กรุงเทพ--5 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (1 เมษายน 2547) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการพบหารือทวิภาคีกับนายเหวียน ซี เนียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง
ประเทศเวียดนาม
โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-เวียดนาม
1. เวียดนามเห็นว่าการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-เวียดนามครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่าน
มาประสบความสำเร็จด้วยดี นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้จัดตั้งคณะทำงาน 3 คณะเพื่อติดตามผลให้เป็นรูปธรรม
และได้มอบหมายให้รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนามมาเยือนไทยเพื่อหารือในเรื่องนี้เพิ่มเติม ที่สำคัญคือ นายก
รัฐมนตรีเวียดนามได้ขอให้นำความเรียนนายกรัฐมนตรีไทยด้วยว่า จะขอให้จัดการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมใน
ประเทศใดประเทศหนึ่งไปเลยเพื่อลดการเดินทางโดยขอให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วม
ไทย-เวียดนามครั้งที่ 2 ในปลายปีนี้ และเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพในปีต่อไป นอกจากนี้ เวียดนามได้จัดตั้ง
คณะทำงานเพื่อร่วมประชุมหารือกับคณะทำงานฝ่ายไทย
เกี่ยวกับเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคง และการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และ
ยุทธศาสตร์ร่วมเพื่อหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
2. เวียดนามได้ตอบรับคำเชิญของไทยที่จะเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือ ACMECS เพื่อส่งเสริม
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ กัมพูชา ลาว และพม่า ได้แสดงความเห็น
พ้องด้วยแล้วที่จะเชิญเวียดนามเข้าร่วม โดยจะมีการประชุมคณะทำงาน ACMECS อีกครั้งเพื่อหารือเกี่ยวกับ
โครงการต่างๆ ที่เวียดนามจะสามารถเข้าร่วมด้วยได้ นอกจากนี้ ไทยยังได้เสนอที่จะจัดการประชุม ACMECS
Foreign Minister's Retreat ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปีนี้เพื่อประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและการ
วางแผนงานในอนาคต
2. การประชุมระดับผู้นำเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 5เวียดนามได้หารือเรื่องการเตรียมการ
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 5 ในช่วงเดือนตุลาคม 2547
รวมทั้งเรื่องข้อเสนอของผู้นำฝ่ายเอเชียต่อการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ASEM ของพม่า ลาวและกัมพูชา พร้อมกัน
ในการประชุมระดับผู้นำครั้งนี้ การที่ฝ่ายยุโรปหรือ EU มีสมาชิกเพิ่มขึ้นโดยจะเข้าร่วมเป็นสมาชิก ASEM ด้วย
นั้น ในหลักการแล้วเห็นว่า การประชุม ASEM เป็นความร่วมมือรายประเทศ มิใช่ระหว่างกลุ่มประเทศกับกลุ่ม
ประเทศ (bloc to bloc) มิใช่ อาเซียนกับอียู และไม่ได้ใช้หลักการที่สมาชิกใหม่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะ
เป็นสมาชิก ASEMโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ดี หากมีการหารือเกี่ยวกับการรับอาเซียนอีก 3 ประเทศและการรับ
ยุโรปอีก 10 ประเทศพร้อมกันก็น่าจะเป็นทิศทางที่น่าติดตามต่อไป
3. การจัดประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 2ไทยและเวียดนามเห็นพ้องว่า สถานการณ์ในพม่า
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และมีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมของกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 2 ในเดือนปลายเดือนเมษายน ศกนี้ และจะ
ส่งผลในเชิงบวกต่อการเป็นสมาชิกภาพ ASEM ของพม่า ลาว และกัมพูชาด้วย ในเรื่องนี้ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 2 ว่า
พม่าเห็นด้วยที่จะจัดการประชุมดังกล่าวระหว่างวันที่ 29-30 เมษายน 2547 รวมทั้งการที่จะมีประเทศลาว
และบังคลาเทศเข้าร่วมการประชุมด้วย ซึ่งจะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านพม่าทั้งหมดเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้
นอกจากนี้ พม่ายังเห็นพ้องด้วยที่จะมีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์ ร่วมการประชุมตามคำเชิญนายก
รัฐมนตรีของไทย ณ ขณะนี้ จึงมีประเทศที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 18 ประเทศ ดังนั้น การประชุมครั้งนี้มี
ความสำคัญยิ่งและจะเป็นโอกาสที่จะรับฟังเกี่ยวกับการเตรียมการของพม่าที่จะจัดให้มีการประชุม National
Convention ในประเทศพม่า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร.
