= ประธานรัฐสภาให้การรับรองประธานที่ปรึกษาแห่งราชอาณาจักรโมร็อกโก
ที่รัฐสภา วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรองนายมุสตาฟา อูกาชา ประธานที่ปรึกษาแห่ง ราชอาณาจักรโมร็อกโก เนื่องในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ วุฒิสภาไทย
ประธานรัฐสภากล่าวต้อนรับ พร้อมทั้งได้สนทนากันถึงเรื่องรัฐสภาของทั้งสองประเทศที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งของประเทศไทยจะประกอบไปด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ส่วนของ โมร็อกโกก็จะเป็นสภาผู้แทนราษฎร และสภาที่ปรึกษาราชอาณาจักรโมร็อกโก ซึ่งทำหน้าที่พิจารณากฎหมายเหมือนกัน นอกจากนั้นได้สนทนากันถึงเรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม รวมทั้งให้การสนับสนุนแก่ประชาชนของทั้งสองประเทศให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ท้ายสุดนายมุสตาฟาได้กล่าวอวยพรให้ประธานรัฐสภาประสบความสำเร็จในการดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาของไทย และกล่าวเรียนเชิญประธานรัฐสภาให้ไปเยือนราชอาณาจักรโมร็อกโก ในโอกาสต่อไปด้วย
= มอบโล่เกียรติคุณ
วันอังคารที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคาร รัฐสภา ๑ นายแพทย์วิชัย ชัยจิตวณิชกุล ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร และนายอมรเทพ สมหมาย เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ มอบโล่เกียรติคุณแด่ หม่อมเจ้าชาตรี เฉลิมยุคล นายสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ และนายนนทรีย์ นิมิบุตร ผู้อำนวยการ สร้างภาพยนตร์ เรื่อง "โหมโรง" และนายอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ เรื่อง "โหมโรง" เพื่อแสดงว่า ได้บำเพ็ญประโยชน์ประกอบกิจกรรมคุณความดีและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในสาขาศิลปะและวัฒนธรรม
= สัมมนาเชิงประชาพิจารณ์
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ ณ อาคารรัฐสภา ๒ คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้รับเกียรติจากนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดประชุมโครงการสัมมนาเชิงประชาพิจารณ์ เรื่อง "ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ม้วนเดียวจบ"
= พิธีปิดโครงการฯ
วันอังคารที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีปิดโครงการฝึกอบรมยุวชนประชาธิปไตย ประจำปี ๒๕๔๗ รุ่นที่ ๑ โดยมีนางพรพิมล ถิรคุณโกวิท รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ สถาบันวิชาการ ทศท ถนนงามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี
= วางพานประดับพุ่มดอกไม้
วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นำพานประดับพุ่มดอกไม้ ในนาม "สภาผู้แทนราษฎร" ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ ที่พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร ในโอกาส เป็นวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า พุทธศักราช ๒๕๔๗
= สัมมนาเรื่องพนักงานราชการ
วันจันทร์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นางพรพิมล ถิรคุณโกวิท รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง "พนักงานราชการ" ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒
= เปิดเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
กลุ่มงานข้อมูลข่าวสารของราชการได้ดำเนินการจัดทำเวปไซด์ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ของราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เรียบร้อยแล้ว พร้อมให้ประชาชนและผู้สนใจเข้าตรวจดู ข้อมูล โดยภายในเวปไซด์ได้บรรจุข้อมูลที่น่าสนใจของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๗ และมาตรา ๙ โดยท่านสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.parliament.go.th/gennews หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของรัฐสภา http://www.parliament.go.th และคลิกที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ ภายในเว็บไซต์มีข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้บริหารของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกลุ่มงานขึ้นไป พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ อำนาจหน้าที่ของแต่ละสำนักและกลุ่มงาน โครงสร้าง การแบ่งส่วนราชการ อำนาจหน้าที่และอัตรากำลังในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และแผนงานโครงการงบประมาณของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการได้เชื่อมโยงฐานข้อมูลภายในสำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร ที่น่าสนใจดังนี้ ระบบงานบุคลากร ระบบงานสารบรรณ ระบบทะเบียนสมาชิก ระบบกรรมาธิการ กระทู้ ญัตติ พระราชบัญญัติ และระบบต่างประเทศ ท่านสามารถค้นคว้าข้อมูลได้ที่ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อาคารโรงกษาปณ์ ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๔ ๒๐๔๔
= ส.ส. สงขลาคนใหม่
จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๓ แทนตำแหน่ง ที่ว่าง เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ที่ผ่านไปแล้วนั้น ทางคณะกรรมการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ ๓ จังหวัดสงขลา ได้รายงานผลการรวมคะแนนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณา และคณะกรรมการ การเลือกตั้งได้ประชุมครั้งที่ ๒๕/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๗ และมีมติเป็นเอกฉันท์โดยวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และประกาศให้นายวิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ เลขที่ ๒๔๕ เป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๓ แทนตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจากนายไพร พัฒโน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขอลาออก
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๔๙๓ จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และกำลังศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประสบการณ์ทางการเมือง เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดสงขลา ประธานสาขาพรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๖ (๒ สมัย) คณะกรรมการ กก. ตร. สภอ. เมืองสงขลา และปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำ สภาผู้แทนราษฎร และนักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
= เชิญร่วมบริจาคโลหิตเพื่อชีวิตคนไทย
ช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีนั้น มักจะเกิดอุบัติเหตุ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การสำรองโลหิตไว้จะสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที ในการนี้ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับกรมการประกันภัย และสมาคมตัวแทนประกันชีวิต ขอเชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการกรมการประกันภัย ตัวแทนประกันชีวิต ทั่วประเทศ และประชาชนทั่วไป ร่วมบริจาคโลหิต ในวันบริจาคโลหิตเพื่อชีวิตคนไทย วันอังคารที่ ๖ เมษายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ นาฬิกา ณ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ถนนพระราม ๔
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมตัวแทนประกันชีวิต โทร. ๐ ๒๘๖๗ ๖๙๗๑
"หลายชีวิตกำลังรอความช่วยเหลือจากเรา….หนึ่งในหลายคนนี้อาจเป็นคนที่เรารักมากที่สุด"
= สงกรานต์เฉลิมพระเกียรติ
"วันสงกรานต์" ประเพณีดั้งเดิมอันแสดงถึงอารยธรรมของชาติไทยที่บรรพบุรุษได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมการแสดงออกถึงความผูกพันระหว่างผู้สูงอายุและทายาทเชื่อมโยงด้วยสายใยความรักความเมตตาของฝ่ายหนึ่งกับความกัตญญูกตเวทิตาของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยถือเอาวันสงกรานต์ คือวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี เป็นวันที่ลูกหลานจะ เดินทางกลับสู่บ้านเกิดเพื่อเยี่ยมและแสดงกตเวทิตาคารวะต่อญาติผู้ใหญ่และผู้สูงวัยที่เคารพนับถือ
ประเพณีรดน้ำดำหัวและการละเล่นพื้นบ้านในวันสงกรานต์ถือเป็นอารยธรรมที่แสดง ให้เห็นถึงความชาญฉลาดทางความคิดของบรรพบุรุษไทยในการสร้างสายใยแห่งความปรารถนาดีจาก จิตใจของประชาชนนำมาร้อยรัดเป็นความผูกพันของครอบครัวและสังคม ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลที่ได้รับโดยตรงจากการเป็นสังคมที่มีศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นปัจจัยเหตุที่เอื้อประโยชน์ในการ หล่อหลอมให้ชาติไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมของความดีงามเป็นพื้นฐาน
ในการนี้ คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร จึงได้จัดโครงการจัดงานพิธีสงกรานต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการรัฐสภา ฝ่ายการเมือง ข้าราชการรัฐสภาสามัญ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐสภาได้มีโอกาสแสดงความกตัญญูกตเวทิตา คารวะต่อประธานรัฐสภา ประธานและรองประธานของทั้งสองสภา อดีตประธานรัฐสภา อดีตประธานและรองประธานทั้งสองสภา สมาชิกรัฐสภาอาวุโสในตำแหน่งต่าง ๆ ของฝ่ายนิติบัญญัติ โดยจะจัดงานพิธี วันสงกรานต์เฉลิมพระเกียรติ ในวันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ ณ บริเวณถนนหน้าลาน พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๗ และห้องโถงชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีเปิด และได้จัดให้มีพิธีรดน้ำดำหัวเพื่อแสดงความเคารพแด่ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนผู้อาวุโส นอกจากนี้ยังจัดการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมไทย โดยสภาการศึกษาคาทอลิก (ประเทศไทย) รวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการเรื่อง "ประเพณีสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ไทย" ภายในบริเวณห้องโถงชั้นล่าง ซึ่งในช่วงเช้าของวันดังกล่าวจะมีพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระสงฆ์ จำนวน ๗๓ รูป ณ บริเวณหน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๗ ด้วย
กำหนดการ
งานพิธีวันสงกรานต์เฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗
วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗
ณ บริเวณถนนหน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๗
และห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑
จัดโดย
คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
สภาผู้แทนราษฎร
----------------------------------------------
เวลา ๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ นาฬิกา - ตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง พระสงฆ์ จำนวน ๗๓ รูป
ณ บริเวณหน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๗
เวลา ๐๙.๐๐ - ๐๙.๑๕ นาฬิกา - พิธีกล่าวสัมโมทนียกถา
เวลา ๐๙.๑๕ - ๐๙.๒๐ นาฬิกา - นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล ประธานคณะกรรมาธิการ
กล่าวรายงานต่อประธานรัฐสภา โดยกราบเรียนเชิญ
ประธานรัฐสภาเปิดกรวยพานดอกไม้ ธูป เทียน
ถวายเครื่องราชสักการะ กล่าวคำถวายพระพร และ
กล่าวเปิดโครงการจัดงานพิธีสงกรานต์เฉลิมพระเกียรติ
ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑
เวลา ๐๙.๒๐ - ๐๙.๓๐ นาฬิกา - ประธานรัฐสภาเปิดกรวยพานดอกไม้ ธูป เทียน และ
ถวายเครื่องราชสักการะ พร้อมทั้งกล่าวคำถวายพระพร
ชัยมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา และเชิญชวนผู้ร่วม
โครงการร่วมถวายพระพรร้องเพลงสดุดีมหาราชา
มหาราชินี
- กล่าวเปิดงาน
เวลา ๐๙.๓๐ - ๐๙.๔๕ นาฬิกา - นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน พิธีกรกล่าวเปิด การแสดง
ศิลปะและวัฒนธรรมไทย โดยสภาการศึกษาคาทอลิก
(ประเทศไทย)
เวลา ๐๙.๔๕ - ๑๐.๓๐ นาฬิกา - พิธีรดน้ำดำหัว เพื่อแสดงความเคารพแด่ประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้าน ตลอดจนผู้อาวุโส
- ประธานรัฐสภา กล่าวสุนทรพจน์ เนื่องในพิธีสงกรานต์
พุทธศักราช ๒๕๔๗
หมายเหตุ นิทรรศการ เรื่อง "ประเพณีสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ไทย" ณ ห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เริ่มเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม ก่อนที่จะมีการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรได้หารือในเรื่องต่าง ๆ ต่อที่ประชุม เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้ดำเนินการตามระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ซึ่งไม่มี และวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม เป็นเรื่องรับทราบ
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าประกาศแต่งตั้งประธานคณะกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติตามคำแนะนำของวุฒิสภาดังนี้
๑. พลตำรวจเอก วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ ประธานกรรมการ
๒. นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการ
๓. นายวิเชียร วิริยะประสิทธิ์ กรรมการ
๔. นายประดิษฐ์ ทรงฤกษ์ กรรมการ
๕. นายยงยุทธ กปิลกาญจน์ กรรมการ
๖. นายชิดชัย พานิชพัฒน์ กรรมการ
๗. นายเชาว์ อรรถมานะ กรรมการ
วาระที่ ๓ รับรองรายงานการประชุม ซึ่งไม่มี จากนั้นที่ประชุมได้นำเรื่องด่วนที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาซึ่งค้างมาจากการพิจารณาของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ จำนวน ๒ เรื่อง คือ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และ พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประธานฯ จึงขอมติที่ประชุมว่าจะอนุมัติพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับหรือไม่ ผลปรากฏว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบอนุมัติ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ ด้วยคะแนน ๒๘๖ เสียง ไม่เห็นชอบ ๖๔ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง ไม่ลงคะแนน ๑ เสียง จากนั้นเห็นชอบอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ด้วยคะแนน ๒๘๖ เสียง ไม่เห็นชอบ ๖๓ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง
จากนั้นที่ประชุมพิจารณาวาระ ๒ เรื่องด่วนที่ ๓ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิค การแพทย์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว เริ่มพิจารณาจากชื่อร่าง คำปรารภเรียงลำดับมาตรา โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายได้เฉพาะถ้อยคำที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือกรณีการสงวน คำแปรญัตติหรือกรรมาธิการสงวนความเห็นไว้เท่านั้น นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ ประธานคณะ
กรรมาธิการวิสามัญฯ ได้แถลงผลการพิจารณาว่าเป็นการแก้ไของค์ประกอบโครงสร้างของคณะกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์และถ้อยคำบางถ้อยคำเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้มีความสมบูรณ์ในร่างกฎหมาย โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งคำถามต่อคณะกรรมาธิการฯ จำนวน ๒ มาตรา ดังนี้ คือ
๑. มาตรา ๑๔ อนุ ๑/๑ ว่าด้วยกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์เหตุกำหนดไว้เพียง ๕ คน
และเสนอให้เพิ่มเติมคำว่า "เป็น" หลังคำว่า "ซึ่ง" จากความเดิมให้เป็น "กรรมการซึ่งเป็นคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ หรือคณบดีที่เรียกชื่ออย่างอื่นหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งขึ้นแห่งละหนึ่งคน เลือกกันเองให้เหลือห้าคน"
๒. มาตรา ๕๔ ที่อนุญาตให้ผู้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
สาขาเทคนิคการแพทย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ และใบอนุญาตเดิมนั้นยังคงใช้ได้ จะส่งผลกระทบในทางลบหรือไม่อย่างไร
ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ตอบข้อซักถามสำหรับมาตรา ๑๔ ว่า ต้องการกำหนดจำนวน ผู้แทนที่จะเป็นกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์ให้คงที่ เพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนบุคคลที่เกิดจากการก่อตั้งสถาบันผลิตบัณฑิตสาขาเทคนิคการแพทย์เพิ่มขึ้นในอนาคตและในเรื่องการต่ออายุผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์นั้น หากกฎหมายมีผลบังคับใช้คณะกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์มีหน้าที่ต้องเป็น ผู้พิจารณาแนวทางรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์มาก่อนกฎหมายใหม่มี ผลบังคับใช้ จากนั้นที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเทคนิคการแพทย์ด้วยคะแนน ๓๑๘ เสียง ไม่เห็นชอบ ๒ เสียง
ต่อมาเป็นการพิจารณาวาระที่ ๒ เรื่องด่วนที่ ๔ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ รองประธานคณะ
