ปาฐกถาพิเศษ
โดย
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้บริหารหอการค้าทั่วประเทศประจำปี 2547
ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
1 เมษายน 2547
___________________
ขอบคุณท่านประธาน ท่านคณะกรรมการ และเลขาธิการหอการค้าทั่วประเทศ ถึงแม้ว่าจะเป็นการมาที่กะทันหัน แต่เมื่อหอการค้าบอกให้มา ผมต้องมา เพราะตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมา หอการค้าได้เป็นกัลยาณมิตร เป็นแนวร่วม เป็นผู้ที่ช่วยผมและรัฐบาลตลอดมา ฉะนั้นไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ที่จะเป็นประโยชน์กับทางหอการค้า รัฐบาลยินดีที่จะให้การสนับสนุนเต็มที่
วันนี้ท่านประธานบอกว่าพูดเรื่องอะไรก็ได้ ผมก็จะเดาใจว่าท่านอยากจะให้ผมพูดเรื่องอะไร ท่านครับไม่ต้องเป็นห่วงเศรษฐกิจของประเทศ มันต้องไปได้ดีแน่นอน เราสร้างมันขึ้นมาด้วยความเหนื่อยยากจากเมื่อ 3 ปีที่แล้วในช่วงที่ใกล้จะล้มละลาย เราสร้างขึ้นมาได้ถึงขนาดอย่างนี้ ไม่ใช่ของเล่นๆ เป็นเรื่องที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่เมื่อเราสร้างมันขึ้นมาได้แล้วเราจะไม่ยอมให้มันสลายไปง่ายๆ เพราะอันนี้เรากำลังสร้าง ไม่ใช่สร้างเพื่อตัวเราเอง แต่เรากำลังสร้างเพื่อลูกหลานของพวกเราในอนาคตข้างหน้า จังหวะนี้ไม่มีอีกแล้ว โอกาสนี้ไม่มีอีกแล้ว การที่ได้มีโอกาสมาทำงานในกระทรวงการคลังก็ดี ในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีก็ดี อยู่ตรงไหนไม่สำคัญ สำคัญที่รู้ว่าผมกำลังทำอะไรอยู่และจะทำอะไรและใครก็ห้ามผมไม่ได้ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าเศรษฐกิจในขณะนี้ตั้งแต่มีการเลือกตั้งมากี่สิบปีก็แล้วแต่ ขณะนี้ตัวเลข Indicator ทางเศรษฐกิจดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ท่านจะไปวัดจากดัชนีตัวใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การลงทุน การส่งออก การท่องเที่ยว เงินสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ในทุกๆ ประการมีแต่ดีขึ้น ตรงนี้ท่านไม่ต้องเป็นห่วง
ถามว่าดีขึ้นเพราะอะไร มาจากหลายสาเหตุ มันมาจากความเพียรพยายามของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มันมาจากความร่วมมือของภาครัฐกับภาคเอกชน อีกหลายๆ ประการ แต่สิ่งสำคัญที่สุดมันมาจากเรื่องของความเชื่อมั่น เรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Trust" ผมจำได้ว่าผมพูดคำว่า Trust คำนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ตอนที่ผมบอกว่าเศรษฐกิจเมืองไทยเหมือนกับถ่านก้อนแรกๆ ที่กำลังคุอยู่เริ่มติดไฟ แล้วมันจะติดลามไปทั่วเตาถ้าเราสามารถ Create Trust ขึ้นมาได้
เบื้องหลังความล้มเหลวของเมืองไทยเมื่อ 3 - 4 ปีที่แล้ว เพราะว่ามันไม่มี Trust ไม่มีความเชื่อมั่น ไม่มีความไว้วางใจ ไม่เชื่อถือซึ่งกันและกัน ทุกคนมองแต่ว่าประเทศจะมีอันเป็นไป ต่างคนต่าง Save ตัวเองเอาไว้ก่อน ฉะนั้นเมื่อ Trust ไม่มี พลังก็ไม่เกิด แต่เมื่อเราพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นที่สาธารณชน (Public) มีต่อรัฐบาล มีต่อการบริหาร มันก็ทำให้ความหวังเกิดขึ้น นักลงทุนที่แต่เดิมไม่กล้าลงทุนเลยก็คิดที่จะขยายการลงทุน ประชาชนซึ่งแต่ไหนแต่ไรไม่กล้าที่จะบริโภคเลย มีเงินก็รีบเก็บเอาไว้ก่อนแล้ว ไม่รู้เมืองไทยจะเป็นอย่างไรบ้าง เก็บไว้กันตายในอนาคตก็เริ่มกล้าที่จะใช้จ่าย เริ่มกล้าที่จะมีบ้านของตัวเอง ในครอบครัวเริ่มกล้าที่จะผ่อนบ้าน ผ่อนรถ คนที่แต่เดิมไม่ค่อยอยากจะท่องเที่ยวก็เริ่มมีจิตใจเบิกบาน ท่องเที่ยวภายในประเทศ ทุกอย่างเศรษฐกิจก็เริ่มหมุนเวียน ระบบเครดิตแต่ดั้งเดิมซึ่งไม่มีเลย ทุกคนบอกว่าต้องซื้อขายด้วยเงินสดไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทยมาก่อน ก็เกิดขึ้นในเมืองไทย สิ่งเหล่านั้นก็เพราะว่า Trust ไม่มี ก็หายไป ทุกคนก็เริ่มกลับมาสู่วงจรปกติ
เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ตัวเลขดีขึ้น ความมั่นใจเหล่านี้ก็ยิ่งเพิ่มทวีขึ้น เมื่อเพิ่มทวีขึ้นมันก็ Spillover ไปถึงต่างประเทศ ต่างประเทศก็เริ่มมองที่เมืองไทย แต่เดิมผมเดินทางไปกับท่านนายกรัฐมนตรี ไปคุยกับเขา ไปเล่าให้เขาฟัง เชิญเขามาลงทุน ไม่มีสักคนหนึ่งเลยที่บอกว่าจะเอาเงินเข้ามาในเมืองไทย เขาบอกว่า What a mess! ในขณะนั้น What a mess! แปลว่า มันยุ่ง มันมั่ว ท่านต้องรู้จักจัดการตัวเองเสียก่อนแล้วเราค่อยมั่นใจท่าน แล้วค่อยเข้ามา เราก็พยายามจัดการสิ่งใดที่เขาไม่มั่นใจ เรื่องหนี้สาธารณะ เรื่องจิปาถะ เรื่อง บสท. และก็พยายามจัดการทุกอย่างให้เขาเหล่านั้นเริ่มเชื่อใจเรา ไม่เพียงให้เขาแค่เชื่อมั่นในปัจจุบัน ต้องวาดภาพให้เขาเชื่อมั่นในอนาคต เขาบอกว่าเมืองไทย GDP ขนาดอย่างนี้โตขึ้นมากี่ไตรมาสต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่เท่านั้น อนาคตเราจะเป็นอะไรในอาเซียน เราจะ Link อย่างไรกับชาติเพื่อนบ้าน ฉะนั้นโอกาสที่ความเจริญเติบโตจะเติบโตอย่างต่อเนื่องมันจะมีอยู่
ผมจำได้ว่าผมได้ไปประกาศคำว่า Reform ครั้งแรกเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา ให้เขารู้ว่าเราไม่ได้นิ่งเฉย เราต้องการปฏิรูปประเทศ ทุกอย่างทั้งหมดก็เพื่อสร้างคำว่า "Trust" สร้างความเชื่อมั่น สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับสาธารชน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อันนั้นคือจุดเริ่มต้นแห่งความยั่งยืน
แต่ ณ ขณะนี้คำว่า "ความเชื่อมั่น" หรือ Trust กำลังถูกสั่นคลอน กำลังถูกท้าทายว่ามันเหมือนเดิมหรือเปล่า มันจะทำให้ประเทศไทยซึ่งเขาคิด เขากล้าที่จะมาลงทุนนั้นมันเหมือนเดิมหรือไม่ นักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนเป็นหมื่นล้าน เพื่อที่จะมองว่าเมืองไทยอนาคตอีก 10 - 20 ปี แน่นอนเลย เขาเอาเงินมากองไว้ที่เมืองไทยแทนที่จะไปกองไว้ที่มาเลเซีย สิงคโปร์ เขามากองที่เมืองไทย เขารู้ว่าลงทุนในจีนอย่างเดียวไม่ได้ เอาไข่ทุกฟองวางไว้ที่เมืองจีนไม่ได้ ต้องมาวางไว้ที่จุดหนึ่งในอาเซียน และในอาเซียนนั้นเขาเลือกเมืองไทย ทั้งหมดนี้มันอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อมั่น ความเชื่อมั่นเป็นจิตวิทยา พิสูจน์ไม่ได้ แตะต้องมิได้ ฉะนั้นความรู้สึกอันนี้สำคัญอย่างยิ่ง ถึงบอกว่าชาวบ้าน นักธุรกิจ พูดอะไรก็ได้ แต่นักการเมือง โดยเฉพาะผู้ที่มีตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบ จะพูดอะไรไม่ได้ ทุกอย่างไม่ได้ ต้องพูดในสิ่งซึ่งไม่ทำให้จิตวิทยานี้แปรปรวนไป
ความเชื่อมั่นทั้งหลายซึ่งเป็นจิตวิทยานี้ วันนี้เริ่มมีคนตั้งคำถาม ใช้คำว่าตั้งคำถามจาก 3 กระแส
กระแสที่ 1 คือเรื่องไข้หวัดนก เมื่อเกิดหวัดนกขึ้นมาทุกคนตกใจ ผมว่าถ้าคนแตะแล้วตาย อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าท่านจำได้สารพัดข่าวออกมาเลย หมูก็ตาย ควายก็ตาย ประเมินกันใหญ่เลยว่าแสนล้านแน่นอน ข่าวเหล่านี้ถ้าท่านลองนึกภาพดูว่าเราอยู่ต่างประเทศไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ฟังแล้วน่าขนลุกหรือไม่ เราในฐานะที่รับผิดชอบเราก็รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ปล่อยให้อยู่นานไม่ได้ ต้องรีบตัดต้นตอ ก็เข้ามาช่วยดูแล และวันนี้ผมเชื่อว่าความเสียหายน้อยมาก ปัญหาที่จะเกิดกับระหว่างประเทศก็น้อยมาก ประเด็นอยู่เพียงว่าอนาคตจะเลี้ยงไก่กันอย่างไร ที่ว่าจะเสียหายเป็นแสนล้านนั้นไม่มีทาง อยากให้คนที่พูดมาดูตัวเลขอีกสักครั้งสิว่าอนาคตท่านควรจะพูดสิ่งเหล่านี้ด้วยความรับผิดชอบมากขึ้นหรือไม่ หรือว่าจะสักแต่ว่าพูด
