ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตรียมออกพันธบัตรเพื่อการลงทุนในกลางเดือน พ.ค.47 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มีแผนที่จะออกพันธบัตรเพื่อการลงทุน (Investment Bond) เพื่อชดเชย
ความเสียหายให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในช่วงกลางเดือน พ.ค.นี้ โดยขณะนี้
อยู่ระหว่างการพิจารณาจำนวนเงินในการออกพันธบัตร ทั้งนี้ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ธปท.ได้ออกพันธบัตรออม
ทรัพย์จำนวนเงินรวม 30,000 ล้านบาท จากพันธบัตรทั้งหมดที่ต้องออกเพื่อชดเชยความเสียหายให้กับกองทุน
ฟื้นฟูฯ ในปี 47 จำนวน 200,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของการออกพันธบัตรในครั้งนี้ เพื่อ
ต้องการแก้ไขปัญหาผลขาดทุนที่เกิดจากการดำเนินการช่วยเหลือระบบสถาบันการเงินของกองทุนฟื้นฟูฯ รวมทั้ง
เป็นทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินกับ ธพ.สำหรับผู้ออมรายย่อยอีกด้วย (ผู้จัดการ
รายวัน, โลกวันนี้)
2. ก.คลังเตรียมวางกลยุทธ์และมอบหมายนโยบายใหม่สำหรับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ รายงาน
จาก ก.คลัง เปิดเผยว่า รมว.คลังเรียกประชุมธนาคารภาครัฐและสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อวางกลยุทธ์
และมอบหมายนโยบายใหม่ของสถาบันการเงินแต่ละแห่งให้มีความชัดเจน และเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการ
ดำเนินงาน โดยเฉพาะ ธ.ออมสิน และ ธ.อาคารสงเคราะห์ ที่มีบทบาทซ้ำซ้อนกันในเรื่องการให้สินเชื่อที่อยู่
อาศัย โดยให้ ธ.อาคารสงเคราะห์ให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น ส่วน ธ.ออมสินมีบทบาทเป็นธนาคาร
ประชาชนอย่างแท้จริง สำหรับ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยให้ดำเนินการประสานงานกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น ส่วน ธ.เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เน้น
บทบาทส่งเสริมเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ที่เอกชนคิดค้นขึ้น รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพ
ในการแข่งขันของธุรกิจเอสเอ็มอี ส่วน ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะเน้นการให้บริการสินเชื่อ
แก่ภาคเกษตรและสนับสนุนโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล เพื่อพัฒนาชุมชน รวมทั้งประสานงานกับ ธ.ออมสิน
เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ก.คลังเตรียมจัดทำกรอบความยั่งยืนทางด้านการคลังใหม่ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.
คลังอยู่ระหว่างการจัดทำกรอบความยั่งยืนทางด้านการคลังใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในอีก
5 ปีข้างหน้า หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เคยจัดทำมาแล้วเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าในเร็ว ๆ นี้ สำนักงาน
เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะเสนอให้ที่ประชุมคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพิจารณาในรายละเอียดก่อนเสนอให้
รมว.คลังพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ กรอบความยั่งยืนดังกล่าว ประกอบด้วย การกำหนดสัดส่วนภาระหนี้ต่อ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไว้ในระดับไม่เกินร้อยละ 50 จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ส่วนภาระ
หนี้ต่องบประมาณจากเดิมที่กำหนดไม่เกินร้อยละ 16 จะกำหนดไว้ให้ไม่เกินร้อยละ 12 และการจัดทำงบ
ประมาณนั้น จะสมดุลได้ในปี 48 จากเดิมที่เป้าหมายไว้ที่ปี 51 (ไทยรัฐ)
4. บลจ.คาดมาตรการสิทธิภาษีจะเร่งการขยายตัวของกองทุนรวมในไตรมาส 2 ปี 47 ผู้จัดการ
กองทุนรวมประเมินมาตรการภาษีกองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์นำไปหักลดหย่อนภาษี โดยเฉพาะกองทุนปิดที่ลง
ทุนในหุ้น จะเป็นปัจจัยเร่งอัตราการเติบโตธุรกิจกองทุนรวมในไตรมาส 2 ปี 47 และคาดว่าทั้งปี 47 จะมี
เงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40-50 หรือประมาณ 1.5 แสนล้านบาท จากยอดกองทุนรวมทั้งระบบ 4.4 แสนล้าน
บาท รวมทั้งจะมีส่วนผลักดันให้ตลาดหุ้นมีการซื้อขายอย่างมาก ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของธุรกิจกองทุนรวมใน
ไตรมาส 1 ปี 47 ยังมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลง เนื่องจากภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีความผันผวน
และปรับตัวลดลงจากผลกระทบของสถานการณ์ภาคใต้และไข้หวัดนก รวมทั้งปัญหาการแปรรูปของรัฐวิสาหกิจ
โดย ณ วันที่ 26 มี.ค.47 มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (เอ็นเอวี) เพิ่มขึ้น 4,899 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ ณ
สิ้นปี 46 (กรุงเทพธุรกิจ)
5. สภาพัฒน์เตรียม 5 ยุทธศาสตร์พัฒนาภาคอีสานใช้ งปม. 6 หมื่นล้านบาท ผู้อำนวยการสำนัก
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ (สภาพัฒน์) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแปลงยุทธศาสตร์พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ หรือยุทธศาสตร์พัฒนาภาคอีสานว่า ได้รับอนุมัติในหลักการดังกล่าวจากที่ประชุม ครม.สัญจรที่
จ.นครพนม เมื่อ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น 5 ยุทธศาสตร์หลัก และ 34 โครงการย่อย ซึ่งต้องใช้งบ
ประมาณในเบื้องต้น 6 หมื่นล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราการเลิกจ้างงานของ สรอ. เดือน มี.ค.47 ลดลงต่ำสุดในรอบ 9 เดือน รายงาน
จากนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 6 เม.ย.47 Challenger, Gray & Christmas Inc. เปิดเผยรายงานแผน
การเลิกจ้างงานของบริษัทใน สรอ. ว่า ในเดือน มี.ค.47 ลดลง 68,034 ตำแหน่ง ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน
เทียบกับ 77,250 ตำแหน่ง เมื่อเดือน ก.พ.47 และถ้าเฉลี่ยความเคลื่อนไหวช่วง 12 เดือน ลดลง 95,289
ตำแหน่ง ในเดือนมี.ค.47 เทียบกับ 96,736 ตำแหน่ง ในเดือน ก.พ.47 ทั้งนี้ การเลิกจ้างงานเป็น
จำนวนครั้งละมาก ๆ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลง แต่ตลาดแรงงานยังคงไม่สดใสนัก เพราะบริษัท
หลายแห่งยังคงต้องการเก็บรักษาพนักงานเก่าที่มีความชำนาญและประสบการณ์การทำงานสูงไว้ แทนที่จะจ้าง
พนักงานใหม่เข้ามาทำงานแทน แม้ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าพนักงานเก่า แต่ต้องใช้เวลาในการฝึกอบรมเป็น
เวลานาน ประกอบกับเศรษฐกิจยังอยู่ในจุดที่ไม่เข็มแข็งนัก ทำให้นายจ้างมองว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะเปลี่ยน
แปลงใด ๆ อย่างไรก็ตาม มีการปรับลดจำนวนคนงานในภาคอุตสาหกรรมบริการด้านการเงินลง 16,120
ตำแหน่ง ในเดือน มี.ค.47 ขณะที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมลดลงอันดับสอง 9,823 ตำแหน่ง ทั้งนี้ คาดว่า
แผนการเลิกจ้างงานในช่วงไตรมาสแรกของปี 47 จะลดลง 262,840 ตำแหน่ง เทียบกับที่ลดลง 364,346
ตำแหน่ง ในไตรมาส 4 ปี 46 โดยแผนการเลิกจ้างงานในช่วงไตรมาสแรกปี 47 ต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปี
46 ถึง 26% (รอยเตอร์)
2. ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 6
เม.ย. 47 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือนก.พ. 47 ดัชนีชี้นำภาวะธุรกิจของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นที่ระดับ 77.8
จากระดับ 50.0 เมื่อเดือนก่อน (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) โดยตัวเลขดัชนีดังกล่าวมี scale ในการวัดที่ 100
และใช้ตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆอาทิตัวเลขการจ้างงานใหม่ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค และราคาหุ้นของกรุงโตเกียว
เป็นปัจจัยประกอบ ซึ่งสามารถส่งสัญญานภาวะเศรษฐกิจในระยะ 2 - 3 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้หากตัวเลขดัง
กล่าวสูงกว่าระดับ 50 แสดงถึงภาวะธุรกิจที่แข็งแกร่ง สำหรับ ตัวเลขเบื้องต้นของ coincident index
ซึ่งใช้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 88.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 80.0 (ตัวเลขที่ปรับแล้ว) ในเดือนก่อน
(รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาสแรกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.5 รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 6 เม.ย.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตร
มาสแรกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปี 46 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 11 โดย ก.การค้า
และอุตสาหกรรมของสิงคโปร์มีกำหนดจะประกาศประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้อย่าง
เป็นทางการในวันที่ 12 เม.ย.47 นี้ อันเป็นผลจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ disk drive
ซึ่งสิงคโปร์เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลกไปยัง สรอ.และจีนเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับยาซึ่งสิงคโปร์ได้ขยายกำลัง
การผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากยุโรป โดยผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวถึงร้อยละ 38.3 ใน
เดือน ก.พ.47 เมื่อเทียบต่อปี ผลสำรวจคาดว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ตลอดปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.6 สูง
กว่าที่รัฐบาลคาดไว้ว่าจะขยายตัวใกล้ระดับสูงสุดของช่วงระหว่าง ร้อยละ 3.5 ถึง 5.5 หลังจากที่ขยายตัว
เพียงร้อยละ 1.1 ในปี 46 จากผลกระทบของโรคไข้หวัด SARS (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้ในเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 47 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในเดือนมี.ค. 47 ดัชนีราคาผู้ผลิต
(Producer Price Index - PPI ) ของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอย่างมากจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ระดับร้อยละ
4.4 เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และราคาวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์โลหะที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 26 แต่นัก
เศรษฐศาสตร์เห็นว่าการอ่อนแอ ของอุปสงค์ภายในประเทศและการสูงขึ้นของราคามิได้มาจากด้านอุปสงค์ จึง
คาดว่า ในการทบทวนนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธ.กลางเกาหลีใต้ในวันพฤหัสบดีนี้ อัตราดอกเบี้ยคงจะไม่
เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 46 ต่อไปอีกแม้ว่าจะมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อก็
ตาม อย่างไรก็ตามตัวเลขเศรษฐกิจดังกล่าวสร้างความกังวลแก่เกาหลีใต้ซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4
ของเอเชียที่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบเป็นส่วนใหญ่ (รอยเตอร์)
5. ภาคการบริการของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.47 ขยายตัว 2.6% รายงานจากกรุงโซล เมื่อ
วันที่ 6 เม.ย.47 ข้อมูลจากทางการเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ภาคการบริการของเกาหลีใต้ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ
ครึ่งหนึ่งของจีดีพีมีอัตราการขยายตัว 2.6% เทียบกับที่ลดลง 2.4% ในเดือนก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมค้าส่ง
และค้าปลีกที่เป็นส่วนสำคัญของภาคบริการทั้งหมดเพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือน ก.พ.47 จากที่ลดลง 1.9% ใน
เดือน ม.ค.47 ซึ่งเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 12 เดือน โดยก่อนหน้านี้อุตสาหกรรมการค้าส่ง
และค้าปลีกได้ลดลง 11 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากเกิดฟองสบู่แตกด้านสินเชื่อการบริโภค ทำให้ประชาชนระมัด
ระวังการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อนึ่ง รายงานดังกล่าวออกมาก่อนหน้าที่จะมีการคาดการณ์ว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคง
อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนไว้ที่ระดับต่ำ เพื่อรักษาระดับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากการขยายตัวด้านการ
ส่งออก ในขณะที่การบริโภคภายในประเทศยังคงไม่ขยายตัวมากนัก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7/4/47 5/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.133 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.9391/39.2246 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1000 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 709.89/37.92 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,700/7,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 30.15 29.72 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เตรียมออกพันธบัตรเพื่อการลงทุนในกลางเดือน พ.ค.47 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.มีแผนที่จะออกพันธบัตรเพื่อการลงทุน (Investment Bond) เพื่อชดเชย
ความเสียหายให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในช่วงกลางเดือน พ.ค.นี้ โดยขณะนี้
อยู่ระหว่างการพิจารณาจำนวนเงินในการออกพันธบัตร ทั้งนี้ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ธปท.ได้ออกพันธบัตรออม
ทรัพย์จำนวนเงินรวม 30,000 ล้านบาท จากพันธบัตรทั้งหมดที่ต้องออกเพื่อชดเชยความเสียหายให้กับกองทุน
ฟื้นฟูฯ ในปี 47 จำนวน 200,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ของการออกพันธบัตรในครั้งนี้ เพื่อ
ต้องการแก้ไขปัญหาผลขาดทุนที่เกิดจากการดำเนินการช่วยเหลือระบบสถาบันการเงินของกองทุนฟื้นฟูฯ รวมทั้ง
เป็นทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินกับ ธพ.สำหรับผู้ออมรายย่อยอีกด้วย (ผู้จัดการ
รายวัน, โลกวันนี้)
2. ก.คลังเตรียมวางกลยุทธ์และมอบหมายนโยบายใหม่สำหรับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ รายงาน
จาก ก.คลัง เปิดเผยว่า รมว.คลังเรียกประชุมธนาคารภาครัฐและสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อวางกลยุทธ์
และมอบหมายนโยบายใหม่ของสถาบันการเงินแต่ละแห่งให้มีความชัดเจน และเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการ
ดำเนินงาน โดยเฉพาะ ธ.ออมสิน และ ธ.อาคารสงเคราะห์ ที่มีบทบาทซ้ำซ้อนกันในเรื่องการให้สินเชื่อที่อยู่
อาศัย โดยให้ ธ.อาคารสงเคราะห์ให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเท่านั้น ส่วน ธ.ออมสินมีบทบาทเป็นธนาคาร
ประชาชนอย่างแท้จริง สำหรับ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยให้ดำเนินการประสานงานกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น ส่วน ธ.เพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เน้น
บทบาทส่งเสริมเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ที่เอกชนคิดค้นขึ้น รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพ
ในการแข่งขันของธุรกิจเอสเอ็มอี ส่วน ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจะเน้นการให้บริการสินเชื่อ
แก่ภาคเกษตรและสนับสนุนโครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล เพื่อพัฒนาชุมชน รวมทั้งประสานงานกับ ธ.ออมสิน
เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ก.คลังเตรียมจัดทำกรอบความยั่งยืนทางด้านการคลังใหม่ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ก.
คลังอยู่ระหว่างการจัดทำกรอบความยั่งยืนทางด้านการคลังใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในอีก
5 ปีข้างหน้า หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เคยจัดทำมาแล้วเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าในเร็ว ๆ นี้ สำนักงาน
เศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จะเสนอให้ที่ประชุมคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพิจารณาในรายละเอียดก่อนเสนอให้
รมว.คลังพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ กรอบความยั่งยืนดังกล่าว ประกอบด้วย การกำหนดสัดส่วนภาระหนี้ต่อ
ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไว้ในระดับไม่เกินร้อยละ 50 จากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ส่วนภาระ
หนี้ต่องบประมาณจากเดิมที่กำหนดไม่เกินร้อยละ 16 จะกำหนดไว้ให้ไม่เกินร้อยละ 12 และการจัดทำงบ
ประมาณนั้น จะสมดุลได้ในปี 48 จากเดิมที่เป้าหมายไว้ที่ปี 51 (ไทยรัฐ)
4. บลจ.คาดมาตรการสิทธิภาษีจะเร่งการขยายตัวของกองทุนรวมในไตรมาส 2 ปี 47 ผู้จัดการ
กองทุนรวมประเมินมาตรการภาษีกองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์นำไปหักลดหย่อนภาษี โดยเฉพาะกองทุนปิดที่ลง
ทุนในหุ้น จะเป็นปัจจัยเร่งอัตราการเติบโตธุรกิจกองทุนรวมในไตรมาส 2 ปี 47 และคาดว่าทั้งปี 47 จะมี
เงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 40-50 หรือประมาณ 1.5 แสนล้านบาท จากยอดกองทุนรวมทั้งระบบ 4.4 แสนล้าน
บาท รวมทั้งจะมีส่วนผลักดันให้ตลาดหุ้นมีการซื้อขายอย่างมาก ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของธุรกิจกองทุนรวมใน
ไตรมาส 1 ปี 47 ยังมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลง เนื่องจากภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังมีความผันผวน
และปรับตัวลดลงจากผลกระทบของสถานการณ์ภาคใต้และไข้หวัดนก รวมทั้งปัญหาการแปรรูปของรัฐวิสาหกิจ
โดย ณ วันที่ 26 มี.ค.47 มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (เอ็นเอวี) เพิ่มขึ้น 4,899 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ ณ
สิ้นปี 46 (กรุงเทพธุรกิจ)
5. สภาพัฒน์เตรียม 5 ยุทธศาสตร์พัฒนาภาคอีสานใช้ งปม. 6 หมื่นล้านบาท ผู้อำนวยการสำนัก
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง
ชาติ (สภาพัฒน์) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแปลงยุทธศาสตร์พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือ หรือยุทธศาสตร์พัฒนาภาคอีสานว่า ได้รับอนุมัติในหลักการดังกล่าวจากที่ประชุม ครม.สัญจรที่
จ.นครพนม เมื่อ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยแบ่งเป็น 5 ยุทธศาสตร์หลัก และ 34 โครงการย่อย ซึ่งต้องใช้งบ
ประมาณในเบื้องต้น 6 หมื่นล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราการเลิกจ้างงานของ สรอ. เดือน มี.ค.47 ลดลงต่ำสุดในรอบ 9 เดือน รายงาน
จากนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 6 เม.ย.47 Challenger, Gray & Christmas Inc. เปิดเผยรายงานแผน
การเลิกจ้างงานของบริษัทใน สรอ. ว่า ในเดือน มี.ค.47 ลดลง 68,034 ตำแหน่ง ต่ำสุดในรอบ 9 เดือน
เทียบกับ 77,250 ตำแหน่ง เมื่อเดือน ก.พ.47 และถ้าเฉลี่ยความเคลื่อนไหวช่วง 12 เดือน ลดลง 95,289
ตำแหน่ง ในเดือนมี.ค.47 เทียบกับ 96,736 ตำแหน่ง ในเดือน ก.พ.47 ทั้งนี้ การเลิกจ้างงานเป็น
จำนวนครั้งละมาก ๆ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลง แต่ตลาดแรงงานยังคงไม่สดใสนัก เพราะบริษัท
หลายแห่งยังคงต้องการเก็บรักษาพนักงานเก่าที่มีความชำนาญและประสบการณ์การทำงานสูงไว้ แทนที่จะจ้าง
พนักงานใหม่เข้ามาทำงานแทน แม้ว่าจะเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าพนักงานเก่า แต่ต้องใช้เวลาในการฝึกอบรมเป็น
เวลานาน ประกอบกับเศรษฐกิจยังอยู่ในจุดที่ไม่เข็มแข็งนัก ทำให้นายจ้างมองว่ายังไม่ถึงเวลาที่จะเปลี่ยน
แปลงใด ๆ อย่างไรก็ตาม มีการปรับลดจำนวนคนงานในภาคอุตสาหกรรมบริการด้านการเงินลง 16,120
ตำแหน่ง ในเดือน มี.ค.47 ขณะที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมลดลงอันดับสอง 9,823 ตำแหน่ง ทั้งนี้ คาดว่า
แผนการเลิกจ้างงานในช่วงไตรมาสแรกของปี 47 จะลดลง 262,840 ตำแหน่ง เทียบกับที่ลดลง 364,346
ตำแหน่ง ในไตรมาส 4 ปี 46 โดยแผนการเลิกจ้างงานในช่วงไตรมาสแรกปี 47 ต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปี
46 ถึง 26% (รอยเตอร์)
2. ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 6
เม.ย. 47 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือนก.พ. 47 ดัชนีชี้นำภาวะธุรกิจของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นที่ระดับ 77.8
จากระดับ 50.0 เมื่อเดือนก่อน (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) โดยตัวเลขดัชนีดังกล่าวมี scale ในการวัดที่ 100
และใช้ตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆอาทิตัวเลขการจ้างงานใหม่ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค และราคาหุ้นของกรุงโตเกียว
เป็นปัจจัยประกอบ ซึ่งสามารถส่งสัญญานภาวะเศรษฐกิจในระยะ 2 - 3 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้หากตัวเลขดัง
กล่าวสูงกว่าระดับ 50 แสดงถึงภาวะธุรกิจที่แข็งแกร่ง สำหรับ ตัวเลขเบื้องต้นของ coincident index
ซึ่งใช้ชี้วัดภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 88.9 เพิ่มขึ้นจากระดับ 80.0 (ตัวเลขที่ปรับแล้ว) ในเดือนก่อน
(รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาสแรกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.5 รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อ 6 เม.ย.47 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตร
มาสแรกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปี 46 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 11 โดย ก.การค้า
และอุตสาหกรรมของสิงคโปร์มีกำหนดจะประกาศประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้อย่าง
เป็นทางการในวันที่ 12 เม.ย.47 นี้ อันเป็นผลจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ disk drive
ซึ่งสิงคโปร์เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของโลกไปยัง สรอ.และจีนเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับยาซึ่งสิงคโปร์ได้ขยายกำลัง
การผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากยุโรป โดยผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวถึงร้อยละ 38.3 ใน
เดือน ก.พ.47 เมื่อเทียบต่อปี ผลสำรวจคาดว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์ตลอดปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 5.6 สูง
กว่าที่รัฐบาลคาดไว้ว่าจะขยายตัวใกล้ระดับสูงสุดของช่วงระหว่าง ร้อยละ 3.5 ถึง 5.5 หลังจากที่ขยายตัว
เพียงร้อยละ 1.1 ในปี 46 จากผลกระทบของโรคไข้หวัด SARS (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้ในเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 47 ธ.กลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ในเดือนมี.ค. 47 ดัชนีราคาผู้ผลิต
(Producer Price Index - PPI ) ของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอย่างมากจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ระดับร้อยละ
4.4 เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และราคาวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์โลหะที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 26 แต่นัก
เศรษฐศาสตร์เห็นว่าการอ่อนแอ ของอุปสงค์ภายในประเทศและการสูงขึ้นของราคามิได้มาจากด้านอุปสงค์ จึง
คาดว่า ในการทบทวนนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธ.กลางเกาหลีใต้ในวันพฤหัสบดีนี้ อัตราดอกเบี้ยคงจะไม่
เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 46 ต่อไปอีกแม้ว่าจะมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อก็
ตาม อย่างไรก็ตามตัวเลขเศรษฐกิจดังกล่าวสร้างความกังวลแก่เกาหลีใต้ซึ่งมีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4
ของเอเชียที่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบเป็นส่วนใหญ่ (รอยเตอร์)
5. ภาคการบริการของเกาหลีใต้ในเดือน ก.พ.47 ขยายตัว 2.6% รายงานจากกรุงโซล เมื่อ
วันที่ 6 เม.ย.47 ข้อมูลจากทางการเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ภาคการบริการของเกาหลีใต้ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ
ครึ่งหนึ่งของจีดีพีมีอัตราการขยายตัว 2.6% เทียบกับที่ลดลง 2.4% ในเดือนก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมค้าส่ง
และค้าปลีกที่เป็นส่วนสำคัญของภาคบริการทั้งหมดเพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือน ก.พ.47 จากที่ลดลง 1.9% ใน
เดือน ม.ค.47 ซึ่งเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 12 เดือน โดยก่อนหน้านี้อุตสาหกรรมการค้าส่ง
และค้าปลีกได้ลดลง 11 เดือนติดต่อกัน เนื่องจากเกิดฟองสบู่แตกด้านสินเชื่อการบริโภค ทำให้ประชาชนระมัด
ระวังการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อนึ่ง รายงานดังกล่าวออกมาก่อนหน้าที่จะมีการคาดการณ์ว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคง
อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนไว้ที่ระดับต่ำ เพื่อรักษาระดับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากการขยายตัวด้านการ
ส่งออก ในขณะที่การบริโภคภายในประเทศยังคงไม่ขยายตัวมากนัก (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7/4/47 5/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.133 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.9391/39.2246 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1000 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 709.89/37.92 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,700/7,800 7,700/7,800 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 30.15 29.72 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-