กลุ่มที่วัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)
Operating profit to management capital ratio
เป็นดัชนีระหว่างกำไรที่เกิดจากการดำเนินกิจการในรูปของการขายสินค้าและบริการไม่รวมรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น รายได้ค่าเช่าจากที่ดิน รายได้จากการขายสินทรัพย์ ดอกเบี้ยรับ หรือกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของสินทรัพย์ต้นงวดและปลายงวดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการข้างต้น กล่าวคือจะไม่รวมเงินลงทุนในระยะสั้น เช่น เงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือลงทุนในตราสารทางการเงินที่ครบกำหนดภายใน 1 ปี ไม่รวมเงินลงทุนในกิจการอื่น ๆ ระยะยาวซึ่งถือว่ามิใช่การลงทุนที่เกิดขึ้นตามปรกติของกิจการรวมไปถึงอาคารและสิ่งก่อสร้างที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเพราะยังไม่สามารถก่อให้เกิดรายได้ของกิจการ การใช้ค่าเฉลี่ยจะช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรายการระหว่างปีไม่ให้ตัวเลขที่เกิดขึ้นมีมูลค่าสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงมากนัก ดัชนีนี้แสดงถึงผลตอบแทนจากการลงทุน หรือสินทรัพย์ทุนที่ลงทุนไปในการดำเนินงาน สามารถนำมาสร้างกำไรกลับคืนมาให้กิจการได้คุ้มค่ามากน้อยเพียงไร หากค่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม แสดงว่าสินทรัพย์ทุนที่ใช้ในการดำเนินงานไม่สามารถสร้างกำไรในอัตราที่เหมาะสมกลับคืนมายังกิจการ ดังนั้นกิจการอาจต้องพิจารณาลดการลงทุนในส่วนที่ไม่จำเป็นลง
Operating profit to sales ratio
เป็นดัชนีระหว่างกำไรที่เกิดจากการดำเนินกิจการในรูปของการขายสินค้าและบริการไม่รวมรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น รายได้ค่าเช่าจากที่ดิน รายได้จากการขายสินทรัพย์ ดอกเบี้ยรับ หรือกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเปรียบเทียบกับยอดขาย เป็นดัชนีวัดความสามารถในการทำกำไรโดยพิจารณาจากยอดขาย หรือ profit margin ของกิจการ ถ้าดัชนีนี้มีค่าสูง แสดงว่ากิจการมีระบบการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ หรืออาจพิจารณาร่วมกับ Gross profit to sales ratio กล่าวคือ ถ้า Operating profit to sales ratio มีค่าต่ำ ในขณะที่ Gross profit to sales ratio มีค่าสูง แสดงว่ากิจการมีปัญหาในส่วนของการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารและหรือในส่วนของค่าตอบแทนแรงงาน
Ordinary profit to net worth ratio
เป็นดัชนีระหว่างกำไรที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการซึ่งจะรวมกำไรที่เกี่ยวข้องจากการดำเนินกิจการโดยตรงและกำไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของส่วนของเจ้าของต้นงวดและปลายงวด เป็นการวัดความสามารถในการหาผลตอบแทนของกิจการจากเงินลงทุนเฉพาะส่วนของเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นว่าได้มากน้อยเพียงใด หรือเป็นการวัดประสิทธิภาพในการทำกำไรเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนทุน กล่าวคือผลตอบแทนจากการลงทุนของผู้ถือหุ้น คือผลตอบแทนในส่วนของเจ้าของที่ได้รับจากการลงทุนในกิจการ ดังนั้นจึงเป็นดัชนีที่มีความสำคัญใช้พิจารณาร่วมกับการจัดหาเงินทุนในรูปการก่อหนี้ (Leverage Ratio) เช่น หากดัชนีมีค่าน้อยกว่าอุตสาหกรรม แสดงว่าผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนต่ำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการจัดสัดส่วนการลงทุนที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้ส่วนของทุนมากกว่าส่วนของหนี้ ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่า และสำหรับในกิจการขนาดเล็กหรือเจ้าของคนเดียว ส่วนของทุนจะหมายถึงเจ้าของกิจการ (Owner) การพิจารณาในกรณีนี้ควรพิจารณาร่วมกับ Operating profit to management capital ratio จะได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
Ordinary profit to total liabilities and net worth ratio
ดัชนีนี้เป็นการวัดอัตราผลตอบแทนของกำไรหลังหักดอกเบี้ยและภาษีเปรียบเทียบกับแหล่งที่มาของเงินทุนของกิจการ เป็นการวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของฝ่ายจัดการหรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการวัดประสิทธิภาพการทำกำไรเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์ของกิจการ หากดัชนีมีค่าน้อยกว่าอุตสาหกรรมอาจหมายถึงกิจการมีการใช้แหล่งเงินทุนไม่เหมาะสม มีต้นทุนสูงเกินกว่ากำไรที่เกิดขึ้น อาจต้องพิจารณาหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ หรืออาจเป็นเพราะมีการลงทุนในสินทรัพย์มากเกินไปหรือปัญหาอาจมาจากตัว Ordinary profit เองที่มีรายรับน้อยเกินไปหรือมีต้นทุนในส่วนอื่นมากเกินไป ดังนั้นการตีความหมายของดัชนีนี้ต้องใช้ความระมัดระวัง โดยจะต้องพิจารณาร่วมกับ Ordinary profit to own capital ratio หรือ Fixed asset turnover หรือ Cost management ratios ในรายการที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปด้วย
Gross profit to sales ratio
อัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขายเป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรแบบหนึ่งโดยพิจารณาจากส่วนต่างของยอดขายกับต้นทุนขาย หากดัชนีมีค่าสูงกว่าอุตสาหกรรมแสดงว่ากิจการมีความสามารถในการควบคุมต้นทุนขายได้ดี ส่งผลให้มีกำไรขั้นต้นต่อหน่วยสูง ดัชนีนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิต การทำกำไรจากยอดขายนี้จะไม่ครอบคลุมไปถึงการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือการเปลี่ยนแปลงของปริมาณขาย กล่าวคือ เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรขั้นต้นของกิจการโดยที่ยังไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่น ๆ
Ordinary profit to total revenue ratio
ดัชนีนี้แสดงถึงกำไรของกิจการหลังหักดอกเบี้ยและภาษีเปรียบเทียบกับยอดรายรับทั้งหมด เป็นการวัด profit margin อีกรูปแบบว่ากำไรที่เกิดขึ้นเป็นสัดส่วนเท่าไรกับรายรับทั้งหมดที่เข้ามาในกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง หากดัชนีมีค่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม แสดงว่ากิจการนั้นสามารถบริหารค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางตรงข้ามหากดัชนีมีค่าต่ำซึ่งอาจเกิดจากรายได้ของกิจการลดลงหรือกิจการมีรายการต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การหาสาเหตุจำเป็นต้องใช้ดัชนีที่เกี่ยวข้อง เช่น ดัชนีด้านการบริหารต้นทุนร่วมพิจารณาในลำดับต่อไป
Management capital turnover
เป็นการวัดประสิทธิภาพการลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการว่ากิจการได้ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ สามารถสร้างยอดขายได้เต็มที่หรือไม่ หรือเป็นการวัดว่าการลงทุนในสินทรัพย์มีความสอดคล้องกับยอดขายหรือไม่ หากดัชนีมีค่าน้อย แสดงว่ากิจการอาจมีการลงทุนในสินทรัพย์มากเกินไปหรือกิจการอาจใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพควรพิจารณาตัดทอนสินทรัพย์ที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ลง หรือหาแนวทางในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้มากขึ้น รวมทั้งต้องพิจารณาว่าจะหาแนวทางในการสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่ เป็นต้น
Selling and administrative expenses to sales ratio
ดัชนีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขาย แสดงถึงค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายให้แก่พนักงานและค่าใช้จ่ายด้านการขายและบริหารเมื่อเปรียบเทียบกับยอดขาย ถ้าดัชนีนี้มีค่าต่ำจะดี เพราะแสดงค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารน้อยเมื่อเทียบกับยอดขายหนึ่งหน่วย หากดัชนีมีค่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมอาจหมายถึงกิจการลงทุนในค่าใช้จ่ายส่วนการขายและบริหารมากเกินไป หรืออาจเป็นที่ราคาขายต่ำเกินไปหรือไม่ แนวทางหนึ่งของการเพิ่มค่าดัชนีนี้คือการสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้นโดยการเพิ่มราคาสินค้าหรือปริมาณขาย ซึ่งทำได้ยากกว่าการบริหารหรือควบคุมค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักตัวหนึ่งที่สามารถควบคุมได้ ค่าดัชนีที่มีค่าสูงแสดงถึงจุดรั่วไหลของค่าใช้จ่ายและจะสะท้อนไปในทางเดียวกับดัชนีที่แสดงความสามารถในการทำกำไรของกิจการให้ต่ำลงด้วยเช่นกัน
Selling expenses to sales ratio
ดัชนีนี้จะคล้ายกับ Selling and administrative expenses to sales ratio แตกต่างกันเพียงพิจารณาเพียงค่าใช้จ่ายในการขายและการตลาดเพียงอย่างเดียวว่าเป็นสัดส่วนเท่าไรเมื่อเทียบกับรายได้จากการขายสินค้าและบริการ การพิจารณาดัชนีนี้ควรพิจารณาร่วมกับอัต
กลุ่มวัดความสามารถในการใช้สินทรัพย์ (Activity Ratios)
Fixed assets turnover
อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร คือการวัดประสิทธิภาพของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของกิจการ โดยวัดว่าสินทรัพย์ถาวรที่กิจการใช้ในการดำเนินงานสามารถสร้างยอดขายกลับมายังกิจการได้กี่เท่า ดังนั้นหากดัชนีมีค่าน้อย ก็อาจเกิดขึ้นเนื่องจากลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่มากเกินไปไม่เหมาะสมกับยอดขาย การพิจารณาประสิทธิภาพการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวรดังกล่าว สามารถแยกพิจารณาในแต่ละรายการของสินทรัพย์ถาวรเพิ่มเติมได้ เช่น อัตราการหมุนเวียนของเครื่องจักรและอุปกรณ์ คือการวัดถึงประสิทธิภาพการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ หากดัชนีมีค่าน้อย แสดงว่ากิจการมีการใช้เครื่องจักรไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ มากเกินไป อัตราการหมุนเวียนของที่ดินคือการวัดประสิทธิภาพของการลงทุนในที่ดิน หากดัชนีมีค่าน้อย แสดงว่ากิจการอาจจะลงทุนในที่ดินมากเกินไป ซึ่งเกิดจากการตั้งโรงงานในทำเลที่ดินที่มีราคาแพงแต่สามารถชดเชยได้ด้วยค่าขนส่งที่ต่ำหรือการซื้อที่ดินเพื่อรองรับการขยายงานในอนาคต และอัตราการหมุนเวียนของอาคารโรงงาน คือการวัดประสิทธิภาพของการลงทุนในอาคาร โรงงาน หากดัชนีมีค่าน้อย แสดงว่ากิจการลงทุนในอาคารโรงงานมากเกินไปหรือใช้เนื้อที่ของโรงงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดเก็บสินค้าคงเหลือจำนวนมาก เป็นต้น ทั้งนี้การวัดควรพิจารณาประกอบกับดัชนีประสิทธิภาพการลงทุนในสินทรัพย์ (Management capital turnover) ด้วย
Accounts receivables turnover
อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ แสดงถึงระดับของการลงทุนในลูกหนี้ของกิจการถัวเฉลี่ยเมื่อเปรียบเทียบกับยอดขาย สามารถวัดประสิทธิภาพของนโยบายการจัดเก็บหนี้ของกิจการ กล่าวคือ หากดัชนีตัวนี้มีค่าน้อยแสดงว่ากิจการมียอดลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับจำนวนมาก หรือกิจการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจำนวนมาก หรือมีนโยบายการจัดเก็บหนี้ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งดัชนีดังกล่าวสามารถนำไปคำนวณหาระยะเวลาในการจัดเก็บหนี้ของกิจการซึ่งจะให้ภาพที่ชัดเจนกว่าโดยแปลงจำนวนครั้งที่ได้ให้เป็นวันซึ่งจะใช้ 365 วัน หรือ 360 วัน ขึ้นอยู่กับกำหนดว่าจะใช้จำนวนใด โดยสามารถพิจารณาร่วมกับ payable turnover เพื่อเปรียบเทียบในส่วนของเจ้าหนี้การค้าของกิจการ
Payables turnover
อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้ แสดงถึงระดับของหนี้สินทางการค้าของกิจการเมื่อเปรียบเทียบกับยอดขาย หากดัชนีตัวนี้มีค่าน้อยแสดงว่ากิจการมีการซื้อวัตถุดิบสินค้าเป็นเงินเชื่อจำนวนมาก กิจการมีเครดิตทางการค้าที่ดี แต่ต้องระวังไม่ให้มากเกินไปและโดยทั่วไปจะสอดคล้องกับ Account receivable turnover ด้วย ซึ่งดัชนีดังกล่าวสามารถนำไปคำนวณหาระยะเวลาในการชำระหนี้ของกิจการได้และจะให้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการจัดเก็บหนี้และระยะเวลาในการชำระหนี้ของกิจการจะสามารถบอกสภาพคล่องของกิจการได้ด้วย
Inventory turnover
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ คือการวัดประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงเหลือของกิจการ หากดัชนีมีค่าต่ำ แสดงว่ากิจการมีสินค้าคงเหลือซึ่งประกอบด้วยวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิตและสินค้าสำเร็จรูปเป็นจำนวนมาก ซึ่งสินค้าเหล่านี้ยังไม่สามารถหมุนเวียนสร้างเป็นยอดขายให้แก่กิจการได้ ถือเป็นการวัดประสิทธิภาพการขายของกิจการได้รูปแบบหนึ่ง อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือที่ต่ำยังบอกนัยของต้นทุนจมที่กิจการเผชิญในการจัดเก็บสินค้าคงเหลือ อย่างไรก็ตามตัวเลขที่สูงเกินไปก็อาจแสดงถึงการสูญเสียโอกาสในการสร้างยอดขายเนื่องจากมีการบริหารสินค้าคงเหลือที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นการเปรียบเทียบควรใช้ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ นอกจากนี้ ดัชนีดังกล่าวสามารถนำไปวิเคราะห์แยกออกเป็นส่วน ๆ ได้อีกตามรายละเอียดในแต่ละรายการ เช่น ดัชนีอัตราการหมุนเวียนของสินค้าสำเร็จรูป อัตราการหมุนเวียนของสินค้าระหว่างผลิต และอัตราการหมุนเวียนของวัตถุดิบ
Raw materials turnover
อัตราการหมุนเวียนของวัตถุดิบ คือการวัดประสิทธิภาพการจัดการวัตถุดิบสามารถใช้วัดประสิทธิภาพการบริหารการผลิตของผู้ผลิตได้ระดับหนึ่ง กล่าวคือ หากดัชนีมีค่าต่ำ แสดงว่ากิจการมีการสต็อกวัตถุดิบจำนวนมาก แสดงถึงการวางแผนการผลิตไม่มีประสิทธิภาพ การที่ดัชนีมีค่าต่ำอาจเป็นเพราะมีสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นสามารถพิจารณาร่วมกับอัตราการหมุนเวียนของสินค้าสำเร็จรูป ดัชนีนี้ไม่ควรมีค่าสูงหรือต่ำเกินไป ระดับของอัตราการหมุนเวียนของวัตถุดิบที่เหมาะสมคือระดับที่มีวัตถุดิบไม่เกินความต้องการในการผลิต อย่างไรก็ตามการพิจารณาส่วนนี้ควรคำนึงถึงแหล่งวัตถุดิบที่กิจการสั่งซื้อด้วย หากแหล่งวัตถุดิบอยู่ไกลจากโรงงาน อาจต้องสำรองวัตถุดิบไว้จำนวนหนึ่ง
Goods in process turnover
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าระหว่างผลิต คือการวัดประสิทธิภาพการจัดการสินค้าระหว่างผลิตของกิจการ หากดัชนีมีค่าต่ำ แสดงถึงกิจการมีการสต็อกสินค้าระหว่างผลิตจำนวนมาก ซึ่งสินค้าดังกล่าวยังไม่สามารถขายออกไปได้ เนื่องจากยังผลิตไม่เสร็จ ทำให้เกิดเงินลงทุนจมเช่นเดียวกัน สาเหตุที่กิจการมีการสต็อกสินค้าระหว่างผลิตจำนวนมาก อาจเกิดจากการวางแผนการผลิตที่ไม่เหมาะสม ซึ่งกิจการควรไปปรับปรุงสายการผลิตให้ดีขึ้น โดยอาจนำเทคนิคต่าง ๆ ทางการผลิตเข้ามาช่วย เช่น ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just in time)
Product turnover
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าสำเร็จรูป คือการวัดประสิทธิภาพการจัดการสินค้าสำเร็จรูปของกิจการ หากดัชนีมีค่าต่ำ แสดงว่ากิจการมีการสต็อกสินค้าสำเร็จรูปจำนวนมาก แต่สินค้านั้นยังไม่สามารถขายออกไปได้ ซึ่งอาจเกิดจากสินค้าล้าสมัย ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด หรือกิจการผลิตไว้ก่อนมีคำสั่งซื้อเข้ามา ซึ่งทำให้เงินลงทุนจมเช่นกัน
กลุ่มวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)
Current ratio
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเป็นอัตราส่วนที่นิยมใช้กันมาก เป็นเครื่องชี้ฐานะทางการเงินระยะสั้นของกิจการ ดัชนีนี้เป็นการวัดอย่างหยาบแต่ก็สามารถช่วยตอบคำถามในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นหรือสภาพคล่องของกิจการได้ระดับหนึ่ง กล่าวคือ ในมุมมองของเจ้าหนี้ดัชนีนี้ยิ่งมีค่าสูงยิ่งดีแสดงถึงกิจการมีสภาพคล่องสูง มีสินทรัพย์สภาพคล่องที่สามารถเปลี่ยนมือเป็นเงินสดได้มากในกรณีที่มีปัญหาในเรื่องของการชำระหนี้ แต่สำหรับผู้บริหารแล้วอาจมองได้ว่ากิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนเกินความจำเป็นหรือไม่ เช่น มีสินค้ามากเกินไปทำให้มีต้นทุนในการจัดเก็บเพิ่มหรืออาจถือเงินสดมากโดยไม่มีความจำเป็น เป็นต้น ดังนั้นอัตราส่วนที่สูงจึงบอกได้แค่กิจการมีสภาพคล่องที่สูง ดังนั้นการพิจารณาอัตราส่วนนี้จึงไม่สามารถพิจารณาได้เพียงลำพัง ควรพิจารณาดูความเคลื่อนไหวของเงินทุนหมุนเวียนในอดีตควบคู่ไปด้วยซึ่งการวิเคราะห์ในลักษณะนี้จะเป็นเครื่องช่วยชี้บอกถึงความมั่นคงทางการเงินหรือความยุ่งยากทางการเงินที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้
