โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบวิจัยและพัฒนายานยนต์ (Automotive Research and Testing Center) เป็นโครงการที่กลุ่มผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ นำโดยนายปราโมทย์ พงษ์ทอง นายกสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยเป็นผู้เสนอขึ้นมาในสมัยของ "นายพิเชษฐ สถิรชวาล" ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จนมาถึงยุคของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในการผลักดันให้โครงการนี้เกิดขึ้นให้ได้ภายใน 3 ปีนับจากปี 2546 เป็นต้นไป
หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการนี้ได้แก่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันยานยนต์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้มีศูนย์ทดสอบคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และพัฒนาออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ภายในประเทศไทย รวมถึงสนามทดสอบรถยนต์ รถปิกอัพหรือมูฟวิ่งกราวนด์ ซึ่งโครงการนี้จะทำให้เกิดการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยอย่างแท้จริง โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณรวมกว่า 5.6 พันล้านบาท
ในเบื้องต้นผู้ดำเนินการได้ขออนุมัติงบประมาณปี 2546 จำนวน 20 ล้านบาท เพื่อใช้ในการศึกษาความเป็นไปได้ของแผนงานของโครงการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่ตั้งทำเล การก่อสร้างสาธารณูปโภคภายในโครงการ รวมถึงเรื่องของบุคลากรและความช่วยเหลือจากภาครัฐบาลและเอกชนทั้งหมด โดยเริ่มดำเนินการในปี 2546 ที่ผ่านมา
ด้านภาคเอกชนผู้ผลิตรถยนต์ เช่น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ของญี่ปุ่นเองได้มีความสนใจที่จะลงทุนในกิจการศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D Center) ด้านยานยนต์ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน โดยได้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งการลงทุน (BOI) ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนกว่า 3,700 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีโครงการย้ายฐานการผลิตรถกระบะ รถอเนกประสงค์ เครื่องยนต์ดีเซล และชิ้นส่วน OEM มายังประเทศไทย เป็นการผลิตเพื่อส่งออก โดยเตรียมขยายกำลังการผลิตจำนวน 200,000 คันภายในปี 2547 (ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
ดังนั้นการมีศูนย์ทดสอบวิจัยและพัฒนายานยนต์ในประเทศไทยถือว่าเป็นโครงการที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอย่างมาก และเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะพัฒนาและผลักดันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยซึ่งเป็นสินค้าหลักของประเทศไทย เช่น บอดี้พาร์ต ชิ้นส่วนหล่อ กระจก ไฟ โช้กอัพ และเบาะ ให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ดีและพร้อมที่จะแข่งขันกับต่างชาติได้ มีมูลค่าการส่งออกมากขึ้น และมีการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย ตามเป้าหมายที่ได้วางกันเอาไว้ที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แห่งภูมิภาค (ดีทรอยต์ออฟเอเชีย) และเป็นผู้นำในตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ โดยในปี 2553 จะทำการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยให้ได้ 1.8 ล้านคัน โดยจะเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 8 แสนคัน และมีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท พร้อมผลักดันให้มีการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศไม่น้อยกว่า 70%
ถ้าหากโครงการดังกล่าวข้างต้นดำเนินการแล้วเสร็จลง ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งด้านการพัฒนา การสร้างอำนาจทางการผลิตให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น และสามารถลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนา ซึ่งจะทำให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ทัดเทียมกับชาติอื่นๆ เช่นเดียวกับประเทศใต้หวัน ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วจากการมีศูนย์ทดสอบวิจัยและพัฒนายานยนต์ภายในประเทศ จนปัจจุบันได้กลายเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประเภท REM ครองตลาดรายใหญ่ของโลกไปแล้ว และในอนาคตการประกันสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยระบบ ISO 9000 ไม่เพียงพอแล้ว เพราะในหลายประเทศเพิ่มการรับรองคุณภาพและมีการยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์เป็นระบบ ISO 16949 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์โดยตรงที่เพิ่มเติมจากเดิม โดยจะเน้นการพัฒนาคุณภาพ การป้องกันและการปรับปรุงสินค้าอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของมาตรฐานสินค้าให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยได้รับมาตรฐานเพียง 170 รายเท่านั้น ซึ่งถือว่ามีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งประเทศ ทั้งนี้การมีศูนย์ทดสอบวิจัยและพัฒนายานยนต์ขึ้นมา ก็จะสามารถช่วยผู้ประกอบการในการยกระดับการผลิตให้มีมาตรฐานมากขึ้น สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และนอกจากนี้ผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นพัฒนาการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ให้เป็นกลุ่มธุรกิจ ที่ช่วยในการวางแผนธุรกิจให้มีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น และมีอำนาจต่อรองในเรื่องของต้นทุนได้ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีมาตรฐานและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่จะสามารถพัฒนาศักยภาพและทักษะในการทำงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตเทียบเท่าระดับสากล ตลอดจนการปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือเทคโนโลยีให้ทันสมัยตลอดเวลา
