ในบรรดากลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (European Union: EU) สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่นำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 รองจากประเทศเยอรมนี ในปี 2546 สหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญอันดับ 3 ของไทย รองจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยไทยส่งออกเป็นมูลค่ากว่า 2,229 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 17% จากปี 2545 และคาดว่าสหราชอาณาจักรจะนำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเมื่อเดือนพฤษภาคม 2546 ที่ผ่านมา กลุ่ม EU ได้คืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) ให้แก่สินค้าเฟอร์นิเจอร์ของไทยหลังจากที่ได้ตัด GSP สินค้าเฟอร์นิเจอร์ของไทยเมื่อปี 2541
สำหรับข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดเฟอร์นิเจอร์ในสหราชอาณาจักรสรุปได้ดังนี้
1. อัตราภาษีนำเข้า สินค้าเฟอร์นิเจอร์ทุกประเภทของไทยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเนื่องจากเป็นสินค้าที่ได้รับ GSP จากกลุ่ม EU ขณะที่สหราชอาณาจักรเก็บภาษีนำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากประเทศอื่นๆ โดยทั่วไปในอัตราที่ต่ำเพียง 0%-5.6% โดยเฟอร์นิเจอร์ที่มีส่วนประกอบของโลหะ พลาสติก และเฟอร์นิเจอร์ไม้ (ยกเว้นชนิดที่ใช้ในห้องครัว) จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า สำหรับเฟอร์นิเจอร์ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำจากเหล็กและไม้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไผ่ หวาย หรือวัสดุที่คล้ายคลึงกันจะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 5.6%
2. มาตรฐานสินค้า ภายใต้ Consumption Protection Act 1987 ของสหราชอาณาจักรกำหนดให้เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตหรือจำหน่ายในสหราชอาณาจักรต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานด้านความปลอดภัย (ตามที่กำหนดไว้ใน The Furniture and Furnishings (Fire Safety) Regulation ของสหราชอาณาจักร) จากหน่วยงาน The Local Authorities Coordinators of Regulatory Services (เป็นหน่วยงานภายใต้รัฐบาลท้องถิ่นของสหราชอาณาจักร) อาทิ
การตรวจสอบวัสดุที่ใช้ในการผลิต โดยจะมีการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ วัสดุที่ใช้ประกอบหรือใช้หุ้มเฟอร์นิเจอร์ว่าต้องไม่ติดไฟได้ง่าย อย่างไรก็ตาม สำหรับเฟอร์นิเจอร์บางประเภท เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากหวาย (ไม่รวมเบาะรองนั่งและเบาะรองหลัง) เฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้งานในสวน และร่มกันแดดที่ใช้ประกอบกับชุดเฟอร์นิเจอร์ใช้งานในสวน เป็นต้น จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจสอบวัสดุที่ใช้ในการผลิต
ฉลากสินค้า ต้องระบุรายละเอียดของวัสดุที่ใช้ทำ ใช้ประกอบ หรือใช้หุ้มเฟอร์นิเจอร์ เป็นภาษาอังกฤษอย่างชัดเจน โดยกำหนดให้ตัวอักษรที่ปิดบนฉลากสินค้าต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.5 มิลลิเมตรนอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2546 ที่ผ่านมา คณะกรรมการสหภาพยุโรปได้ออก EU Directive 76/769/EEC ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ห้ามการใช้สารในกลุ่ม Arsenic (สารหนู) เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ทุกชนิด (ผู้ผลิตนิยมใช้สาร Cooper Chromium Arsenic เพื่อป้องกันการผุกร่อนของเนื้อไม้และป้องกันแมลงทำลายไม้) เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคนและสัตว์ที่ได้สัมผัส ทั้งนี้ ข้อกำหนดดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2547 กับสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