Acid ratio
อัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นเช่นเดียวกับอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน(Current ratio) แต่จะพยายามตัดสิ่งที่เป็นปัญหาในการเปลี่ยนเป็นเงินสดออก คือ สินค้าคงเหลือ จะพิจารณาเพียงสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วเท่านั้น ซึ่งได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ อัตราส่วนนี้มีข้อสมมติฐานว่าถ้าต้องเลิกกิจการหรือหยุดดำเนินงานจำเป็นต้องขายสินทรัพย์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ระยะสั้น มีสินทรัพย์อะไรบ้างที่พร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที ใช้พิจารณาควบคู่กับอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
กลุ่มวัดความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage Ratios)
Interest expense to sales ratio
เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายทางการเงินอันเนื่องมาจากการใช้เงินทุนโดยวิธีการก่อหนี้หรือภาระผูกพันกับสถาบันการเงินไม่รวมภาระผูกพันอื่นเช่น ค่าเช่าตามสัญญาเช่า เงินปันผลหุ้น เป็นต้น เปรียบเทียบกับยอดขายของกิจการ ซึ่งในที่นี้หมายถึง รายรับจากการขายสินค้าที่ผลิต รายรับจากการขายสินค้าที่ซื้อมาจำหน่ายในสภาพเดิม และ รายรับจากการให้บริการ ซ่อมแซมให้กิจการอื่น อัตราส่วนนี้แสดงถึงยอดขายจากการดำเนินงาน 1 บาท จะต้องนำไปจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินเท่าไร ถ้ามีค่าสูงแสดงว่าการจ่ายดอกเบี้ยอาจมีปัญหา เป็นเครื่องชี้ถึงความสามารถในการก่อหนี้ในอนาคตของกิจการด้วย
Fixed assets to net worth ratio
ดัชนีนี้เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างสินทรัพย์ระยะยาวของกิจการกับส่วนของเจ้าของ ดัชนีที่มีค่าต่ำจะดีกว่าดัชนีที่มีค่าสูง กล่าวคือการที่ดัชนีมีค่าต่ำจะหมายถึงกิจการมีส่วนของทุนมากกว่าสินทรัพย์ถาวร โดยทั่วไปแล้วดัชนีนี้ไม่ควรมีค่าเกิน 1 หรือ ร้อยละ 100
Fixed assets to long-term capital
เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวกับแหล่งที่มาของเงินทุนระยะยาว ซึ่งก็คือในส่วนของ เจ้าของและหนี้สินระยะยาว ดัชนีนี้แสดงถึงแหล่งที่มาของเงินทุนว่าเหมาะสมกับการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวของ กิจการหรือไม่ หากดัชนีมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม อาจหมายถึงสินทรัพย์ระยะยาวของบริษัทมาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นซึ่งจะเกิดการไม่สอดคล้องกันระหว่างแหล่งที่มาและแหล่งใช้ไปของเงินทุนของกิจการ แต่ถ้าหากดัชนีมีค่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมอาจมองไปถึงการขยายการลงทุนในเครื่องจักร แต่ก็ต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาวะอุตสาหกรรมและแนวโน้มในอนาคต ตลอดจนประเภทของธุรกิจว่าเหมาะสมหรือมีความจำเป็นกับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรหรือไม่ เป็นต้น
Net worth to total liabilities and net worth ratio
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างแหล่งใช้ไปของเงินทุนของกิจการว่าเป็นส่วนของทุนหรือส่วนของเจ้าของเท่าไร ถ้าดัชนีตัวนี้สูงมาก อาจมองได้ว่าเป็นกิจการครอบครัวที่ยังใช้แหล่งเงินจากเจ้าของกิจการอยู่ หรืออาจมองไปถึงการไม่มีประสิทธิภาพในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำกว่านี้ได้ หรืออาจมองไปถึงเครดิตของกิจการ
Debt to equity ratio
อัตราส่วนแห่งหนี้เป็นอัตราส่วนวัดเงินทุนรวมของกิจการที่จัดหามาในรูปของหนี้ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าการก่อหนี้ของกิจการมีขีดจำกัดและปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดนี้มีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น เสถียรภาพของยอดขาย ความคล่องตัวของสินทรัพย์ที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสด ประเภทธุรกิจ เป็นต้น ถ้าดัชนีนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม จะเป็นอันตรายต่อเจ้าหนี้และตัวกิจการเอง กล่าวคือถ้าส่วนของผู้ถือหุ้นซึ่งถือเป็นเกราะคุ้มกันให้เจ้าหนี้มีน้อยแล้วในกรณีที่กิจการล้มละลาย สินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการที่มีอยู่มักจะจำหน่ายได้ต่ำกว่ามูลค่าที่ปรากฎตามบัญชี เพราะถ้าขายเร็วต้องขายในราคาต่ำ ดังนั้นเจ้าหนี้อาจได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ส่วนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการได้คือถ้ารายได้ไม่เป็นไปตามที่คาดคะเนไว้ กิจการมีโอกาสประสบผลขาดทุนได้ง่ายเพราะต้องแบกภาระในรูปของดอกเบี้ยไว้สูง ในกรณีตรงกันข้าม การที่กิจการมีอัตราส่วนแห่งหนี้ต่ำเกินไปก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน เพราะนอกจากจะแสดงถึงเครดิตของกิจการไม่ดีแล้วยังทำให้การขยายตัวเป็นไปอย่างเชื่องช้าอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมจะช่วยให้กิจการมีเกณฑ์ที่สามารถวิเคราะห์หรือตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