เรื่องไข้หวัดนกเพราะว่าเราทำเร็วจัดการเร็ว และก็หวังอย่างยิ่งว่าจะได้รับการจัดการอย่างต่อเนื่อง ผลภัยมันก็จะมีน้อย ความเสียหายก็ถูกจำกัดเขต ดีไม่ดีก็จะกลายเป็นโอกาสเสียด้วยซ้ำไป ประเทศไทยบางครั้งต้องอาศัยวิกฤติการณ์ถึงจะสร้างเป็นโอกาสได้ ถ้าไปสบายๆ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง วันนี้ใครที่คิดจะเลี้ยงไก่ระบบเดิมต้องคิดเสียใหม่ เพราะถ้าไม่คิดเสียใหม่อนาคตอาจจะหมดตัว เรื่องนี้ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วงกระแสที่ 2 เรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เรื่องของม็อบ เราก็รู้ว่ารัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรของรัฐ ส่วนใหญ่แล้วจะครอบคลุมขอบเขตของโครงสร้างพื้นฐานใหญ่ของประเทศ เราบอกว่าเราต้องการที่จะยกระดับความสามารถแข่งขันของประเทศ ถ้าเราจะยกระดับขึ้นมาก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ว่าโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ต้องได้รับการยกระดับขึ้นมาเป็นตัวรองรับ ผ่านมากี่สิบปีฐานะรัฐวิสาหกิจเป็นอย่างไร ทุกคนทราบดีเราไม่ต้องมาพูดกันซ้ำซาก ประสิทธิภาพของการบริหารเป็นอย่างไรทุกคนทราบดี เมื่อสักครู่นี้อยู่บนโต๊ะอาหาร อาจารย์ท่านหนึ่งบอกผมว่าผลการประเมินผลการทำงานที่ผ่านมานั้นชัดเจนมีอยู่ เราไม่ต้องพูดถึง เราเพียงแต่ต้องการที่จะบอกว่าเจตนาของรัฐบาลในการทำรัฐวิสาหกิจให้ดีเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ เป็นนโยบายที่ต้องการทำให้รัฐวิสาหกิจมีพลัง มีฐานทุนที่ใหญ่พอ ประเทศกำลังพัฒนา ยิ่งประเทศพัฒนาเท่าไรความต้องการระบบสาธารณูปโภคก็มีมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าหากว่ารัฐวิสาหกิจของเรายังแบกหนี้สินเป็นล้านๆ อย่างนี้ ท่านก็จะไม่สามารถเติบโตตามทันความต้องการของการพัฒนาของประเทศได้
การเข้าสู่ตลาดทุนเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยขยายฐานทุนขึ้นมา ให้ท่านสามารถที่จะขยายขอบเขตการทำงานให้ดีขึ้น ให้ใหญ่ขึ้น ตอบสนองความต้องการการพัฒนาประเทศ ไม่มีใครสักคนหนึ่งที่เจตนาจะขายรัฐวิสาหกิจ ถ้ารัฐบาลจะขายรัฐวิสาหกิจ ขายไปนานแล้วตั้งแต่ปีแรกที่เข้ามา เพราะปีนั้นสตางค์ในกระเป๋าแทบจะหมดเกลี้ยง แต่ตอนนี้สตางค์ในกระเป๋ามีกว่า 40 Billion ดอลลาร์ แล้วใครจะไปขายรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลถือ Majority ใครจะสามารถทำอะไรได้ ขอเพียงแค่ว่าสามารถเข้าถึงตลาดทุน สามารถขายหุ้นให้กับประชาชน ประชาชนแทนที่จะเอาเงินไปฝากธนาคาร ก็มาซื้อหุ้น เป็นส่วนของเจ้าที่มาจากคนในประเทศ ต่างประเทศมาถือหุ้นบ้างไม่เป็นไร เพราะทำให้หุ้นเหล่านั้นมีคุณค่ามากขึ้น แต่จำกัดเป็นส่วนน้อย อันนี้เป็นข้อมูลข้อเท็จจริงที่ประกาศไป แต่ก็ยังคงมีหลายท่านที่บอกว่าจะขายรัฐวิสาหกิจกินหรืออย่างไร อันนี้แปลว่าไม่เข้าใจ หรือแกล้งไม่เข้าใจ พวกเราฟังแล้วก็จะเข้าใจกันเอง
พูดถึงเรื่องของประสิทธิภาพ การเป็นบริษัทมหาชนทำให้ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ ทุกปีท่านต้องมาประกาศว่าท่านจะทำอะไร หมดปีท่านต้องมาบอกว่าท่านทำได้จริงหรือเปล่า ทำไม่ได้เพราะอะไร และปีหน้าจะทำให้ดีกว่านี้ได้อย่างไร จะสั่งซื้อไอ้นี้ สั่งซื้อไอ้โน่น ท่านจะไม่สามารถสั่งซื้อได้ตามอำเภอใจเพราะท่านต้องรายงานต่อผู้ถือหุ้น ทุกอย่างต้องโปร่งใส อย่างนี้ผิดหรือเปล่า? ถ้าผิดเราก็ไม่ทำ แต่สิ่งเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่ชอบธรรมเพื่อให้องค์กรดีขึ้น ถ้าเราบอกว่าถ้าทำแล้วเป็นห่วงว่าการกระจายหุ้น สุดท้ายบางคนก็เบี้ยวเอาไปกิน ตัดตอน ประชาชนก็ไม่ได้เป็นเจ้าของตามที่ต้องการ ก็มาคุยกัน มาช่วยกันดูแล ขณะนี้ก็พยายามที่จะให้สำนักรัฐวิสาหกิจทำเรื่องของการกระจายหุ้นเพื่อไม่ให้มีการที่ว่าคนอื่นมาเสียบเอาผลประโยชน์ไปโดยที่ประชาชนไม่ได้โอกาส ใครที่ไม่มีเงินซื้อหุ้นก็จะพยายามหาหนทางให้เขามีโอกาสได้ซื้อหุ้น การกระจายหุ้นต้องเป็นธรรม มาช่วยกันดูแล ตรงนี้เป็นปัญหาซึ่งต้องการการช่วยกันดูแล
เรื่องผลประโยชน์ของพนักงาน เราก็พยายามดูแลให้ เพราะถือว่าท่านสร้างองค์กรนั้นขึ้นมา จริงๆ ท่านไม่มีสิทธิเรียกร้องเพราะเป็นเงินที่มาจากภาษีอากรประชาชน แต่เราเข้าใจว่าท่านช่วยสร้างองค์กรนี้ขึ้นมาก สิ่งเหล่านี้ควรจะตอบแทนให้ท่าน เราจัดการให้ทุกอย่าง การที่มีม็อบ อันนี้ไม่ว่ากัน อันนี้เป็นการระบายออกมาซึ่งอารมณ์จากข้างใน แต่ทุกอย่างขอให้อยู่ในกฎเกณฑ์ ไม่พอใจสิ่งใด อึดอัดอย่างไรคุยกัน ท่านเกรงว่าผลประโยชน์ของประชาชนจะถูกกระทบ เกรงค่าน้ำค่าไฟขึ้น องค์กรกำกับต้องถูกเอาออกมา และองค์กรการกำกับต้องมีคนจากหลายๆ ฝ่าย รัฐบาลไหนจะอยู่รอดได้บ้างถ้าบอกว่าจู่ๆ จะคิดขึ้นค่าไฟ จู่ๆ จะคิดขึ้นค่าน้ำ มีรัฐบาลไหนที่จะโง่เง่าเต่าตุ่นขนาดอย่างนั้น รัฐบาลมีแต่ว่าต้องดูแลประชาชนถึงจะอยู่รอดได้ สิ่งเหล่านี้องค์กรกำกับก็ต้องเป็นอิสระที่ต้องดูแลกัน ถ้าท่านไม่ไว้ใจก็ส่งคนเข้ามา Join อยู่ในนั้นด้วย ก็ต้องมานั่งตกลงกัน คุยกันว่าจะเอาอย่างไร สิ่งเหล่านี้ต้องคุยกันด้วยเหตุด้วยผล
ท้ายที่สุดแล้วถามว่าที่มีม็อบรัฐวิสากิจนั้นกระทบเศรษฐกิจไหม? ผมตอบให้เลยในระยะสั้น ใน 1 ปีข้างหน้าไม่กระทบหรอก อย่างมากก็คือว่าการแปรรูปชะลอไป ท่านเสียโอกาสเท่านั้น โอกาสแห่งการพัฒนาองค์กรของรัฐให้แข็งแรง ให้เข้มแข็ง แต่ว่าไม่กระทบเศรษฐกิจระยะสั้น แต่ถ้าหากว่าการที่มีเหตุการณ์อย่างนี้นานเข้าๆ ถึงขนาดยืดเยื้อ มันกระทบระยะยาว กระทบเพราะอะไร? คนจะไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศนี้ ต่างประเทศที่เคยมาลงทุนในเมืองไทย ขนเงินมาลงทุน เขามองว่า 3 ปีที่ผ่านมานี้มันมี 3 Stabilities เสถียรภาพ 3 ประการ 1. ทางการเมือง 2. สังคม 3. เศรษฐกิจ ถ้าท่านมีอย่างนี้ไปยาวๆ ถ้าท่านชุมนุมโดยที่เป็นความสงบเรียบร้อยไม่มีปัญหาเลย แต่ว่ามันเพียงไปเขย่าเรื่องความไม่แน่นอน (Uncertainty)
ขณะนี้ที่มาเลเซีย การเลือกตั้ง Landslide เขาดูแล้ว 4 ปีข้างหน้าแน่นอน นิ่ง เขาจะเกิดการเปรียบเทียบทันที ถามว่าบนเนื้อผ้าแล้วมาเลเซียจะเอาอะไรมาเปรียบเทียบเมืองไทย แต่ถ้ามีภาวะที่ไม่แน่นอนอย่างนี้ ใครๆ เขาเริ่มคิดในใจ เงินที่เชื่อว่าจะขนมาสร้างโรงงานในเมืองไทย เขาก็ต้องคิดหน้าคิดหลังเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้ควรหรือที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทย? ควรหรือที่เมืองไทยนั้นจะแพ้ต่างประเทศ? ในยุคซึ่งต่างคนต่างต้องแย่งชิงการเป็นพื้นฐาน การเป็น Hub การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค เรื่องนี้ผมอยากให้ทุกฝ่ายคุยกัน อย่าใช้อารมณ์ เอาเหตุผลมา และก็พยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุดสำหรับประเทศ ใครไม่เห็นด้วย แสดงออกซึ่งความไม่เห็นด้วย ส่งผู้แทนมาคุยกัน ผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ถ้าเราตั้งใจ ประชาชนเข้าใจ อันนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่
มาถึงเรื่องทางใต้ ท่านนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ด้วยตัวเอง ปรับเปลี่ยนบุคลากรทุกอย่างด้วยความที่เข้าใจพื้นที่มากขึ้น ด้วยการที่ผู้บริหารอันดับหนึ่งลงไปถึงพื้นที่ เป็นไปไม่ได้ที่จะยืดยาวและรุนแรง ถ้าเรา Contain สิ่งเหล่านี้ไว้เฉพาะจุด มันก็จะไม่มีปัญหาอะไร อย่าให้มันลุกลาม อย่าทำร้ายตัวเราเอง