กรรมาธิการฯ ได้แถลงผลการพิจารณาต่อที่ประชุม ที่กำหนดเวลาในการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยไม่มี ผู้เสนอคำแปรญัตติ แต่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายเกี่ยวกับคณะกรรมการสภาวิชาชีพกายภาพบำบัด โดยขอให้เพิ่มเติมคำว่า "เป็น" หลังคำว่า "ซึ่ง" จากความเดิมให้เป็น "กรรมการซึ่งเป็นคณบดี คณะกายภาพบำบัดหรือคณบดีคณะที่เรียกชื่ออย่างอื่นหรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัด ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาให้จัดตั้งขึ้นแห่งละหนึ่งคนเลือกกันเองให้เหลือห้าคน"
สำหรับมาตรา ๒๗ เกี่ยวกับเหตุผลการตัดถ้อยคำ "หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิเป็นผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว" ออกจากร่างพระราชบัญญัติเดิม คือ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็น ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดทำการประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดหรือแสดงด้วยวิธีการกายภาพบำบัดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว
ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่าเป็นการทำกายภาพบำบัดกับการแสดงด้วยวิธีกายภาพบำบัดมีโทษที่แตกต่างกันจึงตัดถ้อยคำดังกล่าว ออกไปแต่ได้ไปเพิ่มรายละเอียดไว้ในมาตรา ๒๙ นอกจากนี้ส่วนที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัติเดิมที่ว่า "ผู้ทำกายภาพบำบัดต้องให้การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ตามธรรมจรรยา" มาเป็นผู้ทำกายภาพบำบัดต้องให้การช่วยเหลือแก่ ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ตามมนุษยธรรม" นั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายว่าเป็นถ้อยคำ ที่มีความหมายกว้างเกินไป ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ เห็นชอบกับการอภิปรายให้คงถ้อยคำตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอให้คงไว้ตามร่างเดิม
และในมาตรา ๕๔ บทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการอนุญาตให้ผู้ที่มีใบอนุญาตก่อนหน้าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ให้เป็นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนไปพร้อมกันด้วย ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วย ซึ่งร่างพระราชบัญญัติเดิมมิได้กำหนดเช่นนี้ จึงขอให้กลับไปใช้ถ้อยคำตามร่างเดิม ซึ่งกรรมาธิการฯ ได้เห็นชอบตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ภายหลังการ
อภิปรายที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ ๓๓๖ เสียง พร้อมทั้ง มีมติเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่เกี่ยวกับการกำหนดเวลาพักใบอนุญาตกรณีที่
ผู้ประกอบวิชาชีพประพฤติผิดจรรยาบรรณควรมีการกำหนดพักใช้ให้เหมาะสมกับพฤติการณ์หรือ การกระทำความผิดของผู้ถูกสั่งพักใบอนุญาตด้วย เพื่อให้การสั่งพักใบอนุญาตมีผลบังคับจริงในการปฏิบัติ โดยประธานฯ จะส่งข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรีต่อไป
ลำดับต่อมาเป็นการพิจารณาวาระที่ ๒ เรื่องด่วนที่ ๕ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้แถลงผลการพิจารณาว่าไม่มีกรรมาธิการเสนอคำแปรญัตติและไม่มีการแก้ไขถ้อยคำที่ประชุมจึงลงมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ดวยด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ ๓๑๖ เสียง
จากนั้นเป็นการพิจารณาวาระที่ ๒ เรื่องด่วนที่ ๖ ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ประธานกรรมาธิการฯ ได้แถลงผลการพิจารณาต่อที่ประชุม โดยไม่มีผู้แปรญัตติซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี ข้อคำถามเฉพาะกรณีการตัดถ้อยคำ "และ" ในมาตรา ๔ ของร่างพระราชบัญญัติจึงควรตัดคำว่า "หรือ" ด้วย จากความเดิมที่ว่า "ผู้ประกอบวิชาชีพ หมายความว่า ผู้ประกอบการโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
พยาบาล ผดุงครรภ์ ทันตกรรม เภสัชกรรม กายภาพบำบัด และเทคนิคการแพทย์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ให้เหตุผลว่ายังคงคำว่า "หรือ" ไว้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้อยู่ปัจจุบันซึ่งมีคำว่า "หรือ" อยู่ด้วย จากนั้นที่ประชุมจึง มีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ ๓๒๖ เสียง
ต่อจากนั้น นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เสนอให้เลื่อนระเบียบวาระการประชุมร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วขึ้นมาพิจารณาก่อน โดย พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร ได้แถลงผลการพิจารณาว่าได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแสดงความคิดเห็นประกอบด้วย สำนักปลัดกลาโหม กองบัญชาการทหารสูงสุด สมุหราชองครักษ์ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กรมการเงินกลาโหม กรมพระธรรมนูญ กรมเสมียนตรา ซึ่งไม่มีผู้เสนอคำแปรญัตติ ที่ประชุมจึงลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ๓๒๐ เสียง ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง
ลำดับต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาวาระที่ ๒ ของร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดย
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ซึ่งได้รับมอบหมายนายวิษณุ เครืองาม ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ให้เป็นผู้แถลงผลการพิจารณา โดยไม่มีกรรมาธิการสงวนความเห็นและมีผู้เสนอขอแปรญัตติ ๑ คน ทั้งนี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ซึ่งมีรายละเอียดแนบมาท้ายบันทึกหลักการและเหตุผล โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาแล้วเห็นว่า คำแปรญัตติของบุคคลดังกล่าวในรายการที่ ๑, ๒ และ ๓ ขัดต่อข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อที่ ๑๑๐ วรรคสาม จึงมีมติไม่เห็นด้วยกับคำแปรญัตติ ดังกล่าวของผู้แปรญัตติ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนน ๓๑๔ เสียง งดออกเสียง ๑๑ เสียง
พร้อมทั้งไม่เห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กรณีเกิดความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ "ชื่อ" สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในหลักการและเหตุผล หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางแล้วที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบด้วยคะแนน ๓๖๔ เสียง เห็นด้วย ๖ เสียง งดออกเสียง ๑๑ เสียง ดังนั้นร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่มีข้อสังเกตที่จะ ส่งไปให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา
วาระสุดท้ายก่อนปิดการประชุมได้พิจารณาเพื่อรับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกัน ๓ ฉบับ ซึ่งเสนอโดย
๑. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ
๒. นายศรคม ฦาชา กับนายอมรเทพ สมหมาย
๓. นายภิญโญ นิโรจน์ กับนายวิทยา คุณปลื้ม
ประธานฯ จึงขอให้ยกมาพิจารณาไปในคราวเดียวกัน โดยนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวถึงเหตุผลการเสนอกฎหมายนี้เพื่อต้องการให้หน่วยงาน ที่จัดการศึกษาด้านพลศึกษาระดับปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลสามารถดำเนินกิจการได้อย่างอิสระ พัฒนาระบบบริหารการจัดการเป็นของตนเองมีความคล่องตัว ซึ่งร่าง
พระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอื่น ๆ มีเหตุผลไปในแนวทางเดียวกัน จึงมีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในหลายประเด็นอาทิ ความไม่ชัดเจนในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ
การบริหารงานด้านการศึกษาแยกไปอยู่ในหลายกระทรวงทำให้ขาดความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษา รวมทั้งแนวทางการวิจัย เพื่อพัฒนาการกีฬาให้สามารถสร้างชื่อเสียงให้ประเทศได้ทัดเทียมกับต่างประเทศ และยังส่งเสริมให้พลเมืองมีวินัย การเคารพกฎกติกาของสังคมและทำให้สุขภาพแข็งแรง เป็นประชากรที่มีคุณภาพ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีความเห็นที่สอดคล้องกันทั้งหมดจึงมีมติเห็นชอบรับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันการศึกษา พ.ศ. …. ทั้ง ๔ ฉบับ ด้วยคะแนน ๓๒๙ เสียง โดยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาจำนวน ๓๕ คน ภายใน ๗ วัน
ปิดการประชุมเวลา ๑๙.๒๕ นาฬิกา
สรุปประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗
เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป) โดยระเบียบวาระที่ ๑ เป็นกระทู้ถาม ซึ่งไม่มี และระเบียบวาระที่ ๒ ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีความรุนแรงอันเนื่อง
มาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
๒. รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ไม่มี)
