อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย เป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมแฟชั่นที่ภาครัฐได้ให้การส่งเสริมและเร่งพัฒนา ขีดความสามารถให้แข่งขันได้ในตลาดโลก เพื่อยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางแห่งแฟชั่นโลกในอนาคต เนื่องจากอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างมาก โดยมีมูลค่า การส่งออกรวมอยู่ในอันดับต้นๆ ของภาคอุตสาหกรรมไทยทั้งหมด ซึ่งสามารถนำรายได้เข้าประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยมีผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) โดยเป็นผู้ประกอบการในรูปแบบอุตสาหกรรมธุรกิจประมาณ 6,876 ราย และเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนมากกว่า 10,000 ราย ก่อให้เกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรมทั้งสิ้นประมาณ 900,000 คน โดยอยู่ในภาคการผลิตเพื่อส่งออก 700,000 คน และอีก 200,000 คนเป็นแรงงานผลิตเพื่อตลาดภายในประเทศ
โครงสร้างอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยประกอบด้วย อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่รัตนชาติอุตสาหกรรมเผาพลอย อุตสาหกรรมเครื่องประดับ การนำเข้าวัตถุดิบ และการส่งออกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอัญมณีและ เครื่องประดับ ซึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยนั้นมีจุดแข็งคือ การมีฐานผลิตขนาดใหญ่ มีความสามารถ พิเศษในการหุงหรือเผาพลอย มีฝีมือการเจียระไนอัญมณี และการเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยสีที่ใหญ่ที่สุดในโลก
การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกประเภทเครื่องประดับแท้ประมาณกว่าร้อยละ 50 รองลงมาคือ เพชร, พลอยและไข่มุก, เครื่องประดับเทียม และอัญมณีสังเคราะห์ตามลำดับ
ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยตั้งแต่ปี 2543-2546 พบว่ามูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมตั้งแต่ปี 2543-2545 มีมูลค่าส่งออกรวมเท่ากับ 69,396.9 ล้านบาท, 81,312.2 ล้านบาท, 93,081.3 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 104,543.80 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.31 จากปี 2545 โดยแบ่งเป็นการส่งออกเครื่องประดับแท้ 65,529.7 ล้านบาท, เพชร 26,529.0 ล้านบาท พลอยและไข่มุก 8,348.4 ล้านบาท, เครื่องประดับเทียม 3,638.2 ล้านบาท และอัญมณีสังเคราะห์ 498.5 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มการส่งออกในปี 2547 คาดว่ามูลค่าการส่งออกคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ส่งออกไทยได้มีการทำตลาดเชิงรุกมากขึ้น ทำให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเป็นที่รู้จักเเละยอมรับในตลาดโลกมากขึ้น รวมทั้งผลจากที่กรมสรรพากรประกาศยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กลุ่มวัตถุดิบ ได้แก่ อัญมณี ทองคำขาว เงิน และพาลาเดียม ตั้งแต่เมษายน 2546 ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสูงขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการไทยได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และสามารถพัฒนาเทคนิคการเจียระไนเพชรเข้าสู่ตลาดระดับสูงได้
ตลาดหลักสำหรับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของไทยได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกในปี 2546 มากที่สุดเท่ากับ 25,629.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 24.52 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อิสราเอล เบลเยียม ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2546 เท่ากับ 15,175.4 ล้านบาท 14,713.5 ล้านบาท 10,310.0 ล้านบาท 5,522.80 ล้านบาท และ 5,502.0 ล้านบาท ตามลำดับ และพบว่ามูลค่าการส่งออกไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีอัตราการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงมากถึงร้อยละ 65.46 เทียบกับปี 2545 ส่วนในประเทศสหราชอาณาจักรมีอัตราการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกันถึงร้อยละ 25.38
สำหรับตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยที่มีศักยภาพสำหรับการขยายตลาดการส่งออก หรือตลาดใหม่ที่ไทยน่าให้ความสนใจในการเปิดตลาดให้มากขึ้นในอนาคต ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ ลิกเตนสไตน์ เสปน กรีซ และรัสเซีย เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกในปี 2546 เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 365.56, ร้อยละ 42.39, ร้อยละ 39.68, ร้อยละ 40.43 และร้อยละ 40.13 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยจะนำรายได้เข้าประเทศปีละเป็นจำนวนมาก แต่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยก็ยังประสบปัญหาอยู่คือ ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศและขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบด้านการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบ การขาดแคลนนักออกแบบที่มีความสามารถสูง และการมีตราสินค้า (Brand Name) เป็นของตนเองน้อยมาก นอกจากนี้ไทยยังขาดแคลนการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การเจียระไน และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วย หรือปัญหาด้านแรงงานที่นับวันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยจะขาดแคลนช่างฝีมือที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้นอีกทั้งค่าจ้างแรงงานก็มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นด้วย
จากความสำคัญของอุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการออก กระทรวงพาณิชย์ และสมาคมอัญณีและเครื่องประดับไทย จึงได้มีนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดโลก และสามารถรักษาสัดส่วนการค้าในตลาดโลกได้อย่างมั่นคงในอนาคต
จากการผลักดันนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของทางภาครัฐ จึงเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศที่จะมีโอกาสเติบโตขึ้น มีการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาด้านการออกแบบ มีการสร้างรูปแบบที่แปลกใหม่ สวยงาม คงทน ตรงตามความต้องการสมัยนิยมให้มากขึ้น เพื่อยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพสูงขึ้น มีการศึกษาความต้องการของตลาดให้ถ่องแท้มากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างถูกต้อง และสามารถขยายตลาดการส่งออกได้มากขึ้นต่อไป
