โครงการครัวไทยสู่โลก เป็นโครงการหนึ่งที่ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนและผลักดันให้มีการลงทุนร้านอาหารไทยในต่างประเทศให้เป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันอาหารไทยได้รับความนิยมสูงสุดติดอันดับ 1 ใน 5 อาหารสุดยอดนิยมของโลกแล้ว โดยอาหารสุดยอดนิยมของโลก ได้แก่ อาหารฝรั่งเศส อาหารอิตาเลี่ยน อาหารญี่ปุ่น อาหารไทยและอาหารจีน โดยทั่วโลกมีร้านอาหารไทยเปิดให้บริการถึง 6,000 แห่ง ในจำนวนนี้กว่า 3,000 แห่งเปิดให้บริการในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีลูกค้าเข้ามารับประทานอาหารเฉลี่ยถึงวันละ 3 ล้านคน
รัฐบาลได้มีโครงการที่จะเผยแพร่ทั้งอาหารสด อาหารสำเร็จรูป วัตถุดิบ เครื่องปรุงรส ตลอดจนสนับสนุนธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศให้มีการขยายตัวอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นการ 1)ยกระดับมาตรฐานอาหารไทยในต่างประเทศ 2)สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศไทย 3)ส่งเสริมการท่องเที่ยว และ 4)ส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารและสินค้าอื่นๆ จากอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้มากขึ้น อีกทั้งมีเป้าหมายที่จะเป็นครัวของโลกภายใน 5 ปี (ปี 2547-2551) โดยมีหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมดำเนินการ อาทิ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, สถาบันอาหาร, มหาวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนสถาบันการเงินที่จะให้สินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(เอ็กซิมแบงก์), ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ไอเอฟซีที) เป็นต้น
จากโครงการสนับสนุนร้านอาหารของไทยดังกล่าว ทำให้หลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการดำเนินการสนองตอบนโยบายของภาครัฐ เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหารไทย โดยทางกระทรวงพาณิชย์ได้เป็นตัวกลางในการประสานงานให้ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไซส์อาหารไทยที่ผ่านการอบรมของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประมาณ40 รายให้จัดตั้งบริษัท แฟรนไชส์ โฮลดิ้ง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท เพื่อเป็นศูนย์กลางในการขยายตลาดแฟรนไชส์อาหารทั้งในและต่างประเทศ เป็นการยกระดับและเพิ่มโอกาสทางการค้าและขยายธุรกิจอาหารไทยไปยังต่างประเทศ ตลอดจนสร้างเครือข่ายการขนส่งวัตถุดิบ และสินค้าอาหารให้แก่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์สัญชาติไทยโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ประกอบการลดภาระค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ซึ่งการจัดตั้งบริษัทนี้จะถือหุ้นโดยเจ้าของกิจการแฟรนไชส์ 50% และสถาบันการเงินอีก 50% มีสถาบันการเงินที่สนใจเข้าร่วมโครงการแล้วคือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โดยตั้งได้ตั้งเป้าหมายภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าที่จะช่วยเพิ่มผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์อาหารรายใหม่ให้ได้ 7,000 ราย ซึ่งจะทำให้รายได้จากธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารหมุนเวียนในประเทศประมาณ 4,000 ล้านบาท
เป้าหมายการให้สินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการครัวไทยสู่โลกของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) คือ สนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ตั้งกิจการในประเทศไทย ได้แก่ ผู้ผลิต/ผู้แปรรูปอาหารสินค้า OTOP ตลอดจนผู้รวบรวมสินค้า/ผู้ค้าส่ง,ผู้ค้าปลีก และผู้ส่งออกสินค้าประเภทอาหาร/สินค้า OTOP ไปยังร้านค้าและร้านอาหารในต่างประเทศ และให้การสนับสนุนธุรกิจนำเข้าสินค้าทั้งค้าส่ง/ค้าปลีก ตลอดจนร้านอาหารไทยที่ตั้งกิจการในต่างประเทศ
