ในปี 2547 รัฐบาล และกระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายที่จะสร้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีใหม่ให้ได้ จำนวน 50,000 ราย โดยเฉพาะผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก 5 อุตสาหกรรมของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมบริการ, อุตสาหกรรมไอซีที, อุตสาหกรรมแฟชั่น และอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ และมีขีดความสามารถในการ แข่งขันได้ในยุคเศรษฐกิจใหม่
ดังนั้นทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จึงได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุน ธุรกิจเอสเอ็มอี โดยร่วมมือกับพันธมิตรทั้งหน่วยงานของรัฐ และเอกชนในการสร้างฐานการผลิตที่มีความพร้อมในทุกๆ ด้านรวมถึงสิทธิประโยชน์และมาตรการสนับสนุนตลอดจนบริการและการให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมและแก้ไขความอ่อนแอของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้เกิดความเข้มแข็ง อย่างครบถ้วน (Total Solution)
จากนโยบายและหลักการดังกล่าวข้างต้นจึงทำให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เอื้ออาทรขึ้น เพื่อเป็นการสร้างเสริมศักยภาพผู้ประกอบการกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความ "มั่นคง" และ "มั่นใจ" ในการลงทุนประกอบการ และสามารถแข่งขันได้ เกิดการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรม (Cluster) สามารถเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมภายในนิคมอุตสาหกรรม สร้างพันธมิตรทางธุรกิจและการลงทุน ให้เกิดการพัฒนาและเชื่อมโยงห่วงโซ่แห่งมูลค่า (Value Chain) และสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มกันของเอสเอ็มอีเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองและ ลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัตถุดิบและการตลาด โดยมีที่ตั้งและพื้นที่เป้าหมาย ในพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 11 แห่ง ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ เนื้อที่รวมประมาณ 6,800 ไร่ สามารถสร้างอาคารโรงงานมาตรฐานคิดเป็นพื้นที่กว่า 750,000 ตารางเมตร โดยเป็นพื้นที่ในบริเวณรอบนอกกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศทั้งของเอกชน หรือที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานกรมธนารักษ์พิจารณาที่ดินและอาคารที่อยู่ในกรณี NPL พื้นที่อื่นๆ
โดยเริ่มดำเนินการในปี 2547 โดยจะใช้พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเป็นโครงการนำร่อง ในระยะเร่งด่วน โดยใช้อาคารโรงงานมาตรฐานในเขตอุตสาหกรรมส่งออก มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 6,000 ตารางเมตร ซึ่งสามารถรองรับกิจการเอสเอ็มอีจำนวนประมาณ 15 - 30 ราย ส่วนในปี 2548 เป็นการดำเนินการระยะปานกลาง /ระยะยาวนั้น จะใช้พื้นที่ในเขตพาณิชยกรรมในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังประมาณ 99 ไร่ และพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมบางชันอีกประมาณ 4 ไร่ เพื่อเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากการดำเนินการในระยะเร่งด่วน
นอกจากการสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศทั้ง 5 สาขาแล้ว ทางกนอ. ยังมีอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่นๆ อีกที่จะให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในนิคมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมประเภทใหม่ๆ ที่มีความก้าวหน้าในเชิงนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมทั้งอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ เช่น 1) อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ 2) อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรและอาหาร 3) อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) 4) อุตสาหกรรมแฟชั่น: สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ 5) อุตสาหกรรมด้าน Knowledge Based 6) อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ 7) อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ 8) อุตสาหกรรม ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 9) อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่อุตสาหกรรมสนับสนุน อาทิเช่น Die and Mould อุตสาหกรรมเคลือบ/ชุบ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องกล การบริการซ่อมเครื่องจักร/เครื่องยนต์/ ยานยนต์ กิจการเกี่ยวกับบริการ Logistics เป็นต้น
