ดัชนีชี้วัดสถานภาพของสถานประกอบการ (Performance Ratios)
Amount of production per employee
คือดัชนีมูลค่าขายของสินค้าที่ผลิตต่อจำนวนแรงงานทั้งหมด แสดงถึงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคนเมื่อเทียบกับมูลค่าขายของสินค้าที่ผลิตได้ เป็นการวัดประสิทธิภาพแรงงานในเชิงมูลค่า กล่าวคือ แรงงาน 1 คน สามารถสร้างยอดขายของสินค้าที่ผลิตให้กิจการเป็นมูลค่าเท่าไร ดัชนีตัวนี้ถ้ามีค่าสูงจะดี ถ้าน้อยจะแสดงถึงประสิทธิภาพแรงงานต่ำ อย่างไรก็ตามมีข้อระวังในการตีความหมาย กล่าวคือ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของมูลค่าขายของสินค้าที่ผลิตอาจไม่ได้มาจากประสิทธิภาพแรงงานแต่อาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงราคาขายหรือปริมาณขายได้ หากใช้มูลค่าเพิ่มวิเคราะห์การตีความหมายจะถูกต้องมากกว่าเพราะมูลค่าเพิ่มคือมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานที่เพิ่มให้กับสิ่งที่ซื้อมาจากภายนอก ดังนั้นการพิจารณาร่วมกับดัชนีตัวอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันจะช่วยยืนยันและเกิดความถูกต้องมากขึ้น
Amount of processing per employee
เป็นการวัดการผลิตภาพแรงงานเชิงมูลค่าเพิ่ม (Value-added Productivity) ดัชนีนี้จะบอกถึงประสิทธิภาพของแรงงานหนึ่งหน่วยในการทำให้เกิดผลประโยชน์ที่เกิดจากกระบวนการผลิตหลังหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องออกแล้ว ถ้าดัชนีนี้มีค่าสูงแสดงถึงประสิทธิภาพของแรงงานต่อมูลค่าที่เกิดจากกระบวนการผลิตสุทธิสูง อย่างไรก็ตาม การพิจารณาควรดูควบคู่ไปกับ Amount of production per employee
Amount of processing ratio
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าการขายสุทธิกับมูลค่าการขายสินค้าที่ผลิต ดัชนีนี้จะบอกถึงความมีประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าชิ้นส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต และค่าจ้างเหมาจ่ายที่จ้างหน่วยงานภายนอกผลิต กล่าวคือ ถ้าดัชนีมีค่ามากแสดงถึง กิจการมีประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายดังกล่าว และจะดียิ่งขึ้นถ้าค่านี้อยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ในกรณีตรงข้าม หากดัชนีนี้มีค่าน้อยแสดงถึงความไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่าย เป็นการช่วยตรวจสอบจุดรั่วไหลของค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นของกิจการได้อีกทางหนึ่ง
Personal expense to amount of processing ratio
ดัชนีของค่าตอบแทนแรงงานทั้งหมดต่อมูลค่าเพิ่ม ดัชนีนี้ใช้พิจารณาควบคู่กับ Amount of processing per employee เป็นการพิจารณาจัดสรรเงินให้พนักงาน คือ ส่วนแบ่งของพนักงานที่ได้รับจากมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในกิจการ หรือแสดงถึงค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายให้แก่พนักงานในรูปของ เงินเดือน โบนัส และสวัสดิการต่างๆ เทียบกับมูลค่าเพิ่มที่พนักงานร่วมกันสร้างขึ้น หากดัชนีมีค่าสูง แสดงว่ามูลค่าเพิ่มในกิจการถูกจัดสรรไปสู่พนักงานมาก ซึ่งก็หมายถึงว่าส่วนของการดำเนินงานหรือส่วนที่เจ้าของทุนได้รับจะต่ำ อาจใช้ดัชนีนี้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเรื่องนโยบายค่าจ้างแรงงานของกิจการได้อีกทางหนึ่ง
Efficiency of machinery investment Ratio
ประสิทธิภาพการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ คือดัชนีมูลค่าเพิ่มต่อมูลค่าสินทรัพย์ประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ แสดงถึงการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเครื่องจักรอุปกรณ์ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด หรือมีการใช้เครื่องจักรได้เต็มที่หรือไม่ หากดัชนีมีค่าน้อย แสดงว่าเครื่องจักรที่มีอยู่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ในกรณีนี้อาจเกิดจากการลงทุนในเครื่องจักรมากเกินกว่าการผลิตจริง หรือมีการจัดการเครื่องจักรไม่ดีพอ ตลอดจนการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ไม่ถูกวิธี จึงทำให้ผลิตได้ไม่เต็มที่ อนึ่งการวัดประสิทธิภาพการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ต้องพิจารณาประกอบกับการหมุนเวียนของเครื่องจักรและอุปกรณ์และดัชนีตัวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
