การตรวจสอบ ( การปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณ : สำนักงบประมาณ : 2544 )
แบ่งเป็นการตรวจสอบจากภายนอก และการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบภายนอกกระทำโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และการตรวจสอบภายในกระทำโดยส่วนราชการนั้นเอง
การตรวจสอบจากภายนอก
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นส่วนราชการที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ ในการตรวจสอบการเงินของแผ่นดิน โดยมีคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้วางนโยบายกาาตรวจเงินแผ่นดิน กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐาน และวิธีการพิจารณาในเรื่องวินัยทางงบประมาณและการคลังให้คำปรึกษาและคำแนะนำ เสนอแนะ ให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน กำหนดโทษปรับทางปกครอง พิจารณาวินิจฉัยความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลัง
การตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แบ่งเป็น
1. การตรวจสอบและแสดงความคิดเห็น โดยทั่วไปได้แก่
- ตรวจสอบรายงานทางการเงินของแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ และบัญชีทุนสำรองเงินตรา ประจำปี และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมายและตามความเป็นจริงหรือไม่
- ตรวจสอบการรับ - จ่าย การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจ หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ แสดงความเห็นตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป สำหรับหน่วยรับตรวจที่เป็นรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ
- ตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน การใช้จ่ายทรัพย์สินอื่น หรือการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงาน หรือโครงการของหน่วยรับตรวจ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยประหยัดได้ผลตามเป้าหมาย และมีผลคุ้มค่าหรือไม่
- ตรวจสอบเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจ แสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่
- ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินราชการลับ หรือเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเงินราชการลับ
- ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับโครงการ แผนงาน ที่จะมีผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณ
2. การแจ้งผลการตรวจสอบและเสนอรายงาน
2.1 การแจ้งผลการตรวจสอบ ( โดยรับมอบหมายจากคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน)
- กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่า มีข้อบกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งให้หน่วยรับตรวจชี้แจง หรือแก้ไข ข้อบกพร่องหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือให้ดำเนินตามกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนที่ทางราชการ หรือหน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่ หน่วยรับตรวจ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบตามควรแก่กรณี และให้หน่วยรับตรวจแจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการกากรตรวจเงินแผ่นดิน ทราบภายในหกสิบวันเว้นแต่คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
- เมื่อพ้นเวลาที่กำหนดแล้ว หากหน่วยรับตรวจไม่ดำเนินการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งต่อกระทรวงเจ้าสังกัด หรือผู้ควบคุม กำกับรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนที่ทางราชการหรือหน่วยรับตรวจกำหนดแก่ผู้ตรวจ และ เจ้าหน้าที่หน่วยรับตรวจผู้รับผิดชอบตามควรแก่กรณี
- ในกรณีที่คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน เห็นว่ามีข้อบกพร่องเกิดขึ้นเนื่องจาก กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคระรัฐมนตรีไม่เหมาะสม กับสภาพการณ์ปัจจุบัน หรือไม่อาจปฏิบัติได้ หรือหากปฏิบัติแล้วจะเสียประโยชน์ต่อทางราชการ จะแจ้งต่อผู้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้นๆ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขต่อไป ในกรณีทีมีข้อโต้แย้งหรือไม่อาจดำเนินการตามที่กล่าวข้างต้นได้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินต้องรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและคณะรัฐมนตรี
- กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่ามีข้อบกพร่อง เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดให้หน่วยรับตรวจต้องปฏิบัติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งให้กระทรวงเจ้าสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา ผู้ควบคุมกำกับ รับผิดชอบของหน่วยรับตรวจแล้วแต่กรณีทราบ เพื่อกำหนดมาตรการที่จำเป็นให้หน่วยรับตรวจไปปฏิบัติ และเมื่อกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมกำกับ รับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ ดำเนินการไปประการใดแล้ว ให้แจ้งให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินทราบ ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
- กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่า มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริตหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดย มิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงิน หรือทรัพย์สินของทางราชการ คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี และแจ้งผลการตรวจสอบดังกล่าวให้ผู้รับตรวจ หรือกระทรวง เจ้าสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับหรือรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจแล้วแต่กรณีดำเนินการตามกฎหมาย หรือตามระเบียบแบบแผนที่ราชการ หรือหน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้วย เมื่อพนักงานสอบสวน ผู้รับตรวจกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับหรือรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ ดำเนินการไปประการใดแล้ว ให้แจ้งให้คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน ทราบภายในทุกเก้าสิบวัน
- ในกรณีที่พนักงานสอบสวน ผู้รับตรวจ กระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับหรือรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ ไม่ดำเนินการตามที่กล่าวข้างต้นภายในระยะเวลาอันสมควร คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินต้องรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและคณะรัฐมนตรี
การเสนอรายงาน
เสนอรายงานดังต่อไปนี้ ต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี
- รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีที่สำคัญในทุกด้าน เว้นแต่เรื่องหรือข้อที่ตรวจพบนั้น ควรรักษาไว้เป็นความลับ หรือมีกฎหมายห้ามมิให้เปิดเผย
- รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างปี เมื่อสิ้นสุดงานตรวจสอบ เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นหรือ เหมาะสม เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะรัฐมนตรี ทราบผลการตรวจสอบได้ทันเหตุการณ์
การตรวจสอบภายใน
ดำเนินการโดยผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการนั้น และจะรายงานโดยตรงให้แก่หัวหน้าของส่วน ราชการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด การตรวจสอบภายในจะครอบคลุมถึงการตรวจสอบ วิเคราะห์ รวมทั้งประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน ของส่วนราชการตลอดจนการประเมินคุณภาพของการปฏิบัติงาน - ประเมินความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการดำเนินงานในหน้าที่ของหน่วยตรวจรับ- สอบทานความเชื่อถือได้ของข้อมูล- วิเคราะห์และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัดและคุ้มค่า ในการใช้ทรัพยากรของหน่วยงาน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การรายงานการตรวจสอบภายใน
- รายงานการตรวจสอบตามปกติ จะรายงานให้แก่หัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด- รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง จะรายงานให้แก่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
การตรวจสอบภายในจะให้ความสำคัญในเรื่องการตรวจสอบทางด้านการเงิน การบัญชี และการตรวจสอบการดำเนินงาน เพื่อให้การบริหารงานของส่วนราชการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ตรวจสอบภายในจะต้องทำแผนการตรวจสอบประจำปี เสนอหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อขออนุมัติแผนภายในเดือนกันยายนของทุกปี และส่งสำเนาแผนให้กรมบัญชีกลาง
ธนาคารแห่งประเทศไทย ( การปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณ :สำนักงบประมาณ: 2544 หน้า 21 )
ทำหน้าที่โอนเงินคงคลังตามการอนุมัติ จากกรมบัญชีกลาง และทำหน้าที่ออกเช็คสั่งจ่ายให้กับผู้รับ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเปรียบเสมือนนายธนาคารของรัฐบาลแต่ไม่มีอำนาจการพิจารณาตั้งคำถามกระบวนการเบิก - จ่ายเงินดังกล่าว คงเพียงแต่กระทำตามสิ่งที่กรมบัญชีกลางสั่งการเท่านั้น
การกันเงินเหลื่อมปี หมายถึง การที่ส่วนราชการไม่สามารถจะใช้จ่ายได้ทันปีงบประมาณรายจ่ายนั้นแล้ว ส่วนราชการมีสิทธิจะขออนุมัติ จากกระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง ขอให้ส่วนราชการนำเงินรายการนั้นๆ ไปใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อไปได้
สำหรับรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเจ้าหนี้ตามใบเสร็จรับเงินกันที่มีจำนวนเงินไม่มาก ส่วนราชการสามารถขยายระยะเวลา การใช้จ่ายเงินออกไปได้อีก 60 วัน โดยอัตโนมัติ หากเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการหรือสัญญาที่ส่วนราชการได้ไปก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว ส่วนราชการมีสิทธิทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง โดยขอให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ได้อีก 6 เดือน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