ในส่วนของการให้บริการนั้นทางกนอ. ได้จัดตั้งศูนย์บริการขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับ เอสเอ็มอี โดยได้นำระบบการให้บริการและการบริหารจัดการมาใช้ในกระบวนการต่างๆ แบบเบ็ดเสร็จ ครบวงจรเรียกว่า SMEs One-Stop Service (SMEs OSS) ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านต่างๆ (e - Business Service) แก่ผู้ประกอบการ ลูกค้า และประชาชน ตลอดจนกระบวนการบริหารจัดการภายใน อาทิเช่น e - Service, e - Payment, Call Center, Dynamic Web Site, e - Procurement, e - meeting, ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูล DOC - MOCC - PMOC และการประชุมทางไกลด้วยระบบ Video Conference เป็นต้น
การจัดตั้งศูนย์กลางในการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจรนี้ ทางกนอ.จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานด้านข้อมูล ด้านการลงทุน สร้างฐานการผลิตเอสเอ็มอีสำหรับกิจการใหม่ กิจการที่ต้องการย้ายหรือขยายแหล่งผลิต โดยจัดพื้นที่พร้อมอาคารโรงงานมาตรฐานที่มีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความ สะดวกและสิทธิประโยชน์ในนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีสำหรับผู้ประกอบการที่เข้ามาประกอบกิจการ เช่น มีภาระการลงทุนต่ำนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ให้บริการด้านสิทธิประโยชน์ ตลอดจนการบริการอนุมัติอนุญาต เพื่อสนองความต้องการและสนับสนุน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างครบถ้วน จากการจัดตั้งโครงการดังกล่าวข้างต้น ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยเป็นอย่างยิ่ง ที่จะมีโอกาสเจริญเติบโตและพัฒนาศักยภาพทางด้านการลงทุนและการผลิต ให้มีขีดความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ มีโอกาสในการรวมกลุ่มกันในลักษณะ Cluster อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในนิคมอุตสาหกรรมได้ รวมทั้งมีโอกาสสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การลงทุน และพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเข้าประกอบกิจการได้ทันทีในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่จัดไว้ให้ โดยใช้เงินในการลงทุนไม่สูงมากซึ่งไม่เกิน 200 ล้านบาท หากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีท่านใดสนใจสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 02-253-0561 ต่อ 6400-2 (ที่มา: การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
ดังนั้นทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จึงได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุน ธุรกิจเอสเอ็มอี โดยร่วมมือกับพันธมิตรทั้งหน่วยงานของรัฐ และเอกชนในการสร้างฐานการผลิตที่มีความพร้อมในทุกๆ ด้านรวมถึงสิทธิประโยชน์และมาตรการสนับสนุนตลอดจนบริการและการให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมและแก้ไขความอ่อนแอของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้เกิดความเข้มแข็ง อย่างครบถ้วน (Total Solution)
จากนโยบายและหลักการดังกล่าวข้างต้นจึงทำให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เอื้ออาทรขึ้น เพื่อเป็นการสร้างเสริมศักยภาพผู้ประกอบการกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความ "มั่นคง" และ "มั่นใจ" ในการลงทุนประกอบการ และสามารถแข่งขันได้ เกิดการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรม (Cluster) สามารถเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมภายในนิคมอุตสาหกรรม สร้างพันธมิตรทางธุรกิจและการลงทุน ให้เกิดการพัฒนาและเชื่อมโยงห่วงโซ่แห่งมูลค่า (Value Chain) และสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มกันของเอสเอ็มอีเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองและ ลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัตถุดิบและการตลาด โดยมีที่ตั้งและพื้นที่เป้าหมาย ในพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 11 แห่ง ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ เนื้อที่รวมประมาณ 6,800 ไร่ สามารถสร้างอาคารโรงงานมาตรฐานคิดเป็นพื้นที่กว่า 750,000 ตารางเมตร โดยเป็นพื้นที่ในบริเวณรอบนอกกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศทั้งของเอกชน หรือที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานกรมธนารักษ์พิจารณาที่ดินและอาคารที่อยู่ในกรณี NPL พื้นที่อื่นๆ
