บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔
ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์ และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้ให้เลขาธิการอ่านพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
๑. พลตำรวจเอก วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ เป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๒. นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๓. นายวิเชียร วิริยะประสิทธิ์ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๔. นายประดิษฐ์ ทรงฤกษ์ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๕. นายยงยุทธ กปิลกาญจน์ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๖. นายชิดชัย พานิชพัฒน์ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๗. นายเชาว์ อรรถมานะ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอ
ให้ที่ประชุมพิจารณาพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับ โดยเป็นการพิจารณาต่อจาก
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ ตามลำดับ คือ
๑. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๑)
๒. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๒)
ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนในลำดับถัดไป คือ
๓. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๓)
๔. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๔)
๕. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๕)
๖. ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๔ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. …. เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการการทหารพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๕)
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบ
ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ โดยในระหว่าง
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระที่ ๔.๒ และระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบ
วาระที่ ๔.๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติในวาระที่ ๓
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๓ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ซึ่ง
นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๖)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ซึ่ง
นายศรคม ฦาชา และนายอมรเทพ สมหมาย เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๘)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ซึ่ง
นายภิญโญ นิโรจน์ และนายวิทยา คุณปลื้ม เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๕๐)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เสนอได้
แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสนธยา คุณปลื้ม ๒. นายวราวุธ ศิลปอาชา
๓. นายจเด็จ อินสว่าง ๔. นายทินกร นำบุญจิตต์
๕. นายรังสรรค์ กระจ่างตา ๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๗. นายอนุสรณ์ ปั้นทอง ๘. นายยงยศ อดิเรกสาร
๙. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๑๐. นายพายัพ ปั้นเกตุ
๑๑. นายชลน่าน ศรีแก้ว ๑๒. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
๑๓. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๑๔. นายประดุจ มั่นหมาย
๑๕. นายพีระเพชร ศิริกุล ๑๖. นายกิตติพงษ์ เทียมสุวรรณ
๑๗. นายสุรชัย ชินชัย ๑๘. นายโกวิทย์ ธรรมานุชิต
๑๙. นายไพจิต ศรีวรขาน ๒๐. นายธงชาติ รัตนวิชา
๒๑. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา ๒๒. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
๒๓. นายเอกพร รักความสุข ๒๔. นายสุวรรณ กู้สุจริต
๒๕. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๒๖. นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย
๒๗. นายชาญชัย ศิลปอวยชัย ๒๘. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร
๒๙. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๓๐. นายสนั่น สุธากุล
๓๑. นายทวี สุระบาล ๓๒. นายภิญโญ นิโรจน์
๓๓. นายวิทยา คุณปลื้ม ๓๔. นายศรคม ฦาชา
๓๕. นายอมรเทพ สมหมาย
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๒๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
อนุมัติพระราชกำหนด จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖
๒. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำวน ๖ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๖. ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ
เสนอรวม ๔ ฉบับ)
*************************
ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๗
ณ ตึกรัฐสภา
--------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธาน
สภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ขึ้นบัลลังก์ และกล่าวเปิดประชุม
จากนั้นได้ให้เลขาธิการอ่านพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
๑. พลตำรวจเอก วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ เป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๒. นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๓. นายวิเชียร วิริยะประสิทธิ์ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๔. นายประดิษฐ์ ทรงฤกษ์ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๕. นายยงยุทธ กปิลกาญจน์ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๖. นายชิดชัย พานิชพัฒน์ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
๗. นายเชาว์ อรรถมานะ เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นไป
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอ
ให้ที่ประชุมพิจารณาพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับ โดยเป็นการพิจารณาต่อจาก
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๕ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ ตามลำดับ คือ
๑. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๑)
๒. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๒)
ที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
ต่อมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนในลำดับถัดไป คือ
๓. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๓)
๔. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๔)
๕. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๕)
๖. ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระเรื่องที่มีมติให้เลื่อน
ขึ้นมาพิจารณาก่อนลำดับที่ ๖)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับ ในวาระที่ ๒
ทีละฉบับ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตรา
จนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ ทั้ง ๔ ฉบับ ทีละฉบับ ตามลำดับ
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
ที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. …. เพื่อแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งคณะกรรมาธิการการทหารพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๕)
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ
แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติเห็นชอบ
ในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ โดยในระหว่าง
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน
ต่อจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอนำระเบียบวาระที่ ๔.๒ และระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบ
วาระที่ ๔.๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในวาระที่ ๒ โดยเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติในวาระที่ ๓
เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติไม่เห็นชอบด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ
๒. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ซึ่ง คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๑๗)
โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๓ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ซึ่ง
นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๖)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ซึ่ง
นายศรคม ฦาชา และนายอมรเทพ สมหมาย เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔๘)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ซึ่ง
นายภิญโญ นิโรจน์ และนายวิทยา คุณปลื้ม เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๕๐)
เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้เสนอได้
แถลงหลักการและเหตุผล ตามลำดับ ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ได้ปฏิบัติหน้าที่แทน มีสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการ
แห่งร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับพร้อมกันไป และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน
โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา คณะกรรมาธิการฯ ประกอบด้วย
๑. นายสนธยา คุณปลื้ม ๒. นายวราวุธ ศิลปอาชา
๓. นายจเด็จ อินสว่าง ๔. นายทินกร นำบุญจิตต์
๕. นายรังสรรค์ กระจ่างตา ๖. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
๗. นายอนุสรณ์ ปั้นทอง ๘. นายยงยศ อดิเรกสาร
๙. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๑๐. นายพายัพ ปั้นเกตุ
๑๑. นายชลน่าน ศรีแก้ว ๑๒. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน
๑๓. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๑๔. นายประดุจ มั่นหมาย
๑๕. นายพีระเพชร ศิริกุล ๑๖. นายกิตติพงษ์ เทียมสุวรรณ
๑๗. นายสุรชัย ชินชัย ๑๘. นายโกวิทย์ ธรรมานุชิต
๑๙. นายไพจิต ศรีวรขาน ๒๐. นายธงชาติ รัตนวิชา
๒๑. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา ๒๒. นายพีรพันธุ์ พาลุสุข
๒๓. นายเอกพร รักความสุข ๒๔. นายสุวรรณ กู้สุจริต
๒๕. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๒๖. นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย
๒๗. นายชาญชัย ศิลปอวยชัย ๒๘. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร
๒๙. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๓๐. นายสนั่น สุธากุล
๓๑. นายทวี สุระบาล ๓๒. นายภิญโญ นิโรจน์
๓๓. นายวิทยา คุณปลื้ม ๓๔. นายศรคม ฦาชา
๓๕. นายอมรเทพ สมหมาย
กำหนดการแปรญัตติภายใน ๗ วัน
เลิกประชุมเวลา ๑๙.๒๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
สำนักรายงานการประชุมและชวเลข
กลุ่มงานรายงานการประชุม
โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒ - ๓
โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๓๗๒
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
อนุมัติพระราชกำหนด จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖
๒. พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำวน ๖ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. ….
๓. ร่างพระราชบัญญัติประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๔. ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๕. ร่างพระราชบัญญัติข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๖. ร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีและสมาชิกฯ
เสนอรวม ๔ ฉบับ)
*************************