แท็ก
มาเลเซีย
แนวคิดการบริหารและการจัดการระบบการเงินในต่างประเทศ ( สำนักงาน กพ. : 2544 )
ประเทศกานา ได้ปฏิรูประบบสาธารณะและพัฒนาสมรรถนะขององค์กร และจัดตั้งหน่วยให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางด้านการเงินขึ้น
ประเทศมาเลเซีย ได้นำเสนอระบบการปรับปรุงการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งมีจุดประสงค์หลักคือ เพิ่มผลผลิตและลดผลกระทบ ในการจัดตั้งโครงการหรือกิจกรรมเพื่อทำการวัดประสิทธิภาพ นำเสนอแนวคิดความคุ้มค่าของเงินเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย 3 ประการ คือด้านเศรษฐกิจ ด้านประสิทธิภาพและด้านประสิทธิผล
ประเทศนิวซีแลนด์ กฎหมายด้านหน้าที่ทางการเงินได้สนับสนุนให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารงบประมาณของรัฐบาล โดยเน้นเรื่องต่างๆต่อไปนี้
1. ให้มีการทำรายงานที่เปิดเผยเมื่อสิ้นปีงบประมาณ รวมทั้งเปลี่ยนระบบการบัญชีเป็นแบบ Accrual - Based
2. กำหนดให้มีการเปรียบเทียบการแข่งขันของศักยภาพทางการเงิน
3. สนับสนุนให้มีกระบวนการนำงบประมาณไปใช้อย่างเปิดเผยและโปร่งใส
4. มีการจัดทำรายงานทางการเงินของภาครัฐ
ประเทศสหราชอาณาจักร การบริหารทางการเงินทำให้เกิดการประสานงานและผลักดันให้เกิดการปรับปรุงการบริหารด้านการเงินของหน่วยงานรัฐบาล เป้าหมายหลักคือความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายในด้านการจัดสรรงบประมาณ การควบคุมหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารทางด้านการเงิน หน่วยงานบุคคล ทำให้ทราบวัตถุประสงค์และข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจ
ประเทศออสเตรเลีย ได้มีการบริหารการเงินและการคลังในระบบราชการโดยให้มีการจัดทำงบประมาณล่วงหน้า 3 ปี จัดลำดับเรื่องสำคัญที่ต้องทำและจัดทำแบบแผนการใช้เงิน ใช้งบประมาณแบบแผนงานโดยการจัดทำโครงสร้างแผนงาน ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์พึงรับพึงจ่าย ( Accrual Based ) ออกกฎหมาย Financial Management and Accountability Act 1997 ออกกฎหมายว่าด้วยกฎบัตรเรื่องความซื่อสัตย์ด้านงบประมาณ โดยรัฐบาลต้องเปิดเผยนโยบายการคลังที่ชัดเจน โปร่งใส มีความรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้
ประเทศนอร์เวย์ กำหนดให้หน่วยราชการต้องจัดทำ Corporate plan ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1990 เพื่อให้การบริหารการเงินเน้นไปที่ผลงานมากขึ้น โดยมีการจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สำหรับระบบการรายงานการควบคุมทางการเงิน และการวางแผนโปรแกรมให้เหมาะสมกับการบริหารการเงิน ในปี ค.ศ. 1997 ระเบียบด้านการเงินของรัฐฉบับใหม่ได้เริ่มมีผลบังคับใช้ และเริ่มมีการนำไปใช้ปฏิบัติ เป็นการบูรณาการการจัดการการเงินเข้ากับแนวคิดในการมุ่งเน้นผลงาน ด้านระเบียบทางการเงินต้องมีระบบบัญชีที่ครอบคลุมมากขึ้น มีควบคุมการโอนเงินทางอิเลคโทรนิคส์
ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 ได้แก้ไขระบบการเงินที่ไม่สมบูรณ์ และมีปัญหาข้อมูลล่าช้า รัฐบาลได้จัดทำโปรแกรมปรับปรุงการบริหารการเงินขึ้นโดย ( OECD ,1990 ) จัดทำระบบทางการเงินอิเล็กทรอนิคส์ระดับรัฐบาล พัฒนาระบบงบประมาณส่วนกลาง เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบการเงิน พัฒนากระบวนการบริหารเงินสดแบบองค์กรธุรกิจเพื่อให้มั่นใจได้ว่าใบเรียกเก็บเงินของรัฐจะได้รับการชำระทันที และมีการนำฝากในวันรุ่งขึ้น ( สำนักงาน กพ. : 2544 )
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
ประเทศกานา ได้ปฏิรูประบบสาธารณะและพัฒนาสมรรถนะขององค์กร และจัดตั้งหน่วยให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางด้านการเงินขึ้น
ประเทศมาเลเซีย ได้นำเสนอระบบการปรับปรุงการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งมีจุดประสงค์หลักคือ เพิ่มผลผลิตและลดผลกระทบ ในการจัดตั้งโครงการหรือกิจกรรมเพื่อทำการวัดประสิทธิภาพ นำเสนอแนวคิดความคุ้มค่าของเงินเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย 3 ประการ คือด้านเศรษฐกิจ ด้านประสิทธิภาพและด้านประสิทธิผล
ประเทศนิวซีแลนด์ กฎหมายด้านหน้าที่ทางการเงินได้สนับสนุนให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารงบประมาณของรัฐบาล โดยเน้นเรื่องต่างๆต่อไปนี้
1. ให้มีการทำรายงานที่เปิดเผยเมื่อสิ้นปีงบประมาณ รวมทั้งเปลี่ยนระบบการบัญชีเป็นแบบ Accrual - Based
2. กำหนดให้มีการเปรียบเทียบการแข่งขันของศักยภาพทางการเงิน
3. สนับสนุนให้มีกระบวนการนำงบประมาณไปใช้อย่างเปิดเผยและโปร่งใส
4. มีการจัดทำรายงานทางการเงินของภาครัฐ
ประเทศสหราชอาณาจักร การบริหารทางการเงินทำให้เกิดการประสานงานและผลักดันให้เกิดการปรับปรุงการบริหารด้านการเงินของหน่วยงานรัฐบาล เป้าหมายหลักคือความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายในด้านการจัดสรรงบประมาณ การควบคุมหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารทางด้านการเงิน หน่วยงานบุคคล ทำให้ทราบวัตถุประสงค์และข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจ
ประเทศออสเตรเลีย ได้มีการบริหารการเงินและการคลังในระบบราชการโดยให้มีการจัดทำงบประมาณล่วงหน้า 3 ปี จัดลำดับเรื่องสำคัญที่ต้องทำและจัดทำแบบแผนการใช้เงิน ใช้งบประมาณแบบแผนงานโดยการจัดทำโครงสร้างแผนงาน ใช้ระบบบัญชีเกณฑ์พึงรับพึงจ่าย ( Accrual Based ) ออกกฎหมาย Financial Management and Accountability Act 1997 ออกกฎหมายว่าด้วยกฎบัตรเรื่องความซื่อสัตย์ด้านงบประมาณ โดยรัฐบาลต้องเปิดเผยนโยบายการคลังที่ชัดเจน โปร่งใส มีความรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้
ประเทศนอร์เวย์ กำหนดให้หน่วยราชการต้องจัดทำ Corporate plan ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1990 เพื่อให้การบริหารการเงินเน้นไปที่ผลงานมากขึ้น โดยมีการจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สำหรับระบบการรายงานการควบคุมทางการเงิน และการวางแผนโปรแกรมให้เหมาะสมกับการบริหารการเงิน ในปี ค.ศ. 1997 ระเบียบด้านการเงินของรัฐฉบับใหม่ได้เริ่มมีผลบังคับใช้ และเริ่มมีการนำไปใช้ปฏิบัติ เป็นการบูรณาการการจัดการการเงินเข้ากับแนวคิดในการมุ่งเน้นผลงาน ด้านระเบียบทางการเงินต้องมีระบบบัญชีที่ครอบคลุมมากขึ้น มีควบคุมการโอนเงินทางอิเลคโทรนิคส์
ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 ได้แก้ไขระบบการเงินที่ไม่สมบูรณ์ และมีปัญหาข้อมูลล่าช้า รัฐบาลได้จัดทำโปรแกรมปรับปรุงการบริหารการเงินขึ้นโดย ( OECD ,1990 ) จัดทำระบบทางการเงินอิเล็กทรอนิคส์ระดับรัฐบาล พัฒนาระบบงบประมาณส่วนกลาง เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบการเงิน พัฒนากระบวนการบริหารเงินสดแบบองค์กรธุรกิจเพื่อให้มั่นใจได้ว่าใบเรียกเก็บเงินของรัฐจะได้รับการชำระทันที และมีการนำฝากในวันรุ่งขึ้น ( สำนักงาน กพ. : 2544 )
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-