Value of machines per employee
ความเข้มข้นในการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์แสดงถึงความสัมพันธ์ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานต่อจำนวนพนักงานว่ามีความเหมาะสมเพียงใดและความเหมาะสมดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับประเภทของ อุตสาหกรรมด้วย เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่เน้นทุนในการดำเนินงาน (Capital Intensive) ก็จะมีค่าของดัชนีตัวนี้สูงกว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอที่จัดเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นแรงงานในการดำเนินงาน (Labor Intensive) ดังนั้นการที่บริษัทแผงวงจรไฟฟ้ามีดัชนีตัวนี้ที่มีค่าสูงกว่าบริษัทเสื้อผ้าสำเร็จรูป ก็ไม่ได้หมายความว่าบริษัทแผงวงจรไฟฟ้ามีการลงทุนที่มากเกินไป เป็นต้น
Material cost to production value ratio
เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงสัดส่วนค่าวัตถุดิบต่อมูลค่าสินค้าที่ผลิต ในกรณีที่ค่าดัชนีนี้มีค่าสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขในอดีตหรือค่าเฉลี่ยของกิจการ อาจเกิดจากกระบวนการจัดหาวัตถุดิบไม่มีคุณภาพหรือมีความเสียหายจากการจัดเก็บไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามวัตถุดิบถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ การปล่อยให้ค่าวัตถุดิบสูงเกินไปก็จะมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ และกำไรของกิจการในที่สุด โดยควรพิจารณาควบคู่กับ raw materials turnover หรือ material cost ratio
Labor cost to production value ratio
เป็นอัตราส่วนที่แสดงสัดส่วนค่าตอบแทนแรงงานทางตรงต่อมูลค่าสินค้าที่ผลิตดัชนีสามารถบอกถึงความเข้มข้นของแรงงานในกระบวนการผลิตได้ ในกรณีที่มีการปรับขึ้นค่าแรงอาจทำให้อัตราส่วนนี้สูงขึ้นแต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นผลลบของกิจการเสมอไปเพราะต้องพิจารณาคู่กับ Amount of processing per employee การเพิ่มขึ้นของ Labor cost to production value ratio น้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของ Amount of processing per employee ถือว่ากิจการมีประสิทธิภาพของแรงงานที่ดีเมื่อเทียบกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น
การวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดการเพิ่มผลผลิต (Analysis of Productivity Index)
การวิเคราะห์ดัชนีมูลค่าเพิ่มในระดับกิจการ สามารถทำการวิเคราะห์ได้ 3 รูปแบบ คือ 1. การวิเคราะห์สถานะในปัจจุบันของกิจการ 2. การวิเคราะห์กับข้อมูลในอดีต 3. การเปรียบเทียบกับ เป้าหมายของกิจการ ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม และคู่แข่งขัน
การวิเคราะห์สถานะในปัจจุบันของกิจการ เพื่อให้ผู้บริหารทราบจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง หาสาเหตุของปัญหาหรือจุดด้อยในกิจการเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในอนาคต เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ Factor Analysis หรือการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของแต่ละดัชนี เพื่อนำไปสู่สาเหตุของปัญหาหรือปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อดัชนีนั้น
การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีต การวิเคราะห์แบบนี้ทำให้ผู้บริหารทราบว่าการบริหารทรัพยากรของบริษัทในอดีตที่ผ่านมามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงใด มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือถดถอยอย่างไร นอกจากนี้ผู้บริหารสามารถนำมาเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการคาดการณ์แนวโน้มของบริษัทได้อีกด้วย วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เนื่องจากเป็นข้อมูลที่อยู่ภายในบริษัทเอง การวิเคราะห์แนวโน้ม โดยการใช้ข้อมูลในอดีต สามารถเปรียบเทียบโดยใช้ กราฟเส้น (Line Chart) กราฟพื้นที่ (Area Chart) หรือ กราฟแท่ง (Bar Chart)
การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมหรือคู่แข่งขัน การวิเคราะห์ในรูปแบบสุดท้ายนี้เพื่อให้บริษัทกำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างความสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ตนเองอยู่ได้ โดยเมื่อผู้บริหารทราบถึงสถานะของตนเองในกลุ่มอุตสาหกรรมว่าเป็นผู้นำหรือเป็นผู้ตามในด้านใดก็สามารถนำมากำหนดกลยุทธ์และวางแผนเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันในอนาคตได้ การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมจะใช้กราฟเรดาห์ (Radar Chart) มาเป็นเครื่องมือในการพิจารณา
โดยสรุปแล้วดัชนีทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นจะให้ความสำคัญในด้านอุปทาน (Supply Side) โดยพิจารณาในรูปของค่าเฉลี่ยของ 13 อุตสาหกรรมเป้าหมายตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม และเนื่องจากโครงการนี้เริ่มต้นจัดเก็บข้อมูลเพียงปี 2541 เท่านั้นทำให้มีข้อมูลด้านรายได้ ต้นทุนการผลิต และด้านแรงงานไม่เพียงพอในการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างปี ดัชนีที่ได้จึงอยู่ในรูปของอัตราส่วน หากในอนาคตสามารถจัดเก็บได้ต่อเนื่องระยะเวลาหนึ่งก็มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นดัชนีชี้วัดสถานภาพสถานประกอบการที่สมบูรณ์ต่อไป
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-ลจ-
Amount of production per employee
คือดัชนีมูลค่าขายของสินค้าที่ผลิตต่อจำนวนแรงงานทั้งหมด แสดงถึงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคนเมื่อเทียบกับมูลค่าขายของสินค้าที่ผลิตได้ เป็นการวัดประสิทธิภาพแรงงานในเชิงมูลค่า กล่าวคือ แรงงาน 1 คน สามารถสร้างยอดขายของสินค้าที่ผลิตให้กิจการเป็นมูลค่าเท่าไร ดัชนีตัวนี้ถ้ามีค่าสูงจะดี ถ้าน้อยจะแสดงถึงประสิทธิภาพแรงงานต่ำ อย่างไรก็ตามมีข้อระวังในการตีความหมาย กล่าวคือ การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของมูลค่าขายของสินค้าที่ผลิตอาจไม่ได้มาจากประสิทธิภาพแรงงานแต่อาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงราคาขายหรือปริมาณขายได้ หากใช้มูลค่าเพิ่มวิเคราะห์การตีความหมายจะถูกต้องมากกว่าเพราะมูลค่าเพิ่มคือมูลค่าที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานที่เพิ่มให้กับสิ่งที่ซื้อมาจากภายนอก ดังนั้นการพิจารณาร่วมกับดัชนีตัวอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันจะช่วยยืนยันและเกิดความถูกต้องมากขึ้น
Amount of processing per employee
เป็นการวัดการผลิตภาพแรงงานเชิงมูลค่าเพิ่ม (Value-added Productivity) ดัชนีนี้จะบอกถึงประสิทธิภาพของแรงงานหนึ่งหน่วยในการทำให้เกิดผลประโยชน์ที่เกิดจากกระบวนการผลิตหลังหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องออกแล้ว ถ้าดัชนีนี้มีค่าสูงแสดงถึงประสิทธิภาพของแรงงานต่อมูลค่าที่เกิดจากกระบวนการผลิตสุทธิสูง อย่างไรก็ตาม การพิจารณาควรดูควบคู่ไปกับ Amount of production per employee
Amount of processing ratio