แบ่งเป็นการตรวจสอบจากภายนอก และการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบภายนอกกระทำโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และการตรวจสอบภายในกระทำโดยส่วนราชการนั้นเอง
การตรวจสอบจากภายนอก
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นส่วนราชการที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ ในการตรวจสอบการเงินของแผ่นดิน โดยมีคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้วางนโยบายกาาตรวจเงินแผ่นดิน กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐาน และวิธีการพิจารณาในเรื่องวินัยทางงบประมาณและการคลังให้คำปรึกษาและคำแนะนำ เสนอแนะ ให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน กำหนดโทษปรับทางปกครอง พิจารณาวินิจฉัยความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลัง
การตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แบ่งเป็น
1. การตรวจสอบและแสดงความคิดเห็น โดยทั่วไปได้แก่
- ตรวจสอบรายงานทางการเงินของแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ และบัญชีทุนสำรองเงินตรา ประจำปี และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมายและตามความเป็นจริงหรือไม่
- ตรวจสอบการรับ - จ่าย การเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงิน และทรัพย์สินอื่นของหน่วยรับตรวจ หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ แสดงความเห็นตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป สำหรับหน่วยรับตรวจที่เป็นรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ
- ตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน การใช้จ่ายทรัพย์สินอื่น หรือการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงาน หรือโครงการของหน่วยรับตรวจ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยประหยัดได้ผลตามเป้าหมาย และมีผลคุ้มค่าหรือไม่
- ตรวจสอบเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อื่นของหน่วยรับตรวจ แสดงความเห็นว่าเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่
- ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินราชการลับ หรือเงินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเงินราชการลับ
- ศึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับโครงการ แผนงาน ที่จะมีผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณ
2. การแจ้งผลการตรวจสอบและเสนอรายงาน
2.1 การแจ้งผลการตรวจสอบ ( โดยรับมอบหมายจากคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน)
- กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่า มีข้อบกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งให้หน่วยรับตรวจชี้แจง หรือแก้ไข ข้อบกพร่องหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือให้ดำเนินตามกฎหมาย หรือระเบียบแบบแผนที่ทางราชการ หรือหน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่ หน่วยรับตรวจ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบตามควรแก่กรณี และให้หน่วยรับตรวจแจ้งผลการดำเนินการให้คณะกรรมการกากรตรวจเงินแผ่นดิน ทราบภายในหกสิบวันเว้นแต่คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
- เมื่อพ้นเวลาที่กำหนดแล้ว หากหน่วยรับตรวจไม่ดำเนินการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งต่อกระทรวงเจ้าสังกัด หรือผู้ควบคุม กำกับรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ ดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนที่ทางราชการหรือหน่วยรับตรวจกำหนดแก่ผู้ตรวจ และ เจ้าหน้าที่หน่วยรับตรวจผู้รับผิดชอบตามควรแก่กรณี
- ในกรณีที่คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน เห็นว่ามีข้อบกพร่องเกิดขึ้นเนื่องจาก กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคระรัฐมนตรีไม่เหมาะสม กับสภาพการณ์ปัจจุบัน หรือไม่อาจปฏิบัติได้ หรือหากปฏิบัติแล้วจะเสียประโยชน์ต่อทางราชการ จะแจ้งต่อผู้มีอำนาจหน้าที่ในเรื่องนั้นๆ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขต่อไป ในกรณีทีมีข้อโต้แย้งหรือไม่อาจดำเนินการตามที่กล่าวข้างต้นได้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินต้องรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและคณะรัฐมนตรี
- กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่ามีข้อบกพร่อง เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดให้หน่วยรับตรวจต้องปฏิบัติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งให้กระทรวงเจ้าสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา ผู้ควบคุมกำกับ รับผิดชอบของหน่วยรับตรวจแล้วแต่กรณีทราบ เพื่อกำหนดมาตรการที่จำเป็นให้หน่วยรับตรวจไปปฏิบัติ และเมื่อกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ควบคุมกำกับ รับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ ดำเนินการไปประการใดแล้ว ให้แจ้งให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินทราบ ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