(ยังมีต่อ)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-ลจ-
Operating profit to management capital ratio
เป็นดัชนีระหว่างกำไรที่เกิดจากการดำเนินกิจการในรูปของการขายสินค้าและบริการไม่รวมรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น รายได้ค่าเช่าจากที่ดิน รายได้จากการขายสินทรัพย์ ดอกเบี้ยรับ หรือกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของสินทรัพย์ต้นงวดและปลายงวดเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการข้างต้น กล่าวคือจะไม่รวมเงินลงทุนในระยะสั้น เช่น เงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือลงทุนในตราสารทางการเงินที่ครบกำหนดภายใน 1 ปี ไม่รวมเงินลงทุนในกิจการอื่น ๆ ระยะยาวซึ่งถือว่ามิใช่การลงทุนที่เกิดขึ้นตามปรกติของกิจการรวมไปถึงอาคารและสิ่งก่อสร้างที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเพราะยังไม่สามารถก่อให้เกิดรายได้ของกิจการ การใช้ค่าเฉลี่ยจะช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรายการระหว่างปีไม่ให้ตัวเลขที่เกิดขึ้นมีมูลค่าสูงหรือต่ำกว่าความเป็นจริงมากนัก ดัชนีนี้แสดงถึงผลตอบแทนจากการลงทุน หรือสินทรัพย์ทุนที่ลงทุนไปในการดำเนินงาน สามารถนำมาสร้างกำไรกลับคืนมาให้กิจการได้คุ้มค่ามากน้อยเพียงไร หากค่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม แสดงว่าสินทรัพย์ทุนที่ใช้ในการดำเนินงานไม่สามารถสร้างกำไรในอัตราที่เหมาะสมกลับคืนมายังกิจการ ดังนั้นกิจการอาจต้องพิจารณาลดการลงทุนในส่วนที่ไม่จำเป็นลง
Operating profit to sales ratio
เป็นดัชนีระหว่างกำไรที่เกิดจากการดำเนินกิจการในรูปของการขายสินค้าและบริการไม่รวมรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น รายได้ค่าเช่าจากที่ดิน รายได้จากการขายสินทรัพย์ ดอกเบี้ยรับ หรือกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเปรียบเทียบกับยอดขาย เป็นดัชนีวัดความสามารถในการทำกำไรโดยพิจารณาจากยอดขาย หรือ profit margin ของกิจการ ถ้าดัชนีนี้มีค่าสูง แสดงว่ากิจการมีระบบการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ หรืออาจพิจารณาร่วมกับ Gross profit to sales ratio กล่าวคือ ถ้า Operating profit to sales ratio มีค่าต่ำ ในขณะที่ Gross profit to sales ratio มีค่าสูง แสดงว่ากิจการมีปัญหาในส่วนของการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารและหรือในส่วนของค่าตอบแทนแรงงาน
Ordinary profit to net worth ratio
เป็นดัชนีระหว่างกำไรที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกิจการซึ่งจะรวมกำไรที่เกี่ยวข้องจากการดำเนินกิจการโดยตรงและกำไรที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของส่วนของเจ้าของต้นงวดและปลายงวด เป็นการวัดความสามารถในการหาผลตอบแทนของกิจการจากเงินลงทุนเฉพาะส่วนของเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นว่าได้มากน้อยเพียงใด หรือเป็นการวัดประสิทธิภาพในการทำกำไรเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนทุน กล่าวคือผลตอบแทนจากการลงทุนของผู้ถือหุ้น คือผลตอบแทนในส่วนของเจ้าของที่ได้รับจากการลงทุนในกิจการ ดังนั้นจึงเป็นดัชนีที่มีความสำคัญใช้พิจารณาร่วมกับการจัดหาเงินทุนในรูปการก่อหนี้ (Leverage Ratio) เช่น หากดัชนีมีค่าน้อยกว่าอุตสาหกรรม แสดงว่าผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนต่ำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการจัดสัดส่วนการลงทุนที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้ส่วนของทุนมากกว่าส่วนของหนี้ ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่า และสำหรับในกิจการขนาดเล็กหรือเจ้าของคนเดียว ส่วนของทุนจะหมายถึงเจ้าของกิจการ (Owner) การพิจารณาในกรณีนี้ควรพิจารณาร่วมกับ Operating profit to management capital ratio จะได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
Ordinary profit to total liabilities and net worth ratio
ดัชนีนี้เป็นการวัดอัตราผลตอบแทนของกำไรหลังหักดอกเบี้ยและภาษีเปรียบเทียบกับแหล่งที่มาของเงินทุนของกิจการ เป็นการวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของฝ่ายจัดการหรือพูดอีกนัยหนึ่งว่าเป็นการวัดประสิทธิภาพการทำกำไรเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์ของกิจการ หากดัชนีมีค่าน้อยกว่าอุตสาหกรรมอาจหมายถึงกิจการมีการใช้แหล่งเงินทุนไม่เหมาะสม มีต้นทุนสูงเกินกว่ากำไรที่เกิดขึ้น อาจต้องพิจารณาหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ หรืออาจเป็นเพราะมีการลงทุนในสินทรัพย์มากเกินไปหรือปัญหาอาจมาจากตัว Ordinary profit เองที่มีรายรับน้อยเกินไปหรือมีต้นทุนในส่วนอื่นมากเกินไป ดังนั้นการตีความหมายของดัชนีนี้ต้องใช้ความระมัดระวัง โดยจะต้องพิจารณาร่วมกับ Ordinary profit to own capital ratio หรือ Fixed asset turnover หรือ Cost management ratios ในรายการที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปด้วย
Gross profit to sales ratio