แต่ละเรื่องที่ผมพูดออกมา เรื่องหวัดนกไม่ใช่ประเด็น เรื่องม็อบก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เป็นเรื่องปกติ คุยกันเสียอย่าให้มันลุกลาม มีอะไรไม่เข้าใจคุยกัน เรื่องทางใต้รัฐบาลต้องแก้ไขให้ได้ นี้เป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อนายกรัฐมนตรีลงมาเองต้องแก้ไขให้ได้ 3 เรื่องนี้ทุกฝ่ายอยากให้จบเร็วที่สุด เพื่อมิให้คำว่า "ความเชื่อมั่น ความเชื่อถือไว้วางใจ" ถูกสั่นคลอน อย่าคิดว่าความไม่เชื่อมั่นเป็นต้นทุนของรัฐบาล อย่าคิดว่าถ้ามีเหตุการณ์เหล่านี้เป็นปัญหาของรัฐบาล มันเป็นปัญหาของประเทศ ต้นทุนไม่ได้เกิดขึ้นจากรัฐบาล ต้นทุนเกิดขึ้นกับประเทศโดยส่วนรวมเลย สิ่งซึ่งเป็นอนาคตอันสดใส อนาคตที่ดีมันจะเริ่มมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น ฉะนั้น ต้องหันหน้าเข้าหากัน คุยกัน จำกัดเขต อย่าให้มีสิ่งใดที่รุนแรง และถ้าเราสามารถจำกัดเขตนั้นได้ ทุกอย่างนิ่ง อย่างไรเศรษฐกิจพื้นฐานนั้นดีอยู่แล้ว อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ประเทศไทย 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลก็เหมือนกับขับเรือบิน ขับเรือบินตอนต้นเรือบินไม่ค่อยจะดี ก็เปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี้ ไขลาน ไขน็อตให้เรือบินบินได้ เมื่อบินได้ก็เติมน้ำมันให้เต็มถัง Reserve ซึ่งอยู่ก้นถังก็เริ่มเต็มถังขึ้นมา ทุกอย่างพร้อมที่จะบิน Take off พอ Take off จะบินสูงมันก็ต้องเจออากาศที่แปรปรวนเรื่องธรรมดา ท่านเคยนั่งเครื่องบินใช่ไหม? เวลาท่านผ่านทะลุเมฆ ตอนที่อยู่ตรงเมฆนี้แหละมันเป็น Turbulence มันเป็นความแปรปรวน มันก็เหมือนกับประเทศ ถ้าท่านต้องการอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย ผมเข้ากระทรวงการคลัง ข้าราชการชงขึ้นมาเซ็นเช้า เซ็นเย็น เซ็นเช้า เซ็นเย็น สบายสิ ไม่ต้องบินเลย นั่ง Enjoy กับ Reserve 43 Billion ไม่ต้องทำอะไร ชีวิตสบาย ไม่ต้องเกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น
แต่ถ้าทำอย่างนั้นเรือบินของท่านก็บินได้แค่อยู่ต่ำกว่าเมฆ ถ้าท่านคิดอ่านว่าไหนๆ ชีวิตของท่านต้องมาทำให้กับการเมืองแล้ว ขับเรือบินให้มันทะลุเมฆขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนประเทศให้มันเป็นอีกแบบหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อตัวท่านเองเพื่อลูกหลานของท่าน มันก็ต้องเจอความแปรปรวน มันคงไม่ใช่แค่ 3 กระแสนี้หรอก คงไม่ได้แค่ไข้หวัดนก แค่ม็อบ กฝผ. หรือแค่ปัญหาทางใต้ มันยังมีอีกหลายปัญหาที่ต้องเจอข้างหน้า เพราะว่าการที่ท่านจะ Transform ประเทศจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง มันไม่ใช่ของง่าย ต้องอาศัยความกล้า ต้องอาศัยพลังร่วม ฉะนั้นการเจอลมแปรปรวนต้องถือว่าเป็นเรื่องปกติ หนักใจได้แต่ต้องไม่ท้อถอย ต้องไม่เสียกำลังใจ และไม่มีทางที่จะเสียกำลังใจ เพราะถือว่าเรามาในทางการเมืองนี้ไม่ใช่เพราะว่าอยากจะมา แต่มาเพราะว่าเราคิดว่าเราใช้โอกาสนี้ทำทุกอย่างให้เกิดประโยชน์กับประเทศให้มากที่สุด แล้วทุกอย่างมันจะทำให้เราสบายใจ ตั้งหน้าตั้งตาทำ ฉะนั้นความแปรปรวนช่วงสั้นขออย่าได้เป็นห่วง
สำคัญตรงนี้ต่างหาก เวลาที่ต่างประเทศมองว่าประเทศนี้น่าไว้ใจหรือไม่ เขาจะไม่แค่ดูว่า Short term uncertainties เป็นอย่างไร ความไม่แน่นอนในช่วงสั้นเป็นอย่างไร เขาให้ความสำคัญก็จริง แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือเขามองว่าเมื่อคุณขับเรือบินผ่านพ้นเมฆ เรือบินคุณไปทางไหนต่างหาก นี่สำคัญ ถ้าเรือบินคุณบินโดยไม่มีทิศทาง จ้างผมก็ไม่มาเมืองไทย นักธุรกิจก็ไม่กล้าที่จะลงทุน ฉะนั้น การที่จะบอกต่างประเทศ บอกภาคเอกชน บอกประชาชนว่าประเทศไทยกำลังไปทางไหน เป็นสิ่งสำคัญมาก ผมก็เลยพยายามพูดตลอดเวลาว่าเราไม่ได้ต้องการ GDP สูง แต่เราต้องการความเติบโตต่อเนื่องอย่างสมดุล ความเติบโตนั้นต้องกระจายความมั่งคั่งลงมาสู่ข้างล่าง
ลักษณะเช่นนี้ ข้อที่ 1 เรื่องการที่จะใช้ Grassroot Economy เป็นสิ่งสำคัญมากๆ เรื่องของเกษตรกร และคนยากคนจนเป็นหัวใจสำคัญ เรื่องของรากหญ้าเป็นอันดับหนึ่ง สิ่งเหล่านี้รัฐบาลทำมา 3 ปีแล้ว ข้างหน้าต้องสานต่อ ต้องไม่ใช่เป็นโจ๊ก หลังสงกรานต์กระทรวงการคลังจะขับเคลื่อนเอง ตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีวางเอาไว้ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด จะเริ่มทำล่วงหน้าเลย แต่หัวใจสำคัญผมบอกเลยว่าไม่ใช่เพียงแค่ว่าการปรับโครงสร้างหนี้ ถ้าท่านปรับโครงสร้างหนี้โดยที่ไม่ได้สร้างการหาอาชีพรองรับวันหนึ่งเขาก็เป็นหนี้ใหม่ ไม่มีประโยชน์ ตรงนี้ต่างหากที่พวกเราต้องมาช่วยกัน วันนี้ท่านประชุมกันเรื่องของการสร้าง New entrepreneur ต้องคิดออกมาว่าจะช่วยกันอย่างไร โครงการ OTOP ซึ่งเราไปวางไว้ ไปเพาะไว้ตามที่ต่างๆ ทำอย่างไรท่านจะสานต่อ รัฐบาลทำทุกเรื่องไม่ได้ ท่านต้องสานต่อ ผมเพิ่งเล่าให้กับพรรคพวกฟังบนโต๊ะอาหารว่าผมจะไปเปิด OTOP Village ที่บ้านถวายที่เชียงใหม่ จะเป็นครั้งแรกที่จะทำหมู่บ้านของงานแกะสลักเพื่อการท่องเที่ยว เราจะก้าวจากการท่องเที่ยวที่ว่าเอาฝรั่งมา แล้วก็มานอนอาบแดดมาเป็นว่าไปชมหมู่บ้านซึ่งแกะสลัก ถ้าทำสำเร็จมันจะกระจายไปทั้งประเทศ พวกท่านไปดูเสีย และก็ดูว่าจะสานต่อเรื่อง OTOP อย่างไร ทำให้เกษตรกรอยู่ได้อย่างไร ส่วนทางฝ่ายผม ผมจะดูแลฝ่ายผม
ผมได้หารือกับธนาคารรัฐ ผมจะเล่าอะไรให้ท่านฟังอย่างหนึ่ง มีประโยชน์มากจริงๆ ผมไปเยอรมนีล่วงหน้าก่อนนายกรัฐมนตรีหนึ่งวัน เพราะว่าได้นัดหมายกับทาง KfW (Kreditanstalt fur Wiederaufbau) ผมเองก็เพิ่งทราบว่าแบงก์นี้ทำหลายๆ ด้าน หนึ่งคือเรื่อง SMEs สองคือเรื่องบ้าน สามคือเรื่องการส่งออกนำเข้า เป็น International business KfW เป็นแบงก์ยักษ์ของโลก จะเรียกได้ว่าใหญ่ที่สุดในโลกก็ได้ ตรงนี้พอไปแล้วเห็นทันทีเลยว่ามันผูก Link กับเขา เอาเขามา Back สถาบันการเงินในเมืองไทย ประโยชน์นั้นมหาศาล ผมเลยได้ KfW หนึ่ง กับญี่ปุ่นสอง พอเราไปฟัง Presentation เขาเรียก KfW ว่าเป็น Bank after bank คือเป็น Wholesale Bank เขาไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับเอกชนโดยตรง เขาปล่อยผ่านแบงก์ เช่น เขาจะเน้นเรื่อง SMEs เขาจะปล่อยผ่านแบงก์ซึ่งเน้น SMEs เสร็จแล้วเขาก็จะหาเงินจากทั้งโลกเพื่อมาปล่อยเม็ดเงินเหล่านี้ และสินเชื่อเหล่านี้ทำ Securitization ผูกเข้าไปอยู่ที่ตลาดหุ้น ฉะนั้นเงินของเขานี้จะ Flow ตลอด และช่วยเหลือตลอด การเข้ามาช่วยเมืองไทยเป็นสิ่งที่ง่ายมาก พอเห็นที่เขา Present ผมนึกในใจแล้วทันที
จากวันนี้ไปถ้าเราต้องการให้ Grassroot แข็งแรง ธ.ก.ส. หน้าที่อย่างเดียวเลยก็คือเรื่องเกษตรกร ตามไปดูเลยว่า Scheme ที่จะให้มีอะไร ผมให้การบ้านเขาไปแล้ว ก่อนที่ผมจะไปเยี่ยมเขา หมายความว่าเมื่อปรับโครงสร้างหนี้เสร็จ คุณต้องเข้าไปทันที ไม่ต้องรอกระทรวงเลย เพราะแบงก์จะเคลื่อนไหวเร็วกว่า
ออมสินจะต้องเป็นแบงก์เพื่อประชาชนโดยเฉพาะ ต้องเป็นแบงก์เพื่อสังคม อะไรที่เกี่ยวกับ Head สมอง ทักษะ การศึกษาของคนที่ยากจน ออมสินต้องเข้าไปช่วย อะไรที่เกี่ยวกับ Skill ของคน ทักษะ การสร้างงานสร้างอาชีพ การ Finance ต้องมาจากออมสิน อะไรที่เกี่ยวกับ Heart เกี่ยวกับเรื่องจริยธรรมในสังคม เรื่องของคนเฒ่าคนแก่ ทีแรกไม่มีใครคิดเลยว่าจะมีสินเชื่อบุคคลเหล่านี้ได้ ที่ KfW present ออกมา เขาผ่านองค์กรสถาบัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องทำ อนาคตข้างหน้าออมสินจะเป็นธนาคารเพื่อประชาชนโดยเฉพาะ เพราะว่าเงินที่เข้ามามาจากชาวบ้าน เขาต้องกลับไปที่ชาวบ้าน
SME BANK ต้องชัดเจน อะไรเป็น Start up บริษัทที่เริ่มตั้งขึ้นมาแบบหนึ่ง การช่วยเหลือแบบหนึ่ง อะไรที่เรียกว่า Transform บริษัทเล็กที่ต้องการยกระดับขึ้นมาให้ใหญ่ขึ้นทันสมัยมากขึ้น นั่นเป็นลำดับที่ 2
