การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน สำหรับสินค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นอีกนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลในยุคนี้ เนื่องจากรัฐบาล โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเล็งเห็นความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพและมาตรฐานเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาสินค้าชุมชน (สินค้าโอท็อป) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น อาหารแปรรูป อาหารกลุ่มขนมอบกรอบ เครื่องดื่มน้ำผัก/ผลไม้/สมุนไพร ไวน์ สุรา/เหล้าแช่ /สาโท เครื่องสำอาง/สินค้าอุปโภค ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และเครื่องปรุงรส เป็นต้น เพื่อให้สินค้าเหล่านี้มีการยกระดับ เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และช่วยในการรักษาคุณภาพของสินค้า ช่วยดึงดูดสายตาของผู้บริโภคเมื่อได้พบเห็น ให้ได้รับการยอมรับ และเจริญเติบโตยิ่งขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ปัจจุบันการใช้บรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้บรรจุภัณฑ์จากในประเทศเกือบทั้งหมด โดยมีบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อยู่หลากหลายประเภท ได้แก่ บรรจุภัณฑ์แก้ว บรรจุภัณฑ์พลาสติก บรรจุภัณฑ์กระดาษ/กล่องกระดาษ และบรรจุภัณฑ์โลหะ/กระป๋อง เป็นต้น และจากการศึกษาสภาวะอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แก้วปี 2546 ของ บริษัท ซีเอ อินเตอร์เนชั่นแนล อินฟอร์เมชั่น จำกัด โดยทำการสำรวจกลุ่มผู้ใช้บรรจุภัณฑ์จำนวน 200 ราย พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วมากที่สุดถึงร้อยละ 77.3 รองลงมาคือ การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก คิดเป็นร้อยละ 49.3 และบรรจุภัณฑ์โลหะ/กระป๋อง คิดเป็นร้อยละ 10.4
โดยมีปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเฉลี่ยประมาณ 416,636 หน่วยต่อเดือน หรือ 4,999,632 หน่วยต่อปี (หน่วย: ใบ,ขวด,โหล,กระปุก) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วใหม่มากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วแบบนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) ถ้าหากพิจารณาตามประเภทการผลิตสินค้าแล้ว พบว่าสินค้าประเภทเครื่องดื่มน้ำผัก/ผลไม้/สมุนไพร น้ำดื่ม เครื่องปรุงรส และสุรา/เหล้าแช่/สาโท มีการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วแบบนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) เกินกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป โดยเฉพาะสินค้าเครื่องดื่มน้ำผัก/ผลไม้/สมุนไพรมีการใช้มากที่สุดถึงร้อยละ 83.3 ส่วนแนวโน้มการใช้บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอนาคตนั้น ส่วนใหญ่จะมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกมากที่สุด เนื่องจากมีจำนวนผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกอยู่เป็นจำนวนมากถึงประมาณ 1,373 ราย ทำให้ผู้ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีทางเลือกได้มากขึ้น และมีอำนาจในการต่อรอง ประกอบกับทางรัฐบาลโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รองลงมาคือการใช้บรรจุภัณฑ์แก้ว
อย่างไรก็ตามการใช้บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในปัจจุบัน ยังประสบปัญหาอยู่คือ ปัญหาการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วมีดังนี้ 1)บรรจุภัณฑ์มีการแตกหักได้ง่าย 2)ขนาดไม่ได้มาตรฐาน 3)คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ความไม่เรียบร้อยของชิ้นงาน เช่น มีตำหนิ ขุ่นมัว และสกปรก 4)รูปแบบไม่ทันสมัย และมีน้ำหนักมาก 5)มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ/ ขาดตลาด ไม่สามารถหารูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์แก้ว เนื่องจากการสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์แก้วของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่เป็นการสั่งซื้อจากผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ (Supplier) รายเล็ก ซึ่งมีปริมาณการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วเพียง 10% ของการผลิตทั้งหมด และมีรูปแบบการผลิตแบบเดิมๆ ไม่ค่อยทันสมัย ส่วนปริมาณการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วอีก 90% เป็นของผู้ผลิตรายใหญ่ ซึ่งมักจะกำหนดปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำในปริมาณมากๆ ทำให้ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีซึ่งไม่สามารถสั่งซื้อได้
ปัญหาการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกของผู้ประกอบการ มีดังนี้คือ 1)ขนาด/รูปแบบไม่ได้มาตรฐาน 2)มีการแตกหักง่าย/เสียหายง่ายของบรรจุภัณฑ์ 3)สกปรกไม่สะอาด และ 4)รูปแบบไม่คงทน ไม่ทันสมัย และไม่สวยงาม เป็นต้น ส่วนปัญหาการใช้บรรจุภัณฑ์โลหะ/กระป๋องส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้าน ความไม่เรียบร้อยของชิ้นงาน เช่น มีรอยบุบ/บี้/ฟอลย์ล่อน/ฟอลย์หดตัว
จากปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ใช้บรรจุภัณฑ์ทำให้ผู้ใช้บรรจุภัณฑ์มีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะดังนี้คือ 1)บรรจุภัณฑ์สามารถเก็บรักษาคุณภาพของสินค้าได้คงทนมีความเหมาะสมกับกายภาพสินค้า 2)สะดวกและเหมาะสมในการใช้งาน 3)มีความคงทน ทนแรงกดดัน และทนความร้อนได้ 4)มีรูปแบบให้เลือกหลากหลาย รูปแบบมีความสวยงาม ทันสมัย และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ 5)สามารถสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าได้ 6)มีน้ำหนักเบาง่ายต่อการขนส่ง 7)ราคาถูก และ 8)ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อลูกค้า/ได้รับการรับรองจาก อย. เป็นต้น
ดังนั้นการแก้ปัญหาของผู้ประกอบการจากการใช้บรรจุภัณฑ์ต่างๆ นั้น ทั้งทางภาครัฐ และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องร่วมมือกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยในส่วนของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ต้องมีการร่วมกลุ่มกันในการสั่งชื้อบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ทางภาครัฐควรมุ่งเน้นพัฒนาส่งเสริมศักยภาพในการผลิตบรรจุภัณฑ์ทางด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีรูปแบบที่หลากหลาย มีความสวยงาม และทันสมัยมากขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้และผู้บริโภค โดยภาครัฐจัดหาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และมีการจัดงานวันนัดพบระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ให้มาเจอกัน เพื่อให้ได้ปรึกษาหารือกันหาแนวทางร่วมกัน ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ให้มีรูปแบบให้สอดคล้องกับความต้องการและสามารถลดต้นทุนการผลิตของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ได้ต่อไป
จากการร่วมมือกันของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และการช่วยเหลือจากภาครัฐในการหาบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับสินค้า จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะได้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย มีความสวยงาม และมีมาตรฐานมากขึ้น ให้สินค้าเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของตนได้มากขึ้นในอนาคต
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-
ปัจจุบันการใช้บรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้บรรจุภัณฑ์จากในประเทศเกือบทั้งหมด โดยมีบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อยู่หลากหลายประเภท ได้แก่ บรรจุภัณฑ์แก้ว บรรจุภัณฑ์พลาสติก บรรจุภัณฑ์กระดาษ/กล่องกระดาษ และบรรจุภัณฑ์โลหะ/กระป๋อง เป็นต้น และจากการศึกษาสภาวะอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์แก้วปี 2546 ของ บริษัท ซีเอ อินเตอร์เนชั่นแนล อินฟอร์เมชั่น จำกัด โดยทำการสำรวจกลุ่มผู้ใช้บรรจุภัณฑ์จำนวน 200 ราย พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วมากที่สุดถึงร้อยละ 77.3 รองลงมาคือ การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก คิดเป็นร้อยละ 49.3 และบรรจุภัณฑ์โลหะ/กระป๋อง คิดเป็นร้อยละ 10.4
โดยมีปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเฉลี่ยประมาณ 416,636 หน่วยต่อเดือน หรือ 4,999,632 หน่วยต่อปี (หน่วย: ใบ,ขวด,โหล,กระปุก) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วใหม่มากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วแบบนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) ถ้าหากพิจารณาตามประเภทการผลิตสินค้าแล้ว พบว่าสินค้าประเภทเครื่องดื่มน้ำผัก/ผลไม้/สมุนไพร น้ำดื่ม เครื่องปรุงรส และสุรา/เหล้าแช่/สาโท มีการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วแบบนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) เกินกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป โดยเฉพาะสินค้าเครื่องดื่มน้ำผัก/ผลไม้/สมุนไพรมีการใช้มากที่สุดถึงร้อยละ 83.3 ส่วนแนวโน้มการใช้บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในอนาคตนั้น ส่วนใหญ่จะมีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกมากที่สุด เนื่องจากมีจำนวนผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกอยู่เป็นจำนวนมากถึงประมาณ 1,373 ราย ทำให้ผู้ใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีทางเลือกได้มากขึ้น และมีอำนาจในการต่อรอง ประกอบกับทางรัฐบาลโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมพัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รองลงมาคือการใช้บรรจุภัณฑ์แก้ว
