ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน ก.พ.47 อยู่ที่ระดับเดิม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน ก.พ.47 ว่าอยู่ที่ระดับ 50.4 เท่ากับเดือนก่อน โดยดัชนี
ย่อยในหมวดผลประกอบการลงทุน การจ้างงาน และการผลิต มีการปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีมีค่าสูงกว่าระดับ 50
แสดงถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ดีขึ้น แต่ดัชนีย่อยในหมวดคำสั่งซื้อทั้งหมด และหมวดต้นทุนประกอบการ อยู่
ระดับต่ำกว่า 50 โดยราคาวัตถุดิบ ค่าเงินบาท และไข้หวัดนก เป็นปัจจัยลบที่สำคัญต่อดัชนีในเดือน ก.พ.47
อย่างไรก็ตาม ธปท.ประเมินความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้าว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดัชนีความ
เชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงเล็กน้อยจาก 56.7 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 56.3 แต่ยังสูงกว่าค่ากลางที่ 50 ซึ่ง
แสดงถึงความมั่นใจของนักธุรกิจว่า สถานการณ์ในอนาคตจะปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งมองว่า
แนวโน้มของราคาวัตถุดิบ ค่าระวางการขนส่งสินค้า และค่าเงินบาท อาจก่อให้เกิดปัญหากับการดำเนินธุรกิจ
ในอนาคต (ไทยรัฐ, สยามรัฐ, โลกวันนี้)
2. อัตราการว่างงานในเดือน ม.ค.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.7 ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบาย
การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงอัตราการจ้างงานในเดือน ก.พ.47 ว่า การจ้าง
งานในภาคบริการยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสาขาโรงแรม ภัตตาคาร และการก่อสร้าง ขณะที่
การว่างงานในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ว่างงานประมาณ 1.3 ล้านคน และอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.7
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.4 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและโรคไข้
หวัดนกที่ระบาดในไก่ส่งผลให้การจ้างงานในภาคเกษตรและภาคการผลิตหดตัว แต่ผลดังกล่าวน่าจะเป็นเพียง
ปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น (สยามรัฐ)
3. ธปท.เชื่อมั่นอัตราการขยายตัวของสินเชื่อของ ธพ.ในปี 47 จะสูงกว่าร้อยละ 7 นางธาริษา
วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ธพ.ในปี
47 จะขยายตัวมากกว่าในปีก่อน ที่สินเชื่อมีการขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 7 และคาดว่าการปล่อยสินเชื่อให้กับ
ธุรกิจขนาดใหญ่ในปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอัตราการใช้กำลังการผลิตได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย
ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา มีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงถึงร้อยละ 75.3 แสดงให้เห็นว่าภาคเอกชนโดย
เฉพาะภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคา
ผู้บริโภคในเดือน มี.ค.47 อยู่ที่ระดับ 107.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 2.3 นับว่าอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 33 เดือน (มิ.ย.44) เนื่องจากราคาสินค้าหมวด
อาหารและเครื่องดื่มขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการปรับราคาข้าวสารและสินค้าเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อสุกร
ไก่สด ปลา และสัตว์น้ำ อันเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกและอากาศร้อนทำให้ราคาสูงขึ้น ขณะ
ที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของราคาก๊าซหุงต้ม ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อ
เพลิง ค่าโดยสาร ค่าตรวจรักษาและยารักษาโรค สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย 3 เดือนแรกของปีนี้เฉลี่ย
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ไม่รวมหมวดสินค้าอาหารสดและ
พลังงานอยู่ที่ 104.6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี แต่ไม่เปลี่ยนแปลงหากเทียบกับเดือนก่อน (กรุงเทพ
ธุรกิจ, ไทยรัฐ, ข่าวสด)
5. ดัชนีอุตสาหกรรมภาพรวมในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ผู้อำนวยการสำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีอุตสาหกรรมเดือน ก.พ.47 (ครอบคุลม 50 กลุ่ม
อุตสาหกรรม) เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.47 โดยมี 5 ดัชนีหลักที่เพิ่มขึ้น คือ ดัชนีผลผลิต (มูลค่า) อยู่ที่ระดับ
125.76 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.63 ดัชนีผลผลิต (ผลผลิต) อยู่ที่ 133.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.19 ดัชนีการส่งสินค้า
อยู่ที่ 130.66 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.08 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม 145.42 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.97 ดัชนี
อัตราใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.39 ซึ่ง สศอ.ประเมินภาวะการผลิตและจำหน่ายอุตสาหกรรมพบว่า มีทิศทาง
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8-12 จากที่คาดการณ์ว่าจะลดลงประมาณร้อยละ 3.6-4.6 เนื่องจากคำสั่งซื้อมีมากขึ้น
(กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อุตสาหกรรมการผลิตของโลกในเดือนมี.ค. 47 ส่งสัญญานฟื้นตัว รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 47 JP Morgan เปิดเผยว่าได้สำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อประมาณ 7,000 คนจากสรอ.
ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศอื่นๆทั่วโลกเพื่อจัดทำ global Purchasing Managers’
Index — PMI ชี้ว่าในช่วงระหว่างเดือนมี.ค. 47 ดัชนี PMI เพิ่มขึ้นที่ระดับ 56.9 จากระดับ 55.8 ใน
เดือนก.พ. ทั้งนี้อุตสาหกรรมการผลิตที่ฟื้นตัวขึ้นในช่วงเดือนมี.ค. นับว่าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่เคยสูงสุด
เมื่อปลายปี 46 โดยดัชนีการจ้างงานในเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 51.3 จากระดับ 51.1 เมื่อเดือนก่อน
เนื่องจากการฟื้นตัวของตลาดแรงงานในสรอ. เช่นเดียวกับดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 59.7
จากระดับ 59.1 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตามการที่ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นอาจจะเป็นข้อจำกัดการขยายตัวของภาค
อุตสาหกรรมการผลิตในอนาคต (รอยเตอร์)
2. การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างของสรอ. ลดลงในเดือนก.พ. 47 รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 47 รัฐบาลสรอ.เปิดเผยว่า ในเดือนก.พ. 47 การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างใหม่ชะลอตัว
โดยมียอดรวมการก่อสร้างทั้งสิ้น 921.11 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 922.23 พัน ล. ดอลลาร์สรอ.
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ในเดือนม.ค. หรือลดลงร้อยละ 0.1 นับเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็น
เดือนที่ 2 ขณะที่ผลการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง สำหรับการใช้จ่ายการก่อสร้าง
ภาคเอกชนซึ่งเคยขยายตัวอย่างมากจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่อยู่ในระดับต่ำก็ลดลงเช่นเดียวกันที่ระดับ
499.17 พันล.ดอลลาร์สรอ. จากระดับที่เกือบทำสถิติสูงสุด 500.51 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน
ลดลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) ส่วนการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 1.0
ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 45 (รอยเตอร์)
3. IMF ปรับประมาณการจีดีพีของเยอรมนี อังกฤษ และญี่ปุ่น รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 1
เม.ย.47 IMF ได้ปรับรายละเอียดในพยากรณ์เศรษฐกิจโลกที่จะนำตีพิมพ์ลงใน World Economic
Outlook ในวันที่ 21 เม.ย.47 โดยยังคงคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. อยู่ที่ระดับเดิมคือ
4.6% ในปี 47 และ 3.9% ในปี 48 แต่คาดว่าจีดีพีของเยอรมนีจะขยายตัว 1.6% ในปี 47 สูงกว่าที่คาด
การณ์ไว้เมื่อปีก่อนที่ระดับ 1.5 แต่ต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ในร่างเดิมที่ระดับ 1.7% และคาดว่าในปี 49 จะมี
การเติบโต 1.9% ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ 2.1% ในขณะที่ยูโรโซนจะมีการเติบโตในปีนี้ 1.7% ลดลง
จากที่เคยคาดการณ์ไว้ 1.9% และจะมีการเติบโต 2.3% ในปี 48 ในทางกลับกัน IMF ได้เพิ่มน้ำหนักการ
มองเศรษฐกิจของอังกฤษและญี่ปุ่นว่าจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าอังกฤษจะมีการเติบโต 3.5% ในปีนี้
เทียบกับที่เคยคาดการณ์ไว้ 3.1% ส่วนญี่ปุ่นคาดว่าจะมีการเติบโต 3.4% ในปี 47 และ 1.9% ในปี 48 สูง
กว่าการคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 3.2% และ 1.7% ในปี 47 และ 48 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
4. การขยายตัวของฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค. ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน ในขณะที่ความเชื่อ
มั่นด้านระบบการเงินเพิ่มขึ้น รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 1 เม.ย.47 ธ.กลางของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การ
ขยายตัวของฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือนมี.ค.47 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความเชื่อมั่นต่อ
ระบบการเงินเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการใช้ธนบัตรลดลง โดยฐานเงินของญี่ปุ่นคือ เงินตราที่ใช้หมุนเวียนและ
เงินฝากของ ธ.พาณิชย์ที่ ธ.กลางในเดือนมี.ค.47 เพิ่มขึ้น 11.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงจาก
เดือน ก.พ.47 ที่มีการเติบโต 16.2% และนับเป็นเดือนที่ 30 ที่ตัวเลขดังกล่าวขยายตัวเป็นเลขสองหลัก
โดยธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนมี.ค.47 เทียบกับ 2.7% ในเดือน ก.พ.47
สาเหตุของการลดลงมาจากการที่ประชาชนมีความเชื่อมั่นในระบบการเงินมากขึ้น เพราะ ธ.พาณิชย์หลายแห่ง
สามารถจัดการกับหนี้เสียของตนได้ ความเชื่อมั่นในระบบการเงินของประเทศจึงกลับคืนมา ทำให้ความต้อง
การถือเงินสดลดลงและนำไปฝากธนาคารเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในอนาคตการขยายตัวของฐานเงินคาดว่าจะ
ยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยมีสมมติฐานจากดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีความมั่นคงขึ้น ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้ธนบัตร
ลดลง ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนมี.ค.47 ของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนว
โน้มดีขึ้น (รอยเตอร์)
5. ดัชนี PMI ของสิงคโปร์ในเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้น รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 1 เม.ย.47
ดัชนี PMI ของสิงคโปร์ในเดือน มี.ค.47 อยู่ที่ระดับ 53.4 จุด เพิ่มขึ้น 0.3 จุดจากเดือนก่อน เพิ่มขึ้นเป็น
เดือนที่ 10 ติดต่อกันจากการที่มีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นผลจากการ
ขยายกำลังการผลิต disk-drive ของผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Seagate Technology Inc และ
STMicroelectronics เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นจาก สรอ.และ จีน โดยดัชนี PMI ของภาค
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของยอดส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันเชื้อเพลิงของสิงคโปร์
สำหรับไตรมาสแรกปี 47 อยู่ที่ระดับ 53.0 จุดเพิ่มขึ้น 0.4 จุดจากไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 9
ติดต่อกัน โดยค่าดัชนีที่สูงกว่า 50 เป็นสัญญาณถึงการขยายตัว ทำให้คาดกันว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของสิงคโปร์ในปีนี้จะอยู่ในระดับสูงสุดของช่วงระหว่างร้อยละ 3.5 ถึง 5.5 ซึ่งรัฐบาลได้คาดไว้ก่อนหน้านี้
หลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 ในปีที่ผ่านมาจากผลกระทบของโรคไข้หวัด SARS (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2/4/47 1/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.204 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.0229/39.3085 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2000 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 671.92/25.78 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,800/7,900 7,800/7,900 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 30.05 30.3 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน ก.พ.47 อยู่ที่ระดับเดิม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน ก.พ.47 ว่าอยู่ที่ระดับ 50.4 เท่ากับเดือนก่อน โดยดัชนี
ย่อยในหมวดผลประกอบการลงทุน การจ้างงาน และการผลิต มีการปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีมีค่าสูงกว่าระดับ 50
แสดงถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ดีขึ้น แต่ดัชนีย่อยในหมวดคำสั่งซื้อทั้งหมด และหมวดต้นทุนประกอบการ อยู่
ระดับต่ำกว่า 50 โดยราคาวัตถุดิบ ค่าเงินบาท และไข้หวัดนก เป็นปัจจัยลบที่สำคัญต่อดัชนีในเดือน ก.พ.47
อย่างไรก็ตาม ธปท.ประเมินความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้าว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดัชนีความ
เชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงเล็กน้อยจาก 56.7 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 56.3 แต่ยังสูงกว่าค่ากลางที่ 50 ซึ่ง
แสดงถึงความมั่นใจของนักธุรกิจว่า สถานการณ์ในอนาคตจะปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งมองว่า
แนวโน้มของราคาวัตถุดิบ ค่าระวางการขนส่งสินค้า และค่าเงินบาท อาจก่อให้เกิดปัญหากับการดำเนินธุรกิจ
ในอนาคต (ไทยรัฐ, สยามรัฐ, โลกวันนี้)
2. อัตราการว่างงานในเดือน ม.ค.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.7 ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบาย
การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงอัตราการจ้างงานในเดือน ก.พ.47 ว่า การจ้าง
งานในภาคบริการยังขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสาขาโรงแรม ภัตตาคาร และการก่อสร้าง ขณะที่
การว่างงานในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ว่างงานประมาณ 1.3 ล้านคน และอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 3.7
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.4 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและโรคไข้
หวัดนกที่ระบาดในไก่ส่งผลให้การจ้างงานในภาคเกษตรและภาคการผลิตหดตัว แต่ผลดังกล่าวน่าจะเป็นเพียง
ปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น (สยามรัฐ)
3. ธปท.เชื่อมั่นอัตราการขยายตัวของสินเชื่อของ ธพ.ในปี 47 จะสูงกว่าร้อยละ 7 นางธาริษา
วัฒนเกส รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ธพ.ในปี
47 จะขยายตัวมากกว่าในปีก่อน ที่สินเชื่อมีการขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 7 และคาดว่าการปล่อยสินเชื่อให้กับ
ธุรกิจขนาดใหญ่ในปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอัตราการใช้กำลังการผลิตได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย
ในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา มีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงถึงร้อยละ 75.3 แสดงให้เห็นว่าภาคเอกชนโดย
เฉพาะภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ปลัด ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคา
ผู้บริโภคในเดือน มี.ค.47 อยู่ที่ระดับ 107.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อนร้อยละ 2.3 นับว่าอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 33 เดือน (มิ.ย.44) เนื่องจากราคาสินค้าหมวด
อาหารและเครื่องดื่มขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.6 จากการปรับราคาข้าวสารและสินค้าเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อสุกร
ไก่สด ปลา และสัตว์น้ำ อันเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกและอากาศร้อนทำให้ราคาสูงขึ้น ขณะ
ที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดที่ไม่ใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากการสูงขึ้นของราคาก๊าซหุงต้ม ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อ
เพลิง ค่าโดยสาร ค่าตรวจรักษาและยารักษาโรค สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย 3 เดือนแรกของปีนี้เฉลี่ย
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ไม่รวมหมวดสินค้าอาหารสดและ
พลังงานอยู่ที่ 104.6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี แต่ไม่เปลี่ยนแปลงหากเทียบกับเดือนก่อน (กรุงเทพ
ธุรกิจ, ไทยรัฐ, ข่าวสด)
5. ดัชนีอุตสาหกรรมภาพรวมในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ผู้อำนวยการสำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีอุตสาหกรรมเดือน ก.พ.47 (ครอบคุลม 50 กลุ่ม
อุตสาหกรรม) เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.47 โดยมี 5 ดัชนีหลักที่เพิ่มขึ้น คือ ดัชนีผลผลิต (มูลค่า) อยู่ที่ระดับ
125.76 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.63 ดัชนีผลผลิต (ผลผลิต) อยู่ที่ 133.48 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.19 ดัชนีการส่งสินค้า
อยู่ที่ 130.66 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.08 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม 145.42 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.97 ดัชนี
อัตราใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.39 ซึ่ง สศอ.ประเมินภาวะการผลิตและจำหน่ายอุตสาหกรรมพบว่า มีทิศทาง
ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8-12 จากที่คาดการณ์ว่าจะลดลงประมาณร้อยละ 3.6-4.6 เนื่องจากคำสั่งซื้อมีมากขึ้น
(กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อุตสาหกรรมการผลิตของโลกในเดือนมี.ค. 47 ส่งสัญญานฟื้นตัว รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 47 JP Morgan เปิดเผยว่าได้สำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อประมาณ 7,000 คนจากสรอ.
ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ และประเทศอื่นๆทั่วโลกเพื่อจัดทำ global Purchasing Managers’
Index — PMI ชี้ว่าในช่วงระหว่างเดือนมี.ค. 47 ดัชนี PMI เพิ่มขึ้นที่ระดับ 56.9 จากระดับ 55.8 ใน
เดือนก.พ. ทั้งนี้อุตสาหกรรมการผลิตที่ฟื้นตัวขึ้นในช่วงเดือนมี.ค. นับว่าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่เคยสูงสุด
เมื่อปลายปี 46 โดยดัชนีการจ้างงานในเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 51.3 จากระดับ 51.1 เมื่อเดือนก่อน
เนื่องจากการฟื้นตัวของตลาดแรงงานในสรอ. เช่นเดียวกับดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 59.7
จากระดับ 59.1 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตามการที่ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นอาจจะเป็นข้อจำกัดการขยายตัวของภาค
อุตสาหกรรมการผลิตในอนาคต (รอยเตอร์)
2. การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างของสรอ. ลดลงในเดือนก.พ. 47 รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 47 รัฐบาลสรอ.เปิดเผยว่า ในเดือนก.พ. 47 การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างใหม่ชะลอตัว
โดยมียอดรวมการก่อสร้างทั้งสิ้น 921.11 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจาก 922.23 พัน ล. ดอลลาร์สรอ.
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ในเดือนม.ค. หรือลดลงร้อยละ 0.1 นับเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็น
เดือนที่ 2 ขณะที่ผลการสำรวจของรอยเตอร์คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง สำหรับการใช้จ่ายการก่อสร้าง
ภาคเอกชนซึ่งเคยขยายตัวอย่างมากจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่อยู่ในระดับต่ำก็ลดลงเช่นเดียวกันที่ระดับ
499.17 พันล.ดอลลาร์สรอ. จากระดับที่เกือบทำสถิติสูงสุด 500.51 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือนก่อน
ลดลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 (ตัวเลขหลังการปรับฤดูกาล) ส่วนการก่อสร้างภาครัฐลดลงร้อยละ 1.0
ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 45 (รอยเตอร์)
3. IMF ปรับประมาณการจีดีพีของเยอรมนี อังกฤษ และญี่ปุ่น รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 1
เม.ย.47 IMF ได้ปรับรายละเอียดในพยากรณ์เศรษฐกิจโลกที่จะนำตีพิมพ์ลงใน World Economic
Outlook ในวันที่ 21 เม.ย.47 โดยยังคงคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของ สรอ. อยู่ที่ระดับเดิมคือ
4.6% ในปี 47 และ 3.9% ในปี 48 แต่คาดว่าจีดีพีของเยอรมนีจะขยายตัว 1.6% ในปี 47 สูงกว่าที่คาด
การณ์ไว้เมื่อปีก่อนที่ระดับ 1.5 แต่ต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ในร่างเดิมที่ระดับ 1.7% และคาดว่าในปี 49 จะมี
การเติบโต 1.9% ลดลงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ 2.1% ในขณะที่ยูโรโซนจะมีการเติบโตในปีนี้ 1.7% ลดลง
จากที่เคยคาดการณ์ไว้ 1.9% และจะมีการเติบโต 2.3% ในปี 48 ในทางกลับกัน IMF ได้เพิ่มน้ำหนักการ
มองเศรษฐกิจของอังกฤษและญี่ปุ่นว่าจะมีการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าอังกฤษจะมีการเติบโต 3.5% ในปีนี้
เทียบกับที่เคยคาดการณ์ไว้ 3.1% ส่วนญี่ปุ่นคาดว่าจะมีการเติบโต 3.4% ในปี 47 และ 1.9% ในปี 48 สูง
กว่าการคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 3.2% และ 1.7% ในปี 47 และ 48 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
4. การขยายตัวของฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค. ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน ในขณะที่ความเชื่อ
มั่นด้านระบบการเงินเพิ่มขึ้น รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 1 เม.ย.47 ธ.กลางของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การ
ขยายตัวของฐานเงินของญี่ปุ่นในเดือนมี.ค.47 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความเชื่อมั่นต่อ
ระบบการเงินเพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการใช้ธนบัตรลดลง โดยฐานเงินของญี่ปุ่นคือ เงินตราที่ใช้หมุนเวียนและ
เงินฝากของ ธ.พาณิชย์ที่ ธ.กลางในเดือนมี.ค.47 เพิ่มขึ้น 11.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลงจาก
เดือน ก.พ.47 ที่มีการเติบโต 16.2% และนับเป็นเดือนที่ 30 ที่ตัวเลขดังกล่าวขยายตัวเป็นเลขสองหลัก
โดยธนบัตรที่ใช้หมุนเวียนมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 1.7% ในเดือนมี.ค.47 เทียบกับ 2.7% ในเดือน ก.พ.47
สาเหตุของการลดลงมาจากการที่ประชาชนมีความเชื่อมั่นในระบบการเงินมากขึ้น เพราะ ธ.พาณิชย์หลายแห่ง
สามารถจัดการกับหนี้เสียของตนได้ ความเชื่อมั่นในระบบการเงินของประเทศจึงกลับคืนมา ทำให้ความต้อง
การถือเงินสดลดลงและนำไปฝากธนาคารเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ในอนาคตการขยายตัวของฐานเงินคาดว่าจะ
ยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยมีสมมติฐานจากดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีความมั่นคงขึ้น ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้ธนบัตร
ลดลง ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนมี.ค.47 ของญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนว
โน้มดีขึ้น (รอยเตอร์)
5. ดัชนี PMI ของสิงคโปร์ในเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้น รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 1 เม.ย.47
ดัชนี PMI ของสิงคโปร์ในเดือน มี.ค.47 อยู่ที่ระดับ 53.4 จุด เพิ่มขึ้น 0.3 จุดจากเดือนก่อน เพิ่มขึ้นเป็น
เดือนที่ 10 ติดต่อกันจากการที่มีคำสั่งซื้อสินค้าใหม่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นผลจากการ
ขยายกำลังการผลิต disk-drive ของผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Seagate Technology Inc และ
STMicroelectronics เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นจาก สรอ.และ จีน โดยดัชนี PMI ของภาค
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของยอดส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันเชื้อเพลิงของสิงคโปร์
สำหรับไตรมาสแรกปี 47 อยู่ที่ระดับ 53.0 จุดเพิ่มขึ้น 0.4 จุดจากไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นเป็นไตรมาสที่ 9
ติดต่อกัน โดยค่าดัชนีที่สูงกว่า 50 เป็นสัญญาณถึงการขยายตัว ทำให้คาดกันว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ของสิงคโปร์ในปีนี้จะอยู่ในระดับสูงสุดของช่วงระหว่างร้อยละ 3.5 ถึง 5.5 ซึ่งรัฐบาลได้คาดไว้ก่อนหน้านี้
หลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.1 ในปีที่ผ่านมาจากผลกระทบของโรคไข้หวัด SARS (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2/4/47 1/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.204 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.0229/39.3085 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.2000 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 671.92/25.78 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,800/7,900 7,800/7,900 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 30.05 30.3 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับเลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-