แท็ก
อุตสาหกรรม
โครงการสร้างดัชนีชี้วัดสถานภาพและศักยภาพอุตสาหกรรมโดยพิจารณาจากดัชนีชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารต้นทุน (Cost Management Ratios) ซึ่งจะแสดงถึงสัดส่วนต้นทุน ในการผลิตแต่ละรายการทั้งที่อยู่ในและนอกสายการผลิตเปรียบเทียบกับต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกิจการ ดัชนีนี้มีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตเนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ถึงต้นทุนประเภทต่าง ๆ ของกิจการซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับหรือควบคุมต้นทุนการผลิตส่วนเกินต้นทุนที่ไม่จำเป็นของกิจการได้ อย่างไรก็ตามการลดต้นทุนดังกล่าวจะต้องไม่ส่งผลลบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สำหรับดัชนีด้านการบริหารการเงิน (Financial Management Ratios) นั้นจะเป็นดัชนีที่ใช้ข้อมูลทางการเงินพิจารณาประสิทธิภาพในการทำกำไร สภาพคล่อง และความสามารถในการก่อหนี้ของกิจการโดยจะมีข้อจำกัดในเรื่องรอบระยะเวลาบัญชีและนโยบายทางบัญชีที่แตกต่างกัน ดังนั้นการวิเคราะห์ศักยภาพของสถานประกอบการจึงไม่ควรใช้ดัชนีด้านการบริหารการเงินเพียงลำพัง ดัชนีกลุ่มสุดท้ายคือ ดัชนีชี้วัดสถานภาพของสถานประกอบการ (Performance Ratios) หรือดัชนีวัดการเพิ่มผลผลิต (Productivity Ratios) โดยสามารถแบ่งดัชนีกลุ่มนี้ออกเป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ ดัชนีการเพิ่มผลผลิตเชิงคุณค่า (Value Productivity Ratios) และดัชนีการเพิ่มผลผลิตเชิงมูลค่าเพิ่ม (Value-added Productivity Ratios) สำหรับดัชนีการเพิ่มผลผลิตเชิงกายภาพ (Physical Productivity Ratios) ที่วัดผลผลิตในลักษณะปริมาณนั้น จะไม่นำมาใช้ประเมินกิจการเนื่องจากสเกลการวัดมีความหยาบและเหมาะสำหรับการประเมินหน่วยงานผลิต (Work station) มากกว่า
อนึ่ง การจัดสร้างดัชนีชี้วัดสถานภาพและศักยภาพอุตสาหกรรมดังกล่าว ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นในโครงการสร้างระบบประเมินวิเคราะห์สถานประกอบการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ซึ่งได้ชี้แนะและให้คำแนะนำในการสร้างสูตรคำนวณดัชนีต่าง ๆ โดยพิจารณาให้มีความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลในประเทศไทย
ดัชนีด้านการบริหารต้นทุน (Cost Management Ratios)
โครงสร้างต้นทุนของกิจการโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในส่วนการผลิต (Production Cost) และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (Selling & Admin Expense) ซึ่งในส่วนของค่าใช้จ่ายในการผลิตยังสามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นต้นทุนการผลิตทางตรงและต้นทุนการผลิตทางอ้อม การวัดดัชนีการบริหารต้นทุนจะเป็นการหาสัดส่วนในรายละเอียดของค่าใช้จ่ายดังกล่าวเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการ ซึ่งผลจากการตีความหมายดัชนีดังกล่าวนี้สามารถใช้แยกประเภทของกิจการได้ตามสัดส่วนต้นทุนที่เกิดขึ้นได้ระดับหนึ่งนอกเหนือจากการวัดประสิทธิภาพการบริหารต้นทุน ดังจะกล่าวในลำดับต่อไป
ดัชนีด้านการบริหารต้นทุน (Cost Management Ratios) ตั้งแต่ข้อ 1 - 4 และ ข้อ 8 จะเป็นการพิจารณาในส่วนของต้นทุนการผลิตทางตรงเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการ ต้นทุนการผลิตทางตรงจะมีผลต่อคุณภาพของสินค้าและมูลค่าเพิ่มของกิจการเพราะฉะนั้นการควบคุมต้นทุนการผลิตในส่วนนี้จะต้องใช้ความรอบคอบมากกว่าต้นทุนการผลิตในส่วนอื่น สำหรับข้อ 5 ถึงข้อ 7 จะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนการผลิตทางอ้อมกับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการ ซึ่งการควบคุมต้นทุนในส่วนนี้จะทำได้ง่ายกว่าในส่วนแรก ข้อ 9 เป็นสัดส่วนของต้นทุนแรงงานทั้งหมดซึ่งจะรวมในส่วนสำนักงานเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการ และตั้งแต่ข้อ 11 ถึงข้อ 18 จะเป็นสัดส่วนระหว่างค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการ ความสำคัญของดัชนีในส่วนนี้จะบอกถึงความเข้มข้นของต้นทุนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตของกิจการว่ามีน้ำหนักอยู่ที่ส่วนใด และสามารถแยกประเภทของกิจการได้ในระดับหนึ่ง เช่น ถ้า % of Production labor cost ratio มากกว่า % of Depreciation มาก ลักษณะของกิจการนั้นอาจเป็นกิจการที่ใช้แรงงานเข้มข้น (Labor intensive) หรือถ้า % of Depreciation สูงมากอาจถือเป็นกิจการที่ใช้ทุนเข้มข้น (Capital intensive) หรือมีการลงทุนในเครื่องจักรค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามอาจต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วยเช่น