ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.คาดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศอาจสร้างแรงกดดันต่อ
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ตัวเลขเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนแรกของปี 47 ขยายตัวต่อเนื่องและแข็งแกร่ง แม้จะได้รับผล
กระทบจากไข้หวัดนกและสถานการณ์ภาคใต้ที่ทำให้ความเชื่อมั่นลดลง ทั้งนี้ ภาคการผลิตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอัตราการใช้กำลังการผลิต ณ สิ้น ก.พ.47 สูงถึงร้อยละ 75.3 ส่วนด้านต่างประเทศ การส่งออก
ขยายตัวร้อยละ 22.3 นำเข้าร้อยละ 28.2 สำหรับอัตราเงินเฟ้อยังคงขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.2 อย่าง
ไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องติดตามซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะต่อไป คือ ความเสี่ยงด้านต่างประเทศจาก
ค่าเงินสกุลหลัก และเมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอาจสร้างแรงกดดันให้ราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจในประเทศอาจสร้างแรงกดดันต่อปัจจัยด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
2. รมว.คลังมีนโยบายนำระบบสถาบันประกันเงินฝากออกใช้ รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ รมว.คลังมีนโยบายที่จะนำระบบสถาบันประกันเงินฝากออกมาใช้ในระบบ เนื่องจากเห็นว่าภาวะ
เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะที่แข็งแกร่งและมีอัตราการขยายตัวที่ดี โดยเห็นว่าเป็นภาวะที่เหมาะสมที่จะมีการผลัก
ดันเรื่อง พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากให้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในรายละเอียดนั้นไม่มี
การเปลี่ยนแปลงไปจากร่างกฎหมายฉบับเดิมที่ ก.คลังและ ธปท.ได้ร่วมกันดำเนินมาก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ วงเงิน
ประกันเงินฝากตาม ร่าง พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากเดิมนั้น ได้กำหนดให้ค้ำประกันเงินฝากของผู้ฝากเงิน
ธนาคารละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย ซึ่งผู้ฝากสามารถกระจายเงินฝากในหลาย ๆ ธนาคารได้ และกำหนด
บทเฉพาะกาลเป็นเวลา 4 ปี (เดลินิวส์)
3. ความคืบหน้าในการเจรจาเอฟทีเอไทย-อินเดีย ผู้ช่วย รมว.ก.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าทีมการ
เจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทย-อินเดีย เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเจรจาว่า
ในวันที่ 7-8 เม.ย.นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการเจรจาทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นทางการ ที่ประเทศอินเดีย
โดยจะมีการจัดตั้งอนุกรรมการดูแลเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าเร่งลดภาษี (Interim Rules of
Origin) และมีเป้าหมายจะจัดทำกรอบการเจรจาให้เสร็จสิ้นภายในปลายปีนี้ ทั้งนี้ การประชุมก่อนหน้านี้ทั้ง
สองฝ่ายตกลงเห็นชอบสินค้าร่วมกัน 52 รายการ คงเหลืออีก 32 รายการที่ยังเป็นปัญหาเรื่องกฎว่าด้วย
แหล่งกำเนิดสินค้า ที่อินเดียกำหนดให้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศสูงถึงร้อยละ 75 แต่ไทยเห็นว่าควรใช้วัตถุดิบ
ในประเทศร้อยละ 30-40 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การเจรจาเอฟทีเอดังกล่าวจะเป็นการลดภาษีทันทีบาง
รายการ และบางรายการจะทยอยลดภาษีในอัตราร้อยละ 50 75 และ 100 ตั้งแต่ 1 มี.ค.47 — 1
มี.ค.49 ตามลำดับ โดยตกลงที่จะลดภาษีสินค้ารวม 84 รายการ (มติชน, ไทยรัฐ)
4. ภาวะการลงทุนของภาคอีสานในปี 47 มีแนวโน้มขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ผู้อำนวยการ
ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 นครราชสีมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(บีโอไอ) กล่าวว่า ภาวะการลงทุนของภาคอีสานในปี 47 มีแนวโน้มขยายตัวแบบก้าวกระโดดในอัตราสูงที่สุด
เป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ เนื่องจากผลจากการส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรกที่มีโครงการได้รับการอนุมัติส่ง
