อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของไทย ที่มีการส่งออกมากกว่าร้อยละ 70 ของการผลิต สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศในปี 2546 ประมาณ 404,108.5 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการส่งออกร้อยละ 12.12 ของมูลค่าสินค้าส่งออกรวมทั้งหมดของไทย
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้ปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศถึงร้อยละ 59.1 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นบริษัทสาขาที่มีบริษัทแม่ในต่างประเทศ ซึ่งได้เข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต ปัจจุบันมีผู้ประกอบการทั้งสิ้นประมาณ 318 ราย และก่อให้เกิดการจ้างงานทั้งสิ้นประมาณ 165,000 คน โดยเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวน 271 ราย หรือ85.2% ของผู้ประกอบการทั้งหมด
กลุ่มสินค้าส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องวีดีโอ อุปกรณ์ เครื่องเสียงและส่วนประกอบ ตู้เย็น และตู้แช่ เตาอบไมโครเวฟ พัดลม เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น และเครื่องซักผ้า เป็นต้น
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยตั้งแต่ปี 2543-2546 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2543-2545 มีมูลค่าส่งออก 303,115.3 ล้านบาท, 319,177.7 ล้านบาท และ 357,166.9 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในปี 2546 มีมูลค่าการส่งออก 404,108.5 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.14 เมื่อเทียบกับปี 2545 เนื่องจากบริษัทข้ามชาติรายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ได้ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยและเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทออดิโอ โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องเล่นซีดี และกล้องวงจรปิด เพื่อรองรับนโยบายข้อตกลงทางการค้าของภาครัฐในการเปิดเสรีทางการค้าในอาเซียนและการค้าทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ทั้งในเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้ง และส่วนประกอบผลิตในประเทศไทยเพื่อส่งออกไปญี่ปุ่นและเอเชียมากขึ้น
ตลาดส่งออกหลักสำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกามีมูลค่าการส่งออกในปี 2546 มากที่สุดเท่ากับ 82,997.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.54 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด รองลงมาคือประเทศญีปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง จีน สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 68,920.7 ล้านบาท, 31,467.7 ล้านบาท, 19,413.7 ล้านบาท, 16,169.1 ล้านบาท 14,719.6 ล้านบาท 13,398.5 ล้านบาท และ 10,554.8 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนตลาดที่มีศักยภาพสำหรับการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย แคนาดา ไต้หวัน สเปน และประเทศเบลเยี่ยม เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกเพิ่มขึ้นสูงในปี 2546 ซึ่งไทยสามารถขยายตลาดการส่งออกไปยังประเทศดังกล่าวให้มากขึ้นในอนาคต โดยทางกรมส่งสริมการส่งออกได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2547 ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.4 เมื่อเทียบกับปี 2546
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยมีมูลค่าสูงมาก แต่การส่งออกสินค้าส่วนใหญ่เป็นการส่งออกของบริษัทต่างชาติหรือบริษัทร่วมทุนที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน ในขณะที่การส่งออกของบริษัทคนไทยนั้นมีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและพัฒนาโดยคนไทย การผลิตของผู้ประกอบการคนไทยส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างในการประกอบผลิตภัณฑ์หรือเป็นการผลิตแบบ Original Equipment Manufacturing (OEM) ภายใต้สิทธิการผลิตจากต่างประเทศ ซึ่งจะถูกควบคุมโดยบริษัทแม่ ทำให้เมื่อขาดปัจจัยความได้เปรียบในเรื่องค่าแรงงาน เจ้าของชื่อเครื่องหมายการค้าหรือผลิตภัณฑ์อาจไม่ประสงค์จะทำการว่าจ้างต่อ หรือย้ายฐานการผลิตไปได้
ส่วนผู้ประกอบการคนไทยที่ทำการส่งออกเองก็ยังขาดข้อมูลการตลาดที่ทันสมัย ขณะที่กิจกรรมทางด้านการตลาดที่ภาครัฐดำเนินการก็ยังขาดความคล่องตัวและขาดความชำนาญในการเจาะตลาดสินค้าเฉพาะกลุ่มและหาตลาดส่งออกใหม่ รวมถึงการจัดทำระบบข้อมูลการตลาดเพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการ และปัญหาด้านความพร้อมของการมีมาตรฐานบังคับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยไม่ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ของสินค้าในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและศูนย์ทดสอบยังไม่เพียงพอ ทำให้เสียเปรียบกับประเทศคู่แข่งในภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ภายใต้การเปิดเสรีทางการค้าในระดับทวิภาคี (FTA) และที่ผ่านมาสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นการเข้ามาลงทุนผลิตภายใต้ยี่ห้อหรือตราสินค้าของบริษัทต่างชาติ ขณะที่ยี่ห้อของคนไทยเองนั้นมีน้อยมาก นอกจากนี้ผู้ผลิตในประเทศเริ่มประสบปัญหาสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกจากจีนไหลเข้ามาในไทยเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นการกำหนดมาตรฐานของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยต้องเร่งดำเนินการอย่างเข้มงวด เพื่อสกัดกั้นการนำเข้ามาของสินค้าของจีนที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีคุณภาพ โดยทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้ดำเนินการในการออกมาตรฐานบังคับใหม่ๆ สำหรับสินค้าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น มาตรฐานบังคับกระติกน้ำร้อน เครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่อง (ยูพีเอส) สวิตซ์ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หม้อหุงข้าวไฟฟ้า กระทะไฟฟ้า เครื่องทำน้ำอุ่น เตาไมโครเวฟ และตู้เย็น เป็นต้น โดยในเบื้องต้นทาง สมอ. ได้ยื่นเสนอขอจัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทดสอบมาตรฐานเครื่องใช้ไฟฟ้า ในวงเงินประมาณ 1,003 ล้านบาท ซึ่งหากได้รับการอนุมัติงบประมาณดังกล่าวจะทำให้การออกมาตรฐานบังคับเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ด้านการสร้างภาพลักษณ์ (Brand Name) สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของคนไทยให้เป็นที่ยอมรับนั้น ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกลุ่มผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าได้เสนอโครงการการส่งเสริมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีตราสินค้าของคนไทย เป็นโครงการที่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนการสร้างสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นยี่ห้อของคนไทยให้เกิดขึ้น โดยเสนอให้มีการจัดตั้งบริษัท อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าไทย จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ด้วยเงินทุนเริ่มแรกประมาณ 100 ล้านบาท ในระยะแรกจะเป็นการจ้างผลิตก่อน โดยเน้นการออกแบบวิจัยและพัฒนาสินค้าด้วยฝีมือคนไทย สินค้าที่จะทำการผลิต ได้แก่ ตู้เย็น โทรทัศน์ พัดลม และหม้อหุงข้าว เป็นต้น และเป็นการจำหน่ายในประเทศก่อน
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต้องเร่งปรับตัวทั้งในด้านการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้สามารถแข่งขันได้กับสินค้าประเทศอื่นๆ ได้ในอนาคต
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้ปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศถึงร้อยละ 59.1 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นบริษัทสาขาที่มีบริษัทแม่ในต่างประเทศ ซึ่งได้เข้ามาใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต ปัจจุบันมีผู้ประกอบการทั้งสิ้นประมาณ 318 ราย และก่อให้เกิดการจ้างงานทั้งสิ้นประมาณ 165,000 คน โดยเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวน 271 ราย หรือ85.2% ของผู้ประกอบการทั้งหมด
กลุ่มสินค้าส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องวีดีโอ อุปกรณ์ เครื่องเสียงและส่วนประกอบ ตู้เย็น และตู้แช่ เตาอบไมโครเวฟ พัดลม เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น และเครื่องซักผ้า เป็นต้น
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยตั้งแต่ปี 2543-2546 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2543-2545 มีมูลค่าส่งออก 303,115.3 ล้านบาท, 319,177.7 ล้านบาท และ 357,166.9 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในปี 2546 มีมูลค่าการส่งออก 404,108.5 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.14 เมื่อเทียบกับปี 2545 เนื่องจากบริษัทข้ามชาติรายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ได้ย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยและเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทออดิโอ โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องเล่นซีดี และกล้องวงจรปิด เพื่อรองรับนโยบายข้อตกลงทางการค้าของภาครัฐในการเปิดเสรีทางการค้าในอาเซียนและการค้าทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ทั้งในเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ โดยเฉพาะสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทเครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้ง และส่วนประกอบผลิตในประเทศไทยเพื่อส่งออกไปญี่ปุ่นและเอเชียมากขึ้น