กลุ่มที่ 3 ที่น่าสนใจมากเขาเรียกว่า Innovative Type พวกนี้ไม่ใช่ Start up ไม่ใช่การ Transform แต่เป็นพวกที่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่สามารถเกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาประเทศได้ เขาจะมีเงินเข้าไปช่วยเหลือทันที สิ่งเหล่านี้ผมให้ SME BANK ไปดูไปศึกษา เพราะถ้าประเทศต้องการแข่งขันด้านนวัตกรรม ตรงนี้สำคัญมาก
กรุงไทยแบงก์ นครหลวงไทยแบงก์เป็น Universal banking รวมถึงแบงก์ซึ่งกิจการควบรวม 3 แบงก์ก็จะเป็น Universal banking ฉะนั้นถ้าลักษณะอย่างนี้ชัดเจน ท่านจะเห็นเลยว่าแบงก์รัฐนั้นจะจัดระเบียบชัดเจนเลย ต่อไปนี้คุณไม่ต้องไปมั่วกันแล้ว คุณรู้หน้าที่เลย คุณเป็นธนาคารแห่งการพัฒนา อันนี้ก็จะไปเสริมต่อกับ Grassroot Economy เสริมต่อจากกองทุนหมู่บ้าน รัฐบาลเข้าไปดู Apex ซึ่งดูอยู่ข้างบน ไปเชื่อมโยง ถ้ามีเวลาอย่างนี้ 3, 4, 5 ปี ทุกฝ่ายเข้าไปช่วยกันดู หอการค้าช่วยดู กระทรวงช่วยดู อย่างไรมันก็ไม่ถดถอยไปสู่อดีต อย่างไรมันก็มีแต่ดีขึ้น แต่ถ้าเราไม่มี Commitment ที่จะทำ ไม่มีความตั้งใจ ทำแต่ปาก อย่างนี้ช่วยไม่ได้ อันนี้เป็นวาระแรกที่เราต้องการทำ
ตัวที่ 2 ที่เราต้องการทำ เราเคยประกาศไปแล้ว เรื่องการทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน ตรงนี้ผมมองที่ภาคเอกชน ผมเรียนต่อดร.อาชว์ เตาลานนท์ (ประธานหอการค้าไทย) หลายครั้งแล้วว่าผมอยากให้ภาคเอกชนมีการพลิกฟื้นความสามารถขึ้นมา ผมได้ให้กรมสรรพากรไปศึกษาโครงสร้างภาษี และอะไรอีกหลายเรื่องที่จะช่วยเหลือให้ภาคเอกชน อะไรที่ไม่สะดวกเราจะไขความไม่สะดวกออกไป เพราะว่าเราต้องการส่งไม้ต่อให้กับภาคเอกชน ภาคเอกชนก็ต้อง Alert ต้องเข้มแข็ง จัดทีม และยิ่งเรามีระบบ Cluster เป็นกลุ่ม ท่านต้องเข้มข้นกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้เอกชนฝ่ายไทยสามารถแข่งขันกับเอกชนต่างประเทศได้ อันนี้จะดีจะชั่วอยู่ที่ท่านเอง พวกเรายินดีที่จะช่วยท่านอยู่แล้ว เรื่องเทคโนโลยี เรื่อง Research ผมอยากให้พวกท่านเข้ามาคุยว่าจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้ยกระดับสิ่งเหล่านี้ได้ เครื่องไม้เครื่องมือจะ Upgrade ได้อย่างไร จะให้มีการวิจัยมากขึ้นได้อย่างไร และก็ดูว่ารัฐบาลจะช่วยเหลือท่านได้อย่างไร เรื่องบางเรื่องไม่เกี่ยวกับภาษีเลย แต่ว่ามันเกี่ยวกับ Lock บางตัวซึ่งต้องการปลด Lock หรือเปล่า ต้องคิด ต้องคิดในมุมของประเทศ ไม่ใช่คิดในมุมของบริษัทแต่ละบริษัท เพราะขณะนี้ท่านใส่หมวกของหอการค้าอยู่ ท่านไม่ได้ใส่หมวกของบริษัทจำกัด ฉะนั้นเมื่อใส่หมวกของหอการค้าวันนี้ท่านต้องคิดในมุมกว้างแล้ว มาร่วมกับภาครัฐแล้ว มาคิดกัน
เมื่อสักครู่ผมเรียนในห้องอาหารว่า EXIM Bank ผมจะเข้าไปไขลานอย่างหนักเพื่อให้ EXIM Bank พาเอกชนไทยไปต่างประเทศ ญี่ปุ่นมาลงทุนในเมืองไทย เยอรมนีมาลงทุนในเมืองไทย แบงก์เขาตามมา ฉะนั้นเมื่อเราต้องการให้พวกท่านไปต่างประเทศ แบงก์ไทยต้องตามไปต่างประเทศ อันนี้เป็นสิ่งที่ผมตั้งใจจะทำเอาไว้ ตรงนี้ผมฝากท่านไว้ และก็มีเวลามานั่งคุยกัน ช่วยกันทีละขั้นทีละตอน Term นี้ยังเหลืออีกประมาณ 9 เดือน หลายเดือน ไม่ต้องเป็นห่วง คงไม่ต้องมานั่งหาเสียง ทำงานอย่างเดียว สิ่งเหล่านี้ก็ต้องมาช่วยกัน
เรื่องการปรับโครงสร้างตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดเงินผมบอกแล้วว่าผมจัดระเบียบอย่างนี้ แบงก์เอกชนปล่อยฟรีเขา ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลอยู่ การควบรวมจะเกิดขึ้นก็เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ว่าจะไม่มีทางที่จะทำให้เกิดความหวั่นไหวเด็ดขาด เพราะที่ธนาคารนครหลวงไทยรวมกับธนาคารศรีนคร ไม่มีความหวั่นไหวกระเพื่อมเลย ฉะนั้นการรวมแบงก์ต้องเป็นอย่างนั้น การรวมแบงก์ไม่ใช่เล่นกบดำกบแดง เอาคู่นี้บวกคู่นั้น เอาคู่นั้นบวกคู่นี้ ไม่ใช่ คิดในใจทำในใจแล้วไม่ต้องมีข่าว ถึงเวลาจบก็คือการควบแบงก์ออกมา ทุกอย่างต้องเป็น Win - Win
เรื่องตลาดทุนเราไม่ได้พูดถึงเรื่องดัชนีรายวัน เราพูดว่าจะพัฒนาตลาดทุนแข็งแรงได้อย่างไร อันนั้นตัวสำคัญมาก ผมเคยบอกตัวเลขแล้วว่าครึ่งหนึ่งของตลาดหุ้นเมืองไทยอยู่ในมือของนักลงทุน ติดอยู่แค่ว่านักลงทุนฝรั่งเข้ามาก็ขึ้น ออกไปก็ตก อย่างนั้นผมไม่ต้องการ ผมต้องการให้มีดุลยภาพ 3 ขานี้แหละ สถาบันเมืองนอก สถาบันไทย รายย่อยที่มีความรู้พอที่จะเล่นหุ้นได้ ทำอย่างนี้เล่นที่ Fundamental ถ้าเราทำพื้นฐานของเราดี เงินนอกมันจะไปไหน เงินนอกมีจมูก เขาจะดมกลิ่นไปเรื่อย ตรงไหนใช้ได้เขาจะไป สิ่งหนึ่งคือทำตัวให้ดี Good governance ต้องมี คำว่าธรรมาภิบาลนี้แปลลำบาก เราแปลว่าคือการดูแลจัดการที่ดี โปร่งใส อันนี้เป็นตัวสำคัญ
ผมไปสมาคมโบรกเกอร์แล้ว คุยกันเข้าใจแล้ว ผมจะคอยดูแลกำกับ คุยกันรู้เรื่อง ตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. วันนี้สามัคคีกัน ไม่มีปัญหา ตลาดทุนผมไม่ห่วง ถ้าเราทำสิ่งที่ถูกต้องเน้นพื้นฐาน ไม่ต้องห่วง การขึ้นหรือตกเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าเราทำดีเงินมันจะไหลเข้ามาตลอดเวลา ถ้าเราทำไม่ดีต่างหาก ถ้าเราทำให้เกิดความไม่แน่นอนเกิดความขัดแย้งในสังคมนานเข้าๆ เขาก็จะไป ซึ่งตรงนี้ผมบอกแล้วว่าถ้าเขาไป กว่าจะฟื้นขึ้นมามันใช้เวลา และเมื่อเขาตัดสินใจลงทุนไปแล้วเขาไม่กลับมา คำถามคือว่าทำไมนักลงทุนไปลงทุน Consumer อิเล็กทรอนิกส์ที่มาเลเซียเมื่อ 4 - 5 ปีที่แล้ว ทำไม Super Corridor ไปลงทุนที่มาเลเซีย เพราะขณะนั้นเขามองว่า UMNO นิ่งมาก เมืองไทยไม่นิ่ง เขาไปที่มาเลเซีย เขาลงทุนแล้วมันกลับได้ไหม? ไม่ได้ เงินมันลงมาแล้ว แต่ตอนนี้เรากำลังดึงเขามาได้สำเร็จแล้ว ถ้าทำให้เขาเกิดความไม่มั่นใจเขาก็ต้องเลือกที่อื่น อันนี้ช่วยไม่ได้ โทษใครไม่ได้นอกจากโทษตัวเราเอง
ฉะนั้นผมพยายามจะบอกว่าเราต้องช่วยกัน ชี้ทิศทางว่าเราภาครัฐและเอกชนกำลัง Reform ประเทศ ปฏิรูปประเทศเพื่อปรับเปลี่ยน เพื่อ Transform ประเทศไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ผมบอกแล้วว่าผมให้ทีมของผมทำ Framework สำหรับ Fiscal sustainability หมายความว่า 5 - 10 ปีข้างหน้า ตัวเลข Economic indicator จะเป็นอย่างไร เพื่อเป็นหลักชัยว่าเราจะวิ่งตามนี้ ไม่ให้มัน Off สร้างความเชื่อมั่นกับต่างประเทศ ถ้ามันจะ Off ไป ต้องมีเหตุผลว่าทำไมถึง Off และผมเชื่อว่าดัชนีเหล่านั้นจะดีขึ้นถ้าเราตรวจตราเอาใจใส่
ฉะนั้นวันนี้ผมมาพบท่านเพื่อจะส่ง Message นี้ว่าถึงแม้จะมีพายุต้องถือว่าปกติ คนเรายิ่งถูกกระแสพัดแรงพบอุปสรรค คนเราก็ยิ่งเข้มแข็ง ฝ่าด่านนี้ไปมันเป็นแค่กระแสลมแปรปรวน ยังมีงานอีกเยอะที่ต้องทำ และงานเหล่านั้นที่ต้องทำ รัฐบาลทำคนเดียวไม่ได้ เพราะว่าผมจะส่งไม้ต่อให้เอกชน เอกชนต้องเข้ามาร่วม เวลาผมพูดว่าท่านตรงๆ ผมก็ไม่เกรงใจ ถ้าบอกว่าเมื่อไรหอการค้าจะทำงานเพื่อสังคมอย่างจริงจังสักที ผมก็จะพูดตรงๆ เพราะถ้าจะคบกันแล้วมันต้องพูดตรงๆ แต่ถ้าทำดีกับผม ขอให้ผมช่วย ขอให้รัฐบาลช่วย เรายินดีที่จะช่วยในขอบเขตที่รัฐบาลสามารถทำได้ เราถือว่าเราเป็นมิตรสหายกัน เป็นเงาร่วมกัน มีอะไรต้องพูดกันออกมา และก็ต้องทวงการบ้านหอการค้าฯ เมื่อไร Love seat ระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับหอการค้าไทยจะต่อเข้าด้วยกัน นั่งสองคนมันไม่ได้ ต้องนั่งที่เดียวกัน ก็ฝากทางคณะกรรมการไปดู เพราะถ้ารวมแล้วมันเป็นพลังจริงๆ ไม่แยกกัน อย่าไปมี Love seat เลยเพราะอายุเรามากแล้ว
ถือโอกาสนี้ขอบคุณทุกท่านที่มาคุยกันเรื่องที่ท่านคุยอยู่เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล และถ้ามีอะไรให้ช่วยก็ขอให้ผ่านมาทางหอการค้า ยินดีที่จะช่วยเหลือ และขอให้ร่วมมือกัน ไม่ต้องห่วงอุปสรรคเราจะไปได้ ขอบคุณมากครับ
___________________
กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