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณารายงานผลการพิจารณาปัญหามลพิษทางอากาศจากเตาเผาศพ และการแก้ไข ซึ่งคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานคณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาศึกษาในเรื่องดังกล่าวอย่างละเอียด โดยมีการเชิญบุคคลสำคัญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมประชุม รวมทั้งได้เดินทางไปศึกษาดูงานการดำเนินการฌาปนกิจศพในวัดต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังได้จัดการสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศจากเตาเผาศพอีกด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่า ในส่วนของกรุงเทพมหานคร นั้น มีปัญหาในเรื่องของการจัดเงินอุดหนุนในการดำเนินการก่อสร้างเตาเผาศพที่ปลอดมลพิษ และจากการศึกษาข้อมูลพบว่า กรุงเทพมหานครมี ฌาปนสถานที่ได้รับอนุญาต จำนวน ๓๐๙ แห่ง และไม่ได้มาตรฐาน จำนวน ๑๑๒ แห่ง ซึ่งหากมีการ จัดสรรเงินอุดหนุนก็จะได้มีการขยายผลโครงการสนับสนุนเตาเผาศพปลอดมลพิษต่อไป ทั้งนี้เตาเผาศพควรมีมาตรฐานเดียวกัน คือ ควรใช้ ๒ ห้องเผา ซึ่งกรมการศาสนาหรือสำนักพุทธศาสนาในปัจจุบันควรขยายผลให้มีการจัดทำเตาเผาต้นแบบที่มีมาตรฐานอย่างน้อยจังหวัดละ ๑ แห่ง และเสนอแนะให้หน่วยงานท้องถิ่นตั้งงบสนับสนุนในการดำเนินการดังกล่าวด้วย
จากนั้นได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และมีการเสนอแนะให้มีการบำรุงรักษาเตาเผาศพ และหากจะดำเนินการก่อสร้างใหม่ควรพิจารณาให้รอบคอบถึงบริเวณที่จะทำการก่อสร้าง รวมทั้งควรให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาและออกความคิดเห็นด้วย หลังจากนั้นประธานฯ ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะส่งข้อสังเกตดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการต่อไปหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ๑๗๗ เสียง และส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการต่อไป
ต่อจากนั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้เลื่อนญัตติด่วน เรื่อง สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนายถาวร เสนเนียม กับคณะ เป็นผู้เสนอ และญัตติด่วนเรื่องขอให้ร่วมกันพิจารณาศึกษาหาแนวทาง แก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ซึ่งพันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ เป็นผู้เสนอ (ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้ง ๖ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗) รวมทั้งญัตติด่วน เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาสอบสวนกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๒ คน ถูกซัดทอดว่าอยู่เบื้องหลังการปล้นปืนที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งนายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ และนายนัจมุดดีน อูมา เป็นผู้เสนอ และญัตติด่วนที่เสนอใหม่ เรื่อง ขอเสนอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจารณากรณีสมาชิกรัฐสภาถูกผู้ต้องหาซัดทอดกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องและบงการ วางแผนกับเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนายศุภชัย โพธิ์สุ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ) ขึ้นมาพิจารณาก่อน และเนื่องจากญัตติดังกล่าวข้างต้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ที่ประชุมจึงมีมติให้นำขึ้นมาพิจารณาพร้อมกัน ซึ่งที่ประชุมได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๗ ได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเผาโรงเรียน ปล้นค่ายทหาร ปล้นอาวุธปืน ทำร้ายพระภิกษุสงฆ์ และการปล้นระเบิดจาก โรงโม่หิน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นได้สร้างความหวั่นวิตกให้กับหลายฝ่าย และส่งผลกระทบต่อความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอีกด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมได้อภิปรายจนสมควรแก่เวลา ประธานฯ จึงเห็นควรให้เลื่อนการพิจารณาในญัตติดังกล่าวไปในสัปดาห์หน้า ที่ประชุมได้อภิปรายจนสมควรแก่เวลา ประธานฯ จึงเห็นควรให้เลื่อนการพิจารณาในญัตติดังกล่าวไปในสัปดาห์หน้า
พักการประชุมเวลา ๑๒.๕๐ นาฬิกา
จากนั้นได้มีการประชุมต่อในเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายธวัชชัย อนามพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี
พรรคชาติพัฒนา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง นโยบายและมาตรการในการแก้ไขปัญหาปริมาณผลไม้จาก ภาคตะวันออกล้นตลาด ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ได้ตอบกระทู้ว่า ได้ดูแลในเรื่องดังกล่าวนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพยุงราคาไว้เพื่อมิให้มีราคาตกต่ำ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้มีนโยบายและได้สั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดูแลเกษตรกรอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้ประสบกับภาวะผลไม้ล้นตลาดดังกล่าว
๒. กระทู้ถามสดของนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
สุพรรณบุรี พรรคชาติไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวนาและผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ ติดภารกิจ จึงได้เลื่อนตอบกระทู้ออกไปในสัปดาห์หน้า
๓. กระทู้ถามสดของนายธานินทร์ ใจสมุทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสตูล
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง สถานการณ์ความไม่สงบชายแดนภาคใต้และการอุ้มประชาชน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้ตอบกระทู้ว่า ได้จัดส่งงบประมาณลงสู่ภาคใต้มากที่สุด เพื่อชดเชยที่บางจังหวัดในภาคใต้ไม่ได้รับงบประมาณเท่ากับจังหวัดอื่น ๆ จากการตรวจสอบงบประมาณพบว่า เจ้าหน้าที่ยังมิได้นำความต้องการของประชาชนไปกำหนดเป็นตัวงบประมาณเลย ซึ่งในความเป็นจริงประชาชนมีความต้องการในเรื่องการศึกษาการศาสนา วัฒนธรรม การมีงานทำ มากที่สุด
ต่อจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายโภคิน พลกุล) ได้ตอบกระทู้ว่า ได้ สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคดีการอุ้มดำเนินการให้ชัดเจนและถูกต้อง ตามกระบวนการของกฎหมาย รวมทั้งได้มีหนังสือสั่งการถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและให้จังหวัด อำเภอ ประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนทราบว่า สามารถเข้าร้องทุกข์เกี่ยวกับกรณีคนหายได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมประจำจังหวัดทุกจังหวัด
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การสร้างสนามกอล์ฟบริเวณสามเหลี่ยมมรกต ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนออกไปตอบในสัปดาห์ต่อไป
๒. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาเด็กและสตรีถูกละเมิดสิทธิทางเพศ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายสรอรรถ กลิ่นประทุม) ได้ตอบกระทู้ว่า ได้มีการดูแลในเรื่องของเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดทางเพศอย่างใกล้ชิด และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในรูปแบบของการขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โดยมีกฎหมายรองรับ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ได้จัดทำคู่มือผู้หญิงและการป้องกัน การล่วงละเมิดทางเพศ ถ้าใครล่วงละเมิดจะมีการปรับเป็นจำนวนเงิน ในส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดูแลในการกวดขันปราบปรามซีดีเถื่อน หนังโป๊ หนังอนาจารต่าง ๆ อย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง โดยการล่อซื้อจากสื่อต่าง ๆ และจะมีการจับกุมเป็นราย ๆ ไป
๓. กระทู้ถามของนายโสภณ เพชรสว่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ความไม่เป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่งกระทู้ถามดังกล่าวผู้ที่ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า จะมีการเปลี่ยนวาระการประชุมใหม่ โดยจะนำวาระเรื่องที่ค้างพิจารณามาจากภาคเช้าสามารถนำมาพิจารณาต่อในภาคบ่ายได้
ปิดการประชุมเวลา ๑๕.๑๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ที่รัฐสภา วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรองนายมุสตาฟา อูกาชา ประธานที่ปรึกษาแห่ง ราชอาณาจักรโมร็อกโก เนื่องในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของ วุฒิสภาไทย