เสริมฯ จากบีโอไอไปแล้วทั้งสิ้น 24 โครงการ มูลค่าการลงทุน 3,284 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน
4,826 คน เป็นจำนวนโครงการและมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 140 และ
214 ตามลำดับ และร้อยละ 50 ของโครงการทั้งหมดลงทุนอยู่ใน จ.นครราชสีมา นอกจากนี้ ในระยะ 3
เดือนแรกของปีนี้ ยังมีนักลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนไว้อีกกว่า 32
โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 23,591 ล้านบาท ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 12,126 คน ดังนั้น คาด
ว่าตลอดทั้งปี 47 นี้ ภาคอีสานจะมีโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมฯ จากบีโอไอเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 หมื่น
ล้านบาท ถึง 3 เท่า และเป็นอัตราการขยายตัวสูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งโดยเฉลี่ยได้รับการส่งเสริมฯ ปีละ
ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท นับเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนการลงทุนรองจากภาคกลางและภาคตะวันออก (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสรอ. ฟื้นตัว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 47
นาย John Snow รมว. คลังสรอ. เปิดเผยว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสรอ.ฟื้นตัวภายหลังจากที่ชะลอ
ตัวมาเกือบ 4 ปี และคาดว่าการจ้างงานในภาคดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอีกในเดือนหน้า จากตัวเลขเศรษฐกิจที่
สร้างความหวังอย่างมากเนื่องจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนั้น ก.แรงงาน สรอ.
รายงานว่า อัตราการจ้างงานเมื่อเดือนที่แล้วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบเกือบ 4 ปีโดยเฉพาะการจ้างงาน
ในภาคอุตสาหกรรม (รอยเตอร์)
2. แนวโน้มเงินเฟ้อของสรอ.ในเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นที่ระดับ 118.8 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ
วันที่ 2 เม.ย. 47 เงินเฟ้อของสรอ.ในเดือนมีค. เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากราคาปรับตัว
สูงขึ้น สถาบันเพื่อการวิจัยแนวโน้มเงินเฟ้อของสรอ. ซึ่งออกแบบเพื่อทำนายความเคลื่อนไหวของระดับราคา
เปิดเผยว่า ในเดือนมี.ค. 47 แนวโน้มเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นที่ระดับ 118.8 จากระดับ 115.7 ในเดือนก.พ. 47
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ชี้ว่าแนวโน้มเงินเฟ้อเป็นวัฎจักรขาขึ้น อย่างไรก็ตามดัชนีเงินเฟ้อรายปี เพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 3.3 จากร้อยละ - 2.2 ในเดือนก.พ. (รอยเตอร์)
3. อัตราการว่างงานของเยอรมนีสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่
2 เม.ย.47 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจว่า อัตราการว่างงานเดือน มี.ค.47 ของเยอรมนี
เพิ่มสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไม่ดีเท่าที่ควรและผลกระทบจากการสร้าง
งานที่ไม่ประสบผลสำเร็จตามแผนงานที่วางไว้ โดยคาดว่าจำนวนคนว่างงานที่ได้มีการปรับตัวเลขตามฤดูกาล
แล้วจะเพิ่มขึ้น 15,000 คน จากเดือน ก.พ.47 ทั้งนี้ รัฐบาลเยอรมนีได้ใช้จ่ายเงินหลายพันล้านยูโรต่อปี
เพื่อกระตุ้นการจ้างงานให้เพิ่มขึ้นและลดอัตราการว่างงานลง โดยในหลายปีมานี้ได้ออกมาตรการปฏิรูปหลาย
อย่างเพื่อเร่งให้มีการบรรจุคนงานและสร้างโอกาสในการจ้างงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาด
ว่าในช่วงครึ่งหลังของปีจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การจ้างงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อนึ่ง จะมีการ
ประกาศตัวเลขการจ้างงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 เม.ย.47 (รอยเตอร์)
4. ฝรั่งเศสสัญญาว่าจะลดการขาดดุลงปม.ให้อยู่ในระดับร้อยละ 3.6 ในปีนี้ รายงานจาก
ไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 47 รมว. คลังฝรั่งเศสให้คำมั่นสัญญาว่าจะปรับลดการขาดดุลภาครัฐลงให้อยู่