สุรีย์พร ชัยยะรุ่งสกุล : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ บุณยภูษิต : Edit--จบ--
-นท-
โดย
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการผู้บริหารหอการค้าทั่วประเทศประจำปี 2547
ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
1 เมษายน 2547
___________________
ขอบคุณท่านประธาน ท่านคณะกรรมการ และเลขาธิการหอการค้าทั่วประเทศ ถึงแม้ว่าจะเป็นการมาที่กะทันหัน แต่เมื่อหอการค้าบอกให้มา ผมต้องมา เพราะตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมา หอการค้าได้เป็นกัลยาณมิตร เป็นแนวร่วม เป็นผู้ที่ช่วยผมและรัฐบาลตลอดมา ฉะนั้นไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ที่จะเป็นประโยชน์กับทางหอการค้า รัฐบาลยินดีที่จะให้การสนับสนุนเต็มที่
วันนี้ท่านประธานบอกว่าพูดเรื่องอะไรก็ได้ ผมก็จะเดาใจว่าท่านอยากจะให้ผมพูดเรื่องอะไร ท่านครับไม่ต้องเป็นห่วงเศรษฐกิจของประเทศ มันต้องไปได้ดีแน่นอน เราสร้างมันขึ้นมาด้วยความเหนื่อยยากจากเมื่อ 3 ปีที่แล้วในช่วงที่ใกล้จะล้มละลาย เราสร้างขึ้นมาได้ถึงขนาดอย่างนี้ ไม่ใช่ของเล่นๆ เป็นเรื่องที่เป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่เมื่อเราสร้างมันขึ้นมาได้แล้วเราจะไม่ยอมให้มันสลายไปง่ายๆ เพราะอันนี้เรากำลังสร้าง ไม่ใช่สร้างเพื่อตัวเราเอง แต่เรากำลังสร้างเพื่อลูกหลานของพวกเราในอนาคตข้างหน้า จังหวะนี้ไม่มีอีกแล้ว โอกาสนี้ไม่มีอีกแล้ว การที่ได้มีโอกาสมาทำงานในกระทรวงการคลังก็ดี ในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีก็ดี อยู่ตรงไหนไม่สำคัญ สำคัญที่รู้ว่าผมกำลังทำอะไรอยู่และจะทำอะไรและใครก็ห้ามผมไม่ได้ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าเศรษฐกิจในขณะนี้ตั้งแต่มีการเลือกตั้งมากี่สิบปีก็แล้วแต่ ขณะนี้ตัวเลข Indicator ทางเศรษฐกิจดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ท่านจะไปวัดจากดัชนีตัวใดก็แล้วแต่ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การลงทุน การส่งออก การท่องเที่ยว เงินสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ในทุกๆ ประการมีแต่ดีขึ้น ตรงนี้ท่านไม่ต้องเป็นห่วง
ถามว่าดีขึ้นเพราะอะไร มาจากหลายสาเหตุ มันมาจากความเพียรพยายามของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มันมาจากความร่วมมือของภาครัฐกับภาคเอกชน อีกหลายๆ ประการ แต่สิ่งสำคัญที่สุดมันมาจากเรื่องของความเชื่อมั่น เรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Trust" ผมจำได้ว่าผมพูดคำว่า Trust คำนี้ครั้งแรกเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว ตอนที่ผมบอกว่าเศรษฐกิจเมืองไทยเหมือนกับถ่านก้อนแรกๆ ที่กำลังคุอยู่เริ่มติดไฟ แล้วมันจะติดลามไปทั่วเตาถ้าเราสามารถ Create Trust ขึ้นมาได้
เบื้องหลังความล้มเหลวของเมืองไทยเมื่อ 3 - 4 ปีที่แล้ว เพราะว่ามันไม่มี Trust ไม่มีความเชื่อมั่น ไม่มีความไว้วางใจ ไม่เชื่อถือซึ่งกันและกัน ทุกคนมองแต่ว่าประเทศจะมีอันเป็นไป ต่างคนต่าง Save ตัวเองเอาไว้ก่อน ฉะนั้นเมื่อ Trust ไม่มี พลังก็ไม่เกิด แต่เมื่อเราพยายามสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นที่สาธารณชน (Public) มีต่อรัฐบาล มีต่อการบริหาร มันก็ทำให้ความหวังเกิดขึ้น นักลงทุนที่แต่เดิมไม่กล้าลงทุนเลยก็คิดที่จะขยายการลงทุน ประชาชนซึ่งแต่ไหนแต่ไรไม่กล้าที่จะบริโภคเลย มีเงินก็รีบเก็บเอาไว้ก่อนแล้ว ไม่รู้เมืองไทยจะเป็นอย่างไรบ้าง เก็บไว้กันตายในอนาคตก็เริ่มกล้าที่จะใช้จ่าย เริ่มกล้าที่จะมีบ้านของตัวเอง ในครอบครัวเริ่มกล้าที่จะผ่อนบ้าน ผ่อนรถ คนที่แต่เดิมไม่ค่อยอยากจะท่องเที่ยวก็เริ่มมีจิตใจเบิกบาน ท่องเที่ยวภายในประเทศ ทุกอย่างเศรษฐกิจก็เริ่มหมุนเวียน ระบบเครดิตแต่ดั้งเดิมซึ่งไม่มีเลย ทุกคนบอกว่าต้องซื้อขายด้วยเงินสดไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทยมาก่อน ก็เกิดขึ้นในเมืองไทย สิ่งเหล่านั้นก็เพราะว่า Trust ไม่มี ก็หายไป ทุกคนก็เริ่มกลับมาสู่วงจรปกติ
เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ตัวเลขดีขึ้น ความมั่นใจเหล่านี้ก็ยิ่งเพิ่มทวีขึ้น เมื่อเพิ่มทวีขึ้นมันก็ Spillover ไปถึงต่างประเทศ ต่างประเทศก็เริ่มมองที่เมืองไทย แต่เดิมผมเดินทางไปกับท่านนายกรัฐมนตรี ไปคุยกับเขา ไปเล่าให้เขาฟัง เชิญเขามาลงทุน ไม่มีสักคนหนึ่งเลยที่บอกว่าจะเอาเงินเข้ามาในเมืองไทย เขาบอกว่า What a mess! ในขณะนั้น What a mess! แปลว่า มันยุ่ง มันมั่ว ท่านต้องรู้จักจัดการตัวเองเสียก่อนแล้วเราค่อยมั่นใจท่าน แล้วค่อยเข้ามา เราก็พยายามจัดการสิ่งใดที่เขาไม่มั่นใจ เรื่องหนี้สาธารณะ เรื่องจิปาถะ เรื่อง บสท. และก็พยายามจัดการทุกอย่างให้เขาเหล่านั้นเริ่มเชื่อใจเรา ไม่เพียงให้เขาแค่เชื่อมั่นในปัจจุบัน ต้องวาดภาพให้เขาเชื่อมั่นในอนาคต เขาบอกว่าเมืองไทย GDP ขนาดอย่างนี้โตขึ้นมากี่ไตรมาสต่อเนื่อง แต่ไม่ใช่เท่านั้น อนาคตเราจะเป็นอะไรในอาเซียน เราจะ Link อย่างไรกับชาติเพื่อนบ้าน ฉะนั้นโอกาสที่ความเจริญเติบโตจะเติบโตอย่างต่อเนื่องมันจะมีอยู่
ผมจำได้ว่าผมได้ไปประกาศคำว่า Reform ครั้งแรกเมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา ให้เขารู้ว่าเราไม่ได้นิ่งเฉย เราต้องการปฏิรูปประเทศ ทุกอย่างทั้งหมดก็เพื่อสร้างคำว่า "Trust" สร้างความเชื่อมั่น สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้กับสาธารชน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อันนั้นคือจุดเริ่มต้นแห่งความยั่งยืน
แต่ ณ ขณะนี้คำว่า "ความเชื่อมั่น" หรือ Trust กำลังถูกสั่นคลอน กำลังถูกท้าทายว่ามันเหมือนเดิมหรือเปล่า มันจะทำให้ประเทศไทยซึ่งเขาคิด เขากล้าที่จะมาลงทุนนั้นมันเหมือนเดิมหรือไม่ นักลงทุนญี่ปุ่นลงทุนเป็นหมื่นล้าน เพื่อที่จะมองว่าเมืองไทยอนาคตอีก 10 - 20 ปี แน่นอนเลย เขาเอาเงินมากองไว้ที่เมืองไทยแทนที่จะไปกองไว้ที่มาเลเซีย สิงคโปร์ เขามากองที่เมืองไทย เขารู้ว่าลงทุนในจีนอย่างเดียวไม่ได้ เอาไข่ทุกฟองวางไว้ที่เมืองจีนไม่ได้ ต้องมาวางไว้ที่จุดหนึ่งในอาเซียน และในอาเซียนนั้นเขาเลือกเมืองไทย ทั้งหมดนี้มันอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อมั่น ความเชื่อมั่นเป็นจิตวิทยา พิสูจน์ไม่ได้ แตะต้องมิได้ ฉะนั้นความรู้สึกอันนี้สำคัญอย่างยิ่ง ถึงบอกว่าชาวบ้าน นักธุรกิจ พูดอะไรก็ได้ แต่นักการเมือง โดยเฉพาะผู้ที่มีตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบ จะพูดอะไรไม่ได้ ทุกอย่างไม่ได้ ต้องพูดในสิ่งซึ่งไม่ทำให้จิตวิทยานี้แปรปรวนไป
ความเชื่อมั่นทั้งหลายซึ่งเป็นจิตวิทยานี้ วันนี้เริ่มมีคนตั้งคำถาม ใช้คำว่าตั้งคำถามจาก 3 กระแส
กระแสที่ 1 คือเรื่องไข้หวัดนก เมื่อเกิดหวัดนกขึ้นมาทุกคนตกใจ ผมว่าถ้าคนแตะแล้วตาย อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าท่านจำได้สารพัดข่าวออกมาเลย หมูก็ตาย ควายก็ตาย ประเมินกันใหญ่เลยว่าแสนล้านแน่นอน ข่าวเหล่านี้ถ้าท่านลองนึกภาพดูว่าเราอยู่ต่างประเทศไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ฟังแล้วน่าขนลุกหรือไม่ เราในฐานะที่รับผิดชอบเราก็รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ปล่อยให้อยู่นานไม่ได้ ต้องรีบตัดต้นตอ ก็เข้ามาช่วยดูแล และวันนี้ผมเชื่อว่าความเสียหายน้อยมาก ปัญหาที่จะเกิดกับระหว่างประเทศก็น้อยมาก ประเด็นอยู่เพียงว่าอนาคตจะเลี้ยงไก่กันอย่างไร ที่ว่าจะเสียหายเป็นแสนล้านนั้นไม่มีทาง อยากให้คนที่พูดมาดูตัวเลขอีกสักครั้งสิว่าอนาคตท่านควรจะพูดสิ่งเหล่านี้ด้วยความรับผิดชอบมากขึ้นหรือไม่ หรือว่าจะสักแต่ว่าพูด
