการส่งออกสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ พลาสติก และเหล็ก เป็นสำคัญ นอกจากนั้น การเพิ่มขึ้นของราคาข้าวและยางพาราก็ช่วยให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวดีต่อเนื่อง แม้ในเดือนเดียวกันนี้ไทยจะไม่สามารถส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งไป ยังตลาดญี่ปุ่นได้เลยเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกในไก่ ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 6,708 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 28.2 จากการขยายตัวในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะวัตถุดิบและสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม สำหรับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 598 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งยังอยู่ในระดับสูง เพราะแม้รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงจากช่วงเทศกาลท่องเที่ยวในเดือนมกราคม แต่รายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนก็ลดลงด้วยเนื่องจากเดือนนี้ไม่ใช่ช่วงตกงวดจ่ายดอกเบี้ยและส่งกลับกำไรและเงินปันผล ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 1,108 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 668 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 อยู่ที่ระดับ 42.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงินปริมาณเงิน M2 M2A และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 6.4 7.1 และ 5.7 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเร่งตัวขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ สำหรับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.9 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นการเร่งตัวขึ้นตามการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่แก่ภาคธุรกิจเป็นสำคัญ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยตามสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ตึงตัวขึ้น ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.95 ต่อปีในเดือนก่อนมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.98 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.02 ต่อปีในเดือนก่อนมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.05 ต่อปี
7. เงินบาท ในเดือนกุมภาพันธ์ ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 39.10 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย 39.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของเดือน เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการปรับตัวของตลาดเงินตราต่างประเทศจากผลของการประชุมกลุ่มประเทศ G7 ที่เรียกร้องให้ประเทศในเอเชียยอมให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเงินบาทได้อ่อนค่าลงตามค่าเงินในภูมิภาค
ในช่วงวันที่ 1-25 มีนาคม 2547 เงินบาทอ่อนค่าลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ 39.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นผลจาก Sentiments ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ดีขึ้น กอปรกับข่าวการปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติบางราย ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากทั้งรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนภายหลังจากการประกาศตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2546 ซึ่งอยู่ในระดับสูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สำหรับอุปสงค์ในประเทศขยายตัวดีทั้งการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน แม้ว่าความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่และสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจปรับลดลงบ้าง ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจก็ได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์จากต่างประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี อัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง และเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ขณะที่หนี้ต่างประเทศในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นบ้างจากเดือนก่อน
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกุมภาพันธ์ มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 16.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราว อาทิ ฐานการผลิตในอุตสาหกรรมยาสูบและปิโตรเลียมในปีก่อนค่อนข้างต่ำเนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงาน แต่โดยรวมการขยายตัวสูงของผลผลิตอุตสาหกรรมก็สะท้อนถึงอุปสงค์ที่ขยายตัวดีทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะหมวดยานยนต์ที่มีการผลิตเพื่อทยอยส่งมอบให้แก่ผู้สั่งจองสินค้าในงาน Motor Expo ในช่วงปลายปีก่อน หมวดวัสดุก่อสร้างและหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กตามการขยายตัวดีของธุรกิจก่อสร้างในประเทศ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากการขยายตัวของการส่งออกแผงวงจรรวม และหมวดเครื่องดื่มตามความนิยมบริโภคสุราภายใต้บรรจุภัณฑ์ใหม่ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 75.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนสอดคล้องกับการขยายตัวของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 2.7 ในเดือนมกราคมและสะท้อนกิจกรรมการอุปโภคบริโภคที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้ผู้บริโภคจะมีความกังวลต่อการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่อยู่บ้าง
ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 23.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นมากจากร้อยละ 14.7 ในเดือนมกราคมโดยเครื่องชี้การลงทุนทั้งด้านก่อสร้างและด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ยังคงขยายตัวดี
3. ภาคการคลัง รายได้รัฐบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.8 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของรายได้ ที่มิใช่ภาษีถึงร้อยละ 60.5 เนื่องจากในเดือนนี้มีการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจน้อยกว่าระยะเดียวกันปีก่อนมาก ขณะที่รายได้ภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 7.2 และ 13.2 ตามลำดับ สำหรับรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ดุลเงินในงบประมาณยังคงเกินดุล 0.2 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 5.0 พันล้านบาทจากรายจ่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพและรายจ่ายภาษีที่จัดเก็บให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) รัฐบาลจึงขาดดุลเงินสด 4.8 พันล้านบาทในเดือนนี้
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.2 โดยราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ตามราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้นจากภาวะการส่งออกที่ดี กอปรกับราคาเนื้อสุกรก็เพิ่มขึ้นตามความต้องการบริโภคเพื่อทดแทนการบริโภคเนื้อไก่ที่ประสบปัญหาจากความกังวลเกี่ยวกับโรคระบาด ส่วนราคาในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและค่ารถโดยสารธรรมดา ซึ่งการปรับขึ้นค่ารถโดยสารธรรมดานี้ได้ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากระยะเดียวกันปีก่อนด้วย
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุกหมวด โดยราคาในหมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.6 ขณะที่ราคาในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.8 และ 0.4 ตามลำดับ
5. ภาคต่างประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ ดุลการค้าเกินดุล 510 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกมีมูลค่า 7,218 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 22.3 จากระยะเดียวกันปีก่อนตามการส่งออกสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ พลาสติก และเหล็ก เป็นสำคัญ นอกจากนั้น การเพิ่มขึ้นของราคาข้าวและยางพาราก็ช่วยให้มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวดีต่อเนื่อง แม้ในเดือนเดียวกันนี้ไทยจะไม่สามารถส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งไป ยังตลาดญี่ปุ่นได้เลยเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกในไก่ ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 6,708 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 28.2 จากการขยายตัวในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะวัตถุดิบและสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม สำหรับดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 598 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งยังอยู่ในระดับสูง เพราะแม้รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงจากช่วงเทศกาลท่องเที่ยวในเดือนมกราคม แต่รายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุนก็ลดลงด้วยเนื่องจากเดือนนี้ไม่ใช่ช่วงตกงวดจ่ายดอกเบี้ยและส่งกลับกำไรและเงินปันผล ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 1,108 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 668 ล้านดอลลาร์ สรอ.
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 อยู่ที่ระดับ 42.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 7.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงินปริมาณเงิน M2 M2A และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 6.4 7.1 และ 5.7 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเร่งตัวขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ สำหรับเงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 4.9 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่สินเชื่อที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ซึ่งเป็นการเร่งตัวขึ้นตามการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่แก่ภาคธุรกิจเป็นสำคัญ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินโน้มสูงขึ้นเล็กน้อยตามสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ที่ตึงตัวขึ้น ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.95 ต่อปีในเดือนก่อนมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.98 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.02 ต่อปีในเดือนก่อนมาเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.05 ต่อปี
7. เงินบาท ในเดือนกุมภาพันธ์ ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 39.10 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย 39.09 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกของเดือน เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและการปรับตัวของตลาดเงินตราต่างประเทศจากผลของการประชุมกลุ่มประเทศ G7 ที่เรียกร้องให้ประเทศในเอเชียยอมให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความยืดหยุ่นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเงินบาทได้อ่อนค่าลงตามค่าเงินในภูมิภาค
ในช่วงวันที่ 1-25 มีนาคม 2547 เงินบาทอ่อนค่าลงมาเฉลี่ยอยู่ที่ 39.44 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นผลจาก Sentiments ของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ดีขึ้น กอปรกับข่าวการปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติบางราย ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากทั้งรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนภายหลังจากการประกาศตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2546 ซึ่งอยู่ในระดับสูง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-