อายุของเครื่องจักร นโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร วันจดทะเบียนจัดตั้งกิจการ เป็นต้น นอกจากดัชนีในกลุ่มนี้จะบอกถึงประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนทั้งต้นทุนการผลิตทางตรงและต้นทุนการผลิตทางอ้อมของกิจการแล้ว ความสำคัญอีกนัยหนึ่งคือทำให้ทราบถึงแนวโน้มของต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นในแต่ละอุตสาหกรรมว่ามีสัดส่วนแตกต่างกันอย่างไร สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดนโยบายหรือปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนในกิจการโดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ๆ
% of Materials cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ซึ่งในอุตสาหกรรมการผลิต วัตถุดิบจะเป็นต้นทุนผันแปรรายการสำคัญในการผลิตและมีผลกระทบต่อมูลค่าเพิ่มของกิจการ หากดัชนีมีค่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม แสดงว่ากิจการมีต้นทุนด้านวัตถุดิบสูง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการจัดหาวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพหรือความเสียหายจากการจัดเก็บวัตถุดิบที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียวัตถุดิบไปในกระบวนการผลิตจำนวนมากหรืออาจเกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเอง หากดัชนีมีค่าน้อยแสดงว่ากิจการมีการบริหารวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจต้องพิจารณาร่วมกับดัชนีตัวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข่น Raw materials turnover หรือ Material cost to production value ratio
% of Purchased parts cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าวัสดุสิ้นเปลืองซึ่งหมายถึงชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ใช้สิ้นเปลืองและหมดไปในการผลิตในงวดนั้น ๆ กับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ค่าวัสดุสิ้นเปลืองหรือค่าโสหุ้ยเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถควบคุมได้และไม่ควรจะมีมากเกินค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเพราะถ้ามีมากเกินไปจะแสดงถึงการรั่วไหลของค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
% of Subcontracting cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าจ้างเหมาจ่ายที่จ่ายให้กับหน่วยงานภายนอกเพื่อผลิตสินค้าสำเร็จรูปให้กิจการกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ดัชนีนี้อาจมีส่วนช่วยตัดสินใจในการลงทุนเพิ่มของกิจการ กล่าวคือหากดัชนีมีค่าสูงกิจการอาจจะต้องพิจารณาว่าถ้ากิจการผลิตด้วยตนเองแทนการจ้างผลิต จะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ จำเป็นต้องขยายสายการผลิตหรือลงทุนในเครื่องจักรเพิ่มหรือไม่ เป็นต้น หรือในอีกลักษณะหนึ่งคือกิจการสามารถลดต้นทุนส่วนนี้ลงได้หรือไม่
% of Production labor cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าตอบแทนแรงงานทางตรงหรือเฉพาะในส่วนของโรงงานกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ถ้าดัชนีนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมจะส่งผลถึงประสิทธิภาพของกิจการในด้านอื่นได้ การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ Amount of processing per employee เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานกับสัดส่วนต้นทุนแรงงานดังกล่าว สามารถชี้วัดความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนแรงงานของกิจการโดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังใช้วัดความเข้มข้นของการใช้แรงงานในกิจการได้
% of Depreciation
เป็นดัชนีระหว่างค่าเสื่อมราคาอาคาร โรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ในการผลิตกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ Efficiency of machinery investment เพราะหากกิจการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ในการผลิตมากแต่ใช้ไม่เต็มที่ ก็จะส่งผลให้ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลิตสูง และส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้นดัชนีนี้สามารถบอกถึงประเภทของกิจการได้ กล่าวคือถ้าดัชนีนี้มีค่าสูงกว่า % of Production labor cost นั่นแสดงว่าเป็นกิจการที่ใช้ความเข้มข้นของทุนในรูปของเครื่องจักรในการผลิต (Capital Intensive Industry) เป็นต้น
% of Rent