ในระดับร้อยละ 3.6 ในปีนี้จากที่เคยขาดดุลงปม.ถึงร้อยละ 4.1 เมื่อปีที่แล้ว และคาดว่าจะปรับลดการขาดดุ
ลงปม.ลงให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ตามข้อกำหนดของ EU ได้ในปี 48 อย่างไรก็ตามฝรั่งเศสก็ยัง
ต้องคำนึงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการจ้างงานเป็นอันดับแรก แต่ก็มีความพยายามที่จะจำกัดการขาดดุ
ลงปม. ของฝรั่งเศสลงให้อยู่ในกรอบของ EU (รอยเตอร์)
5. อิตาลีเรียกร้องให้ EU ทบทวนสนธิสัญญาการมีเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
รายงานจากมิลาน เมื่อวันที่ 3 เม.ย.47 นรม. Berlusconi Silvio ของอิตาลี เรียกร้องให้สหภาพ
ยุโรปทบทวนสนธิสัญญาความมั่นคงและการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยกล่าวว่าสนธิสัญญาควรมุ่งเน้นไปที่การเติบ
โตทางเศรษฐกิจมากกว่าเสถียรภาพด้านงบประมาณ เพราะการมีเสถียรภาพด้าน งปม. เพียงอย่างเดียวไม่
สามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ ในปี 46 อิตาลีสามารถทำให้การขาดดุล งปม. ของ
ประเทศอยู่ภายในข้อตกลงของสนธิสัญญาดังกล่าวที่ระดับร้อยละ 3 ได้ คือ ขาดดุล งปม. เพียง 2.4% ของจี
ดีพี แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอิตาลีก็มีเพียง 0.3% เท่านั้น ทำให้ นรม.Berlusconi ประกาศจะ
กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปรับลดภาษีหลักลงหลายรายการ แต่นักวิเคราะห์หลายรายเตือนว่าแผนการปรับลด
ภาษีที่มีมูลค่าประมาณ 6 พันล้านยูโร จะทำให้ลดการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้
นรม.Berlusconi ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ ธ.กลางสหภาพยุโรปคงค่าเงินยูโรไว้ที่ระดับสูงทำให้ค่าเงิน
ดอลลาร์ สรอ. ต่ำลง ส่งผลให้สินค้าของ สรอ. สามารถแข่งขันได้มากขึ้นและเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของ
อิตาลี ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
6. เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 13 ปีในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 46 รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 4 เม.ย.47 เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 13 ปีในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี
46 และคาดว่าจะขยายตัวเกินกว่าที่คาดไว้ตลอดปี 47 โดยรัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปี 47 จะขยายตัวไม่ต่ำ
กว่าร้อยละ 2.0 อันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังประเทศจีนซึ่งเศรษฐกิจกำลังขยายตัวอย่าง
รวดเร็วและส่งผลให้ธุรกิจมีกำไรและขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลดีต่อการจ้างงานและการใช้จ่ายของผู้
บริโภคซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ดียังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าเงินเยนที่เพิ่มสูงขึ้น
โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินเยนมีค่าสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ระดับ 103.50 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ก่อนที่จะอ่อนตัว
มาปิดที่ 104.50 เยนต่อดอลลาร์ สรอ.ในวันศุกร์ โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ รัฐบาลได้ใช้เงินแทรก
แซงตลาดเงินไปแล้วเป็นจำนวน 15 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 144.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ
จำนวน 20 ล้านล้านเยนตลอดปี 46 ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5/4/47 2/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.166 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.9993/39.2882 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1000 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 693.12/41.03 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,800/7,900 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.72 30.05 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.คาดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศอาจสร้างแรงกดดันต่อ