เรื่องไข้หวัดนกเพราะว่าเราทำเร็วจัดการเร็ว และก็หวังอย่างยิ่งว่าจะได้รับการจัดการอย่างต่อเนื่อง ผลภัยมันก็จะมีน้อย ความเสียหายก็ถูกจำกัดเขต ดีไม่ดีก็จะกลายเป็นโอกาสเสียด้วยซ้ำไป ประเทศไทยบางครั้งต้องอาศัยวิกฤติการณ์ถึงจะสร้างเป็นโอกาสได้ ถ้าไปสบายๆ ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง วันนี้ใครที่คิดจะเลี้ยงไก่ระบบเดิมต้องคิดเสียใหม่ เพราะถ้าไม่คิดเสียใหม่อนาคตอาจจะหมดตัว เรื่องนี้ไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วงกระแสที่ 2 เรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เรื่องของม็อบ เราก็รู้ว่ารัฐวิสาหกิจเป็นองค์กรของรัฐ ส่วนใหญ่แล้วจะครอบคลุมขอบเขตของโครงสร้างพื้นฐานใหญ่ของประเทศ เราบอกว่าเราต้องการที่จะยกระดับความสามารถแข่งขันของประเทศ ถ้าเราจะยกระดับขึ้นมาก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ว่าโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ต้องได้รับการยกระดับขึ้นมาเป็นตัวรองรับ ผ่านมากี่สิบปีฐานะรัฐวิสาหกิจเป็นอย่างไร ทุกคนทราบดีเราไม่ต้องมาพูดกันซ้ำซาก ประสิทธิภาพของการบริหารเป็นอย่างไรทุกคนทราบดี เมื่อสักครู่นี้อยู่บนโต๊ะอาหาร อาจารย์ท่านหนึ่งบอกผมว่าผลการประเมินผลการทำงานที่ผ่านมานั้นชัดเจนมีอยู่ เราไม่ต้องพูดถึง เราเพียงแต่ต้องการที่จะบอกว่าเจตนาของรัฐบาลในการทำรัฐวิสาหกิจให้ดีเป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ เป็นนโยบายที่ต้องการทำให้รัฐวิสาหกิจมีพลัง มีฐานทุนที่ใหญ่พอ ประเทศกำลังพัฒนา ยิ่งประเทศพัฒนาเท่าไรความต้องการระบบสาธารณูปโภคก็มีมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าหากว่ารัฐวิสาหกิจของเรายังแบกหนี้สินเป็นล้านๆ อย่างนี้ ท่านก็จะไม่สามารถเติบโตตามทันความต้องการของการพัฒนาของประเทศได้
การเข้าสู่ตลาดทุนเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยขยายฐานทุนขึ้นมา ให้ท่านสามารถที่จะขยายขอบเขตการทำงานให้ดีขึ้น ให้ใหญ่ขึ้น ตอบสนองความต้องการการพัฒนาประเทศ ไม่มีใครสักคนหนึ่งที่เจตนาจะขายรัฐวิสาหกิจ ถ้ารัฐบาลจะขายรัฐวิสาหกิจ ขายไปนานแล้วตั้งแต่ปีแรกที่เข้ามา เพราะปีนั้นสตางค์ในกระเป๋าแทบจะหมดเกลี้ยง แต่ตอนนี้สตางค์ในกระเป๋ามีกว่า 40 Billion ดอลลาร์ แล้วใครจะไปขายรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลถือ Majority ใครจะสามารถทำอะไรได้ ขอเพียงแค่ว่าสามารถเข้าถึงตลาดทุน สามารถขายหุ้นให้กับประชาชน ประชาชนแทนที่จะเอาเงินไปฝากธนาคาร ก็มาซื้อหุ้น เป็นส่วนของเจ้าที่มาจากคนในประเทศ ต่างประเทศมาถือหุ้นบ้างไม่เป็นไร เพราะทำให้หุ้นเหล่านั้นมีคุณค่ามากขึ้น แต่จำกัดเป็นส่วนน้อย อันนี้เป็นข้อมูลข้อเท็จจริงที่ประกาศไป แต่ก็ยังคงมีหลายท่านที่บอกว่าจะขายรัฐวิสาหกิจกินหรืออย่างไร อันนี้แปลว่าไม่เข้าใจ หรือแกล้งไม่เข้าใจ พวกเราฟังแล้วก็จะเข้าใจกันเอง
พูดถึงเรื่องของประสิทธิภาพ การเป็นบริษัทมหาชนทำให้ผู้บริหารต้องรับผิดชอบ ทุกปีท่านต้องมาประกาศว่าท่านจะทำอะไร หมดปีท่านต้องมาบอกว่าท่านทำได้จริงหรือเปล่า ทำไม่ได้เพราะอะไร และปีหน้าจะทำให้ดีกว่านี้ได้อย่างไร จะสั่งซื้อไอ้นี้ สั่งซื้อไอ้โน่น ท่านจะไม่สามารถสั่งซื้อได้ตามอำเภอใจเพราะท่านต้องรายงานต่อผู้ถือหุ้น ทุกอย่างต้องโปร่งใส อย่างนี้ผิดหรือเปล่า? ถ้าผิดเราก็ไม่ทำ แต่สิ่งเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่ชอบธรรมเพื่อให้องค์กรดีขึ้น ถ้าเราบอกว่าถ้าทำแล้วเป็นห่วงว่าการกระจายหุ้น สุดท้ายบางคนก็เบี้ยวเอาไปกิน ตัดตอน ประชาชนก็ไม่ได้เป็นเจ้าของตามที่ต้องการ ก็มาคุยกัน มาช่วยกันดูแล ขณะนี้ก็พยายามที่จะให้สำนักรัฐวิสาหกิจทำเรื่องของการกระจายหุ้นเพื่อไม่ให้มีการที่ว่าคนอื่นมาเสียบเอาผลประโยชน์ไปโดยที่ประชาชนไม่ได้โอกาส ใครที่ไม่มีเงินซื้อหุ้นก็จะพยายามหาหนทางให้เขามีโอกาสได้ซื้อหุ้น การกระจายหุ้นต้องเป็นธรรม มาช่วยกันดูแล ตรงนี้เป็นปัญหาซึ่งต้องการการช่วยกันดูแล
เรื่องผลประโยชน์ของพนักงาน เราก็พยายามดูแลให้ เพราะถือว่าท่านสร้างองค์กรนั้นขึ้นมา จริงๆ ท่านไม่มีสิทธิเรียกร้องเพราะเป็นเงินที่มาจากภาษีอากรประชาชน แต่เราเข้าใจว่าท่านช่วยสร้างองค์กรนี้ขึ้นมาก สิ่งเหล่านี้ควรจะตอบแทนให้ท่าน เราจัดการให้ทุกอย่าง การที่มีม็อบ อันนี้ไม่ว่ากัน อันนี้เป็นการระบายออกมาซึ่งอารมณ์จากข้างใน แต่ทุกอย่างขอให้อยู่ในกฎเกณฑ์ ไม่พอใจสิ่งใด อึดอัดอย่างไรคุยกัน ท่านเกรงว่าผลประโยชน์ของประชาชนจะถูกกระทบ เกรงค่าน้ำค่าไฟขึ้น องค์กรกำกับต้องถูกเอาออกมา และองค์กรการกำกับต้องมีคนจากหลายๆ ฝ่าย รัฐบาลไหนจะอยู่รอดได้บ้างถ้าบอกว่าจู่ๆ จะคิดขึ้นค่าไฟ จู่ๆ จะคิดขึ้นค่าน้ำ มีรัฐบาลไหนที่จะโง่เง่าเต่าตุ่นขนาดอย่างนั้น รัฐบาลมีแต่ว่าต้องดูแลประชาชนถึงจะอยู่รอดได้ สิ่งเหล่านี้องค์กรกำกับก็ต้องเป็นอิสระที่ต้องดูแลกัน ถ้าท่านไม่ไว้ใจก็ส่งคนเข้ามา Join อยู่ในนั้นด้วย ก็ต้องมานั่งตกลงกัน คุยกันว่าจะเอาอย่างไร สิ่งเหล่านี้ต้องคุยกันด้วยเหตุด้วยผล
ท้ายที่สุดแล้วถามว่าที่มีม็อบรัฐวิสากิจนั้นกระทบเศรษฐกิจไหม? ผมตอบให้เลยในระยะสั้น ใน 1 ปีข้างหน้าไม่กระทบหรอก อย่างมากก็คือว่าการแปรรูปชะลอไป ท่านเสียโอกาสเท่านั้น โอกาสแห่งการพัฒนาองค์กรของรัฐให้แข็งแรง ให้เข้มแข็ง แต่ว่าไม่กระทบเศรษฐกิจระยะสั้น แต่ถ้าหากว่าการที่มีเหตุการณ์อย่างนี้นานเข้าๆ ถึงขนาดยืดเยื้อ มันกระทบระยะยาว กระทบเพราะอะไร? คนจะไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศนี้ ต่างประเทศที่เคยมาลงทุนในเมืองไทย ขนเงินมาลงทุน เขามองว่า 3 ปีที่ผ่านมานี้มันมี 3 Stabilities เสถียรภาพ 3 ประการ 1. ทางการเมือง 2. สังคม 3. เศรษฐกิจ ถ้าท่านมีอย่างนี้ไปยาวๆ ถ้าท่านชุมนุมโดยที่เป็นความสงบเรียบร้อยไม่มีปัญหาเลย แต่ว่ามันเพียงไปเขย่าเรื่องความไม่แน่นอน (Uncertainty)
ขณะนี้ที่มาเลเซีย การเลือกตั้ง Landslide เขาดูแล้ว 4 ปีข้างหน้าแน่นอน นิ่ง เขาจะเกิดการเปรียบเทียบทันที ถามว่าบนเนื้อผ้าแล้วมาเลเซียจะเอาอะไรมาเปรียบเทียบเมืองไทย แต่ถ้ามีภาวะที่ไม่แน่นอนอย่างนี้ ใครๆ เขาเริ่มคิดในใจ เงินที่เชื่อว่าจะขนมาสร้างโรงงานในเมืองไทย เขาก็ต้องคิดหน้าคิดหลังเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้ควรหรือที่จะเกิดขึ้นในเมืองไทย? ควรหรือที่เมืองไทยนั้นจะแพ้ต่างประเทศ? ในยุคซึ่งต่างคนต่างต้องแย่งชิงการเป็นพื้นฐาน การเป็น Hub การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค เรื่องนี้ผมอยากให้ทุกฝ่ายคุยกัน อย่าใช้อารมณ์ เอาเหตุผลมา และก็พยายามทำทุกอย่างให้ดีที่สุดสำหรับประเทศ ใครไม่เห็นด้วย แสดงออกซึ่งความไม่เห็นด้วย ส่งผู้แทนมาคุยกัน ผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ถ้าเราตั้งใจ ประชาชนเข้าใจ อันนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่
มาถึงเรื่องทางใต้ ท่านนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ด้วยตัวเอง ปรับเปลี่ยนบุคลากรทุกอย่างด้วยความที่เข้าใจพื้นที่มากขึ้น ด้วยการที่ผู้บริหารอันดับหนึ่งลงไปถึงพื้นที่ เป็นไปไม่ได้ที่จะยืดยาวและรุนแรง ถ้าเรา Contain สิ่งเหล่านี้ไว้เฉพาะจุด มันก็จะไม่มีปัญหาอะไร อย่าให้มันลุกลาม อย่าทำร้ายตัวเราเอง