ประธานรัฐสภากล่าวต้อนรับ พร้อมทั้งได้สนทนากันถึงเรื่องรัฐสภาของทั้งสองประเทศที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งของประเทศไทยจะประกอบไปด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ส่วนของ โมร็อกโกก็จะเป็นสภาผู้แทนราษฎร และสภาที่ปรึกษาราชอาณาจักรโมร็อกโก ซึ่งทำหน้าที่พิจารณากฎหมายเหมือนกัน นอกจากนั้นได้สนทนากันถึงเรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม รวมทั้งให้การสนับสนุนแก่ประชาชนของทั้งสองประเทศให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ท้ายสุดนายมุสตาฟาได้กล่าวอวยพรให้ประธานรัฐสภาประสบความสำเร็จในการดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาของไทย และกล่าวเรียนเชิญประธานรัฐสภาให้ไปเยือนราชอาณาจักรโมร็อกโก ในโอกาสต่อไปด้วย
= มอบโล่เกียรติคุณ
วันอังคารที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ๑ ชั้น ๒ อาคาร รัฐสภา ๑ นายแพทย์วิชัย ชัยจิตวณิชกุล ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร และนายอมรเทพ สมหมาย เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ มอบโล่เกียรติคุณแด่ หม่อมเจ้าชาตรี เฉลิมยุคล นายสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ และนายนนทรีย์ นิมิบุตร ผู้อำนวยการ สร้างภาพยนตร์ เรื่อง "โหมโรง" และนายอิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ ผู้กำกับภาพยนตร์ เรื่อง "โหมโรง" เพื่อแสดงว่า ได้บำเพ็ญประโยชน์ประกอบกิจกรรมคุณความดีและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในสาขาศิลปะและวัฒนธรรม
= สัมมนาเชิงประชาพิจารณ์
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๗ ณ อาคารรัฐสภา ๒ คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้รับเกียรติจากนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดประชุมโครงการสัมมนาเชิงประชาพิจารณ์ เรื่อง "ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ม้วนเดียวจบ"
= พิธีปิดโครงการฯ
วันอังคารที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีปิดโครงการฝึกอบรมยุวชนประชาธิปไตย ประจำปี ๒๕๔๗ รุ่นที่ ๑ โดยมีนางพรพิมล ถิรคุณโกวิท รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ สถาบันวิชาการ ทศท ถนนงามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี
= วางพานประดับพุ่มดอกไม้
วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นำพานประดับพุ่มดอกไม้ ในนาม "สภาผู้แทนราษฎร" ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ ที่พลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร ในโอกาส เป็นวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า พุทธศักราช ๒๕๔๗
= สัมมนาเรื่องพนักงานราชการ
วันจันทร์ที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา นางพรพิมล ถิรคุณโกวิท รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา เรื่อง "พนักงานราชการ" ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ ๒๑๓-๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒
= เปิดเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
กลุ่มงานข้อมูลข่าวสารของราชการได้ดำเนินการจัดทำเวปไซด์ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ของราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เรียบร้อยแล้ว พร้อมให้ประชาชนและผู้สนใจเข้าตรวจดู ข้อมูล โดยภายในเวปไซด์ได้บรรจุข้อมูลที่น่าสนใจของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๗ และมาตรา ๙ โดยท่านสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.parliament.go.th/gennews หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของรัฐสภา http://www.parliament.go.th และคลิกที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ ภายในเว็บไซต์มีข้อมูลที่น่าสนใจ เช่น กฎหมาย คำสั่ง ระเบียบ ที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้บริหารของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการกลุ่มงานขึ้นไป พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ อำนาจหน้าที่ของแต่ละสำนักและกลุ่มงาน โครงสร้าง การแบ่งส่วนราชการ อำนาจหน้าที่และอัตรากำลังในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และแผนงานโครงการงบประมาณของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการได้เชื่อมโยงฐานข้อมูลภายในสำนักงานเลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎร ที่น่าสนใจดังนี้ ระบบงานบุคลากร ระบบงานสารบรรณ ระบบทะเบียนสมาชิก ระบบกรรมาธิการ กระทู้ ญัตติ พระราชบัญญัติ และระบบต่างประเทศ ท่านสามารถค้นคว้าข้อมูลได้ที่ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อาคารโรงกษาปณ์ ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๔ ๒๐๔๔
= ส.ส. สงขลาคนใหม่
จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๓ แทนตำแหน่ง ที่ว่าง เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ที่ผ่านไปแล้วนั้น ทางคณะกรรมการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ ๓ จังหวัดสงขลา ได้รายงานผลการรวมคะแนนให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณา และคณะกรรมการ การเลือกตั้งได้ประชุมครั้งที่ ๒๕/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๔๗ และมีมติเป็นเอกฉันท์โดยวินิจฉัยว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และประกาศให้นายวิรัตน์ กัลยาศิริ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ เลขที่ ๒๔๕ เป็นผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๓ แทนตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจากนายไพร พัฒโน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้ขอลาออก
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๔๙๓ จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และกำลังศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประสบการณ์ทางการเมือง เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดสงขลา ประธานสาขาพรรคประชาธิปัตย์ จังหวัดสงขลา เขตเลือกตั้งที่ ๖ (๒ สมัย) คณะกรรมการ กก. ตร. สภอ. เมืองสงขลา และปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำ สภาผู้แทนราษฎร และนักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
= เชิญร่วมบริจาคโลหิตเพื่อชีวิตคนไทย
ช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีนั้น มักจะเกิดอุบัติเหตุ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การสำรองโลหิตไว้จะสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที ในการนี้ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับกรมการประกันภัย และสมาคมตัวแทนประกันชีวิต ขอเชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการกรมการประกันภัย ตัวแทนประกันชีวิต ทั่วประเทศ และประชาชนทั่วไป ร่วมบริจาคโลหิต ในวันบริจาคโลหิตเพื่อชีวิตคนไทย วันอังคารที่ ๖ เมษายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๘.๐๐-๑๒.๐๐ นาฬิกา ณ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ถนนพระราม ๔
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมตัวแทนประกันชีวิต โทร. ๐ ๒๘๖๗ ๖๙๗๑
"หลายชีวิตกำลังรอความช่วยเหลือจากเรา….หนึ่งในหลายคนนี้อาจเป็นคนที่เรารักมากที่สุด"
= สงกรานต์เฉลิมพระเกียรติ
"วันสงกรานต์" ประเพณีดั้งเดิมอันแสดงถึงอารยธรรมของชาติไทยที่บรรพบุรุษได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมการแสดงออกถึงความผูกพันระหว่างผู้สูงอายุและทายาทเชื่อมโยงด้วยสายใยความรักความเมตตาของฝ่ายหนึ่งกับความกัตญญูกตเวทิตาของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยถือเอาวันสงกรานต์ คือวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี เป็นวันที่ลูกหลานจะ เดินทางกลับสู่บ้านเกิดเพื่อเยี่ยมและแสดงกตเวทิตาคารวะต่อญาติผู้ใหญ่และผู้สูงวัยที่เคารพนับถือ
ประเพณีรดน้ำดำหัวและการละเล่นพื้นบ้านในวันสงกรานต์ถือเป็นอารยธรรมที่แสดง ให้เห็นถึงความชาญฉลาดทางความคิดของบรรพบุรุษไทยในการสร้างสายใยแห่งความปรารถนาดีจาก จิตใจของประชาชนนำมาร้อยรัดเป็นความผูกพันของครอบครัวและสังคม ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นผลที่ได้รับโดยตรงจากการเป็นสังคมที่มีศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นปัจจัยเหตุที่เอื้อประโยชน์ในการ หล่อหลอมให้ชาติไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมของความดีงามเป็นพื้นฐาน