3. รสนิยม เนื่องจากบ้านหรือที่พักอาศัยของชาวอังกฤษมีขนาดจำกัด ทำให้ชาวอังกฤษส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้อเฟอร์นิเจอรที่ใช้งานได้หลากหลายเพื่อเน้นประหยัดพื้นที่ใช้สอยเป็นหลัก อาทิ มักเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ประเภทโต๊ะรับประทานอาหารที่สามารถเพิ่มและลดขนาดของโต๊ะตามความต้องการใช้งานได้ ฯลฯ ทั้งนี้ ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ชอบใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีรูปแบบเรียบง่ายแต่ดูทันสมัยโดยจะเน้นสีโทนอ่อนสบายตาเป็นหลัก และในปัจจุบันชาวอังกฤษเริ่มหันมานิยมใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น หวายและกกกันมากขึ้น
4. ผู้ครองตลาด ปัจจุบันไทยยังมีส่วนแบ่งตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ในสหราชอาณาจักรค่อนข้างต่ำประมาณ 2% โดยประเภทของเฟอร์นิเจอร์ที่นิยมนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ เฟอร์นิเจอร์ไม้ (อาทิ เก้าอี้ไม้ เฟอร์นิเจอร์ชนิดถอดประกอบได้ (Knock Down) เช่น ชุดอาหาร ชุดรับแขก และชั้นวางของ) รองลงมา คือ เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ (อาทิ เก้าอี้ที่มีเบาะรองนั่ง และที่นั่งซึ่งสามารถปรับหมุนและปรับระดับความสูงได้) และเฟอร์นิเจอร์โลหะ (อาทิ เฟอร์นิเจอร์โลหะที่ใช้ในสำนักงาน ฯลฯ) ตามลำดับ โดยมีผู้ครองตลาดสำคัญดังนี้
เฟอร์นิเจอร์ไม้ คือ อิตาลี (11.3%) เยอรมนี (9.5%) จีน (8.9%) เดนมาร์ก (6.0%) และโปแลนด์ (5.9%) โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาด 1.7% เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ คือ อิตาลี (38.2%) จีน (15.3%) เบลเยี่ยม (6.7%) โปแลนด์ (4.2%) และเยอรมนี (3.9%) โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาด 3.0%เฟอร์นิเจอร์โลหะ คือ จีน (22.5%) เยอรมนี (10.9%) อิตาลี (10.0%) มาเลเซีย (6.9%) และฝรั่งเศส (6.1%) โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาด 1.0% งานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญ คือ งาน The Furniture Show ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรโดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งจะช่วยให้ผู้ส่งออกมีโอกาสได้พบปะกับผู้นำเข้าได้โดยตรงทำให้ทราบความต้องการและสามารถผลิตสินค้าในรูปแบบที่ตรงใจผู้ซื้อได้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2547--
-สส-
สำหรับข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดเฟอร์นิเจอร์ในสหราชอาณาจักรสรุปได้ดังนี้
1. อัตราภาษีนำเข้า สินค้าเฟอร์นิเจอร์ทุกประเภทของไทยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเนื่องจากเป็นสินค้าที่ได้รับ GSP จากกลุ่ม EU ขณะที่สหราชอาณาจักรเก็บภาษีนำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากประเทศอื่นๆ โดยทั่วไปในอัตราที่ต่ำเพียง 0%-5.6% โดยเฟอร์นิเจอร์ที่มีส่วนประกอบของโลหะ พลาสติก และเฟอร์นิเจอร์ไม้ (ยกเว้นชนิดที่ใช้ในห้องครัว) จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า สำหรับเฟอร์นิเจอร์ประเภทอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำจากเหล็กและไม้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไผ่ หวาย หรือวัสดุที่คล้ายคลึงกันจะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 5.6%
2. มาตรฐานสินค้า ภายใต้ Consumption Protection Act 1987 ของสหราชอาณาจักรกำหนดให้เฟอร์นิเจอร์ที่ผลิตหรือจำหน่ายในสหราชอาณาจักรต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานด้านความปลอดภัย (ตามที่กำหนดไว้ใน The Furniture and Furnishings (Fire Safety) Regulation ของสหราชอาณาจักร) จากหน่วยงาน The Local Authorities Coordinators of Regulatory Services (เป็นหน่วยงานภายใต้รัฐบาลท้องถิ่นของสหราชอาณาจักร) อาทิ