เป็นดัชนีระหว่างค่าเช่าอาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร หากดัชนีนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม กิจการจะต้องหันมาทบทวนนโยบายการลงทุนใหม่ระหว่างการลงทุนเพิ่มในอาคาร เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตกับเงินที่เสียไปในรูปของค่าเช่า ซึ่งจะต้องมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาร่วมในการพิจารณาด้วย เช่น กลยุทธ์ของกิจการในระยะยาว ภาวะและแนวโน้มอุตสาหกรรม สภาพคล่องของกิจการ ความสามารถในการก่อหนี้ และความสามารถในการทำกำไรของกิจการ เป็นต้น
% of Maintenance cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องจักรประจำปี ซึ่งหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ใช้เพื่อซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาเครื่องจักรเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่รวมค่าซ่อมแซมเครื่องจักรที่เกิดขึ้นโดยมีผลให้เครื่องจักรสามารถใช้งานได้อีกเป็นเวลานานกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ Efficiency of machinery investment เพราะถ้าดัชนีนี้มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมในขณะที่ Efficiency of machinery investment สูงด้วย Maintenance cost ที่เกิดขึ้นอาจมีส่วนช่วยในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กิจการ คือช่วยให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพตาม capacity ในทางตรงข้ามหากเกิดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากในขณะที่ไม่เกิดการเพิ่มผลผลิตตาม อาจต้องพิจารณาว่าเครื่องจักรเก่าเกินไปและจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ รวมไปถึงความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้เครื่องจักรหรือผู้บำรุงรักษา เป็นต้น
% of Utility & energy cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าพลังงาน เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา น้ำมันเตา ถ่านหิน และอื่น ๆ กับต้นทุนที่เกิดขึ้นของ กิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ในอุตสาหกรรมหนักค่าพลังงานจะเป็นค่าใช้จ่ายทางตรงที่ค่อนข้างสูงและมีผลกระทบต่อมูลค่าเพิ่มของกิจการเช่นกัน หากดัชนีมีค่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม แสดงว่ากิจการมีการใช้พลังงานสิ้นเปลือง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องจักรอย่างไม่ถูกวิธี ก่อให้เกิดการสูญเสียในกระบวนการผลิตสูง หรือกระบวนการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้มีงาน Rework ที่ต้องนำกลับไปผลิตใหม่ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้กิจการมีภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
% of Total labor cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าตอบแทนแรงงานและค่าสวัสดิการต่างๆ ของกิจการทั้งหมดกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงาน และผู้บริหาร ผลต่างระหว่าง % of Total labor cost กับ % of Production labor cost จะเป็นดัชนีในส่วนของค่าแรงงานทางอ้อมหรือในส่วนของสำนักงานเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ดัชนีนี้สามารถใช้พิจารณาถึงความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนแรงงานของกิจการและกำหนดนโยบายค่าจ้างแรงงานของกิจการ การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ % of Amount of processing per employee เพราะค่าตอบแทนแรงงานคือส่วนแบ่งที่แรงงานได้รับจากมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในกิจการ หากดัชนี % of Total Labor cost สูง ในขณะที่ % of Amount of processing per employee ต่ำ นั่นแสดงถึงมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในกิจการถูกจัดสรรไปสู่แรงงานมากเกินไป ซึ่งจะมีผลทำให้ส่วนของการดำเนินงานหรือส่วนที่เจ้าของทุนได้รับต่ำ
% of Total manufacturing cost
เป็นดัชนีระหว่างต้นทุนที่เกิดขึ้นในส่วนผลิตทั้งหมดทั้งในส่วนของต้นทุนทางตรงและ ต้นทุนทางอ้อมเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ดัชนีนี้จะให้ภาพกว้าง ๆ ของกิจการเปรียบเทียบระหว่างสัดส่วนต้นทุนที่ใช้ในการผลิตและต้นทุนในส่วนการขายและบริหาร เพื่อใช้เปรียบเทียบกับ ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมและเพื่อกำหนดเป็นนโยบายค่าจ้างแรงงานต่อไป เมื่อพิจารณาควบคู่กับ Personal expense to amount of processing ratio และ Salaries & allowance for director & officers จะสามารถบอกถึงประสิทธิภาพแรงงานของกิจการได้
% of Salaries & allowance for director and officers