ในการนี้ คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร จึงได้จัดโครงการจัดงานพิธีสงกรานต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการรัฐสภา ฝ่ายการเมือง ข้าราชการรัฐสภาสามัญ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐสภาได้มีโอกาสแสดงความกตัญญูกตเวทิตา คารวะต่อประธานรัฐสภา ประธานและรองประธานของทั้งสองสภา อดีตประธานรัฐสภา อดีตประธานและรองประธานทั้งสองสภา สมาชิกรัฐสภาอาวุโสในตำแหน่งต่าง ๆ ของฝ่ายนิติบัญญัติ โดยจะจัดงานพิธี วันสงกรานต์เฉลิมพระเกียรติ ในวันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ ณ บริเวณถนนหน้าลาน พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๗ และห้องโถงชั้นล่าง อาคารรัฐสภา ๑ โดยมีนายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีเปิด และได้จัดให้มีพิธีรดน้ำดำหัวเพื่อแสดงความเคารพแด่ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนผู้อาวุโส นอกจากนี้ยังจัดการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมไทย โดยสภาการศึกษาคาทอลิก (ประเทศไทย) รวมทั้งจัดแสดงนิทรรศการเรื่อง "ประเพณีสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ไทย" ภายในบริเวณห้องโถงชั้นล่าง ซึ่งในช่วงเช้าของวันดังกล่าวจะมีพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระสงฆ์ จำนวน ๗๓ รูป ณ บริเวณหน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๗ ด้วย
กำหนดการ
งานพิธีวันสงกรานต์เฉลิมพระเกียรติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗
วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗
ณ บริเวณถนนหน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๗
และห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑
จัดโดย
คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
สภาผู้แทนราษฎร
----------------------------------------------
เวลา ๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐ นาฬิกา - ตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้ง พระสงฆ์ จำนวน ๗๓ รูป
ณ บริเวณหน้าลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๗
เวลา ๐๙.๐๐ - ๐๙.๑๕ นาฬิกา - พิธีกล่าวสัมโมทนียกถา
เวลา ๐๙.๑๕ - ๐๙.๒๐ นาฬิกา - นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล ประธานคณะกรรมาธิการ
กล่าวรายงานต่อประธานรัฐสภา โดยกราบเรียนเชิญ
ประธานรัฐสภาเปิดกรวยพานดอกไม้ ธูป เทียน
ถวายเครื่องราชสักการะ กล่าวคำถวายพระพร และ
กล่าวเปิดโครงการจัดงานพิธีสงกรานต์เฉลิมพระเกียรติ
ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑
เวลา ๐๙.๒๐ - ๐๙.๓๐ นาฬิกา - ประธานรัฐสภาเปิดกรวยพานดอกไม้ ธูป เทียน และ
ถวายเครื่องราชสักการะ พร้อมทั้งกล่าวคำถวายพระพร
ชัยมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา และเชิญชวนผู้ร่วม
โครงการร่วมถวายพระพรร้องเพลงสดุดีมหาราชา
มหาราชินี
- กล่าวเปิดงาน
เวลา ๐๙.๓๐ - ๐๙.๔๕ นาฬิกา - นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน พิธีกรกล่าวเปิด การแสดง
ศิลปะและวัฒนธรรมไทย โดยสภาการศึกษาคาทอลิก
(ประเทศไทย)
เวลา ๐๙.๔๕ - ๑๐.๓๐ นาฬิกา - พิธีรดน้ำดำหัว เพื่อแสดงความเคารพแด่ประธานรัฐสภา
ประธานวุฒิสภา ผู้นำฝ่ายค้าน ตลอดจนผู้อาวุโส
- ประธานรัฐสภา กล่าวสุนทรพจน์ เนื่องในพิธีสงกรานต์
พุทธศักราช ๒๕๔๗
หมายเหตุ นิทรรศการ เรื่อง "ประเพณีสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ไทย" ณ ห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑
= การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เริ่มเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม ก่อนที่จะมีการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรได้หารือในเรื่องต่าง ๆ ต่อที่ประชุม เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้ดำเนินการตามระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ซึ่งไม่มี และวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม เป็นเรื่องรับทราบ
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าประกาศแต่งตั้งประธานคณะกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติตามคำแนะนำของวุฒิสภาดังนี้
๑. พลตำรวจเอก วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ ประธานกรรมการ
๒. นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการ
๓. นายวิเชียร วิริยะประสิทธิ์ กรรมการ
๔. นายประดิษฐ์ ทรงฤกษ์ กรรมการ
๕. นายยงยุทธ กปิลกาญจน์ กรรมการ
๖. นายชิดชัย พานิชพัฒน์ กรรมการ
๗. นายเชาว์ อรรถมานะ กรรมการ
วาระที่ ๓ รับรองรายงานการประชุม ซึ่งไม่มี จากนั้นที่ประชุมได้นำเรื่องด่วนที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาซึ่งค้างมาจากการพิจารณาของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ จำนวน ๒ เรื่อง คือ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และ พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประธานฯ จึงขอมติที่ประชุมว่าจะอนุมัติพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับหรือไม่ ผลปรากฏว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบอนุมัติ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ ด้วยคะแนน ๒๘๖ เสียง ไม่เห็นชอบ ๖๔ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง ไม่ลงคะแนน ๑ เสียง จากนั้นเห็นชอบอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ด้วยคะแนน ๒๘๖ เสียง ไม่เห็นชอบ ๖๓ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง
จากนั้นที่ประชุมพิจารณาวาระ ๒ เรื่องด่วนที่ ๓ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิค การแพทย์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว เริ่มพิจารณาจากชื่อร่าง คำปรารภเรียงลำดับมาตรา โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายได้เฉพาะถ้อยคำที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือกรณีการสงวน คำแปรญัตติหรือกรรมาธิการสงวนความเห็นไว้เท่านั้น นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ ประธานคณะ
กรรมาธิการวิสามัญฯ ได้แถลงผลการพิจารณาว่าเป็นการแก้ไของค์ประกอบโครงสร้างของคณะกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์และถ้อยคำบางถ้อยคำเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้มีความสมบูรณ์ในร่างกฎหมาย โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งคำถามต่อคณะกรรมาธิการฯ จำนวน ๒ มาตรา ดังนี้ คือ
๑. มาตรา ๑๔ อนุ ๑/๑ ว่าด้วยกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์เหตุกำหนดไว้เพียง ๕ คน
และเสนอให้เพิ่มเติมคำว่า "เป็น" หลังคำว่า "ซึ่ง" จากความเดิมให้เป็น "กรรมการซึ่งเป็นคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ หรือคณบดีที่เรียกชื่ออย่างอื่นหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งขึ้นแห่งละหนึ่งคน เลือกกันเองให้เหลือห้าคน"
๒. มาตรา ๕๔ ที่อนุญาตให้ผู้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ
สาขาเทคนิคการแพทย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ และใบอนุญาตเดิมนั้นยังคงใช้ได้ จะส่งผลกระทบในทางลบหรือไม่อย่างไร
ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ตอบข้อซักถามสำหรับมาตรา ๑๔ ว่า ต้องการกำหนดจำนวน ผู้แทนที่จะเป็นกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์ให้คงที่ เพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนบุคคลที่เกิดจากการก่อตั้งสถาบันผลิตบัณฑิตสาขาเทคนิคการแพทย์เพิ่มขึ้นในอนาคตและในเรื่องการต่ออายุผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์นั้น หากกฎหมายมีผลบังคับใช้คณะกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์มีหน้าที่ต้องเป็น ผู้พิจารณาแนวทางรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์มาก่อนกฎหมายใหม่มี ผลบังคับใช้ จากนั้นที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเทคนิคการแพทย์ด้วยคะแนน ๓๑๘ เสียง ไม่เห็นชอบ ๒ เสียง
ต่อมาเป็นการพิจารณาวาระที่ ๒ เรื่องด่วนที่ ๔ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ รองประธานคณะ
กรรมาธิการฯ ได้แถลงผลการพิจารณาต่อที่ประชุม ที่กำหนดเวลาในการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยไม่มี ผู้เสนอคำแปรญัตติ แต่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายเกี่ยวกับคณะกรรมการสภาวิชาชีพกายภาพบำบัด โดยขอให้เพิ่มเติมคำว่า "เป็น" หลังคำว่า "ซึ่ง" จากความเดิมให้เป็น "กรรมการซึ่งเป็นคณบดี คณะกายภาพบำบัดหรือคณบดีคณะที่เรียกชื่ออย่างอื่นหรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัด ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาให้จัดตั้งขึ้นแห่งละหนึ่งคนเลือกกันเองให้เหลือห้าคน"