643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-
วันนี้ (1 เมษายน 2547) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการพบหารือทวิภาคีกับนายเหวียน ซี เนียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง
ประเทศเวียดนาม
โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-เวียดนาม
1. เวียดนามเห็นว่าการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-เวียดนามครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่าน
มาประสบความสำเร็จด้วยดี นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้จัดตั้งคณะทำงาน 3 คณะเพื่อติดตามผลให้เป็นรูปธรรม
และได้มอบหมายให้รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนามมาเยือนไทยเพื่อหารือในเรื่องนี้เพิ่มเติม ที่สำคัญคือ นายก
รัฐมนตรีเวียดนามได้ขอให้นำความเรียนนายกรัฐมนตรีไทยด้วยว่า จะขอให้จัดการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมใน
ประเทศใดประเทศหนึ่งไปเลยเพื่อลดการเดินทางโดยขอให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วม
ไทย-เวียดนามครั้งที่ 2 ในปลายปีนี้ และเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพในปีต่อไป นอกจากนี้ เวียดนามได้จัดตั้ง
คณะทำงานเพื่อร่วมประชุมหารือกับคณะทำงานฝ่ายไทย
เกี่ยวกับเรื่องความร่วมมือด้านความมั่นคง และการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และ
ยุทธศาสตร์ร่วมเพื่อหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ
2. เวียดนามได้ตอบรับคำเชิญของไทยที่จะเข้าร่วมในกรอบความร่วมมือ ACMECS เพื่อส่งเสริม
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ กัมพูชา ลาว และพม่า ได้แสดงความเห็น
พ้องด้วยแล้วที่จะเชิญเวียดนามเข้าร่วม โดยจะมีการประชุมคณะทำงาน ACMECS อีกครั้งเพื่อหารือเกี่ยวกับ
โครงการต่างๆ ที่เวียดนามจะสามารถเข้าร่วมด้วยได้ นอกจากนี้ ไทยยังได้เสนอที่จะจัดการประชุม ACMECS
Foreign Minister's Retreat ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปีนี้เพื่อประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและการ
วางแผนงานในอนาคต
2. การประชุมระดับผู้นำเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 5เวียดนามได้หารือเรื่องการเตรียมการ
เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 5 ในช่วงเดือนตุลาคม 2547
รวมทั้งเรื่องข้อเสนอของผู้นำฝ่ายเอเชียต่อการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ASEM ของพม่า ลาวและกัมพูชา พร้อมกัน
ในการประชุมระดับผู้นำครั้งนี้ การที่ฝ่ายยุโรปหรือ EU มีสมาชิกเพิ่มขึ้นโดยจะเข้าร่วมเป็นสมาชิก ASEM ด้วย
นั้น ในหลักการแล้วเห็นว่า การประชุม ASEM เป็นความร่วมมือรายประเทศ มิใช่ระหว่างกลุ่มประเทศกับกลุ่ม
ประเทศ (bloc to bloc) มิใช่ อาเซียนกับอียู และไม่ได้ใช้หลักการที่สมาชิกใหม่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจะ
เป็นสมาชิก ASEMโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ดี หากมีการหารือเกี่ยวกับการรับอาเซียนอีก 3 ประเทศและการรับ
ยุโรปอีก 10 ประเทศพร้อมกันก็น่าจะเป็นทิศทางที่น่าติดตามต่อไป
3. การจัดประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 2ไทยและเวียดนามเห็นพ้องว่า สถานการณ์ในพม่า
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และมีความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมของกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 2 ในเดือนปลายเดือนเมษายน ศกนี้ และจะ
ส่งผลในเชิงบวกต่อการเป็นสมาชิกภาพ ASEM ของพม่า ลาว และกัมพูชาด้วย ในเรื่องนี้ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการประชุม Bangkok Process ครั้งที่ 2 ว่า
พม่าเห็นด้วยที่จะจัดการประชุมดังกล่าวระหว่างวันที่ 29-30 เมษายน 2547 รวมทั้งการที่จะมีประเทศลาว
และบังคลาเทศเข้าร่วมการประชุมด้วย ซึ่งจะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านพม่าทั้งหมดเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้
นอกจากนี้ พม่ายังเห็นพ้องด้วยที่จะมีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์ ร่วมการประชุมตามคำเชิญนายก
รัฐมนตรีของไทย ณ ขณะนี้ จึงมีประเทศที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 18 ประเทศ ดังนั้น การประชุมครั้งนี้มี
ความสำคัญยิ่งและจะเป็นโอกาสที่จะรับฟังเกี่ยวกับการเตรียมการของพม่าที่จะจัดให้มีการประชุม National
Convention ในประเทศพม่า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร.
643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-สส-