โดยเริ่มดำเนินการในปี 2547 โดยจะใช้พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเป็นโครงการนำร่อง ในระยะเร่งด่วน โดยใช้อาคารโรงงานมาตรฐานในเขตอุตสาหกรรมส่งออก มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 6,000 ตารางเมตร ซึ่งสามารถรองรับกิจการเอสเอ็มอีจำนวนประมาณ 15 - 30 ราย ส่วนในปี 2548 เป็นการดำเนินการระยะปานกลาง /ระยะยาวนั้น จะใช้พื้นที่ในเขตพาณิชยกรรมในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังประมาณ 99 ไร่ และพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมบางชันอีกประมาณ 4 ไร่ เพื่อเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากการดำเนินการในระยะเร่งด่วน
นอกจากการสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศทั้ง 5 สาขาแล้ว ทางกนอ. ยังมีอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่นๆ อีกที่จะให้การสนับสนุน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในนิคมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมประเภทใหม่ๆ ที่มีความก้าวหน้าในเชิงนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมทั้งอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่นๆ เช่น 1) อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ 2) อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรและอาหาร 3) อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) 4) อุตสาหกรรมแฟชั่น: สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ 5) อุตสาหกรรมด้าน Knowledge Based 6) อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ 7) อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ 8) อุตสาหกรรม ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 9) อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่อุตสาหกรรมสนับสนุน อาทิเช่น Die and Mould อุตสาหกรรมเคลือบ/ชุบ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องกล การบริการซ่อมเครื่องจักร/เครื่องยนต์/ ยานยนต์ กิจการเกี่ยวกับบริการ Logistics เป็นต้น
ในส่วนของการให้บริการนั้นทางกนอ. ได้จัดตั้งศูนย์บริการขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับ เอสเอ็มอี โดยได้นำระบบการให้บริการและการบริหารจัดการมาใช้ในกระบวนการต่างๆ แบบเบ็ดเสร็จ ครบวงจรเรียกว่า SMEs One-Stop Service (SMEs OSS) ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านต่างๆ (e - Business Service) แก่ผู้ประกอบการ ลูกค้า และประชาชน ตลอดจนกระบวนการบริหารจัดการภายใน อาทิเช่น e - Service, e - Payment, Call Center, Dynamic Web Site, e - Procurement, e - meeting, ศูนย์ปฏิบัติการข้อมูล DOC - MOCC - PMOC และการประชุมทางไกลด้วยระบบ Video Conference เป็นต้น
การจัดตั้งศูนย์กลางในการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจรนี้ ทางกนอ.จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานด้านข้อมูล ด้านการลงทุน สร้างฐานการผลิตเอสเอ็มอีสำหรับกิจการใหม่ กิจการที่ต้องการย้ายหรือขยายแหล่งผลิต โดยจัดพื้นที่พร้อมอาคารโรงงานมาตรฐานที่มีระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความ สะดวกและสิทธิประโยชน์ในนิคมอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีสำหรับผู้ประกอบการที่เข้ามาประกอบกิจการ เช่น มีภาระการลงทุนต่ำนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพ ให้บริการด้านสิทธิประโยชน์ ตลอดจนการบริการอนุมัติอนุญาต เพื่อสนองความต้องการและสนับสนุน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างครบถ้วน จากการจัดตั้งโครงการดังกล่าวข้างต้น ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทยเป็นอย่างยิ่ง ที่จะมีโอกาสเจริญเติบโตและพัฒนาศักยภาพทางด้านการลงทุนและการผลิต ให้มีขีดความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ มีโอกาสในการรวมกลุ่มกันในลักษณะ Cluster อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในนิคมอุตสาหกรรมได้ รวมทั้งมีโอกาสสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ การลงทุน และพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเข้าประกอบกิจการได้ทันทีในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่จัดไว้ให้ โดยใช้เงินในการลงทุนไม่สูงมากซึ่งไม่เกิน 200 ล้านบาท หากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีท่านใดสนใจสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 02-253-0561 ต่อ 6400-2 (ที่มา: การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-