สุกร
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรมีชีวิตยังคงปรับตัวสูงขึ้นอีก ตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นทำให้สุกรโตช้าส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาสุกรมีชีวิตจะยังคงปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 52.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.61 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.75 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 52.88 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 49.82 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 53.13 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.99 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 46) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกพื้นที่จากสัปดาห์ที่ผ่านมา และในช่วงนี้ปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากบางพื้นที่ที่ไก่ถูกทำลายยังไม่สามารถเลี้ยงไก่ได้ ยังอยู่ในช่วงเฝ้าระวังโรค ทำให้มีการเลี้ยงไก่ได้ประมาณร้อยละ 40-50 ของปริมาณการเลี้ยงทั้งหมด ความต้องการบริโภคปรับตัวดีขึ้นเพราะผู้บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภค ไก่ปรุงสุก
ด้านการส่งออก ไทยสามารถส่งออกไก่ปรุงสุกได้ตามปกติแล้วเกือบทุกประเทศ ยกเว้นประเทศเกาหลีใต้ที่ต้องรอเจ้าหน้าที่มาตรวจรับรองมาตรฐานโรงงานอีกครั้ง และตลาดหลักที่สำคัญในการส่งออกไก่ต้มสุกของไทย ได้แก่ สหภาพยุโรปฯ และญี่ปุ่น ซึ่งราคาส่งออกได้ปรับตัวสูงขึ้นจาก เฉลี่ยตันละ 2,800 เหรียญสหรัฐ เป็น เฉลี่ยตันละ 3,500-3,700 เหรียญสหรัฐ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.05 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 23.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 35.44 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 37.00 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงานราคา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 46.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ประเทศโคลัมเบียยกเลิกการนำเข้าเนื้อไก่แปรรูปจากสหรัฐฯ จากปัญหาโรคไข้หวัดนกที่เกิดขึ้น เมื่อเดือน กพ. 2547 แต่ยังคงห้ามนำเข้าไก่ดิบและนกมีชีวิตจากแคนาดา การยกเลิกมาตรการการห้ามนำเข้าเนื้อไก่แปรรูปภายหลังจากมีหลักฐานยื่นยันว่าไก่ปรุงสุกปลอดภัย
โคลัมเบียนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่ปีละ 25,000 ตัน มูลค่า 25-30 ล้านเหรียญสหรัฐ จากสหรัฐ-อเมริกา ซึ่ง ส่วนใหญ่จะนำเข้าเนื้อไก่แปรรูปได้แก่ นักเก็ต และผลิตภัณฑ์ที่มีแป้งผสม อุตสาหกรรมสัตว์ปีกของโคลัมเบีย เกี่ยวข้องกับคนงาน จำนวน 270,000 คน
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศร้อนทำให้ปริมาณผลผลิตลดลงซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล และปริมาณไข่ในหลายพื้นที่ยังขาดอยู่ เพราะการทำลายไก่ในช่วงเกิดโรคระบาดไข้หวัดนก ความต้องการบริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภคไข่มากขึ้น
ด้านการส่งออก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ไทยสามารถส่งออกได้รวม 73 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือประมาณ 24 ล้านฟอง ลดลงจาก 80 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือประมาณ 26 ล้านฟอง ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 8.75
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 175 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 150 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 16.67 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 171 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 166 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 180 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 169 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 22.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 209 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 181 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.47
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 178 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 175 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 136 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 189 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 181 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 212 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 49.93 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 37.76 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 57.33 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 48.37 บาท และภาคกลาง ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.11 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.73 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 13 ประจำวันที่ 29-4 เมษายน 2547--จบ--
-สก-
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรมีชีวิตยังคงปรับตัวสูงขึ้นอีก ตามความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นทำให้สุกรโตช้าส่งผลให้ปริมาณผลผลิตลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาสุกรมีชีวิตจะยังคงปรับตัวสูงขึ้นอีก
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 52.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.61 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.75 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 52.88 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 49.82 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 53.13 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 51.99 บาท ส่วนราคา ลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 46) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
ไก่เนื้อ
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อในสัปดาห์นี้ ราคาเกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นแทบทุกพื้นที่จากสัปดาห์ที่ผ่านมา และในช่วงนี้ปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากบางพื้นที่ที่ไก่ถูกทำลายยังไม่สามารถเลี้ยงไก่ได้ ยังอยู่ในช่วงเฝ้าระวังโรค ทำให้มีการเลี้ยงไก่ได้ประมาณร้อยละ 40-50 ของปริมาณการเลี้ยงทั้งหมด ความต้องการบริโภคปรับตัวดีขึ้นเพราะผู้บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภค ไก่ปรุงสุก
ด้านการส่งออก ไทยสามารถส่งออกไก่ปรุงสุกได้ตามปกติแล้วเกือบทุกประเทศ ยกเว้นประเทศเกาหลีใต้ที่ต้องรอเจ้าหน้าที่มาตรวจรับรองมาตรฐานโรงงานอีกครั้ง และตลาดหลักที่สำคัญในการส่งออกไก่ต้มสุกของไทย ได้แก่ สหภาพยุโรปฯ และญี่ปุ่น ซึ่งราคาส่งออกได้ปรับตัวสูงขึ้นจาก เฉลี่ยตันละ 2,800 เหรียญสหรัฐ เป็น เฉลี่ยตันละ 3,500-3,700 เหรียญสหรัฐ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 30.14 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.66 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.05 โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 23.00 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 35.44 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 37.00 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงานราคา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 46.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
ประเทศโคลัมเบียยกเลิกการนำเข้าเนื้อไก่แปรรูปจากสหรัฐฯ จากปัญหาโรคไข้หวัดนกที่เกิดขึ้น เมื่อเดือน กพ. 2547 แต่ยังคงห้ามนำเข้าไก่ดิบและนกมีชีวิตจากแคนาดา การยกเลิกมาตรการการห้ามนำเข้าเนื้อไก่แปรรูปภายหลังจากมีหลักฐานยื่นยันว่าไก่ปรุงสุกปลอดภัย
โคลัมเบียนำเข้าผลิตภัณฑ์ไก่ปีละ 25,000 ตัน มูลค่า 25-30 ล้านเหรียญสหรัฐ จากสหรัฐ-อเมริกา ซึ่ง ส่วนใหญ่จะนำเข้าเนื้อไก่แปรรูปได้แก่ นักเก็ต และผลิตภัณฑ์ที่มีแป้งผสม อุตสาหกรรมสัตว์ปีกของโคลัมเบีย เกี่ยวข้องกับคนงาน จำนวน 270,000 คน
ไข่ไก่
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นอีกจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศร้อนทำให้ปริมาณผลผลิตลดลงซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล และปริมาณไข่ในหลายพื้นที่ยังขาดอยู่ เพราะการทำลายไก่ในช่วงเกิดโรคระบาดไข้หวัดนก ความต้องการบริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภคไข่มากขึ้น
ด้านการส่งออก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ไทยสามารถส่งออกได้รวม 73 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือประมาณ 24 ล้านฟอง ลดลงจาก 80 ตู้คอนเทนเนอร์ หรือประมาณ 26 ล้านฟอง ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ร้อยละ 8.75
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 175 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 150 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 16.67 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 171 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 166 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 180 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 169 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.อยู่ที่ตัวละ 22.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 209 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 181 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 15.47
ไข่เป็ด
1. ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 178 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 175 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 136 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 189 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 181 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 212 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 285 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 49.93 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 37.76 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 57.33 บาท ภาคใต้กิโลกรัมละ 48.37 บาท และภาคกลาง ไม่มีรายงานราคา
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.11 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน โดยแยกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 37.73 บาท สำหรับภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 13 ประจำวันที่ 29-4 เมษายน 2547--จบ--
-สก-