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ตัวเลขเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนแรกของปี 47 ขยายตัวต่อเนื่องและแข็งแกร่ง แม้จะได้รับผล
กระทบจากไข้หวัดนกและสถานการณ์ภาคใต้ที่ทำให้ความเชื่อมั่นลดลง ทั้งนี้ ภาคการผลิตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะอัตราการใช้กำลังการผลิต ณ สิ้น ก.พ.47 สูงถึงร้อยละ 75.3 ส่วนด้านต่างประเทศ การส่งออก
ขยายตัวร้อยละ 22.3 นำเข้าร้อยละ 28.2 สำหรับอัตราเงินเฟ้อยังคงขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.2 อย่าง
ไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องติดตามซึ่งมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะต่อไป คือ ความเสี่ยงด้านต่างประเทศจาก
ค่าเงินสกุลหลัก และเมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอาจสร้างแรงกดดันให้ราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้น รวมถึงการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจในประเทศอาจสร้างแรงกดดันต่อปัจจัยด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
2. รมว.คลังมีนโยบายนำระบบสถาบันประกันเงินฝากออกใช้ รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ รมว.คลังมีนโยบายที่จะนำระบบสถาบันประกันเงินฝากออกมาใช้ในระบบ เนื่องจากเห็นว่าภาวะ
เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะที่แข็งแกร่งและมีอัตราการขยายตัวที่ดี โดยเห็นว่าเป็นภาวะที่เหมาะสมที่จะมีการผลัก
ดันเรื่อง พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากให้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งในรายละเอียดนั้นไม่มี
การเปลี่ยนแปลงไปจากร่างกฎหมายฉบับเดิมที่ ก.คลังและ ธปท.ได้ร่วมกันดำเนินมาก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ วงเงิน
ประกันเงินฝากตาม ร่าง พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝากเดิมนั้น ได้กำหนดให้ค้ำประกันเงินฝากของผู้ฝากเงิน
ธนาคารละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย ซึ่งผู้ฝากสามารถกระจายเงินฝากในหลาย ๆ ธนาคารได้ และกำหนด
บทเฉพาะกาลเป็นเวลา 4 ปี (เดลินิวส์)
3. ความคืบหน้าในการเจรจาเอฟทีเอไทย-อินเดีย ผู้ช่วย รมว.ก.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าทีมการ
เจรจาจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างไทย-อินเดีย เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเจรจาว่า
ในวันที่ 7-8 เม.ย.นี้จะมีการประชุมคณะกรรมการเจรจาทั้งสองฝ่ายอย่างเป็นทางการ ที่ประเทศอินเดีย
โดยจะมีการจัดตั้งอนุกรรมการดูแลเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าเร่งลดภาษี (Interim Rules of
Origin) และมีเป้าหมายจะจัดทำกรอบการเจรจาให้เสร็จสิ้นภายในปลายปีนี้ ทั้งนี้ การประชุมก่อนหน้านี้ทั้ง
สองฝ่ายตกลงเห็นชอบสินค้าร่วมกัน 52 รายการ คงเหลืออีก 32 รายการที่ยังเป็นปัญหาเรื่องกฎว่าด้วย
แหล่งกำเนิดสินค้า ที่อินเดียกำหนดให้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศสูงถึงร้อยละ 75 แต่ไทยเห็นว่าควรใช้วัตถุดิบ
ในประเทศร้อยละ 30-40 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การเจรจาเอฟทีเอดังกล่าวจะเป็นการลดภาษีทันทีบาง
รายการ และบางรายการจะทยอยลดภาษีในอัตราร้อยละ 50 75 และ 100 ตั้งแต่ 1 มี.ค.47 — 1
มี.ค.49 ตามลำดับ โดยตกลงที่จะลดภาษีสินค้ารวม 84 รายการ (มติชน, ไทยรัฐ)
4. ภาวะการลงทุนของภาคอีสานในปี 47 มีแนวโน้มขยายตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ผู้อำนวยการ
ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 นครราชสีมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(บีโอไอ) กล่าวว่า ภาวะการลงทุนของภาคอีสานในปี 47 มีแนวโน้มขยายตัวแบบก้าวกระโดดในอัตราสูงที่สุด
เป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ เนื่องจากผลจากการส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรกที่มีโครงการได้รับการอนุมัติส่ง
เสริมฯ จากบีโอไอไปแล้วทั้งสิ้น 24 โครงการ มูลค่าการลงทุน 3,284 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน
4,826 คน เป็นจำนวนโครงการและมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 140 และ
214 ตามลำดับ และร้อยละ 50 ของโครงการทั้งหมดลงทุนอยู่ใน จ.นครราชสีมา นอกจากนี้ ในระยะ 3
เดือนแรกของปีนี้ ยังมีนักลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนไว้อีกกว่า 32
โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 23,591 ล้านบาท ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 12,126 คน ดังนั้น คาด
ว่าตลอดทั้งปี 47 นี้ ภาคอีสานจะมีโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมฯ จากบีโอไอเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 หมื่น
ล้านบาท ถึง 3 เท่า และเป็นอัตราการขยายตัวสูงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งโดยเฉลี่ยได้รับการส่งเสริมฯ ปีละ
ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท นับเป็นภูมิภาคที่มีสัดส่วนการลงทุนรองจากภาคกลางและภาคตะวันออก (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสรอ. ฟื้นตัว รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 2 เม.ย. 47
นาย John Snow รมว. คลังสรอ. เปิดเผยว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสรอ.ฟื้นตัวภายหลังจากที่ชะลอ
ตัวมาเกือบ 4 ปี และคาดว่าการจ้างงานในภาคดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอีกในเดือนหน้า จากตัวเลขเศรษฐกิจที่
สร้างความหวังอย่างมากเนื่องจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนั้น ก.แรงงาน สรอ.
รายงานว่า อัตราการจ้างงานเมื่อเดือนที่แล้วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบเกือบ 4 ปีโดยเฉพาะการจ้างงาน
ในภาคอุตสาหกรรม (รอยเตอร์)
2. แนวโน้มเงินเฟ้อของสรอ.ในเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้นที่ระดับ 118.8 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ
วันที่ 2 เม.ย. 47 เงินเฟ้อของสรอ.ในเดือนมีค. เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เนื่องจากราคาปรับตัว
สูงขึ้น สถาบันเพื่อการวิจัยแนวโน้มเงินเฟ้อของสรอ. ซึ่งออกแบบเพื่อทำนายความเคลื่อนไหวของระดับราคา
เปิดเผยว่า ในเดือนมี.ค. 47 แนวโน้มเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นที่ระดับ 118.8 จากระดับ 115.7 ในเดือนก.พ. 47
(ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ชี้ว่าแนวโน้มเงินเฟ้อเป็นวัฎจักรขาขึ้น อย่างไรก็ตามดัชนีเงินเฟ้อรายปี เพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 3.3 จากร้อยละ - 2.2 ในเดือนก.พ. (รอยเตอร์)
3. อัตราการว่างงานของเยอรมนีสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อวันที่
2 เม.ย.47 สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยผลการสำรวจว่า อัตราการว่างงานเดือน มี.ค.47 ของเยอรมนี
เพิ่มสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไม่ดีเท่าที่ควรและผลกระทบจากการสร้าง
งานที่ไม่ประสบผลสำเร็จตามแผนงานที่วางไว้ โดยคาดว่าจำนวนคนว่างงานที่ได้มีการปรับตัวเลขตามฤดูกาล
แล้วจะเพิ่มขึ้น 15,000 คน จากเดือน ก.พ.47 ทั้งนี้ รัฐบาลเยอรมนีได้ใช้จ่ายเงินหลายพันล้านยูโรต่อปี
เพื่อกระตุ้นการจ้างงานให้เพิ่มขึ้นและลดอัตราการว่างงานลง โดยในหลายปีมานี้ได้ออกมาตรการปฏิรูปหลาย
อย่างเพื่อเร่งให้มีการบรรจุคนงานและสร้างโอกาสในการจ้างงานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาด
ว่าในช่วงครึ่งหลังของปีจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การจ้างงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย อนึ่ง จะมีการ
ประกาศตัวเลขการจ้างงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 6 เม.ย.47 (รอยเตอร์)
4. ฝรั่งเศสสัญญาว่าจะลดการขาดดุลงปม.ให้อยู่ในระดับร้อยละ 3.6 ในปีนี้ รายงานจาก
ไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 47 รมว. คลังฝรั่งเศสให้คำมั่นสัญญาว่าจะปรับลดการขาดดุลภาครัฐลงให้อยู่
ในระดับร้อยละ 3.6 ในปีนี้จากที่เคยขาดดุลงปม.ถึงร้อยละ 4.1 เมื่อปีที่แล้ว และคาดว่าจะปรับลดการขาดดุ
ลงปม.ลงให้อยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 3.0 ตามข้อกำหนดของ EU ได้ในปี 48 อย่างไรก็ตามฝรั่งเศสก็ยัง
ต้องคำนึงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการจ้างงานเป็นอันดับแรก แต่ก็มีความพยายามที่จะจำกัดการขาดดุ
ลงปม. ของฝรั่งเศสลงให้อยู่ในกรอบของ EU (รอยเตอร์)
5. อิตาลีเรียกร้องให้ EU ทบทวนสนธิสัญญาการมีเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
รายงานจากมิลาน เมื่อวันที่ 3 เม.ย.47 นรม. Berlusconi Silvio ของอิตาลี เรียกร้องให้สหภาพ
ยุโรปทบทวนสนธิสัญญาความมั่นคงและการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยกล่าวว่าสนธิสัญญาควรมุ่งเน้นไปที่การเติบ
โตทางเศรษฐกิจมากกว่าเสถียรภาพด้านงบประมาณ เพราะการมีเสถียรภาพด้าน งปม. เพียงอย่างเดียวไม่
สามารถกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ ในปี 46 อิตาลีสามารถทำให้การขาดดุล งปม. ของ
ประเทศอยู่ภายในข้อตกลงของสนธิสัญญาดังกล่าวที่ระดับร้อยละ 3 ได้ คือ ขาดดุล งปม. เพียง 2.4% ของจี
ดีพี แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอิตาลีก็มีเพียง 0.3% เท่านั้น ทำให้ นรม.Berlusconi ประกาศจะ
กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปรับลดภาษีหลักลงหลายรายการ แต่นักวิเคราะห์หลายรายเตือนว่าแผนการปรับลด
ภาษีที่มีมูลค่าประมาณ 6 พันล้านยูโร จะทำให้ลดการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้
นรม.Berlusconi ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า การที่ ธ.กลางสหภาพยุโรปคงค่าเงินยูโรไว้ที่ระดับสูงทำให้ค่าเงิน
ดอลลาร์ สรอ. ต่ำลง ส่งผลให้สินค้าของ สรอ. สามารถแข่งขันได้มากขึ้นและเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกของ
อิตาลี ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
6. เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 13 ปีในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 46 รายงาน
จากโตเกียว เมื่อ 4 เม.ย.47 เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 13 ปีในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี
46 และคาดว่าจะขยายตัวเกินกว่าที่คาดไว้ตลอดปี 47 โดยรัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปี 47 จะขยายตัวไม่ต่ำ
กว่าร้อยละ 2.0 อันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังประเทศจีนซึ่งเศรษฐกิจกำลังขยายตัวอย่าง
รวดเร็วและส่งผลให้ธุรกิจมีกำไรและขยายการลงทุนเพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลดีต่อการจ้างงานและการใช้จ่ายของผู้
บริโภคซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของเศรษฐกิจญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ดียังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าเงินเยนที่เพิ่มสูงขึ้น
โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมาเงินเยนมีค่าสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ระดับ 103.50 เยนต่อดอลลาร์ สรอ. ก่อนที่จะอ่อนตัว
มาปิดที่ 104.50 เยนต่อดอลลาร์ สรอ.ในวันศุกร์ โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ รัฐบาลได้ใช้เงินแทรก
แซงตลาดเงินไปแล้วเป็นจำนวน 15 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 144.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ
จำนวน 20 ล้านล้านเยนตลอดปี 46 ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5/4/47 2/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.166 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.9993/39.2882 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1000 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 693.12/41.03 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,800/7,900 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 29.72 30.05 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-