สำหรับมาตรา ๒๗ เกี่ยวกับเหตุผลการตัดถ้อยคำ "หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิเป็นผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว" ออกจากร่างพระราชบัญญัติเดิม คือ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็น ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดทำการประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดหรือแสดงด้วยวิธีการกายภาพบำบัดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว
ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่าเป็นการทำกายภาพบำบัดกับการแสดงด้วยวิธีกายภาพบำบัดมีโทษที่แตกต่างกันจึงตัดถ้อยคำดังกล่าว ออกไปแต่ได้ไปเพิ่มรายละเอียดไว้ในมาตรา ๒๙ นอกจากนี้ส่วนที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัติเดิมที่ว่า "ผู้ทำกายภาพบำบัดต้องให้การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ตามธรรมจรรยา" มาเป็นผู้ทำกายภาพบำบัดต้องให้การช่วยเหลือแก่ ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ตามมนุษยธรรม" นั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายว่าเป็นถ้อยคำ ที่มีความหมายกว้างเกินไป ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ เห็นชอบกับการอภิปรายให้คงถ้อยคำตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอให้คงไว้ตามร่างเดิม
และในมาตรา ๕๔ บทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการอนุญาตให้ผู้ที่มีใบอนุญาตก่อนหน้าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ให้เป็นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนไปพร้อมกันด้วย ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วย ซึ่งร่างพระราชบัญญัติเดิมมิได้กำหนดเช่นนี้ จึงขอให้กลับไปใช้ถ้อยคำตามร่างเดิม ซึ่งกรรมาธิการฯ ได้เห็นชอบตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ภายหลังการ
อภิปรายที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ ๓๓๖ เสียง พร้อมทั้ง มีมติเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่เกี่ยวกับการกำหนดเวลาพักใบอนุญาตกรณีที่
ผู้ประกอบวิชาชีพประพฤติผิดจรรยาบรรณควรมีการกำหนดพักใช้ให้เหมาะสมกับพฤติการณ์หรือ การกระทำความผิดของผู้ถูกสั่งพักใบอนุญาตด้วย เพื่อให้การสั่งพักใบอนุญาตมีผลบังคับจริงในการปฏิบัติ โดยประธานฯ จะส่งข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรีต่อไป
ลำดับต่อมาเป็นการพิจารณาวาระที่ ๒ เรื่องด่วนที่ ๕ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้แถลงผลการพิจารณาว่าไม่มีกรรมาธิการเสนอคำแปรญัตติและไม่มีการแก้ไขถ้อยคำที่ประชุมจึงลงมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ดวยด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ ๓๑๖ เสียง
จากนั้นเป็นการพิจารณาวาระที่ ๒ เรื่องด่วนที่ ๖ ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ประธานกรรมาธิการฯ ได้แถลงผลการพิจารณาต่อที่ประชุม โดยไม่มีผู้แปรญัตติซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมี ข้อคำถามเฉพาะกรณีการตัดถ้อยคำ "และ" ในมาตรา ๔ ของร่างพระราชบัญญัติจึงควรตัดคำว่า "หรือ" ด้วย จากความเดิมที่ว่า "ผู้ประกอบวิชาชีพ หมายความว่า ผู้ประกอบการโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
พยาบาล ผดุงครรภ์ ทันตกรรม เภสัชกรรม กายภาพบำบัด และเทคนิคการแพทย์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ให้เหตุผลว่ายังคงคำว่า "หรือ" ไว้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้อยู่ปัจจุบันซึ่งมีคำว่า "หรือ" อยู่ด้วย จากนั้นที่ประชุมจึง มีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ ๓๒๖ เสียง
ต่อจากนั้น นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เสนอให้เลื่อนระเบียบวาระการประชุมร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วขึ้นมาพิจารณาก่อน โดย พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร ได้แถลงผลการพิจารณาว่าได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแสดงความคิดเห็นประกอบด้วย สำนักปลัดกลาโหม กองบัญชาการทหารสูงสุด สมุหราชองครักษ์ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กรมการเงินกลาโหม กรมพระธรรมนูญ กรมเสมียนตรา ซึ่งไม่มีผู้เสนอคำแปรญัตติ ที่ประชุมจึงลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ๓๒๐ เสียง ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง
ลำดับต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาวาระที่ ๒ ของร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดย
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ซึ่งได้รับมอบหมายนายวิษณุ เครืองาม ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ให้เป็นผู้แถลงผลการพิจารณา โดยไม่มีกรรมาธิการสงวนความเห็นและมีผู้เสนอขอแปรญัตติ ๑ คน ทั้งนี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ซึ่งมีรายละเอียดแนบมาท้ายบันทึกหลักการและเหตุผล โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาแล้วเห็นว่า คำแปรญัตติของบุคคลดังกล่าวในรายการที่ ๑, ๒ และ ๓ ขัดต่อข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อที่ ๑๑๐ วรรคสาม จึงมีมติไม่เห็นด้วยกับคำแปรญัตติ ดังกล่าวของผู้แปรญัตติ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนน ๓๑๔ เสียง งดออกเสียง ๑๑ เสียง
พร้อมทั้งไม่เห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กรณีเกิดความคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ "ชื่อ" สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในหลักการและเหตุผล หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางแล้วที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบด้วยคะแนน ๓๖๔ เสียง เห็นด้วย ๖ เสียง งดออกเสียง ๑๑ เสียง ดังนั้นร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่มีข้อสังเกตที่จะ ส่งไปให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา
วาระสุดท้ายก่อนปิดการประชุมได้พิจารณาเพื่อรับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกัน ๓ ฉบับ ซึ่งเสนอโดย
๑. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ
๒. นายศรคม ฦาชา กับนายอมรเทพ สมหมาย
๓. นายภิญโญ นิโรจน์ กับนายวิทยา คุณปลื้ม
ประธานฯ จึงขอให้ยกมาพิจารณาไปในคราวเดียวกัน โดยนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวถึงเหตุผลการเสนอกฎหมายนี้เพื่อต้องการให้หน่วยงาน ที่จัดการศึกษาด้านพลศึกษาระดับปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลสามารถดำเนินกิจการได้อย่างอิสระ พัฒนาระบบบริหารการจัดการเป็นของตนเองมีความคล่องตัว ซึ่งร่าง
พระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอื่น ๆ มีเหตุผลไปในแนวทางเดียวกัน จึงมีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในหลายประเด็นอาทิ ความไม่ชัดเจนในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ
การบริหารงานด้านการศึกษาแยกไปอยู่ในหลายกระทรวงทำให้ขาดความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษา รวมทั้งแนวทางการวิจัย เพื่อพัฒนาการกีฬาให้สามารถสร้างชื่อเสียงให้ประเทศได้ทัดเทียมกับต่างประเทศ และยังส่งเสริมให้พลเมืองมีวินัย การเคารพกฎกติกาของสังคมและทำให้สุขภาพแข็งแรง เป็นประชากรที่มีคุณภาพ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีความเห็นที่สอดคล้องกันทั้งหมดจึงมีมติเห็นชอบรับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันการศึกษา พ.ศ. …. ทั้ง ๔ ฉบับ ด้วยคะแนน ๓๒๙ เสียง โดยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาจำนวน ๓๕ คน ภายใน ๗ วัน
ปิดการประชุมเวลา ๑๙.๒๕ นาฬิกา
สรุปประชุมสภาผู้แทนราษฎร
วันพฤหัสบดีที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๗
เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญทั่วไป) โดยระเบียบวาระที่ ๑ เป็นกระทู้ถาม ซึ่งไม่มี และระเบียบวาระที่ ๒ ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีความรุนแรงอันเนื่อง
มาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
๒. รับรองรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (ไม่มี)