เป็นดัชนีระหว่างค่าตอบแทนแรงงานทางอ้อมกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ % of Amount of processing per employee, Total manufacturing cost และ Personal expense to amount of processing ratio
% of Freight paid
เป็นดัชนีระหว่างค่าขนส่งซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งและค่าหีบห่อที่บรรจุสินค้าสำเร็จรูปที่มีไว้เพื่อขายไปยังผู้ซื้อหรือผู้บริโภคโดยที่ยังไม่ได้รวมค่าขนส่งนั้นในมูลค่าสินค้าที่ขายเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ดัชนีนี้ถ้าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมแสดงถึงการบริหาร Supply chain ที่ไม่มีประสิทธิภาพของกิจการ ดัชนีนี้จะช่วยกิจการในเรื่องการวางแผนการตลาดหาช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นที่มีต้นทุนต่ำลง เช่น E-Commerce เป็นต้น
% of Promotion expense
เป็นดัชนีระหว่างค่าใช้จ่ายด้านการขายและการตลาดกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ Amount of processing ratio
% of Interest expense
เป็นดัชนีระหว่างค่าดอกเบี้ยและส่วนลดจ่ายกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ถ้าดัชนีนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม จะส่งผลถึงความสามารถในการก่อหนี้ของกิจการในอนาคตและสภาพคล่องของกิจการได้ การพิจารณาควรพิจารณาควบคู่กับดัชนีด้านการบริหารการเงิน (Financial Management Ratios)
% of Office depreciation
เป็นดัชนีระหว่างค่าเสื่อมราคาอาคารสำนักงานและอุปกรณ์สำนักงานกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร หากกิจการลงทุนในอุปกรณ์ต่าง ๆ มากเกินไป ก็จะส่งผลให้ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลิตสูง และส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นด้วยและที่สำคัญต้นทุนในส่วนสำนักงานไม่มีส่วนช่วยในการผลิตไม่เหมือนกับในส่วนของโรงงาน เพราะฉะนั้นดัชนีนี้ของกิจการไม่ควรมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมและไม่ควรมากกว่าค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรอุปกรณ์cost ในส่วนของโรงงานด้วย
% of Tax & other public charges
เป็นดัชนีระหว่างภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จ่ายให้รัฐบาลกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงาน และผู้บริหาร การจัดสรรภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการดำเนินงาน เป็นส่วนที่รัฐบาลจะได้รับหลังหักส่วนของพนักงานและเจ้าหนี้เงินกู้แล้ว
% of R&D expense
เป็นดัชนีระหว่างค่าใช้จ่ายในการวิจัยพัฒนากับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร สำหรับค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาจะช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ช่วยเพิ่มความแตกต่าง ในตัวสินค้า การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ Amount of processing ratio โดยควรพิจารณาเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม หรือเปรียบเทียบค่า Amount of processing ratio ระหว่างก่อนและหลังมีการวิจัยและพัฒนา
% of Total selling & admin expense
เป็นดัชนีระหว่างค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในส่วนของการขายและบริหารทั้งหมดซึ่งรวมไปถึงค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหารเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ซึ่งค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายหลักตัวหนึ่งที่สามารถควบคุมได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริม การขาย ค่าเช่าสำนักงาน ตลอดจนค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าในสำนักงาน เป็นต้น หากดัชนีนี้มีค่าน้อยแสดงถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ หากดัชนีมีค่าสูง แสดงถึงจุดรั่วไหลของค่าใช้จ่ายและจะสะท้อนไปที่ผลประกอบการของกิจการให้ต่ำลงไปด้วย
ดัชนีด้านการบริหารการเงิน ( Financial Management Ratios )
ดัชนีด้านการบริหารการเงินเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินฐานะการเงิน ประสิทธิภาพ และความสามารถในการทำกำไรของกิจการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่วัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios) กลุ่มวัดความสามารถในการใช้สินทรัพย์ (Activity Ratios) กลุ่มวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratios) และกลุ่มวัดความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage Ratios) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีความความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน การวิเคราะห์จึงไม่สามารถใช้ดัชนีเพียงตัวเดียวเพราะฉะนั้นการมีดัชนีการบริหารการเงินที่ละเอียดจะให้ภาพที่ชัดเจนในการวิเคราะห์มากขึ้น อย่างไรก็ตามดัชนีทางการเงินมีข้อจำกัดในตัวเองอยู่มาก ยกตัวอย่างเช่น นโยบายทางบัญชี วิธีการประเมินค่าสินทรัพย์ การตัดค่าใช้จ่าย และสิ่งที่ต้องพึงระวังคือตัวเลขที่ได้จากดัชนีทางการเงินเพียงปีเดียวไม่ได้ให้ความหมายอะไรมากนัก แต่ถ้าสามารถศึกษาดัชนีเฉพาะจุดต่อเนื่องกันหลาย ๆ ปีจะสามารถบอกแนวโน้มได้ และที่สำคัญที่สุดคืองบการเงินที่ใช้วิเคราะห์เป็นงบการเงินในอดีต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ผลการวิเคราะห์ที่ได้จึงเป็นแค่เครื่องมือชี้แนะส่วนที่ควรจะเป็นแต่ไม่ได้รับประกันว่าจะต้องเกิดขึ้นซ้ำในอนาคต
(ยังมีต่อ)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-ลจ-
อนึ่ง การจัดสร้างดัชนีชี้วัดสถานภาพและศักยภาพอุตสาหกรรมดังกล่าว ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นในโครงการสร้างระบบประเมินวิเคราะห์สถานประกอบการภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ซึ่งได้ชี้แนะและให้คำแนะนำในการสร้างสูตรคำนวณดัชนีต่าง ๆ โดยพิจารณาให้มีความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลในประเทศไทย
ดัชนีด้านการบริหารต้นทุน (Cost Management Ratios)
โครงสร้างต้นทุนของกิจการโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในส่วนการผลิต (Production Cost) และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (Selling & Admin Expense) ซึ่งในส่วนของค่าใช้จ่ายในการผลิตยังสามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นต้นทุนการผลิตทางตรงและต้นทุนการผลิตทางอ้อม การวัดดัชนีการบริหารต้นทุนจะเป็นการหาสัดส่วนในรายละเอียดของค่าใช้จ่ายดังกล่าวเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการ ซึ่งผลจากการตีความหมายดัชนีดังกล่าวนี้สามารถใช้แยกประเภทของกิจการได้ตามสัดส่วนต้นทุนที่เกิดขึ้นได้ระดับหนึ่งนอกเหนือจากการวัดประสิทธิภาพการบริหารต้นทุน ดังจะกล่าวในลำดับต่อไป
ดัชนีด้านการบริหารต้นทุน (Cost Management Ratios) ตั้งแต่ข้อ 1 - 4 และ ข้อ 8 จะเป็นการพิจารณาในส่วนของต้นทุนการผลิตทางตรงเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการ ต้นทุนการผลิตทางตรงจะมีผลต่อคุณภาพของสินค้าและมูลค่าเพิ่มของกิจการเพราะฉะนั้นการควบคุมต้นทุนการผลิตในส่วนนี้จะต้องใช้ความรอบคอบมากกว่าต้นทุนการผลิตในส่วนอื่น สำหรับข้อ 5 ถึงข้อ 7 จะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างต้นทุนการผลิตทางอ้อมกับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการ ซึ่งการควบคุมต้นทุนในส่วนนี้จะทำได้ง่ายกว่าในส่วนแรก ข้อ 9 เป็นสัดส่วนของต้นทุนแรงงานทั้งหมดซึ่งจะรวมในส่วนสำนักงานเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการ และตั้งแต่ข้อ 11 ถึงข้อ 18 จะเป็นสัดส่วนระหว่างค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการ ความสำคัญของดัชนีในส่วนนี้จะบอกถึงความเข้มข้นของต้นทุนที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตของกิจการว่ามีน้ำหนักอยู่ที่ส่วนใด และสามารถแยกประเภทของกิจการได้ในระดับหนึ่ง เช่น ถ้า % of Production labor cost ratio มากกว่า % of Depreciation มาก ลักษณะของกิจการนั้นอาจเป็นกิจการที่ใช้แรงงานเข้มข้น (Labor intensive) หรือถ้า % of Depreciation สูงมากอาจถือเป็นกิจการที่ใช้ทุนเข้มข้น (Capital intensive) หรือมีการลงทุนในเครื่องจักรค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามอาจต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วยเช่น อายุของเครื่องจักร นโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร วันจดทะเบียนจัดตั้งกิจการ เป็นต้น นอกจากดัชนีในกลุ่มนี้จะบอกถึงประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนทั้งต้นทุนการผลิตทางตรงและต้นทุนการผลิตทางอ้อมของกิจการแล้ว ความสำคัญอีกนัยหนึ่งคือทำให้ทราบถึงแนวโน้มของต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นในแต่ละอุตสาหกรรมว่ามีสัดส่วนแตกต่างกันอย่างไร สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดนโยบายหรือปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนในกิจการโดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมนั้น ๆ