การตรวจสอบวัสดุที่ใช้ในการผลิต โดยจะมีการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ วัสดุที่ใช้ประกอบหรือใช้หุ้มเฟอร์นิเจอร์ว่าต้องไม่ติดไฟได้ง่าย อย่างไรก็ตาม สำหรับเฟอร์นิเจอร์บางประเภท เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากหวาย (ไม่รวมเบาะรองนั่งและเบาะรองหลัง) เฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้งานในสวน และร่มกันแดดที่ใช้ประกอบกับชุดเฟอร์นิเจอร์ใช้งานในสวน เป็นต้น จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจสอบวัสดุที่ใช้ในการผลิต
ฉลากสินค้า ต้องระบุรายละเอียดของวัสดุที่ใช้ทำ ใช้ประกอบ หรือใช้หุ้มเฟอร์นิเจอร์ เป็นภาษาอังกฤษอย่างชัดเจน โดยกำหนดให้ตัวอักษรที่ปิดบนฉลากสินค้าต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 2.5 มิลลิเมตรนอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2546 ที่ผ่านมา คณะกรรมการสหภาพยุโรปได้ออก EU Directive 76/769/EEC ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ห้ามการใช้สารในกลุ่ม Arsenic (สารหนู) เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ทุกชนิด (ผู้ผลิตนิยมใช้สาร Cooper Chromium Arsenic เพื่อป้องกันการผุกร่อนของเนื้อไม้และป้องกันแมลงทำลายไม้) เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคนและสัตว์ที่ได้สัมผัส ทั้งนี้ ข้อกำหนดดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2547 กับสินค้าที่ผลิตในประเทศและสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
3. รสนิยม เนื่องจากบ้านหรือที่พักอาศัยของชาวอังกฤษมีขนาดจำกัด ทำให้ชาวอังกฤษส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้อเฟอร์นิเจอรที่ใช้งานได้หลากหลายเพื่อเน้นประหยัดพื้นที่ใช้สอยเป็นหลัก อาทิ มักเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ประเภทโต๊ะรับประทานอาหารที่สามารถเพิ่มและลดขนาดของโต๊ะตามความต้องการใช้งานได้ ฯลฯ ทั้งนี้ ชาวอังกฤษส่วนใหญ่ชอบใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีรูปแบบเรียบง่ายแต่ดูทันสมัยโดยจะเน้นสีโทนอ่อนสบายตาเป็นหลัก และในปัจจุบันชาวอังกฤษเริ่มหันมานิยมใช้เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น หวายและกกกันมากขึ้น
4. ผู้ครองตลาด ปัจจุบันไทยยังมีส่วนแบ่งตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ในสหราชอาณาจักรค่อนข้างต่ำประมาณ 2% โดยประเภทของเฟอร์นิเจอร์ที่นิยมนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ เฟอร์นิเจอร์ไม้ (อาทิ เก้าอี้ไม้ เฟอร์นิเจอร์ชนิดถอดประกอบได้ (Knock Down) เช่น ชุดอาหาร ชุดรับแขก และชั้นวางของ) รองลงมา คือ เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ (อาทิ เก้าอี้ที่มีเบาะรองนั่ง และที่นั่งซึ่งสามารถปรับหมุนและปรับระดับความสูงได้) และเฟอร์นิเจอร์โลหะ (อาทิ เฟอร์นิเจอร์โลหะที่ใช้ในสำนักงาน ฯลฯ) ตามลำดับ โดยมีผู้ครองตลาดสำคัญดังนี้
เฟอร์นิเจอร์ไม้ คือ อิตาลี (11.3%) เยอรมนี (9.5%) จีน (8.9%) เดนมาร์ก (6.0%) และโปแลนด์ (5.9%) โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาด 1.7% เฟอร์นิเจอร์อื่นๆ คือ อิตาลี (38.2%) จีน (15.3%) เบลเยี่ยม (6.7%) โปแลนด์ (4.2%) และเยอรมนี (3.9%) โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาด 3.0%เฟอร์นิเจอร์โลหะ คือ จีน (22.5%) เยอรมนี (10.9%) อิตาลี (10.0%) มาเลเซีย (6.9%) และฝรั่งเศส (6.1%) โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาด 1.0% งานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่สำคัญ คือ งาน The Furniture Show ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรโดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งจะช่วยให้ผู้ส่งออกมีโอกาสได้พบปะกับผู้นำเข้าได้โดยตรงทำให้ทราบความต้องการและสามารถผลิตสินค้าในรูปแบบที่ตรงใจผู้ซื้อได้
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2547--
-สส-