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณารายงานผลการพิจารณาปัญหามลพิษทางอากาศจากเตาเผาศพ และการแก้ไข ซึ่งคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานคณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาศึกษาในเรื่องดังกล่าวอย่างละเอียด โดยมีการเชิญบุคคลสำคัญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมาร่วมประชุม รวมทั้งได้เดินทางไปศึกษาดูงานการดำเนินการฌาปนกิจศพในวัดต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังได้จัดการสัมมนาเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศจากเตาเผาศพอีกด้วย ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่า ในส่วนของกรุงเทพมหานคร นั้น มีปัญหาในเรื่องของการจัดเงินอุดหนุนในการดำเนินการก่อสร้างเตาเผาศพที่ปลอดมลพิษ และจากการศึกษาข้อมูลพบว่า กรุงเทพมหานครมี ฌาปนสถานที่ได้รับอนุญาต จำนวน ๓๐๙ แห่ง และไม่ได้มาตรฐาน จำนวน ๑๑๒ แห่ง ซึ่งหากมีการ จัดสรรเงินอุดหนุนก็จะได้มีการขยายผลโครงการสนับสนุนเตาเผาศพปลอดมลพิษต่อไป ทั้งนี้เตาเผาศพควรมีมาตรฐานเดียวกัน คือ ควรใช้ ๒ ห้องเผา ซึ่งกรมการศาสนาหรือสำนักพุทธศาสนาในปัจจุบันควรขยายผลให้มีการจัดทำเตาเผาต้นแบบที่มีมาตรฐานอย่างน้อยจังหวัดละ ๑ แห่ง และเสนอแนะให้หน่วยงานท้องถิ่นตั้งงบสนับสนุนในการดำเนินการดังกล่าวด้วย
จากนั้นได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง และมีการเสนอแนะให้มีการบำรุงรักษาเตาเผาศพ และหากจะดำเนินการก่อสร้างใหม่ควรพิจารณาให้รอบคอบถึงบริเวณที่จะทำการก่อสร้าง รวมทั้งควรให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาและออกความคิดเห็นด้วย หลังจากนั้นประธานฯ ขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะส่งข้อสังเกตดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการต่อไปหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ๑๗๗ เสียง และส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีรับไปดำเนินการต่อไป
ต่อจากนั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้เลื่อนญัตติด่วน เรื่อง สถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนายถาวร เสนเนียม กับคณะ เป็นผู้เสนอ และญัตติด่วนเรื่องขอให้ร่วมกันพิจารณาศึกษาหาแนวทาง แก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ซึ่งพันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ เป็นผู้เสนอ (ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้ง ๖ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗) รวมทั้งญัตติด่วน เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาสอบสวนกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๒ คน ถูกซัดทอดว่าอยู่เบื้องหลังการปล้นปืนที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งนายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ และนายนัจมุดดีน อูมา เป็นผู้เสนอ และญัตติด่วนที่เสนอใหม่ เรื่อง ขอเสนอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพิจารณากรณีสมาชิกรัฐสภาถูกผู้ต้องหาซัดทอดกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องและบงการ วางแผนกับเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนายศุภชัย โพธิ์สุ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ) ขึ้นมาพิจารณาก่อน และเนื่องจากญัตติดังกล่าวข้างต้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ที่ประชุมจึงมีมติให้นำขึ้นมาพิจารณาพร้อมกัน ซึ่งที่ประชุมได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๗ ได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเผาโรงเรียน ปล้นค่ายทหาร ปล้นอาวุธปืน ทำร้ายพระภิกษุสงฆ์ และการปล้นระเบิดจาก โรงโม่หิน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นได้สร้างความหวั่นวิตกให้กับหลายฝ่าย และส่งผลกระทบต่อความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอีกด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมได้อภิปรายจนสมควรแก่เวลา ประธานฯ จึงเห็นควรให้เลื่อนการพิจารณาในญัตติดังกล่าวไปในสัปดาห์หน้า ที่ประชุมได้อภิปรายจนสมควรแก่เวลา ประธานฯ จึงเห็นควรให้เลื่อนการพิจารณาในญัตติดังกล่าวไปในสัปดาห์หน้า
พักการประชุมเวลา ๑๒.๕๐ นาฬิกา
จากนั้นได้มีการประชุมต่อในเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีการพิจารณากระทู้ต่าง ๆ คือ
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายธวัชชัย อนามพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี
พรรคชาติพัฒนา เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง นโยบายและมาตรการในการแก้ไขปัญหาปริมาณผลไม้จาก ภาคตะวันออกล้นตลาด ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ได้ตอบกระทู้ว่า ได้ดูแลในเรื่องดังกล่าวนี้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพยุงราคาไว้เพื่อมิให้มีราคาตกต่ำ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้มีนโยบายและได้สั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดูแลเกษตรกรอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้ประสบกับภาวะผลไม้ล้นตลาดดังกล่าว
๒. กระทู้ถามสดของนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัด
สุพรรณบุรี พรรคชาติไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวนาและผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเนวิน ชิดชอบ) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ ติดภารกิจ จึงได้เลื่อนตอบกระทู้ออกไปในสัปดาห์หน้า
๓. กระทู้ถามสดของนายธานินทร์ ใจสมุทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสตูล
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง สถานการณ์ความไม่สงบชายแดนภาคใต้และการอุ้มประชาชน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้ตอบกระทู้ว่า ได้จัดส่งงบประมาณลงสู่ภาคใต้มากที่สุด เพื่อชดเชยที่บางจังหวัดในภาคใต้ไม่ได้รับงบประมาณเท่ากับจังหวัดอื่น ๆ จากการตรวจสอบงบประมาณพบว่า เจ้าหน้าที่ยังมิได้นำความต้องการของประชาชนไปกำหนดเป็นตัวงบประมาณเลย ซึ่งในความเป็นจริงประชาชนมีความต้องการในเรื่องการศึกษาการศาสนา วัฒนธรรม การมีงานทำ มากที่สุด
ต่อจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายโภคิน พลกุล) ได้ตอบกระทู้ว่า ได้ สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคดีการอุ้มดำเนินการให้ชัดเจนและถูกต้อง ตามกระบวนการของกฎหมาย รวมทั้งได้มีหนังสือสั่งการถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและให้จังหวัด อำเภอ ประชาสัมพันธ์แจ้งให้ประชาชนทราบว่า สามารถเข้าร้องทุกข์เกี่ยวกับกรณีคนหายได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมประจำจังหวัดทุกจังหวัด
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การสร้างสนามกอล์ฟบริเวณสามเหลี่ยมมรกต ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบกระทู้ ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนออกไปตอบในสัปดาห์ต่อไป
๒. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาเด็กและสตรีถูกละเมิดสิทธิทางเพศ ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายสรอรรถ กลิ่นประทุม) ได้ตอบกระทู้ว่า ได้มีการดูแลในเรื่องของเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดทางเพศอย่างใกล้ชิด และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในรูปแบบของการขจัดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โดยมีกฎหมายรองรับ และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ได้จัดทำคู่มือผู้หญิงและการป้องกัน การล่วงละเมิดทางเพศ ถ้าใครล่วงละเมิดจะมีการปรับเป็นจำนวนเงิน ในส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดูแลในการกวดขันปราบปรามซีดีเถื่อน หนังโป๊ หนังอนาจารต่าง ๆ อย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง โดยการล่อซื้อจากสื่อต่าง ๆ และจะมีการจับกุมเป็นราย ๆ ไป
๓. กระทู้ถามของนายโสภณ เพชรสว่าง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดบุรีรัมย์
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ความไม่เป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่งกระทู้ถามดังกล่าวผู้ที่ตั้งกระทู้ถามได้ขอถอนออกไป
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า จะมีการเปลี่ยนวาระการประชุมใหม่ โดยจะนำวาระเรื่องที่ค้างพิจารณามาจากภาคเช้าสามารถนำมาพิจารณาต่อในภาคบ่ายได้
ปิดการประชุมเวลา ๑๕.๑๐ นาฬิกา
--------------------------------------------------------
สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร