กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และธนาคารเฉพาะกิจ ได้วางเป้าหมายการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยในปี 2547 เพื่อเป็นการยกระดับผู้ประกอบการทุกระดับโดยเฉพาระดับรากหญ้าให้สามารถดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยความเข้มแข็ง และสามารถแข่งขันในระดับโลกได้ ซึ่งธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นแรงสำคัญที่จะผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตในตลาดการค้าโลก เนื่องจาก 95% ของธุรกิจไทย คือ SMEs ดังนั้นทางกระทรวงการคลังจึงได้สนับสนุนวงเงินสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภายในปี 2547 เป็นจำนวน 80,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาคุณภาพการผลิตและการตลาดให้มีศักยภาพ โดยจะปล่อยสินเชื่อผ่านทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) ประมาณ 36,000 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อค่อนข้างรุนแรงของธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ดังนั้น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) จึงต้องเร่งพัฒนาตนเองให้สามารถแข่งขันกับสถาบันการเงินต่างๆ ได้ โดยวางกลยุทธ์ในการปล่อยสินเชื่อแบบบูรณาการและโปร่งใส เพื่อเป็นการสนองต่อนโยบายของรัฐควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะนำร่องการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มอุตสาหกรรม 7 คลัสเตอร์ ได้แก่ แฟชั่น, อาหาร, ยานยนต์, ท่องเที่ยว, ขนส่ง, บรรจุภัณฑ์ และออกแบบ ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของกระทรวงอุตสาหกรรมในปี 2547 โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มสินเชื่อใหม่ เรียกว่า สินเชื่อกลุ่มคลัสเตอร์ เป็นการปล่อยสินเชื่อแบบโปรเจ็กต์ไฟแนนซ์ทั่วไป มีสำนักงานพอร์ตโฟลิโอคอยควบคุมนโยบายสินเชื่อ ปริมาณสินเชื่อ คุณภาพและลักษณะการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) ในแต่ละโครงการนี้ ทางบรรษัทประกันสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(บสย.) จะเป็นผู้เข้ามาร่วมค้ำประกันสินเชื่อด้วย
ส่วนโครงการปล่อยสินเชื่อในการสร้างผู้ประกอบการใหม่ กับสินเชื่อเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล เช่น โครงการคืนคนดีสู่สังคม โครงการเกษียณอายุข้าราชการก่อนกำหนดเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ เป็นต้น โครงการเหล่านี้ทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์)จะทำการพิจารณาเป็นกลุ่มๆ ไป โดยขอความร่วมมือหรือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการเกษียณอายุข้าราชการก่อนกำหนด จะทำการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.) ส่วนโครงการคืนคนดีสู่สังคม จะร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างผู้ประกอบการใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 5,000 ราย ภายในปี 2547
นอกจากนี้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) ยังมีโครงการพัฒนาการสร้างแบรนด์หรือเครื่องหมายทางการค้าสำหรับชุมชนต่างๆ ในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศที่มีศักยภาพเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยตั้งเป้าหมายสร้างแบรนด์สินค้าที่มีคุณภาพให้ได้อย่างน้อยจังหวัดละ 100 แบรนด์ เช่น ภาคอีสานมีผลิตภัณฑ์เด่นคือหมูยอและผ้าทอ ภาคเหนือมีอุตสาหกรรมเซรามิคและอาหาร เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการได้ตรงกับศักยภาพในแต่ละพื้นที่อย่างแท้จริง โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) จะประสานความร่วมมือกับผู้ว่าฯ ซีอีโอของแต่ละจังหวัดร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาให้ความรู้ด้านการเงิน การพัฒนาการผลิต รวมถึงการตลาดเพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีศักยภาพ มีความเข้มแข็ง สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพระดับ 3 ถึง 5 ดาว เพราะการแข่งขันในตลาดโลก สินค้าที่จะได้การยอมรับจากผู้บริโภคจะต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพเท่านั้น
จากนโยบายการปล่อยสินเชื่อของเอสเอ็มอีแบงก์ให้กับผู้ประกอบการในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 7 คลัสเตอร์ ที่เป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย, การปล่อยสินเชื่อในการสร้างผู้ประกอบการใหม่กับสินเชื่อเพื่อตอบนโยบายภาครัฐ และโครงการพัฒนาการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าชุมชนในแต่ละจังหวัดนั้น จะเห็นได้ว่าภาครัฐและธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) มีความพยายามที่จะส่งเสริมศักยภาพและมีความพยายามที่จะสร้างผู้ประกอบเอสเอ็มอีรายใหม่ให้มีจำนวนมากขึ้น ทั้งนี้มีความมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและผู้ประกอบการรายใหม่มีการเติบโตอย่างมีศักยภาพและมีมาตรฐานในการผลิต เป็นที่ยอมรับในตลาดทั้งในและต่างประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการธุรกิจ โดยเพิ่มระดับความซับซ้อนในการผลิตมากขึ้น ปรับปรุงการบริหารและการจัดการให้มีประสิทธิภาพ มีการนำเทคนิคและเทคโนโลยีการผลิตเข้ามาใช้มากขึ้น เพื่อสามารถพัฒนาตนเองให้แข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยขอรับการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ที่สำนักงานของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีการแข่งขันการปล่อยสินเชื่อค่อนข้างรุนแรงของธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ดังนั้น ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) จึงต้องเร่งพัฒนาตนเองให้สามารถแข่งขันกับสถาบันการเงินต่างๆ ได้ โดยวางกลยุทธ์ในการปล่อยสินเชื่อแบบบูรณาการและโปร่งใส เพื่อเป็นการสนองต่อนโยบายของรัฐควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะนำร่องการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มอุตสาหกรรม 7 คลัสเตอร์ ได้แก่ แฟชั่น, อาหาร, ยานยนต์, ท่องเที่ยว, ขนส่ง, บรรจุภัณฑ์ และออกแบบ ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของกระทรวงอุตสาหกรรมในปี 2547 โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มสินเชื่อใหม่ เรียกว่า สินเชื่อกลุ่มคลัสเตอร์ เป็นการปล่อยสินเชื่อแบบโปรเจ็กต์ไฟแนนซ์ทั่วไป มีสำนักงานพอร์ตโฟลิโอคอยควบคุมนโยบายสินเชื่อ ปริมาณสินเชื่อ คุณภาพและลักษณะการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) ในแต่ละโครงการนี้ ทางบรรษัทประกันสินเชื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(บสย.) จะเป็นผู้เข้ามาร่วมค้ำประกันสินเชื่อด้วย
ส่วนโครงการปล่อยสินเชื่อในการสร้างผู้ประกอบการใหม่ กับสินเชื่อเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาล เช่น โครงการคืนคนดีสู่สังคม โครงการเกษียณอายุข้าราชการก่อนกำหนดเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ เป็นต้น โครงการเหล่านี้ทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์)จะทำการพิจารณาเป็นกลุ่มๆ ไป โดยขอความร่วมมือหรือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการเกษียณอายุข้าราชการก่อนกำหนด จะทำการประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.) ส่วนโครงการคืนคนดีสู่สังคม จะร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างผู้ประกอบการใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 5,000 ราย ภายในปี 2547
นอกจากนี้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) ยังมีโครงการพัฒนาการสร้างแบรนด์หรือเครื่องหมายทางการค้าสำหรับชุมชนต่างๆ ในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศที่มีศักยภาพเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยตั้งเป้าหมายสร้างแบรนด์สินค้าที่มีคุณภาพให้ได้อย่างน้อยจังหวัดละ 100 แบรนด์ เช่น ภาคอีสานมีผลิตภัณฑ์เด่นคือหมูยอและผ้าทอ ภาคเหนือมีอุตสาหกรรมเซรามิคและอาหาร เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการได้ตรงกับศักยภาพในแต่ละพื้นที่อย่างแท้จริง โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) จะประสานความร่วมมือกับผู้ว่าฯ ซีอีโอของแต่ละจังหวัดร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังเป็นที่ปรึกษาให้ความรู้ด้านการเงิน การพัฒนาการผลิต รวมถึงการตลาดเพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีศักยภาพ มีความเข้มแข็ง สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพระดับ 3 ถึง 5 ดาว เพราะการแข่งขันในตลาดโลก สินค้าที่จะได้การยอมรับจากผู้บริโภคจะต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพเท่านั้น
จากนโยบายการปล่อยสินเชื่อของเอสเอ็มอีแบงก์ให้กับผู้ประกอบการในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 7 คลัสเตอร์ ที่เป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย, การปล่อยสินเชื่อในการสร้างผู้ประกอบการใหม่กับสินเชื่อเพื่อตอบนโยบายภาครัฐ และโครงการพัฒนาการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าชุมชนในแต่ละจังหวัดนั้น จะเห็นได้ว่าภาครัฐและธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์) มีความพยายามที่จะส่งเสริมศักยภาพและมีความพยายามที่จะสร้างผู้ประกอบเอสเอ็มอีรายใหม่ให้มีจำนวนมากขึ้น ทั้งนี้มีความมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและผู้ประกอบการรายใหม่มีการเติบโตอย่างมีศักยภาพและมีมาตรฐานในการผลิต เป็นที่ยอมรับในตลาดทั้งในและต่างประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการธุรกิจ โดยเพิ่มระดับความซับซ้อนในการผลิตมากขึ้น ปรับปรุงการบริหารและการจัดการให้มีประสิทธิภาพ มีการนำเทคนิคและเทคโนโลยีการผลิตเข้ามาใช้มากขึ้น เพื่อสามารถพัฒนาตนเองให้แข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยขอรับการสนับสนุนวงเงินสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ที่สำนักงานของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-