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าการขายสุทธิกับมูลค่าการขายสินค้าที่ผลิต ดัชนีนี้จะบอกถึงความมีประสิทธิภาพในการบริหารค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าชิ้นส่วนต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต และค่าจ้างเหมาจ่ายที่จ้างหน่วยงานภายนอกผลิต กล่าวคือ ถ้าดัชนีมีค่ามากแสดงถึง กิจการมีประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายดังกล่าว และจะดียิ่งขึ้นถ้าค่านี้อยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ในกรณีตรงข้าม หากดัชนีนี้มีค่าน้อยแสดงถึงความไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่าย เป็นการช่วยตรวจสอบจุดรั่วไหลของค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นของกิจการได้อีกทางหนึ่ง
Personal expense to amount of processing ratio
ดัชนีของค่าตอบแทนแรงงานทั้งหมดต่อมูลค่าเพิ่ม ดัชนีนี้ใช้พิจารณาควบคู่กับ Amount of processing per employee เป็นการพิจารณาจัดสรรเงินให้พนักงาน คือ ส่วนแบ่งของพนักงานที่ได้รับจากมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในกิจการ หรือแสดงถึงค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายให้แก่พนักงานในรูปของ เงินเดือน โบนัส และสวัสดิการต่างๆ เทียบกับมูลค่าเพิ่มที่พนักงานร่วมกันสร้างขึ้น หากดัชนีมีค่าสูง แสดงว่ามูลค่าเพิ่มในกิจการถูกจัดสรรไปสู่พนักงานมาก ซึ่งก็หมายถึงว่าส่วนของการดำเนินงานหรือส่วนที่เจ้าของทุนได้รับจะต่ำ อาจใช้ดัชนีนี้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเรื่องนโยบายค่าจ้างแรงงานของกิจการได้อีกทางหนึ่ง
Efficiency of machinery investment Ratio
ประสิทธิภาพการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ คือดัชนีมูลค่าเพิ่มต่อมูลค่าสินทรัพย์ประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ แสดงถึงการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเครื่องจักรอุปกรณ์ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด หรือมีการใช้เครื่องจักรได้เต็มที่หรือไม่ หากดัชนีมีค่าน้อย แสดงว่าเครื่องจักรที่มีอยู่นำมาใช้ในการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ในกรณีนี้อาจเกิดจากการลงทุนในเครื่องจักรมากเกินกว่าการผลิตจริง หรือมีการจัดการเครื่องจักรไม่ดีพอ ตลอดจนการใช้เครื่องจักรอุปกรณ์ไม่ถูกวิธี จึงทำให้ผลิตได้ไม่เต็มที่ อนึ่งการวัดประสิทธิภาพการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ต้องพิจารณาประกอบกับการหมุนเวียนของเครื่องจักรและอุปกรณ์และดัชนีตัวอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
Value of machines per employee
ความเข้มข้นในการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์แสดงถึงความสัมพันธ์ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงานต่อจำนวนพนักงานว่ามีความเหมาะสมเพียงใดและความเหมาะสมดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับประเภทของ อุตสาหกรรมด้วย เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่เน้นทุนในการดำเนินงาน (Capital Intensive) ก็จะมีค่าของดัชนีตัวนี้สูงกว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอที่จัดเป็นอุตสาหกรรมที่เน้นแรงงานในการดำเนินงาน (Labor Intensive) ดังนั้นการที่บริษัทแผงวงจรไฟฟ้ามีดัชนีตัวนี้ที่มีค่าสูงกว่าบริษัทเสื้อผ้าสำเร็จรูป ก็ไม่ได้หมายความว่าบริษัทแผงวงจรไฟฟ้ามีการลงทุนที่มากเกินไป เป็นต้น
Material cost to production value ratio
เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงสัดส่วนค่าวัตถุดิบต่อมูลค่าสินค้าที่ผลิต ในกรณีที่ค่าดัชนีนี้มีค่าสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลขในอดีตหรือค่าเฉลี่ยของกิจการ อาจเกิดจากกระบวนการจัดหาวัตถุดิบไม่มีคุณภาพหรือมีความเสียหายจากการจัดเก็บไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามวัตถุดิบถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ การปล่อยให้ค่าวัตถุดิบสูงเกินไปก็จะมีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ และกำไรของกิจการในที่สุด โดยควรพิจารณาควบคู่กับ raw materials turnover หรือ material cost ratio