อัตรากำไรขั้นต้นต่อยอดขายเป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรแบบหนึ่งโดยพิจารณาจากส่วนต่างของยอดขายกับต้นทุนขาย หากดัชนีมีค่าสูงกว่าอุตสาหกรรมแสดงว่ากิจการมีความสามารถในการควบคุมต้นทุนขายได้ดี ส่งผลให้มีกำไรขั้นต้นต่อหน่วยสูง ดัชนีนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนการผลิต การทำกำไรจากยอดขายนี้จะไม่ครอบคลุมไปถึงการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาหรือการเปลี่ยนแปลงของปริมาณขาย กล่าวคือ เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรขั้นต้นของกิจการโดยที่ยังไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่น ๆ
Ordinary profit to total revenue ratio
ดัชนีนี้แสดงถึงกำไรของกิจการหลังหักดอกเบี้ยและภาษีเปรียบเทียบกับยอดรายรับทั้งหมด เป็นการวัด profit margin อีกรูปแบบว่ากำไรที่เกิดขึ้นเป็นสัดส่วนเท่าไรกับรายรับทั้งหมดที่เข้ามาในกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง หากดัชนีมีค่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม แสดงว่ากิจการนั้นสามารถบริหารค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางตรงข้ามหากดัชนีมีค่าต่ำซึ่งอาจเกิดจากรายได้ของกิจการลดลงหรือกิจการมีรายการต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การหาสาเหตุจำเป็นต้องใช้ดัชนีที่เกี่ยวข้อง เช่น ดัชนีด้านการบริหารต้นทุนร่วมพิจารณาในลำดับต่อไป
Management capital turnover
เป็นการวัดประสิทธิภาพการลงทุนในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการว่ากิจการได้ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ สามารถสร้างยอดขายได้เต็มที่หรือไม่ หรือเป็นการวัดว่าการลงทุนในสินทรัพย์มีความสอดคล้องกับยอดขายหรือไม่ หากดัชนีมีค่าน้อย แสดงว่ากิจการอาจมีการลงทุนในสินทรัพย์มากเกินไปหรือกิจการอาจใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพควรพิจารณาตัดทอนสินทรัพย์ที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ลง หรือหาแนวทางในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้มากขึ้น รวมทั้งต้องพิจารณาว่าจะหาแนวทางในการสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่ เป็นต้น
Selling and administrative expenses to sales ratio
ดัชนีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขาย แสดงถึงค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายให้แก่พนักงานและค่าใช้จ่ายด้านการขายและบริหารเมื่อเปรียบเทียบกับยอดขาย ถ้าดัชนีนี้มีค่าต่ำจะดี เพราะแสดงค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารน้อยเมื่อเทียบกับยอดขายหนึ่งหน่วย หากดัชนีมีค่าสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมอาจหมายถึงกิจการลงทุนในค่าใช้จ่ายส่วนการขายและบริหารมากเกินไป หรืออาจเป็นที่ราคาขายต่ำเกินไปหรือไม่ แนวทางหนึ่งของการเพิ่มค่าดัชนีนี้คือการสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้นโดยการเพิ่มราคาสินค้าหรือปริมาณขาย ซึ่งทำได้ยากกว่าการบริหารหรือควบคุมค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักตัวหนึ่งที่สามารถควบคุมได้ ค่าดัชนีที่มีค่าสูงแสดงถึงจุดรั่วไหลของค่าใช้จ่ายและจะสะท้อนไปในทางเดียวกับดัชนีที่แสดงความสามารถในการทำกำไรของกิจการให้ต่ำลงด้วยเช่นกัน
Selling expenses to sales ratio
ดัชนีนี้จะคล้ายกับ Selling and administrative expenses to sales ratio แตกต่างกันเพียงพิจารณาเพียงค่าใช้จ่ายในการขายและการตลาดเพียงอย่างเดียวว่าเป็นสัดส่วนเท่าไรเมื่อเทียบกับรายได้จากการขายสินค้าและบริการ การพิจารณาดัชนีนี้ควรพิจารณาร่วมกับอัต
กลุ่มวัดความสามารถในการใช้สินทรัพย์ (Activity Ratios)
Fixed assets turnover
อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร คือการวัดประสิทธิภาพของการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของกิจการ โดยวัดว่าสินทรัพย์ถาวรที่กิจการใช้ในการดำเนินงานสามารถสร้างยอดขายกลับมายังกิจการได้กี่เท่า ดังนั้นหากดัชนีมีค่าน้อย ก็อาจเกิดขึ้นเนื่องจากลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่มากเกินไปไม่เหมาะสมกับยอดขาย การพิจารณาประสิทธิภาพการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวรดังกล่าว สามารถแยกพิจารณาในแต่ละรายการของสินทรัพย์ถาวรเพิ่มเติมได้ เช่น อัตราการหมุนเวียนของเครื่องจักรและอุปกรณ์ คือการวัดถึงประสิทธิภาพการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ หากดัชนีมีค่าน้อย แสดงว่ากิจการมีการใช้เครื่องจักรไม่เต็มประสิทธิภาพ หรือลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ มากเกินไป อัตราการหมุนเวียนของที่ดินคือการวัดประสิทธิภาพของการลงทุนในที่ดิน หากดัชนีมีค่าน้อย แสดงว่ากิจการอาจจะลงทุนในที่ดินมากเกินไป ซึ่งเกิดจากการตั้งโรงงานในทำเลที่ดินที่มีราคาแพงแต่สามารถชดเชยได้ด้วยค่าขนส่งที่ต่ำหรือการซื้อที่ดินเพื่อรองรับการขยายงานในอนาคต และอัตราการหมุนเวียนของอาคารโรงงาน คือการวัดประสิทธิภาพของการลงทุนในอาคาร โรงงาน หากดัชนีมีค่าน้อย แสดงว่ากิจการลงทุนในอาคารโรงงานมากเกินไปหรือใช้เนื้อที่ของโรงงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดเก็บสินค้าคงเหลือจำนวนมาก เป็นต้น ทั้งนี้การวัดควรพิจารณาประกอบกับดัชนีประสิทธิภาพการลงทุนในสินทรัพย์ (Management capital turnover) ด้วย
Accounts receivables turnover
อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ แสดงถึงระดับของการลงทุนในลูกหนี้ของกิจการถัวเฉลี่ยเมื่อเปรียบเทียบกับยอดขาย สามารถวัดประสิทธิภาพของนโยบายการจัดเก็บหนี้ของกิจการ กล่าวคือ หากดัชนีตัวนี้มีค่าน้อยแสดงว่ากิจการมียอดลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับจำนวนมาก หรือกิจการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจำนวนมาก หรือมีนโยบายการจัดเก็บหนี้ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งดัชนีดังกล่าวสามารถนำไปคำนวณหาระยะเวลาในการจัดเก็บหนี้ของกิจการซึ่งจะให้ภาพที่ชัดเจนกว่าโดยแปลงจำนวนครั้งที่ได้ให้เป็นวันซึ่งจะใช้ 365 วัน หรือ 360 วัน ขึ้นอยู่กับกำหนดว่าจะใช้จำนวนใด โดยสามารถพิจารณาร่วมกับ payable turnover เพื่อเปรียบเทียบในส่วนของเจ้าหนี้การค้าของกิจการ
Payables turnover
อัตราการหมุนเวียนของเจ้าหนี้ แสดงถึงระดับของหนี้สินทางการค้าของกิจการเมื่อเปรียบเทียบกับยอดขาย หากดัชนีตัวนี้มีค่าน้อยแสดงว่ากิจการมีการซื้อวัตถุดิบสินค้าเป็นเงินเชื่อจำนวนมาก กิจการมีเครดิตทางการค้าที่ดี แต่ต้องระวังไม่ให้มากเกินไปและโดยทั่วไปจะสอดคล้องกับ Account receivable turnover ด้วย ซึ่งดัชนีดังกล่าวสามารถนำไปคำนวณหาระยะเวลาในการชำระหนี้ของกิจการได้และจะให้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาในการจัดเก็บหนี้และระยะเวลาในการชำระหนี้ของกิจการจะสามารถบอกสภาพคล่องของกิจการได้ด้วย
Inventory turnover
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ คือการวัดประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงเหลือของกิจการ หากดัชนีมีค่าต่ำ แสดงว่ากิจการมีสินค้าคงเหลือซึ่งประกอบด้วยวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิตและสินค้าสำเร็จรูปเป็นจำนวนมาก ซึ่งสินค้าเหล่านี้ยังไม่สามารถหมุนเวียนสร้างเป็นยอดขายให้แก่กิจการได้ ถือเป็นการวัดประสิทธิภาพการขายของกิจการได้รูปแบบหนึ่ง อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือที่ต่ำยังบอกนัยของต้นทุนจมที่กิจการเผชิญในการจัดเก็บสินค้าคงเหลือ อย่างไรก็ตามตัวเลขที่สูงเกินไปก็อาจแสดงถึงการสูญเสียโอกาสในการสร้างยอดขายเนื่องจากมีการบริหารสินค้าคงเหลือที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นการเปรียบเทียบควรใช้ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ นอกจากนี้ ดัชนีดังกล่าวสามารถนำไปวิเคราะห์แยกออกเป็นส่วน ๆ ได้อีกตามรายละเอียดในแต่ละรายการ เช่น ดัชนีอัตราการหมุนเวียนของสินค้าสำเร็จรูป อัตราการหมุนเวียนของสินค้าระหว่างผลิต และอัตราการหมุนเวียนของวัตถุดิบ
Raw materials turnover
อัตราการหมุนเวียนของวัตถุดิบ คือการวัดประสิทธิภาพการจัดการวัตถุดิบสามารถใช้วัดประสิทธิภาพการบริหารการผลิตของผู้ผลิตได้ระดับหนึ่ง กล่าวคือ หากดัชนีมีค่าต่ำ แสดงว่ากิจการมีการสต็อกวัตถุดิบจำนวนมาก แสดงถึงการวางแผนการผลิตไม่มีประสิทธิภาพ การที่ดัชนีมีค่าต่ำอาจเป็นเพราะมีสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นสามารถพิจารณาร่วมกับอัตราการหมุนเวียนของสินค้าสำเร็จรูป ดัชนีนี้ไม่ควรมีค่าสูงหรือต่ำเกินไป ระดับของอัตราการหมุนเวียนของวัตถุดิบที่เหมาะสมคือระดับที่มีวัตถุดิบไม่เกินความต้องการในการผลิต อย่างไรก็ตามการพิจารณาส่วนนี้ควรคำนึงถึงแหล่งวัตถุดิบที่กิจการสั่งซื้อด้วย หากแหล่งวัตถุดิบอยู่ไกลจากโรงงาน อาจต้องสำรองวัตถุดิบไว้จำนวนหนึ่ง
Goods in process turnover
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าระหว่างผลิต คือการวัดประสิทธิภาพการจัดการสินค้าระหว่างผลิตของกิจการ หากดัชนีมีค่าต่ำ แสดงถึงกิจการมีการสต็อกสินค้าระหว่างผลิตจำนวนมาก ซึ่งสินค้าดังกล่าวยังไม่สามารถขายออกไปได้ เนื่องจากยังผลิตไม่เสร็จ ทำให้เกิดเงินลงทุนจมเช่นเดียวกัน สาเหตุที่กิจการมีการสต็อกสินค้าระหว่างผลิตจำนวนมาก อาจเกิดจากการวางแผนการผลิตที่ไม่เหมาะสม ซึ่งกิจการควรไปปรับปรุงสายการผลิตให้ดีขึ้น โดยอาจนำเทคนิคต่าง ๆ ทางการผลิตเข้ามาช่วย เช่น ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just in time)
Product turnover
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าสำเร็จรูป คือการวัดประสิทธิภาพการจัดการสินค้าสำเร็จรูปของกิจการ หากดัชนีมีค่าต่ำ แสดงว่ากิจการมีการสต็อกสินค้าสำเร็จรูปจำนวนมาก แต่สินค้านั้นยังไม่สามารถขายออกไปได้ ซึ่งอาจเกิดจากสินค้าล้าสมัย ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด หรือกิจการผลิตไว้ก่อนมีคำสั่งซื้อเข้ามา ซึ่งทำให้เงินลงทุนจมเช่นกัน
กลุ่มวัดสภาพคล่อง (Liquidity Ratios)
Current ratio
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเป็นอัตราส่วนที่นิยมใช้กันมาก เป็นเครื่องชี้ฐานะทางการเงินระยะสั้นของกิจการ ดัชนีนี้เป็นการวัดอย่างหยาบแต่ก็สามารถช่วยตอบคำถามในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นหรือสภาพคล่องของกิจการได้ระดับหนึ่ง กล่าวคือ ในมุมมองของเจ้าหนี้ดัชนีนี้ยิ่งมีค่าสูงยิ่งดีแสดงถึงกิจการมีสภาพคล่องสูง มีสินทรัพย์สภาพคล่องที่สามารถเปลี่ยนมือเป็นเงินสดได้มากในกรณีที่มีปัญหาในเรื่องของการชำระหนี้ แต่สำหรับผู้บริหารแล้วอาจมองได้ว่ากิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนเกินความจำเป็นหรือไม่ เช่น มีสินค้ามากเกินไปทำให้มีต้นทุนในการจัดเก็บเพิ่มหรืออาจถือเงินสดมากโดยไม่มีความจำเป็น เป็นต้น ดังนั้นอัตราส่วนที่สูงจึงบอกได้แค่กิจการมีสภาพคล่องที่สูง ดังนั้นการพิจารณาอัตราส่วนนี้จึงไม่สามารถพิจารณาได้เพียงลำพัง ควรพิจารณาดูความเคลื่อนไหวของเงินทุนหมุนเวียนในอดีตควบคู่ไปด้วยซึ่งการวิเคราะห์ในลักษณะนี้จะเป็นเครื่องช่วยชี้บอกถึงความมั่นคงทางการเงินหรือความยุ่งยากทางการเงินที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้