แต่ละเรื่องที่ผมพูดออกมา เรื่องหวัดนกไม่ใช่ประเด็น เรื่องม็อบก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เป็นเรื่องปกติ คุยกันเสียอย่าให้มันลุกลาม มีอะไรไม่เข้าใจคุยกัน เรื่องทางใต้รัฐบาลต้องแก้ไขให้ได้ นี้เป็นอันดับหนึ่งอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อนายกรัฐมนตรีลงมาเองต้องแก้ไขให้ได้ 3 เรื่องนี้ทุกฝ่ายอยากให้จบเร็วที่สุด เพื่อมิให้คำว่า "ความเชื่อมั่น ความเชื่อถือไว้วางใจ" ถูกสั่นคลอน อย่าคิดว่าความไม่เชื่อมั่นเป็นต้นทุนของรัฐบาล อย่าคิดว่าถ้ามีเหตุการณ์เหล่านี้เป็นปัญหาของรัฐบาล มันเป็นปัญหาของประเทศ ต้นทุนไม่ได้เกิดขึ้นจากรัฐบาล ต้นทุนเกิดขึ้นกับประเทศโดยส่วนรวมเลย สิ่งซึ่งเป็นอนาคตอันสดใส อนาคตที่ดีมันจะเริ่มมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น ฉะนั้น ต้องหันหน้าเข้าหากัน คุยกัน จำกัดเขต อย่าให้มีสิ่งใดที่รุนแรง และถ้าเราสามารถจำกัดเขตนั้นได้ ทุกอย่างนิ่ง อย่างไรเศรษฐกิจพื้นฐานนั้นดีอยู่แล้ว อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ประเทศไทย 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลก็เหมือนกับขับเรือบิน ขับเรือบินตอนต้นเรือบินไม่ค่อยจะดี ก็เปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี้ ไขลาน ไขน็อตให้เรือบินบินได้ เมื่อบินได้ก็เติมน้ำมันให้เต็มถัง Reserve ซึ่งอยู่ก้นถังก็เริ่มเต็มถังขึ้นมา ทุกอย่างพร้อมที่จะบิน Take off พอ Take off จะบินสูงมันก็ต้องเจออากาศที่แปรปรวนเรื่องธรรมดา ท่านเคยนั่งเครื่องบินใช่ไหม? เวลาท่านผ่านทะลุเมฆ ตอนที่อยู่ตรงเมฆนี้แหละมันเป็น Turbulence มันเป็นความแปรปรวน มันก็เหมือนกับประเทศ ถ้าท่านต้องการอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย ผมเข้ากระทรวงการคลัง ข้าราชการชงขึ้นมาเซ็นเช้า เซ็นเย็น เซ็นเช้า เซ็นเย็น สบายสิ ไม่ต้องบินเลย นั่ง Enjoy กับ Reserve 43 Billion ไม่ต้องทำอะไร ชีวิตสบาย ไม่ต้องเกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น
แต่ถ้าทำอย่างนั้นเรือบินของท่านก็บินได้แค่อยู่ต่ำกว่าเมฆ ถ้าท่านคิดอ่านว่าไหนๆ ชีวิตของท่านต้องมาทำให้กับการเมืองแล้ว ขับเรือบินให้มันทะลุเมฆขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนประเทศให้มันเป็นอีกแบบหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อตัวท่านเองเพื่อลูกหลานของท่าน มันก็ต้องเจอความแปรปรวน มันคงไม่ใช่แค่ 3 กระแสนี้หรอก คงไม่ได้แค่ไข้หวัดนก แค่ม็อบ กฝผ. หรือแค่ปัญหาทางใต้ มันยังมีอีกหลายปัญหาที่ต้องเจอข้างหน้า เพราะว่าการที่ท่านจะ Transform ประเทศจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง มันไม่ใช่ของง่าย ต้องอาศัยความกล้า ต้องอาศัยพลังร่วม ฉะนั้นการเจอลมแปรปรวนต้องถือว่าเป็นเรื่องปกติ หนักใจได้แต่ต้องไม่ท้อถอย ต้องไม่เสียกำลังใจ และไม่มีทางที่จะเสียกำลังใจ เพราะถือว่าเรามาในทางการเมืองนี้ไม่ใช่เพราะว่าอยากจะมา แต่มาเพราะว่าเราคิดว่าเราใช้โอกาสนี้ทำทุกอย่างให้เกิดประโยชน์กับประเทศให้มากที่สุด แล้วทุกอย่างมันจะทำให้เราสบายใจ ตั้งหน้าตั้งตาทำ ฉะนั้นความแปรปรวนช่วงสั้นขออย่าได้เป็นห่วง
สำคัญตรงนี้ต่างหาก เวลาที่ต่างประเทศมองว่าประเทศนี้น่าไว้ใจหรือไม่ เขาจะไม่แค่ดูว่า Short term uncertainties เป็นอย่างไร ความไม่แน่นอนในช่วงสั้นเป็นอย่างไร เขาให้ความสำคัญก็จริง แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือเขามองว่าเมื่อคุณขับเรือบินผ่านพ้นเมฆ เรือบินคุณไปทางไหนต่างหาก นี่สำคัญ ถ้าเรือบินคุณบินโดยไม่มีทิศทาง จ้างผมก็ไม่มาเมืองไทย นักธุรกิจก็ไม่กล้าที่จะลงทุน ฉะนั้น การที่จะบอกต่างประเทศ บอกภาคเอกชน บอกประชาชนว่าประเทศไทยกำลังไปทางไหน เป็นสิ่งสำคัญมาก ผมก็เลยพยายามพูดตลอดเวลาว่าเราไม่ได้ต้องการ GDP สูง แต่เราต้องการความเติบโตต่อเนื่องอย่างสมดุล ความเติบโตนั้นต้องกระจายความมั่งคั่งลงมาสู่ข้างล่าง
ลักษณะเช่นนี้ ข้อที่ 1 เรื่องการที่จะใช้ Grassroot Economy เป็นสิ่งสำคัญมากๆ เรื่องของเกษตรกร และคนยากคนจนเป็นหัวใจสำคัญ เรื่องของรากหญ้าเป็นอันดับหนึ่ง สิ่งเหล่านี้รัฐบาลทำมา 3 ปีแล้ว ข้างหน้าต้องสานต่อ ต้องไม่ใช่เป็นโจ๊ก หลังสงกรานต์กระทรวงการคลังจะขับเคลื่อนเอง ตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีวางเอาไว้ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด จะเริ่มทำล่วงหน้าเลย แต่หัวใจสำคัญผมบอกเลยว่าไม่ใช่เพียงแค่ว่าการปรับโครงสร้างหนี้ ถ้าท่านปรับโครงสร้างหนี้โดยที่ไม่ได้สร้างการหาอาชีพรองรับวันหนึ่งเขาก็เป็นหนี้ใหม่ ไม่มีประโยชน์ ตรงนี้ต่างหากที่พวกเราต้องมาช่วยกัน วันนี้ท่านประชุมกันเรื่องของการสร้าง New entrepreneur ต้องคิดออกมาว่าจะช่วยกันอย่างไร โครงการ OTOP ซึ่งเราไปวางไว้ ไปเพาะไว้ตามที่ต่างๆ ทำอย่างไรท่านจะสานต่อ รัฐบาลทำทุกเรื่องไม่ได้ ท่านต้องสานต่อ ผมเพิ่งเล่าให้กับพรรคพวกฟังบนโต๊ะอาหารว่าผมจะไปเปิด OTOP Village ที่บ้านถวายที่เชียงใหม่ จะเป็นครั้งแรกที่จะทำหมู่บ้านของงานแกะสลักเพื่อการท่องเที่ยว เราจะก้าวจากการท่องเที่ยวที่ว่าเอาฝรั่งมา แล้วก็มานอนอาบแดดมาเป็นว่าไปชมหมู่บ้านซึ่งแกะสลัก ถ้าทำสำเร็จมันจะกระจายไปทั้งประเทศ พวกท่านไปดูเสีย และก็ดูว่าจะสานต่อเรื่อง OTOP อย่างไร ทำให้เกษตรกรอยู่ได้อย่างไร ส่วนทางฝ่ายผม ผมจะดูแลฝ่ายผม
ผมได้หารือกับธนาคารรัฐ ผมจะเล่าอะไรให้ท่านฟังอย่างหนึ่ง มีประโยชน์มากจริงๆ ผมไปเยอรมนีล่วงหน้าก่อนนายกรัฐมนตรีหนึ่งวัน เพราะว่าได้นัดหมายกับทาง KfW (Kreditanstalt fur Wiederaufbau) ผมเองก็เพิ่งทราบว่าแบงก์นี้ทำหลายๆ ด้าน หนึ่งคือเรื่อง SMEs สองคือเรื่องบ้าน สามคือเรื่องการส่งออกนำเข้า เป็น International business KfW เป็นแบงก์ยักษ์ของโลก จะเรียกได้ว่าใหญ่ที่สุดในโลกก็ได้ ตรงนี้พอไปแล้วเห็นทันทีเลยว่ามันผูก Link กับเขา เอาเขามา Back สถาบันการเงินในเมืองไทย ประโยชน์นั้นมหาศาล ผมเลยได้ KfW หนึ่ง กับญี่ปุ่นสอง พอเราไปฟัง Presentation เขาเรียก KfW ว่าเป็น Bank after bank คือเป็น Wholesale Bank เขาไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับเอกชนโดยตรง เขาปล่อยผ่านแบงก์ เช่น เขาจะเน้นเรื่อง SMEs เขาจะปล่อยผ่านแบงก์ซึ่งเน้น SMEs เสร็จแล้วเขาก็จะหาเงินจากทั้งโลกเพื่อมาปล่อยเม็ดเงินเหล่านี้ และสินเชื่อเหล่านี้ทำ Securitization ผูกเข้าไปอยู่ที่ตลาดหุ้น ฉะนั้นเงินของเขานี้จะ Flow ตลอด และช่วยเหลือตลอด การเข้ามาช่วยเมืองไทยเป็นสิ่งที่ง่ายมาก พอเห็นที่เขา Present ผมนึกในใจแล้วทันที
จากวันนี้ไปถ้าเราต้องการให้ Grassroot แข็งแรง ธ.ก.ส. หน้าที่อย่างเดียวเลยก็คือเรื่องเกษตรกร ตามไปดูเลยว่า Scheme ที่จะให้มีอะไร ผมให้การบ้านเขาไปแล้ว ก่อนที่ผมจะไปเยี่ยมเขา หมายความว่าเมื่อปรับโครงสร้างหนี้เสร็จ คุณต้องเข้าไปทันที ไม่ต้องรอกระทรวงเลย เพราะแบงก์จะเคลื่อนไหวเร็วกว่า
ออมสินจะต้องเป็นแบงก์เพื่อประชาชนโดยเฉพาะ ต้องเป็นแบงก์เพื่อสังคม อะไรที่เกี่ยวกับ Head สมอง ทักษะ การศึกษาของคนที่ยากจน ออมสินต้องเข้าไปช่วย อะไรที่เกี่ยวกับ Skill ของคน ทักษะ การสร้างงานสร้างอาชีพ การ Finance ต้องมาจากออมสิน อะไรที่เกี่ยวกับ Heart เกี่ยวกับเรื่องจริยธรรมในสังคม เรื่องของคนเฒ่าคนแก่ ทีแรกไม่มีใครคิดเลยว่าจะมีสินเชื่อบุคคลเหล่านี้ได้ ที่ KfW present ออกมา เขาผ่านองค์กรสถาบัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องทำ อนาคตข้างหน้าออมสินจะเป็นธนาคารเพื่อประชาชนโดยเฉพาะ เพราะว่าเงินที่เข้ามามาจากชาวบ้าน เขาต้องกลับไปที่ชาวบ้าน
SME BANK ต้องชัดเจน อะไรเป็น Start up บริษัทที่เริ่มตั้งขึ้นมาแบบหนึ่ง การช่วยเหลือแบบหนึ่ง อะไรที่เรียกว่า Transform บริษัทเล็กที่ต้องการยกระดับขึ้นมาให้ใหญ่ขึ้นทันสมัยมากขึ้น นั่นเป็นลำดับที่ 2
กลุ่มที่ 3 ที่น่าสนใจมากเขาเรียกว่า Innovative Type พวกนี้ไม่ใช่ Start up ไม่ใช่การ Transform แต่เป็นพวกที่มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่สามารถเกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาประเทศได้ เขาจะมีเงินเข้าไปช่วยเหลือทันที สิ่งเหล่านี้ผมให้ SME BANK ไปดูไปศึกษา เพราะถ้าประเทศต้องการแข่งขันด้านนวัตกรรม ตรงนี้สำคัญมาก