- กรณีผลการตรวจสอบปรากฏว่า มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริตหรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดย มิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงิน หรือทรัพย์สินของทางราชการ คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินจะแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดี และแจ้งผลการตรวจสอบดังกล่าวให้ผู้รับตรวจ หรือกระทรวง เจ้าสังกัด หรือผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับหรือรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจแล้วแต่กรณีดำเนินการตามกฎหมาย หรือตามระเบียบแบบแผนที่ราชการ หรือหน่วยรับตรวจกำหนดไว้แก่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้วย เมื่อพนักงานสอบสวน ผู้รับตรวจกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับหรือรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ ดำเนินการไปประการใดแล้ว ให้แจ้งให้คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน ทราบภายในทุกเก้าสิบวัน
- ในกรณีที่พนักงานสอบสวน ผู้รับตรวจ กระทรวงเจ้าสังกัด ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ควบคุมกำกับหรือรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ ไม่ดำเนินการตามที่กล่าวข้างต้นภายในระยะเวลาอันสมควร คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินต้องรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและคณะรัฐมนตรี
การเสนอรายงาน
เสนอรายงานดังต่อไปนี้ ต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี
- รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีที่สำคัญในทุกด้าน เว้นแต่เรื่องหรือข้อที่ตรวจพบนั้น ควรรักษาไว้เป็นความลับ หรือมีกฎหมายห้ามมิให้เปิดเผย
- รายงานผลการปฏิบัติงานระหว่างปี เมื่อสิ้นสุดงานตรวจสอบ เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นหรือ เหมาะสม เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะรัฐมนตรี ทราบผลการตรวจสอบได้ทันเหตุการณ์
การตรวจสอบภายใน
ดำเนินการโดยผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการนั้น และจะรายงานโดยตรงให้แก่หัวหน้าของส่วน ราชการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด การตรวจสอบภายในจะครอบคลุมถึงการตรวจสอบ วิเคราะห์ รวมทั้งประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน ของส่วนราชการตลอดจนการประเมินคุณภาพของการปฏิบัติงาน - ประเมินความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการดำเนินงานในหน้าที่ของหน่วยตรวจรับ- สอบทานความเชื่อถือได้ของข้อมูล- วิเคราะห์และประเมินความมีประสิทธิภาพ ประหยัดและคุ้มค่า ในการใช้ทรัพยากรของหน่วยงาน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การรายงานการตรวจสอบภายใน
- รายงานการตรวจสอบตามปกติ จะรายงานให้แก่หัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด- รายงานการจัดซื้อจัดจ้าง จะรายงานให้แก่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
การตรวจสอบภายในจะให้ความสำคัญในเรื่องการตรวจสอบทางด้านการเงิน การบัญชี และการตรวจสอบการดำเนินงาน เพื่อให้การบริหารงานของส่วนราชการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ตรวจสอบภายในจะต้องทำแผนการตรวจสอบประจำปี เสนอหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อขออนุมัติแผนภายในเดือนกันยายนของทุกปี และส่งสำเนาแผนให้กรมบัญชีกลาง
ธนาคารแห่งประเทศไทย ( การปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณ :สำนักงบประมาณ: 2544 หน้า 21 )
ทำหน้าที่โอนเงินคงคลังตามการอนุมัติ จากกรมบัญชีกลาง และทำหน้าที่ออกเช็คสั่งจ่ายให้กับผู้รับ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเปรียบเสมือนนายธนาคารของรัฐบาลแต่ไม่มีอำนาจการพิจารณาตั้งคำถามกระบวนการเบิก - จ่ายเงินดังกล่าว คงเพียงแต่กระทำตามสิ่งที่กรมบัญชีกลางสั่งการเท่านั้น
การกันเงินเหลื่อมปี หมายถึง การที่ส่วนราชการไม่สามารถจะใช้จ่ายได้ทันปีงบประมาณรายจ่ายนั้นแล้ว ส่วนราชการมีสิทธิจะขออนุมัติ จากกระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง ขอให้ส่วนราชการนำเงินรายการนั้นๆ ไปใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อไปได้
สำหรับรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเจ้าหนี้ตามใบเสร็จรับเงินกันที่มีจำนวนเงินไม่มาก ส่วนราชการสามารถขยายระยะเวลา การใช้จ่ายเงินออกไปได้อีก 60 วัน โดยอัตโนมัติ หากเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการหรือสัญญาที่ส่วนราชการได้ไปก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว ส่วนราชการมีสิทธิทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง โดยขอให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ได้อีก 6 เดือน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-