ส่วนทางด้านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(เอ็กซิมแบงก์) มีแผนงานตอบสนองโครงการครัวไทยสู่โลก โดยมี “บริการสนับสนุนร้านอาหารไทยในต่างประเทศ” โดยการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารภายใต้เงื่อนไขคือ ผู้ขอกู้ต้องมีสัญชาติไทยหรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยที่มีบุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้ถือหุ้นในร้านอาหารไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และเป็นผู้ดำเนินกิจการร้านอาหารนั้นๆ เอง นอกจากนี้ผู้ขอกู้ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงสภาพท้องถิ่นหรือมีหุ้นส่วนที่เข้าใจสภาพธุรกิจร้านอาหารในท้องถิ่นพอที่จะสามารถดำเนินกิจการให้ประสบความสำเร็จได้ โดยต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการร้านอาหารในประเทศเป้าหมายรวมทั้งมีประสบการณ์บริหารร้านอาหารในต่างประเทศอย่างน้อย 1 ปี หรือในประเทศอย่างน้อย 3 ปี
นอกจากนี้ทางสถาบันอาหารแห่งชาติได้มีนโยบายที่จะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในรูปแบบของบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (เทรดดิ้ง คัมพานี) ชื่อว่า บริษัท ไทยเบสท์ ซัพพลายเออร์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยได้ขอสิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าวัตถุดิบและแปรรูปอาหารไทยป้อนร้านอาหารไทยในต่างประเทศและมีการรับรองมาตรฐานสินค้าในการส่งออก เป็นการช่วยแก้ปัญหาของธุรกิจร้านอาหารในต่างแดนที่ถูกเข้มงวดการนำเข้าวัตถุดิบจากไทยโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ทางสถาบันอาหารแห่งชาติ ได้หันมาให้ความสนใจเรื่องการวิจัยและพัฒนาคุณค่าของอาหารในแต่ละด้าน โดยจัดตั้งคณะทำงาน 4 ชุด ขึ้นมารับผิดชอบตามภาคต่างๆ คือ 1)ภาคกลาง มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ 2)ภาคใต้ มีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ 3)ภาคเหนือ มีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ และ 4)ภาคอีสาน มีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งทั้ง 4 สถาบันเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับสถาบันอาหารแห่งชาติ และเข้าไปผลักดันนำงานวิจัยแต่ละมหาวิทยาลัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารมาปรับใช้ให้เกิดคุณค่าแก่อุตสาหกรรมอาหารต่อไป
จะเห็นได้ว่า โครงการครัวไทยสู่โลก เป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งทางด้านเงินทุนและเทคนิคการทำธุรกิจ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลดีอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ทั้งผู้ผลิตวัตถุดิบอาหาร, สินค้ากึ่งแปรรูป และสินค้าสำเร็จรูป ให้มีโอกาสได้พัฒนาธุรกิจของตนเอง และเพื่อการเติบโตของธุรกิจอาหารในอนาคตอันใกล้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
รัฐบาลได้มีโครงการที่จะเผยแพร่ทั้งอาหารสด อาหารสำเร็จรูป วัตถุดิบ เครื่องปรุงรส ตลอดจนสนับสนุนธุรกิจร้านอาหารไทยในต่างประเทศให้มีการขยายตัวอย่างมีคุณภาพ เพื่อเป็นการ 1)ยกระดับมาตรฐานอาหารไทยในต่างประเทศ 2)สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศไทย 3)ส่งเสริมการท่องเที่ยว และ 4)ส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารและสินค้าอื่นๆ จากอุตสาหกรรมต่อเนื่องให้มากขึ้น อีกทั้งมีเป้าหมายที่จะเป็นครัวของโลกภายใน 5 ปี (ปี 2547-2551) โดยมีหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมดำเนินการ อาทิ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, สถาบันอาหาร, มหาวิทยาลัยต่างๆ ตลอดจนสถาบันการเงินที่จะให้สินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(เอ็กซิมแบงก์), ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ไอเอฟซีที) เป็นต้น
จากโครงการสนับสนุนร้านอาหารของไทยดังกล่าว ทำให้หลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการดำเนินการสนองตอบนโยบายของภาครัฐ เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหารไทย โดยทางกระทรวงพาณิชย์ได้เป็นตัวกลางในการประสานงานให้ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไซส์อาหารไทยที่ผ่านการอบรมของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าประมาณ40 รายให้จัดตั้งบริษัท แฟรนไชส์ โฮลดิ้ง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 250 ล้านบาท เพื่อเป็นศูนย์กลางในการขยายตลาดแฟรนไชส์อาหารทั้งในและต่างประเทศ เป็นการยกระดับและเพิ่มโอกาสทางการค้าและขยายธุรกิจอาหารไทยไปยังต่างประเทศ ตลอดจนสร้างเครือข่ายการขนส่งวัตถุดิบ และสินค้าอาหารให้แก่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์สัญชาติไทยโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ประกอบการลดภาระค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ซึ่งการจัดตั้งบริษัทนี้จะถือหุ้นโดยเจ้าของกิจการแฟรนไชส์ 50% และสถาบันการเงินอีก 50% มีสถาบันการเงินที่สนใจเข้าร่วมโครงการแล้วคือ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โดยตั้งได้ตั้งเป้าหมายภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าที่จะช่วยเพิ่มผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์อาหารรายใหม่ให้ได้ 7,000 ราย ซึ่งจะทำให้รายได้จากธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารหมุนเวียนในประเทศประมาณ 4,000 ล้านบาท
เป้าหมายการให้สินเชื่อเพื่อสนับสนุนโครงการครัวไทยสู่โลกของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) คือ สนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่ตั้งกิจการในประเทศไทย ได้แก่ ผู้ผลิต/ผู้แปรรูปอาหารสินค้า OTOP ตลอดจนผู้รวบรวมสินค้า/ผู้ค้าส่ง,ผู้ค้าปลีก และผู้ส่งออกสินค้าประเภทอาหาร/สินค้า OTOP ไปยังร้านค้าและร้านอาหารในต่างประเทศ และให้การสนับสนุนธุรกิจนำเข้าสินค้าทั้งค้าส่ง/ค้าปลีก ตลอดจนร้านอาหารไทยที่ตั้งกิจการในต่างประเทศ
ส่วนทางด้านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย(เอ็กซิมแบงก์) มีแผนงานตอบสนองโครงการครัวไทยสู่โลก โดยมี “บริการสนับสนุนร้านอาหารไทยในต่างประเทศ” โดยการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารภายใต้เงื่อนไขคือ ผู้ขอกู้ต้องมีสัญชาติไทยหรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยที่มีบุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้ถือหุ้นในร้านอาหารไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และเป็นผู้ดำเนินกิจการร้านอาหารนั้นๆ เอง นอกจากนี้ผู้ขอกู้ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงสภาพท้องถิ่นหรือมีหุ้นส่วนที่เข้าใจสภาพธุรกิจร้านอาหารในท้องถิ่นพอที่จะสามารถดำเนินกิจการให้ประสบความสำเร็จได้ โดยต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการร้านอาหารในประเทศเป้าหมายรวมทั้งมีประสบการณ์บริหารร้านอาหารในต่างประเทศอย่างน้อย 1 ปี หรือในประเทศอย่างน้อย 3 ปี
นอกจากนี้ทางสถาบันอาหารแห่งชาติได้มีนโยบายที่จะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในรูปแบบของบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (เทรดดิ้ง คัมพานี) ชื่อว่า บริษัท ไทยเบสท์ ซัพพลายเออร์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยได้ขอสิทธิประโยชน์จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าวัตถุดิบและแปรรูปอาหารไทยป้อนร้านอาหารไทยในต่างประเทศและมีการรับรองมาตรฐานสินค้าในการส่งออก เป็นการช่วยแก้ปัญหาของธุรกิจร้านอาหารในต่างแดนที่ถูกเข้มงวดการนำเข้าวัตถุดิบจากไทยโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ทางสถาบันอาหารแห่งชาติ ได้หันมาให้ความสนใจเรื่องการวิจัยและพัฒนาคุณค่าของอาหารในแต่ละด้าน โดยจัดตั้งคณะทำงาน 4 ชุด ขึ้นมารับผิดชอบตามภาคต่างๆ คือ 1)ภาคกลาง มีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ 2)ภาคใต้ มีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ 3)ภาคเหนือ มีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ และ 4)ภาคอีสาน มีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่งทั้ง 4 สถาบันเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับสถาบันอาหารแห่งชาติ และเข้าไปผลักดันนำงานวิจัยแต่ละมหาวิทยาลัยที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารมาปรับใช้ให้เกิดคุณค่าแก่อุตสาหกรรมอาหารต่อไป
จะเห็นได้ว่า โครงการครัวไทยสู่โลก เป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งทางด้านเงินทุนและเทคนิคการทำธุรกิจ ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลดีอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ทั้งผู้ผลิตวัตถุดิบอาหาร, สินค้ากึ่งแปรรูป และสินค้าสำเร็จรูป ให้มีโอกาสได้พัฒนาธุรกิจของตนเอง และเพื่อการเติบโตของธุรกิจอาหารในอนาคตอันใกล้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-