Labor cost to production value ratio
เป็นอัตราส่วนที่แสดงสัดส่วนค่าตอบแทนแรงงานทางตรงต่อมูลค่าสินค้าที่ผลิตดัชนีสามารถบอกถึงความเข้มข้นของแรงงานในกระบวนการผลิตได้ ในกรณีที่มีการปรับขึ้นค่าแรงอาจทำให้อัตราส่วนนี้สูงขึ้นแต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นผลลบของกิจการเสมอไปเพราะต้องพิจารณาคู่กับ Amount of processing per employee การเพิ่มขึ้นของ Labor cost to production value ratio น้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของ Amount of processing per employee ถือว่ากิจการมีประสิทธิภาพของแรงงานที่ดีเมื่อเทียบกับค่าแรงที่เพิ่มขึ้น
การวิเคราะห์ดัชนีชี้วัดการเพิ่มผลผลิต (Analysis of Productivity Index)
การวิเคราะห์ดัชนีมูลค่าเพิ่มในระดับกิจการ สามารถทำการวิเคราะห์ได้ 3 รูปแบบ คือ 1. การวิเคราะห์สถานะในปัจจุบันของกิจการ 2. การวิเคราะห์กับข้อมูลในอดีต 3. การเปรียบเทียบกับ เป้าหมายของกิจการ ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม และคู่แข่งขัน
การวิเคราะห์สถานะในปัจจุบันของกิจการ เพื่อให้ผู้บริหารทราบจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง หาสาเหตุของปัญหาหรือจุดด้อยในกิจการเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในอนาคต เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ Factor Analysis หรือการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของแต่ละดัชนี เพื่อนำไปสู่สาเหตุของปัญหาหรือปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อดัชนีนั้น
การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีต การวิเคราะห์แบบนี้ทำให้ผู้บริหารทราบว่าการบริหารทรัพยากรของบริษัทในอดีตที่ผ่านมามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงใด มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือถดถอยอย่างไร นอกจากนี้ผู้บริหารสามารถนำมาเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการคาดการณ์แนวโน้มของบริษัทได้อีกด้วย วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เนื่องจากเป็นข้อมูลที่อยู่ภายในบริษัทเอง การวิเคราะห์แนวโน้ม โดยการใช้ข้อมูลในอดีต สามารถเปรียบเทียบโดยใช้ กราฟเส้น (Line Chart) กราฟพื้นที่ (Area Chart) หรือ กราฟแท่ง (Bar Chart)
การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมหรือคู่แข่งขัน การวิเคราะห์ในรูปแบบสุดท้ายนี้เพื่อให้บริษัทกำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างความสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมที่ตนเองอยู่ได้ โดยเมื่อผู้บริหารทราบถึงสถานะของตนเองในกลุ่มอุตสาหกรรมว่าเป็นผู้นำหรือเป็นผู้ตามในด้านใดก็สามารถนำมากำหนดกลยุทธ์และวางแผนเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันในอนาคตได้ การวิเคราะห์เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมจะใช้กราฟเรดาห์ (Radar Chart) มาเป็นเครื่องมือในการพิจารณา
โดยสรุปแล้วดัชนีทั้ง 3 กลุ่มข้างต้นจะให้ความสำคัญในด้านอุปทาน (Supply Side) โดยพิจารณาในรูปของค่าเฉลี่ยของ 13 อุตสาหกรรมเป้าหมายตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม และเนื่องจากโครงการนี้เริ่มต้นจัดเก็บข้อมูลเพียงปี 2541 เท่านั้นทำให้มีข้อมูลด้านรายได้ ต้นทุนการผลิต และด้านแรงงานไม่เพียงพอในการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างปี ดัชนีที่ได้จึงอยู่ในรูปของอัตราส่วน หากในอนาคตสามารถจัดเก็บได้ต่อเนื่องระยะเวลาหนึ่งก็มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นดัชนีชี้วัดสถานภาพสถานประกอบการที่สมบูรณ์ต่อไป
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-ลจ-