อย่างไรก็ตามการใช้บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยในปัจจุบัน ยังประสบปัญหาอยู่คือ ปัญหาการใช้บรรจุภัณฑ์แก้วมีดังนี้ 1)บรรจุภัณฑ์มีการแตกหักได้ง่าย 2)ขนาดไม่ได้มาตรฐาน 3)คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน ความไม่เรียบร้อยของชิ้นงาน เช่น มีตำหนิ ขุ่นมัว และสกปรก 4)รูปแบบไม่ทันสมัย และมีน้ำหนักมาก 5)มีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการ/ ขาดตลาด ไม่สามารถหารูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์แก้ว เนื่องจากการสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์แก้วของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีส่วนใหญ่เป็นการสั่งซื้อจากผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ (Supplier) รายเล็ก ซึ่งมีปริมาณการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วเพียง 10% ของการผลิตทั้งหมด และมีรูปแบบการผลิตแบบเดิมๆ ไม่ค่อยทันสมัย ส่วนปริมาณการผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วอีก 90% เป็นของผู้ผลิตรายใหญ่ ซึ่งมักจะกำหนดปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำในปริมาณมากๆ ทำให้ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีซึ่งไม่สามารถสั่งซื้อได้
ปัญหาการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกของผู้ประกอบการ มีดังนี้คือ 1)ขนาด/รูปแบบไม่ได้มาตรฐาน 2)มีการแตกหักง่าย/เสียหายง่ายของบรรจุภัณฑ์ 3)สกปรกไม่สะอาด และ 4)รูปแบบไม่คงทน ไม่ทันสมัย และไม่สวยงาม เป็นต้น ส่วนปัญหาการใช้บรรจุภัณฑ์โลหะ/กระป๋องส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้าน ความไม่เรียบร้อยของชิ้นงาน เช่น มีรอยบุบ/บี้/ฟอลย์ล่อน/ฟอลย์หดตัว
จากปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ใช้บรรจุภัณฑ์ทำให้ผู้ใช้บรรจุภัณฑ์มีความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะดังนี้คือ 1)บรรจุภัณฑ์สามารถเก็บรักษาคุณภาพของสินค้าได้คงทนมีความเหมาะสมกับกายภาพสินค้า 2)สะดวกและเหมาะสมในการใช้งาน 3)มีความคงทน ทนแรงกดดัน และทนความร้อนได้ 4)มีรูปแบบให้เลือกหลากหลาย รูปแบบมีความสวยงาม ทันสมัย และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ 5)สามารถสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าได้ 6)มีน้ำหนักเบาง่ายต่อการขนส่ง 7)ราคาถูก และ 8)ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อลูกค้า/ได้รับการรับรองจาก อย. เป็นต้น
ดังนั้นการแก้ปัญหาของผู้ประกอบการจากการใช้บรรจุภัณฑ์ต่างๆ นั้น ทั้งทางภาครัฐ และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องร่วมมือกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยในส่วนของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ต้องมีการร่วมกลุ่มกันในการสั่งชื้อบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ทางภาครัฐควรมุ่งเน้นพัฒนาส่งเสริมศักยภาพในการผลิตบรรจุภัณฑ์ทางด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีรูปแบบที่หลากหลาย มีความสวยงาม และทันสมัยมากขึ้นตามความต้องการของผู้ใช้และผู้บริโภค โดยภาครัฐจัดหาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และมีการจัดงานวันนัดพบระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ให้มาเจอกัน เพื่อให้ได้ปรึกษาหารือกันหาแนวทางร่วมกัน ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ให้มีรูปแบบให้สอดคล้องกับความต้องการและสามารถลดต้นทุนการผลิตของผู้ใช้บรรจุภัณฑ์ได้ต่อไป
จากการร่วมมือกันของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และการช่วยเหลือจากภาครัฐในการหาบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมกับสินค้า จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะได้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย มีความสวยงาม และมีมาตรฐานมากขึ้น ให้สินค้าเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของตนได้มากขึ้นในอนาคต
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-กภ-