ทำไม??...ไทยต้องทำ FTA : หลีกไม่ได้ หนีไม่พ้นเป็นผลประโยชน์ของชาติ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 5, 2004 11:31 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

          เป็นผลประโยชน์ของชาติบทความโดย นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่าง
ประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ในช่วง 2-3 ปีนี้ คำที่ติดปากผู้คนในแวดวงการค้าระหว่างประเทศ หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปเห็น
จะไม่มีคำไหนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางเท่า “เอฟทีเอ” (FTA) ซึ่งย่อมาจาก Free Trade Area หรือ
แปลเป็นไทยว่า “ เขตการค้าเสรี” เขตการค้าเสรี คือ การที่ประเทศตั้งแต่สองประเทศขึ้นไปตกลงที่จะยก
เลิกข้อกีดขวางในการทำการค้าระหว่างกัน ซึ่ง FTA แบบดั้งเดิม จะมีเพียงการลดภาษีและมาตรการกีดกันอื่นๆ
แต่ FTA ที่ทำกันในปัจจุบัน จะกว้างขวางมากกว่า โดยรวมถึงการเปิดเสรีบริการ การลงทุน และความร่วม
มือด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการค้า
FTA ดาวรุ่งพุ่งแรงตามเศรษฐกิจโลก
จากเหตุการณ์ก่อการร้ายที่ตึกเวิร์ลด์เทรดในสหรัฐฯเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ทำให้เศรษฐกิจ
โลกถดถอยลงมาก อัตราการขยายตัวลดลงเหลือเพียงร้อยละ 2.4 ในปี 2544 แต่ในปี 2546 เศรษฐกิจโลก
เริ่มฟื้นตัวและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นร้อยละ 3.2 ในปีที่ผ่านมา และคาดว่าในปีนี้ คงจะโตขึ้นอีกร้อยละ 4.1
สำหรับในด้านปริมาณการค้าโลกก็มีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น จากที่เคยขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 1 ในปี 2544
ก็เพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 3 ในปี 2546 และคาดว่าน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 7-8 ในปีนี้
ขณะเดียวกัน ทิศทางการค้าโลกก็มีแนวโน้มที่จะเป็นเสรียิ่งขึ้นนับตั้งแต่ปี 2544 ซึ่งสมาชิกองค์การ
การค้าโลกหรือ WTO ประกาศเปิดการเจรจาเปิดเสรีการค้าหลายฝ่ายรอบใหม่หรือที่เรียกว่ารอบโดฮา (
เพราะประชุมกันที่กรุงโดฮา ประเทศการ์ตา) แต่การเจรจาก็ไม่ค่อยคืบหน้า และต่อมาถึงขั้นล้มเหลวในปี
2546 จึงเป็นสาเหตุให้ประเทศสมาชิกหันมาทำความตกลงเปิดเสรีกันสองประเทศหรือเป็นกลุ่มประเทศมากขึ้น
เรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนเกือบ 300 ความตกลง
FTA ต้องทำก่อนจะโดนบังคับให้ทำ
FTA คงไม่ใช่คำตอบสุดท้าย แต่เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในตอนนี้ ในเวลาที่ประเทศต่างๆทั่วโลกต่างก็
ได้ให้หรือกำลังจะให้ผลประโยชน์ด้านภาษีและอื่นๆซึ่งกันและกัน ถ้าไทยนิ่งเฉยอยู่ก็ไม่มีใครมาบังคับได้ แต่ไทย
ก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง และเสียเปรียบคู่แข่งขันที่มีแต้มต่อจากการทำ FTA ครั้นจะหันไปพึ่ง WTO ก็ยังชะงักอยู่
และถึงฟื้นขึ้นมาใหม่ ก็คงไม่รวดเร็วทันเหตุการณ์เท่ากับ FTA
ปัจจุบันไทยยังต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศค่อนข้างมาก เพื่อหารายได้เข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ และไทยก็กำลังใช้นโยบายระบบเศรษฐกิจสองทาง (dual track policy) คือการพัฒนา
เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศควบคู่ไปกับการสร้างฐานเศรษฐกิจภายในให้เข้มแข็ง ถ้าขาดทางใดทางหนึ่ง
ก็คงจะก้าวหน้าได้ยาก ดังนั้น เมื่อทิศทางของโลกเดินไปในทางที่จะเปิดเสรีเร็วขึ้นและมากขึ้น บวกกับความ
จำเป็นของไทยที่กล่าวแล้ว การจัดทำ FTA จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะ เมื่อไทยเป็นประเทศเล็ก
ถ้าเราทำโดยมีการวางแผน การเตรียมตัวและปรับตัวย่อมต้องดีกว่าไม่ได้ตั้งตัวแล้วถูกบังคับให้ทำตามกฎเกณฑ์
ที่ประเทศคู่ค้าวางไว้แน่นอน
นอกจากการทำ FTA จะเป็นการรักษาผลประโยชน์ทางการค้าแล้ว ยังช่วยในการหาตลาดใหม่ๆซึ่ง
ถ้าไม่มี FTA ก็คงเจาะตลาดได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นด้วยระยะทางไกล ไม่คุ้นเคยหรือเหตุผลอื่น ในขณะเดียวกัน
FTA ก็จะทำให้เรามีแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆที่ราคาถูกและหลากหลายมากขึ้น รวมทั้ง ช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจมีความ
สามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นที่จะช่วงชิงโอกาสทางการค้า ผลักดันให้มีการปรับโครงสร้างการผลิตภายในให้
เหมาะสม และเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว จะเท่ากับส่งเสริมให้ไทยเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากนานาประเทศ
ทั้งนี้ การทำ FTA ไม่ใช่เรื่องใครได้ใครเสีย แต่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศที่เข้าร่วมเจรจา ซึ่ง
การเจรจาจะต้องเป็นในลักษณะที่ต่างฝ่ายต่างได้ มิฉะนั้น คงไม่มีประเทศไหนยอมเจรจา เตรียมตัวดี มีชัยไป
กว่าครึ่ง
เนื่องจากไทยทำ FTA กับหลายประเทศ จนดูเหมือนว่าไม่มีการศึกษาวิเคราะห์ถึงผลได้ ผลเสียให้
รอบคอบก่อน ทว่า อย่างที่กล่าวไปแล้วว่ามันเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่รอใคร ประกอบกับการเจรจา FTA
กับประเทศหนึ่งๆ ต้องใช้เวลาเป็นปีหรือกว่านั้น รวมทั้ง การปฏิบัติตามความตกลงจนเป็นเขตการค้าเสรีที่ครบ
ถ้วนสมบูรณ์ก็ใช้เวลานับสิบปีจึงมีเวลามากพอในการเตรียมทางหนีทีไล่ รัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบาย
เศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้กำหนดทั้ง ยุทธศาสตร์การจัดทำ FTA กลไกการทำงาน และการ
ติดตามผลการเจรจา เพื่อเครื่องมือสำคัญในการรองรับผลจากการเจรจา โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ด้านยุทธศาสตร์ ได้มีการวางเป้าหมายและแนวทางในการเจรจาจัดทำ FTA ในภาพกว้าง และลึก
ลงไปในแต่ละประเทศและแต่ละสาขาการผลิต โดยได้ตั้งคณะทำงานประสานยุทธศาสตร์และนโยบายการ
เจรจาการค้าระหว่างประเทศขึ้นมาดูแล
ด้านกลไกการทำงาน มีการตั้งหัวหน้าคณะเจรจา FTA แต่ละประเทศ และการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
การเจรจาในแต่ละเรื่อง เช่น กระทรวงพาณิชย์รับเรื่องการเปิดตลาดสินค้า กระทรวงการคลังดูแลเรื่องกฎ
แหล่งกำเนิดสินค้า BOI รับเรื่องการลงทุน เป็นต้น
ด้านการติดตามผลการเจรจา ได้ตั้งคณะทำงานรองรับผลการเจรจา ที่จะทำหน้าที่ปรับโครงสร้าง
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับการเปิดเสรี ทั้งในด้านการตลาด การผลิตและเทคโนโลยี ซึ่ง
รวมถึงการช่วยเหลือผู้ผลิตที่ได้รับผลกระทบด้วย
กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการเตรียมการสำหรับการเจรจา FTA กับประเทศต่างๆ โดยจัดประชุม
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลพื้นฐานสำหรับการกำหนดท่าทีในการเจรจา รวมทั้งการเปิดโอกาสให้
สาธารณชนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ FTA ได้ โดยกรอกข้อมูลได้ที่ www.dtn.moc.go.th หรือ ติดต่อ
ขอรับแบบฟอร์มที่หมายเลข 0-2507-7190, 0-2507-7191และส่งมาที่ ตู้ปณ. 101 ปณจ.นนทบุรี 1100
ก้าวต่อไป FTA + WTO เส้นทางคู่ มุ่งสู่การขยายการค้า
แม้ว่าไทยจะทำ FTA กับหลายประเทศ แต่ก็ไม่ได้ละเลยการเจรจาการค้าหลายฝ่ายในกรอบ
องค์การการค้าโลก(WTO) เพราะต่างก็มีผลเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และมีผลต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ
ด้วยกันทั้งคู่ ประเทศสมาชิก WTO หลายๆประเทศที่ทำ FTA ก็เช่นเดียวกัน เพราะต่างก็เชื่อมั่นว่าการทำ FTA
เป็นเครื่องมือส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่ายในการกระตุ้นการเปิดเสรีการค้า
การเปิดเสรีในกรอบ FTA และ WTO จะช่วยให้เกิดความมั่นคงในการทำการค้าระหว่างประเทศ
เพราะทั้งสองกรอบ นอกจากจะส่งเสริมกันแล้วยังแก้ไขจุดอ่อนของแต่ละกรอบด้วย เช่น ระบบใน WTO เป็น
ธรรมแต่ได้ผลช้า ส่วน FTA เห็นผลเร็วกว่าแต่ก็ขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองมากกว่า หรือ WTO สิ้นเปลือง
ทรัพยากรน้อยกว่า เพราะเจรจาได้ครอบคลุมทีเดียว 148 ประเทศ แต่ไม่อาจแก้ไขปัญหาบางเรื่องที่อยู่นอก
เหนือกฎเกณฑ์ ในขณะที่ FTA สามารถหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาเจรจาแก้ไขได้ เป็นต้น
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวร
นิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (66) 2282-6171-9 แฟกซ์ (66) 2280-0775
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