อย่างไรก็ตามโครงการนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับภาครัฐให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านเงินทุนอย่างต่อเนื่อง และมีการดำเนินการอย่างจริงจังเป็นรูปธรรมชัดเจน ในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยอย่างครบวงจร เพื่อเป็นการยกระดับการผลิตของผู้ประกอบการไทยให้สู่ระดับสากลเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ พร้อมทั้งการสร้างตราสินค้า (Brand Name) ของคนไทยเพื่อส่งออกไปขายในตลาดโลกซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมาก และในขณะเดียวกันการมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ที่แข็งแกร่งก็จะเป็นฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไปสู่การผลิตรถยนต์ด้วยตราสินค้าของคนไทยในอนาคตอีกด้วย ซึ่งการก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แห่งภูมิภาค(ดีทรอย์ตออฟเอเชีย) ในอนาคตคงไม่ไกลเกินเอื้อมสำหรับประเทศไทย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการนี้ได้แก่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันยานยนต์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยให้มีศูนย์ทดสอบคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และพัฒนาออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ภายในประเทศไทย รวมถึงสนามทดสอบรถยนต์ รถปิกอัพหรือมูฟวิ่งกราวนด์ ซึ่งโครงการนี้จะทำให้เกิดการวิจัยและพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยอย่างแท้จริง โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณรวมกว่า 5.6 พันล้านบาท
ในเบื้องต้นผู้ดำเนินการได้ขออนุมัติงบประมาณปี 2546 จำนวน 20 ล้านบาท เพื่อใช้ในการศึกษาความเป็นไปได้ของแผนงานของโครงการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของที่ตั้งทำเล การก่อสร้างสาธารณูปโภคภายในโครงการ รวมถึงเรื่องของบุคลากรและความช่วยเหลือจากภาครัฐบาลและเอกชนทั้งหมด โดยเริ่มดำเนินการในปี 2546 ที่ผ่านมา
ด้านภาคเอกชนผู้ผลิตรถยนต์ เช่น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ของญี่ปุ่นเองได้มีความสนใจที่จะลงทุนในกิจการศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D Center) ด้านยานยนต์ในประเทศไทยเช่นเดียวกัน โดยได้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งการลงทุน (BOI) ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนกว่า 3,700 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีโครงการย้ายฐานการผลิตรถกระบะ รถอเนกประสงค์ เครื่องยนต์ดีเซล และชิ้นส่วน OEM มายังประเทศไทย เป็นการผลิตเพื่อส่งออก โดยเตรียมขยายกำลังการผลิตจำนวน 200,000 คันภายในปี 2547 (ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
ดังนั้นการมีศูนย์ทดสอบวิจัยและพัฒนายานยนต์ในประเทศไทยถือว่าเป็นโครงการที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอย่างมาก และเป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะพัฒนาและผลักดันอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยซึ่งเป็นสินค้าหลักของประเทศไทย เช่น บอดี้พาร์ต ชิ้นส่วนหล่อ กระจก ไฟ โช้กอัพ และเบาะ ให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ดีและพร้อมที่จะแข่งขันกับต่างชาติได้ มีมูลค่าการส่งออกมากขึ้น และมีการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย ตามเป้าหมายที่ได้วางกันเอาไว้ที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แห่งภูมิภาค (ดีทรอยต์ออฟเอเชีย) และเป็นผู้นำในตลาดชิ้นส่วนยานยนต์ โดยในปี 2553 จะทำการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยให้ได้ 1.8 ล้านคัน โดยจะเป็นการผลิตเพื่อส่งออก 8 แสนคัน และมีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท พร้อมผลักดันให้มีการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศไม่น้อยกว่า 70%
ถ้าหากโครงการดังกล่าวข้างต้นดำเนินการแล้วเสร็จลง ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งด้านการพัฒนา การสร้างอำนาจทางการผลิตให้มีผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น และสามารถลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนา ซึ่งจะทำให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ทัดเทียมกับชาติอื่นๆ เช่นเดียวกับประเทศใต้หวัน ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วจากการมีศูนย์ทดสอบวิจัยและพัฒนายานยนต์ภายในประเทศ จนปัจจุบันได้กลายเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประเภท REM ครองตลาดรายใหญ่ของโลกไปแล้ว และในอนาคตการประกันสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยระบบ ISO 9000 ไม่เพียงพอแล้ว เพราะในหลายประเทศเพิ่มการรับรองคุณภาพและมีการยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์เป็นระบบ ISO 16949 ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์โดยตรงที่เพิ่มเติมจากเดิม โดยจะเน้นการพัฒนาคุณภาพ การป้องกันและการปรับปรุงสินค้าอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของมาตรฐานสินค้าให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยได้รับมาตรฐานเพียง 170 รายเท่านั้น ซึ่งถือว่ามีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งประเทศ ทั้งนี้การมีศูนย์ทดสอบวิจัยและพัฒนายานยนต์ขึ้นมา ก็จะสามารถช่วยผู้ประกอบการในการยกระดับการผลิตให้มีมาตรฐานมากขึ้น สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และนอกจากนี้ผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นพัฒนาการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ให้เป็นกลุ่มธุรกิจ ที่ช่วยในการวางแผนธุรกิจให้มีทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น และมีอำนาจต่อรองในเรื่องของต้นทุนได้ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรให้มีมาตรฐานและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่จะสามารถพัฒนาศักยภาพและทักษะในการทำงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตเทียบเท่าระดับสากล ตลอดจนการปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือเทคโนโลยีให้ทันสมัยตลอดเวลา
อย่างไรก็ตามโครงการนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับภาครัฐให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านเงินทุนอย่างต่อเนื่อง และมีการดำเนินการอย่างจริงจังเป็นรูปธรรมชัดเจน ในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยอย่างครบวงจร เพื่อเป็นการยกระดับการผลิตของผู้ประกอบการไทยให้สู่ระดับสากลเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ พร้อมทั้งการสร้างตราสินค้า (Brand Name) ของคนไทยเพื่อส่งออกไปขายในตลาดโลกซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมาก และในขณะเดียวกันการมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ที่แข็งแกร่งก็จะเป็นฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไปสู่การผลิตรถยนต์ด้วยตราสินค้าของคนไทยในอนาคตอีกด้วย ซึ่งการก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แห่งภูมิภาค(ดีทรอย์ตออฟเอเชีย) ในอนาคตคงไม่ไกลเกินเอื้อมสำหรับประเทศไทย
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-