% of Materials cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ซึ่งในอุตสาหกรรมการผลิต วัตถุดิบจะเป็นต้นทุนผันแปรรายการสำคัญในการผลิตและมีผลกระทบต่อมูลค่าเพิ่มของกิจการ หากดัชนีมีค่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม แสดงว่ากิจการมีต้นทุนด้านวัตถุดิบสูง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการจัดหาวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพหรือความเสียหายจากการจัดเก็บวัตถุดิบที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการสูญเสียวัตถุดิบไปในกระบวนการผลิตจำนวนมากหรืออาจเกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเอง หากดัชนีมีค่าน้อยแสดงว่ากิจการมีการบริหารวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจต้องพิจารณาร่วมกับดัชนีตัวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข่น Raw materials turnover หรือ Material cost to production value ratio
% of Purchased parts cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าวัสดุสิ้นเปลืองซึ่งหมายถึงชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ใช้สิ้นเปลืองและหมดไปในการผลิตในงวดนั้น ๆ กับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ค่าวัสดุสิ้นเปลืองหรือค่าโสหุ้ยเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถควบคุมได้และไม่ควรจะมีมากเกินค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมเพราะถ้ามีมากเกินไปจะแสดงถึงการรั่วไหลของค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
% of Subcontracting cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าจ้างเหมาจ่ายที่จ่ายให้กับหน่วยงานภายนอกเพื่อผลิตสินค้าสำเร็จรูปให้กิจการกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ดัชนีนี้อาจมีส่วนช่วยตัดสินใจในการลงทุนเพิ่มของกิจการ กล่าวคือหากดัชนีมีค่าสูงกิจการอาจจะต้องพิจารณาว่าถ้ากิจการผลิตด้วยตนเองแทนการจ้างผลิต จะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ จำเป็นต้องขยายสายการผลิตหรือลงทุนในเครื่องจักรเพิ่มหรือไม่ เป็นต้น หรือในอีกลักษณะหนึ่งคือกิจการสามารถลดต้นทุนส่วนนี้ลงได้หรือไม่
% of Production labor cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าตอบแทนแรงงานทางตรงหรือเฉพาะในส่วนของโรงงานกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ถ้าดัชนีนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมจะส่งผลถึงประสิทธิภาพของกิจการในด้านอื่นได้ การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ Amount of processing per employee เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานกับสัดส่วนต้นทุนแรงงานดังกล่าว สามารถชี้วัดความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนแรงงานของกิจการโดยเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังใช้วัดความเข้มข้นของการใช้แรงงานในกิจการได้
% of Depreciation
เป็นดัชนีระหว่างค่าเสื่อมราคาอาคาร โรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ในการผลิตกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ Efficiency of machinery investment เพราะหากกิจการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ในการผลิตมากแต่ใช้ไม่เต็มที่ ก็จะส่งผลให้ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลิตสูง และส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้นดัชนีนี้สามารถบอกถึงประเภทของกิจการได้ กล่าวคือถ้าดัชนีนี้มีค่าสูงกว่า % of Production labor cost นั่นแสดงว่าเป็นกิจการที่ใช้ความเข้มข้นของทุนในรูปของเครื่องจักรในการผลิต (Capital Intensive Industry) เป็นต้น
% of Rent
เป็นดัชนีระหว่างค่าเช่าอาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร หากดัชนีนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม กิจการจะต้องหันมาทบทวนนโยบายการลงทุนใหม่ระหว่างการลงทุนเพิ่มในอาคาร เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตกับเงินที่เสียไปในรูปของค่าเช่า ซึ่งจะต้องมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาร่วมในการพิจารณาด้วย เช่น กลยุทธ์ของกิจการในระยะยาว ภาวะและแนวโน้มอุตสาหกรรม สภาพคล่องของกิจการ ความสามารถในการก่อหนี้ และความสามารถในการทำกำไรของกิจการ เป็นต้น