กรุงไทยแบงก์ นครหลวงไทยแบงก์เป็น Universal banking รวมถึงแบงก์ซึ่งกิจการควบรวม 3 แบงก์ก็จะเป็น Universal banking ฉะนั้นถ้าลักษณะอย่างนี้ชัดเจน ท่านจะเห็นเลยว่าแบงก์รัฐนั้นจะจัดระเบียบชัดเจนเลย ต่อไปนี้คุณไม่ต้องไปมั่วกันแล้ว คุณรู้หน้าที่เลย คุณเป็นธนาคารแห่งการพัฒนา อันนี้ก็จะไปเสริมต่อกับ Grassroot Economy เสริมต่อจากกองทุนหมู่บ้าน รัฐบาลเข้าไปดู Apex ซึ่งดูอยู่ข้างบน ไปเชื่อมโยง ถ้ามีเวลาอย่างนี้ 3, 4, 5 ปี ทุกฝ่ายเข้าไปช่วยกันดู หอการค้าช่วยดู กระทรวงช่วยดู อย่างไรมันก็ไม่ถดถอยไปสู่อดีต อย่างไรมันก็มีแต่ดีขึ้น แต่ถ้าเราไม่มี Commitment ที่จะทำ ไม่มีความตั้งใจ ทำแต่ปาก อย่างนี้ช่วยไม่ได้ อันนี้เป็นวาระแรกที่เราต้องการทำ
ตัวที่ 2 ที่เราต้องการทำ เราเคยประกาศไปแล้ว เรื่องการทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน ตรงนี้ผมมองที่ภาคเอกชน ผมเรียนต่อดร.อาชว์ เตาลานนท์ (ประธานหอการค้าไทย) หลายครั้งแล้วว่าผมอยากให้ภาคเอกชนมีการพลิกฟื้นความสามารถขึ้นมา ผมได้ให้กรมสรรพากรไปศึกษาโครงสร้างภาษี และอะไรอีกหลายเรื่องที่จะช่วยเหลือให้ภาคเอกชน อะไรที่ไม่สะดวกเราจะไขความไม่สะดวกออกไป เพราะว่าเราต้องการส่งไม้ต่อให้กับภาคเอกชน ภาคเอกชนก็ต้อง Alert ต้องเข้มแข็ง จัดทีม และยิ่งเรามีระบบ Cluster เป็นกลุ่ม ท่านต้องเข้มข้นกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้เอกชนฝ่ายไทยสามารถแข่งขันกับเอกชนต่างประเทศได้ อันนี้จะดีจะชั่วอยู่ที่ท่านเอง พวกเรายินดีที่จะช่วยท่านอยู่แล้ว เรื่องเทคโนโลยี เรื่อง Research ผมอยากให้พวกท่านเข้ามาคุยว่าจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้ยกระดับสิ่งเหล่านี้ได้ เครื่องไม้เครื่องมือจะ Upgrade ได้อย่างไร จะให้มีการวิจัยมากขึ้นได้อย่างไร และก็ดูว่ารัฐบาลจะช่วยเหลือท่านได้อย่างไร เรื่องบางเรื่องไม่เกี่ยวกับภาษีเลย แต่ว่ามันเกี่ยวกับ Lock บางตัวซึ่งต้องการปลด Lock หรือเปล่า ต้องคิด ต้องคิดในมุมของประเทศ ไม่ใช่คิดในมุมของบริษัทแต่ละบริษัท เพราะขณะนี้ท่านใส่หมวกของหอการค้าอยู่ ท่านไม่ได้ใส่หมวกของบริษัทจำกัด ฉะนั้นเมื่อใส่หมวกของหอการค้าวันนี้ท่านต้องคิดในมุมกว้างแล้ว มาร่วมกับภาครัฐแล้ว มาคิดกัน
เมื่อสักครู่ผมเรียนในห้องอาหารว่า EXIM Bank ผมจะเข้าไปไขลานอย่างหนักเพื่อให้ EXIM Bank พาเอกชนไทยไปต่างประเทศ ญี่ปุ่นมาลงทุนในเมืองไทย เยอรมนีมาลงทุนในเมืองไทย แบงก์เขาตามมา ฉะนั้นเมื่อเราต้องการให้พวกท่านไปต่างประเทศ แบงก์ไทยต้องตามไปต่างประเทศ อันนี้เป็นสิ่งที่ผมตั้งใจจะทำเอาไว้ ตรงนี้ผมฝากท่านไว้ และก็มีเวลามานั่งคุยกัน ช่วยกันทีละขั้นทีละตอน Term นี้ยังเหลืออีกประมาณ 9 เดือน หลายเดือน ไม่ต้องเป็นห่วง คงไม่ต้องมานั่งหาเสียง ทำงานอย่างเดียว สิ่งเหล่านี้ก็ต้องมาช่วยกัน
เรื่องการปรับโครงสร้างตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดเงินผมบอกแล้วว่าผมจัดระเบียบอย่างนี้ แบงก์เอกชนปล่อยฟรีเขา ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลอยู่ การควบรวมจะเกิดขึ้นก็เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ว่าจะไม่มีทางที่จะทำให้เกิดความหวั่นไหวเด็ดขาด เพราะที่ธนาคารนครหลวงไทยรวมกับธนาคารศรีนคร ไม่มีความหวั่นไหวกระเพื่อมเลย ฉะนั้นการรวมแบงก์ต้องเป็นอย่างนั้น การรวมแบงก์ไม่ใช่เล่นกบดำกบแดง เอาคู่นี้บวกคู่นั้น เอาคู่นั้นบวกคู่นี้ ไม่ใช่ คิดในใจทำในใจแล้วไม่ต้องมีข่าว ถึงเวลาจบก็คือการควบแบงก์ออกมา ทุกอย่างต้องเป็น Win - Win
เรื่องตลาดทุนเราไม่ได้พูดถึงเรื่องดัชนีรายวัน เราพูดว่าจะพัฒนาตลาดทุนแข็งแรงได้อย่างไร อันนั้นตัวสำคัญมาก ผมเคยบอกตัวเลขแล้วว่าครึ่งหนึ่งของตลาดหุ้นเมืองไทยอยู่ในมือของนักลงทุน ติดอยู่แค่ว่านักลงทุนฝรั่งเข้ามาก็ขึ้น ออกไปก็ตก อย่างนั้นผมไม่ต้องการ ผมต้องการให้มีดุลยภาพ 3 ขานี้แหละ สถาบันเมืองนอก สถาบันไทย รายย่อยที่มีความรู้พอที่จะเล่นหุ้นได้ ทำอย่างนี้เล่นที่ Fundamental ถ้าเราทำพื้นฐานของเราดี เงินนอกมันจะไปไหน เงินนอกมีจมูก เขาจะดมกลิ่นไปเรื่อย ตรงไหนใช้ได้เขาจะไป สิ่งหนึ่งคือทำตัวให้ดี Good governance ต้องมี คำว่าธรรมาภิบาลนี้แปลลำบาก เราแปลว่าคือการดูแลจัดการที่ดี โปร่งใส อันนี้เป็นตัวสำคัญ
ผมไปสมาคมโบรกเกอร์แล้ว คุยกันเข้าใจแล้ว ผมจะคอยดูแลกำกับ คุยกันรู้เรื่อง ตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. วันนี้สามัคคีกัน ไม่มีปัญหา ตลาดทุนผมไม่ห่วง ถ้าเราทำสิ่งที่ถูกต้องเน้นพื้นฐาน ไม่ต้องห่วง การขึ้นหรือตกเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าเราทำดีเงินมันจะไหลเข้ามาตลอดเวลา ถ้าเราทำไม่ดีต่างหาก ถ้าเราทำให้เกิดความไม่แน่นอนเกิดความขัดแย้งในสังคมนานเข้าๆ เขาก็จะไป ซึ่งตรงนี้ผมบอกแล้วว่าถ้าเขาไป กว่าจะฟื้นขึ้นมามันใช้เวลา และเมื่อเขาตัดสินใจลงทุนไปแล้วเขาไม่กลับมา คำถามคือว่าทำไมนักลงทุนไปลงทุน Consumer อิเล็กทรอนิกส์ที่มาเลเซียเมื่อ 4 - 5 ปีที่แล้ว ทำไม Super Corridor ไปลงทุนที่มาเลเซีย เพราะขณะนั้นเขามองว่า UMNO นิ่งมาก เมืองไทยไม่นิ่ง เขาไปที่มาเลเซีย เขาลงทุนแล้วมันกลับได้ไหม? ไม่ได้ เงินมันลงมาแล้ว แต่ตอนนี้เรากำลังดึงเขามาได้สำเร็จแล้ว ถ้าทำให้เขาเกิดความไม่มั่นใจเขาก็ต้องเลือกที่อื่น อันนี้ช่วยไม่ได้ โทษใครไม่ได้นอกจากโทษตัวเราเอง
ฉะนั้นผมพยายามจะบอกว่าเราต้องช่วยกัน ชี้ทิศทางว่าเราภาครัฐและเอกชนกำลัง Reform ประเทศ ปฏิรูปประเทศเพื่อปรับเปลี่ยน เพื่อ Transform ประเทศไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ผมบอกแล้วว่าผมให้ทีมของผมทำ Framework สำหรับ Fiscal sustainability หมายความว่า 5 - 10 ปีข้างหน้า ตัวเลข Economic indicator จะเป็นอย่างไร เพื่อเป็นหลักชัยว่าเราจะวิ่งตามนี้ ไม่ให้มัน Off สร้างความเชื่อมั่นกับต่างประเทศ ถ้ามันจะ Off ไป ต้องมีเหตุผลว่าทำไมถึง Off และผมเชื่อว่าดัชนีเหล่านั้นจะดีขึ้นถ้าเราตรวจตราเอาใจใส่
ฉะนั้นวันนี้ผมมาพบท่านเพื่อจะส่ง Message นี้ว่าถึงแม้จะมีพายุต้องถือว่าปกติ คนเรายิ่งถูกกระแสพัดแรงพบอุปสรรค คนเราก็ยิ่งเข้มแข็ง ฝ่าด่านนี้ไปมันเป็นแค่กระแสลมแปรปรวน ยังมีงานอีกเยอะที่ต้องทำ และงานเหล่านั้นที่ต้องทำ รัฐบาลทำคนเดียวไม่ได้ เพราะว่าผมจะส่งไม้ต่อให้เอกชน เอกชนต้องเข้ามาร่วม เวลาผมพูดว่าท่านตรงๆ ผมก็ไม่เกรงใจ ถ้าบอกว่าเมื่อไรหอการค้าจะทำงานเพื่อสังคมอย่างจริงจังสักที ผมก็จะพูดตรงๆ เพราะถ้าจะคบกันแล้วมันต้องพูดตรงๆ แต่ถ้าทำดีกับผม ขอให้ผมช่วย ขอให้รัฐบาลช่วย เรายินดีที่จะช่วยในขอบเขตที่รัฐบาลสามารถทำได้ เราถือว่าเราเป็นมิตรสหายกัน เป็นเงาร่วมกัน มีอะไรต้องพูดกันออกมา และก็ต้องทวงการบ้านหอการค้าฯ เมื่อไร Love seat ระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับหอการค้าไทยจะต่อเข้าด้วยกัน นั่งสองคนมันไม่ได้ ต้องนั่งที่เดียวกัน ก็ฝากทางคณะกรรมการไปดู เพราะถ้ารวมแล้วมันเป็นพลังจริงๆ ไม่แยกกัน อย่าไปมี Love seat เลยเพราะอายุเรามากแล้ว
ถือโอกาสนี้ขอบคุณทุกท่านที่มาคุยกันเรื่องที่ท่านคุยอยู่เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล และถ้ามีอะไรให้ช่วยก็ขอให้ผ่านมาทางหอการค้า ยินดีที่จะช่วยเหลือ และขอให้ร่วมมือกัน ไม่ต้องห่วงอุปสรรคเราจะไปได้ ขอบคุณมากครับ
___________________
กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
สุรีย์พร ชัยยะรุ่งสกุล : ถอดเทป/พิมพ์
เชาวลิตร์ บุณยภูษิต : Edit--จบ--
-นท-