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยมีผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) โดยเป็นผู้ประกอบการในรูปแบบอุตสาหกรรมธุรกิจประมาณ 6,876 ราย และเป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือนมากกว่า 10,000 ราย ก่อให้เกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรมทั้งสิ้นประมาณ 900,000 คน โดยอยู่ในภาคการผลิตเพื่อส่งออก 700,000 คน และอีก 200,000 คนเป็นแรงงานผลิตเพื่อตลาดภายในประเทศ
โครงสร้างอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยประกอบด้วย อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่รัตนชาติอุตสาหกรรมเผาพลอย อุตสาหกรรมเครื่องประดับ การนำเข้าวัตถุดิบ และการส่งออกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอัญมณีและ เครื่องประดับ ซึ่งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยนั้นมีจุดแข็งคือ การมีฐานผลิตขนาดใหญ่ มีความสามารถ พิเศษในการหุงหรือเผาพลอย มีฝีมือการเจียระไนอัญมณี และการเป็นศูนย์กลางการค้าพลอยสีที่ใหญ่ที่สุดในโลก
การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกประเภทเครื่องประดับแท้ประมาณกว่าร้อยละ 50 รองลงมาคือ เพชร, พลอยและไข่มุก, เครื่องประดับเทียม และอัญมณีสังเคราะห์ตามลำดับ
ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยตั้งแต่ปี 2543-2546 พบว่ามูลค่าการส่งออกมีอัตราการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมตั้งแต่ปี 2543-2545 มีมูลค่าส่งออกรวมเท่ากับ 69,396.9 ล้านบาท, 81,312.2 ล้านบาท, 93,081.3 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนในปี 2546 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 104,543.80 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.31 จากปี 2545 โดยแบ่งเป็นการส่งออกเครื่องประดับแท้ 65,529.7 ล้านบาท, เพชร 26,529.0 ล้านบาท พลอยและไข่มุก 8,348.4 ล้านบาท, เครื่องประดับเทียม 3,638.2 ล้านบาท และอัญมณีสังเคราะห์ 498.5 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มการส่งออกในปี 2547 คาดว่ามูลค่าการส่งออกคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ส่งออกไทยได้มีการทำตลาดเชิงรุกมากขึ้น ทำให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเป็นที่รู้จักเเละยอมรับในตลาดโลกมากขึ้น รวมทั้งผลจากที่กรมสรรพากรประกาศยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กลุ่มวัตถุดิบ ได้แก่ อัญมณี ทองคำขาว เงิน และพาลาเดียม ตั้งแต่เมษายน 2546 ซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสูงขึ้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการไทยได้มีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และสามารถพัฒนาเทคนิคการเจียระไนเพชรเข้าสู่ตลาดระดับสูงได้
ตลาดหลักสำหรับการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของไทยได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกในปี 2546 มากที่สุดเท่ากับ 25,629.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 24.52 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมาคือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อิสราเอล เบลเยียม ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร โดยมีมูลค่าการส่งออกในปี 2546 เท่ากับ 15,175.4 ล้านบาท 14,713.5 ล้านบาท 10,310.0 ล้านบาท 5,522.80 ล้านบาท และ 5,502.0 ล้านบาท ตามลำดับ และพบว่ามูลค่าการส่งออกไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีอัตราการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงมากถึงร้อยละ 65.46 เทียบกับปี 2545 ส่วนในประเทศสหราชอาณาจักรมีอัตราการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกันถึงร้อยละ 25.38
สำหรับตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยที่มีศักยภาพสำหรับการขยายตลาดการส่งออก หรือตลาดใหม่ที่ไทยน่าให้ความสนใจในการเปิดตลาดให้มากขึ้นในอนาคต ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้ ลิกเตนสไตน์ เสปน กรีซ และรัสเซีย เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกในปี 2546 เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก โดยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 365.56, ร้อยละ 42.39, ร้อยละ 39.68, ร้อยละ 40.43 และร้อยละ 40.13 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยจะนำรายได้เข้าประเทศปีละเป็นจำนวนมาก แต่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยก็ยังประสบปัญหาอยู่คือ ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศและขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบด้านการแสวงหาแหล่งวัตถุดิบ การขาดแคลนนักออกแบบที่มีความสามารถสูง และการมีตราสินค้า (Brand Name) เป็นของตนเองน้อยมาก นอกจากนี้ไทยยังขาดแคลนการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การเจียระไน และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วย หรือปัญหาด้านแรงงานที่นับวันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยจะขาดแคลนช่างฝีมือที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้นอีกทั้งค่าจ้างแรงงานก็มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นด้วย
จากความสำคัญของอุตสาหกรรมดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมการออก กระทรวงพาณิชย์ และสมาคมอัญณีและเครื่องประดับไทย จึงได้มีนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางแฟชั่นโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดโลก และสามารถรักษาสัดส่วนการค้าในตลาดโลกได้อย่างมั่นคงในอนาคต
จากการผลักดันนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของทางภาครัฐ จึงเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศที่จะมีโอกาสเติบโตขึ้น มีการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาด้านการออกแบบ มีการสร้างรูปแบบที่แปลกใหม่ สวยงาม คงทน ตรงตามความต้องการสมัยนิยมให้มากขึ้น เพื่อยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพสูงขึ้น มีการศึกษาความต้องการของตลาดให้ถ่องแท้มากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้อย่างถูกต้อง และสามารถขยายตลาดการส่งออกได้มากขึ้นต่อไป
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-