Acid ratio
อัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นเช่นเดียวกับอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน(Current ratio) แต่จะพยายามตัดสิ่งที่เป็นปัญหาในการเปลี่ยนเป็นเงินสดออก คือ สินค้าคงเหลือ จะพิจารณาเพียงสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วเท่านั้น ซึ่งได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ อัตราส่วนนี้มีข้อสมมติฐานว่าถ้าต้องเลิกกิจการหรือหยุดดำเนินงานจำเป็นต้องขายสินทรัพย์เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ระยะสั้น มีสินทรัพย์อะไรบ้างที่พร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที ใช้พิจารณาควบคู่กับอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
กลุ่มวัดความสามารถในการก่อหนี้ (Leverage Ratios)
Interest expense to sales ratio
เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายทางการเงินอันเนื่องมาจากการใช้เงินทุนโดยวิธีการก่อหนี้หรือภาระผูกพันกับสถาบันการเงินไม่รวมภาระผูกพันอื่นเช่น ค่าเช่าตามสัญญาเช่า เงินปันผลหุ้น เป็นต้น เปรียบเทียบกับยอดขายของกิจการ ซึ่งในที่นี้หมายถึง รายรับจากการขายสินค้าที่ผลิต รายรับจากการขายสินค้าที่ซื้อมาจำหน่ายในสภาพเดิม และ รายรับจากการให้บริการ ซ่อมแซมให้กิจการอื่น อัตราส่วนนี้แสดงถึงยอดขายจากการดำเนินงาน 1 บาท จะต้องนำไปจ่ายดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินเท่าไร ถ้ามีค่าสูงแสดงว่าการจ่ายดอกเบี้ยอาจมีปัญหา เป็นเครื่องชี้ถึงความสามารถในการก่อหนี้ในอนาคตของกิจการด้วย
Fixed assets to net worth ratio
ดัชนีนี้เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างสินทรัพย์ระยะยาวของกิจการกับส่วนของเจ้าของ ดัชนีที่มีค่าต่ำจะดีกว่าดัชนีที่มีค่าสูง กล่าวคือการที่ดัชนีมีค่าต่ำจะหมายถึงกิจการมีส่วนของทุนมากกว่าสินทรัพย์ถาวร โดยทั่วไปแล้วดัชนีนี้ไม่ควรมีค่าเกิน 1 หรือ ร้อยละ 100
Fixed assets to long-term capital
เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวกับแหล่งที่มาของเงินทุนระยะยาว ซึ่งก็คือในส่วนของ เจ้าของและหนี้สินระยะยาว ดัชนีนี้แสดงถึงแหล่งที่มาของเงินทุนว่าเหมาะสมกับการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวของ กิจการหรือไม่ หากดัชนีมีค่ามากกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม อาจหมายถึงสินทรัพย์ระยะยาวของบริษัทมาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นซึ่งจะเกิดการไม่สอดคล้องกันระหว่างแหล่งที่มาและแหล่งใช้ไปของเงินทุนของกิจการ แต่ถ้าหากดัชนีมีค่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมอาจมองไปถึงการขยายการลงทุนในเครื่องจักร แต่ก็ต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาวะอุตสาหกรรมและแนวโน้มในอนาคต ตลอดจนประเภทของธุรกิจว่าเหมาะสมหรือมีความจำเป็นกับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรหรือไม่ เป็นต้น
Net worth to total liabilities and net worth ratio
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างแหล่งใช้ไปของเงินทุนของกิจการว่าเป็นส่วนของทุนหรือส่วนของเจ้าของเท่าไร ถ้าดัชนีตัวนี้สูงมาก อาจมองได้ว่าเป็นกิจการครอบครัวที่ยังใช้แหล่งเงินจากเจ้าของกิจการอยู่ หรืออาจมองไปถึงการไม่มีประสิทธิภาพในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำกว่านี้ได้ หรืออาจมองไปถึงเครดิตของกิจการ
Debt to equity ratio
อัตราส่วนแห่งหนี้เป็นอัตราส่วนวัดเงินทุนรวมของกิจการที่จัดหามาในรูปของหนี้ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าการก่อหนี้ของกิจการมีขีดจำกัดและปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดนี้มีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น เสถียรภาพของยอดขาย ความคล่องตัวของสินทรัพย์ที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสด ประเภทธุรกิจ เป็นต้น ถ้าดัชนีนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม จะเป็นอันตรายต่อเจ้าหนี้และตัวกิจการเอง กล่าวคือถ้าส่วนของผู้ถือหุ้นซึ่งถือเป็นเกราะคุ้มกันให้เจ้าหนี้มีน้อยแล้วในกรณีที่กิจการล้มละลาย สินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการที่มีอยู่มักจะจำหน่ายได้ต่ำกว่ามูลค่าที่ปรากฎตามบัญชี เพราะถ้าขายเร็วต้องขายในราคาต่ำ ดังนั้นเจ้าหนี้อาจได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ส่วนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการได้คือถ้ารายได้ไม่เป็นไปตามที่คาดคะเนไว้ กิจการมีโอกาสประสบผลขาดทุนได้ง่ายเพราะต้องแบกภาระในรูปของดอกเบี้ยไว้สูง ในกรณีตรงกันข้าม การที่กิจการมีอัตราส่วนแห่งหนี้ต่ำเกินไปก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน เพราะนอกจากจะแสดงถึงเครดิตของกิจการไม่ดีแล้วยังทำให้การขยายตัวเป็นไปอย่างเชื่องช้าอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมจะช่วยให้กิจการมีเกณฑ์ที่สามารถวิเคราะห์หรือตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
(ยังมีต่อ)
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-ลจ-