% of Maintenance cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเครื่องจักรประจำปี ซึ่งหมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ใช้เพื่อซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาเครื่องจักรเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่รวมค่าซ่อมแซมเครื่องจักรที่เกิดขึ้นโดยมีผลให้เครื่องจักรสามารถใช้งานได้อีกเป็นเวลานานกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ Efficiency of machinery investment เพราะถ้าดัชนีนี้มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมในขณะที่ Efficiency of machinery investment สูงด้วย Maintenance cost ที่เกิดขึ้นอาจมีส่วนช่วยในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กิจการ คือช่วยให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพตาม capacity ในทางตรงข้ามหากเกิดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากในขณะที่ไม่เกิดการเพิ่มผลผลิตตาม อาจต้องพิจารณาว่าเครื่องจักรเก่าเกินไปและจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ รวมไปถึงความรู้ความเข้าใจของผู้ใช้เครื่องจักรหรือผู้บำรุงรักษา เป็นต้น
% of Utility & energy cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าพลังงาน เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา น้ำมันเตา ถ่านหิน และอื่น ๆ กับต้นทุนที่เกิดขึ้นของ กิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ในอุตสาหกรรมหนักค่าพลังงานจะเป็นค่าใช้จ่ายทางตรงที่ค่อนข้างสูงและมีผลกระทบต่อมูลค่าเพิ่มของกิจการเช่นกัน หากดัชนีมีค่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม แสดงว่ากิจการมีการใช้พลังงานสิ้นเปลือง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการใช้เครื่องจักรอย่างไม่ถูกวิธี ก่อให้เกิดการสูญเสียในกระบวนการผลิตสูง หรือกระบวนการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้มีงาน Rework ที่ต้องนำกลับไปผลิตใหม่ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะทำให้กิจการมีภาระต้นทุนที่สูงขึ้น ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
% of Total labor cost
เป็นดัชนีระหว่างค่าตอบแทนแรงงานและค่าสวัสดิการต่างๆ ของกิจการทั้งหมดกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงาน และผู้บริหาร ผลต่างระหว่าง % of Total labor cost กับ % of Production labor cost จะเป็นดัชนีในส่วนของค่าแรงงานทางอ้อมหรือในส่วนของสำนักงานเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ดัชนีนี้สามารถใช้พิจารณาถึงความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนแรงงานของกิจการและกำหนดนโยบายค่าจ้างแรงงานของกิจการ การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ % of Amount of processing per employee เพราะค่าตอบแทนแรงงานคือส่วนแบ่งที่แรงงานได้รับจากมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในกิจการ หากดัชนี % of Total Labor cost สูง ในขณะที่ % of Amount of processing per employee ต่ำ นั่นแสดงถึงมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในกิจการถูกจัดสรรไปสู่แรงงานมากเกินไป ซึ่งจะมีผลทำให้ส่วนของการดำเนินงานหรือส่วนที่เจ้าของทุนได้รับต่ำ
% of Total manufacturing cost
เป็นดัชนีระหว่างต้นทุนที่เกิดขึ้นในส่วนผลิตทั้งหมดทั้งในส่วนของต้นทุนทางตรงและ ต้นทุนทางอ้อมเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ดัชนีนี้จะให้ภาพกว้าง ๆ ของกิจการเปรียบเทียบระหว่างสัดส่วนต้นทุนที่ใช้ในการผลิตและต้นทุนในส่วนการขายและบริหาร เพื่อใช้เปรียบเทียบกับ ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมและเพื่อกำหนดเป็นนโยบายค่าจ้างแรงงานต่อไป เมื่อพิจารณาควบคู่กับ Personal expense to amount of processing ratio และ Salaries & allowance for director & officers จะสามารถบอกถึงประสิทธิภาพแรงงานของกิจการได้
% of Salaries & allowance for director and officers
เป็นดัชนีระหว่างค่าตอบแทนแรงงานทางอ้อมกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ % of Amount of processing per employee, Total manufacturing cost และ Personal expense to amount of processing ratio
% of Freight paid
เป็นดัชนีระหว่างค่าขนส่งซึ่งหมายถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งและค่าหีบห่อที่บรรจุสินค้าสำเร็จรูปที่มีไว้เพื่อขายไปยังผู้ซื้อหรือผู้บริโภคโดยที่ยังไม่ได้รวมค่าขนส่งนั้นในมูลค่าสินค้าที่ขายเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ดัชนีนี้ถ้าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมแสดงถึงการบริหาร Supply chain ที่ไม่มีประสิทธิภาพของกิจการ ดัชนีนี้จะช่วยกิจการในเรื่องการวางแผนการตลาดหาช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นที่มีต้นทุนต่ำลง เช่น E-Commerce เป็นต้น
% of Promotion expense
เป็นดัชนีระหว่างค่าใช้จ่ายด้านการขายและการตลาดกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ Amount of processing ratio
% of Interest expense
เป็นดัชนีระหว่างค่าดอกเบี้ยและส่วนลดจ่ายกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ถ้าดัชนีนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม จะส่งผลถึงความสามารถในการก่อหนี้ของกิจการในอนาคตและสภาพคล่องของกิจการได้ การพิจารณาควรพิจารณาควบคู่กับดัชนีด้านการบริหารการเงิน (Financial Management Ratios)
% of Office depreciation
เป็นดัชนีระหว่างค่าเสื่อมราคาอาคารสำนักงานและอุปกรณ์สำนักงานกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร หากกิจการลงทุนในอุปกรณ์ต่าง ๆ มากเกินไป ก็จะส่งผลให้ค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลิตสูง และส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นด้วยและที่สำคัญต้นทุนในส่วนสำนักงานไม่มีส่วนช่วยในการผลิตไม่เหมือนกับในส่วนของโรงงาน เพราะฉะนั้นดัชนีนี้ของกิจการไม่ควรมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมและไม่ควรมากกว่าค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรอุปกรณ์cost ในส่วนของโรงงานด้วย
% of Tax & other public charges
เป็นดัชนีระหว่างภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จ่ายให้รัฐบาลกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงาน และผู้บริหาร การจัดสรรภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการดำเนินงาน เป็นส่วนที่รัฐบาลจะได้รับหลังหักส่วนของพนักงานและเจ้าหนี้เงินกู้แล้ว
% of R&D expense
เป็นดัชนีระหว่างค่าใช้จ่ายในการวิจัยพัฒนากับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการ ซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร สำหรับค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาจะช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ช่วยเพิ่มความแตกต่าง ในตัวสินค้า การวิเคราะห์ควรพิจารณาควบคู่กับ Amount of processing ratio โดยควรพิจารณาเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม หรือเปรียบเทียบค่า Amount of processing ratio ระหว่างก่อนและหลังมีการวิจัยและพัฒนา
% of Total selling & admin expense
เป็นดัชนีระหว่างค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในส่วนของการขายและบริหารทั้งหมดซึ่งรวมไปถึงค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหารเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นของกิจการทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าตอบแทนแรงงานรวมทั้งสถานประกอบการซึ่งจะรวมคนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ในสำนักงานและผู้บริหาร ซึ่งค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายหลักตัวหนึ่งที่สามารถควบคุมได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริม การขาย ค่าเช่าสำนักงาน ตลอดจนค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้าในสำนักงาน เป็นต้น หากดัชนีนี้มีค่าน้อยแสดงถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ หากดัชนีมีค่าสูง แสดงถึงจุดรั่วไหลของค่าใช้จ่ายและจะสะท้อนไปที่ผลประกอบการของกิจการให้ต่ำลงไปด้วย
ดัชนีด้านการบริหารการเงิน ( Financial Management Ratios )
ดัชนีด้านการบริหารการเงินเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินฐานะการเงิน ประสิทธิภาพ และความสามารถในการทำกำไรของกิจการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่วัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios) กลุ่มวัดความสามารถในการใช้สินทรัพย์ (Activity Ratios) กลุ่มวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratios) และกลุ่มวัดความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage Ratios) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีความความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน การวิเคราะห์จึงไม่สามารถใช้ดัชนีเพียงตัวเดียวเพราะฉะนั้นการมีดัชนีการบริหารการเงินที่ละเอียดจะให้ภาพที่ชัดเจนในการวิเคราะห์มากขึ้น อย่างไรก็ตามดัชนีทางการเงินมีข้อจำกัดในตัวเองอยู่มาก ยกตัวอย่างเช่น นโยบายทางบัญชี วิธีการประเมินค่าสินทรัพย์ การตัดค่าใช้จ่าย และสิ่งที่ต้องพึงระวังคือตัวเลขที่ได้จากดัชนีทางการเงินเพียงปีเดียวไม่ได้ให้ความหมายอะไรมากนัก แต่ถ้าสามารถศึกษาดัชนีเฉพาะจุดต่อเนื่องกันหลาย ๆ ปีจะสามารถบอกแนวโน้มได้ และที่สำคัญที่สุดคืองบการเงินที่ใช้วิเคราะห์เป็นงบการเงินในอดีต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ผลการวิเคราะห์ที่ได้จึงเป็นแค่เครื่องมือชี้แนะส่วนที่ควรจะเป็นแต่ไม่ได้รับประกันว่าจะต้องเกิดขึ้นซ้ำในอนาคต
(ยังมีต่อ)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-ลจ-