ตลาดส่งออกหลักสำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกามีมูลค่าการส่งออกในปี 2546 มากที่สุดเท่ากับ 82,997.1 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.54 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด รองลงมาคือประเทศญีปุ่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง จีน สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย โดยมีมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 68,920.7 ล้านบาท, 31,467.7 ล้านบาท, 19,413.7 ล้านบาท, 16,169.1 ล้านบาท 14,719.6 ล้านบาท 13,398.5 ล้านบาท และ 10,554.8 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนตลาดที่มีศักยภาพสำหรับการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทย ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย แคนาดา ไต้หวัน สเปน และประเทศเบลเยี่ยม เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกเพิ่มขึ้นสูงในปี 2546 ซึ่งไทยสามารถขยายตลาดการส่งออกไปยังประเทศดังกล่าวให้มากขึ้นในอนาคต โดยทางกรมส่งสริมการส่งออกได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในปี 2547 ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 15.4 เมื่อเทียบกับปี 2546
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยมีมูลค่าสูงมาก แต่การส่งออกสินค้าส่วนใหญ่เป็นการส่งออกของบริษัทต่างชาติหรือบริษัทร่วมทุนที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน ในขณะที่การส่งออกของบริษัทคนไทยนั้นมีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบและพัฒนาโดยคนไทย การผลิตของผู้ประกอบการคนไทยส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างในการประกอบผลิตภัณฑ์หรือเป็นการผลิตแบบ Original Equipment Manufacturing (OEM) ภายใต้สิทธิการผลิตจากต่างประเทศ ซึ่งจะถูกควบคุมโดยบริษัทแม่ ทำให้เมื่อขาดปัจจัยความได้เปรียบในเรื่องค่าแรงงาน เจ้าของชื่อเครื่องหมายการค้าหรือผลิตภัณฑ์อาจไม่ประสงค์จะทำการว่าจ้างต่อ หรือย้ายฐานการผลิตไปได้
ส่วนผู้ประกอบการคนไทยที่ทำการส่งออกเองก็ยังขาดข้อมูลการตลาดที่ทันสมัย ขณะที่กิจกรรมทางด้านการตลาดที่ภาครัฐดำเนินการก็ยังขาดความคล่องตัวและขาดความชำนาญในการเจาะตลาดสินค้าเฉพาะกลุ่มและหาตลาดส่งออกใหม่ รวมถึงการจัดทำระบบข้อมูลการตลาดเพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการ และปัญหาด้านความพร้อมของการมีมาตรฐานบังคับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้านความปลอดภัยไม่ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ของสินค้าในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและศูนย์ทดสอบยังไม่เพียงพอ ทำให้เสียเปรียบกับประเทศคู่แข่งในภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ภายใต้การเปิดเสรีทางการค้าในระดับทวิภาคี (FTA) และที่ผ่านมาสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่เป็นการเข้ามาลงทุนผลิตภายใต้ยี่ห้อหรือตราสินค้าของบริษัทต่างชาติ ขณะที่ยี่ห้อของคนไทยเองนั้นมีน้อยมาก นอกจากนี้ผู้ผลิตในประเทศเริ่มประสบปัญหาสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาถูกจากจีนไหลเข้ามาในไทยเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นการกำหนดมาตรฐานของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าไทยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยต้องเร่งดำเนินการอย่างเข้มงวด เพื่อสกัดกั้นการนำเข้ามาของสินค้าของจีนที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีคุณภาพ โดยทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้ดำเนินการในการออกมาตรฐานบังคับใหม่ๆ สำหรับสินค้าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น มาตรฐานบังคับกระติกน้ำร้อน เครื่องสำรองไฟฟ้าต่อเนื่อง (ยูพีเอส) สวิตซ์ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หม้อหุงข้าวไฟฟ้า กระทะไฟฟ้า เครื่องทำน้ำอุ่น เตาไมโครเวฟ และตู้เย็น เป็นต้น โดยในเบื้องต้นทาง สมอ. ได้ยื่นเสนอขอจัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทดสอบมาตรฐานเครื่องใช้ไฟฟ้า ในวงเงินประมาณ 1,003 ล้านบาท ซึ่งหากได้รับการอนุมัติงบประมาณดังกล่าวจะทำให้การออกมาตรฐานบังคับเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ๆ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ด้านการสร้างภาพลักษณ์ (Brand Name) สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของคนไทยให้เป็นที่ยอมรับนั้น ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกลุ่มผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าได้เสนอโครงการการส่งเสริมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีตราสินค้าของคนไทย เป็นโครงการที่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนการสร้างสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นยี่ห้อของคนไทยให้เกิดขึ้น โดยเสนอให้มีการจัดตั้งบริษัท อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าไทย จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ด้วยเงินทุนเริ่มแรกประมาณ 100 ล้านบาท ในระยะแรกจะเป็นการจ้างผลิตก่อน โดยเน้นการออกแบบวิจัยและพัฒนาสินค้าด้วยฝีมือคนไทย สินค้าที่จะทำการผลิต ได้แก่ ตู้เย็น โทรทัศน์ พัดลม และหม้อหุงข้าว เป็นต้น และเป็นการจำหน่ายในประเทศก่อน
ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต้องเร่งปรับตัวทั้งในด้านการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้สามารถแข่งขันได้กับสินค้าประเทศอื่นๆ ได้ในอนาคต
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-