ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนนี้ขยายตัวต่อเนื่อง รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้นจากปริมาณและราคาพืชผลสำคัญปรับตัวดีขึ้น สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงเล็กน้อย เช่นเดียวกับภาวะท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไข้หวัดนกและความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังเป็นผลจากฐานในปีก่อนสูงเนื่องจากเทศกาลตรุษจีนอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ทางด้านการใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุน ขณะเดียวกันมูลค่าการส่งออกยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของราคา ประกอบกับการใช้จ่ายภาครัฐบาลขยายตัวในเกณฑ์ดี สำหรับระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนภาวะการเงินขยายตัวทั้งเงินฝากและสินเชื่อ
ภาคเกษตร
ผลผลิตพืชสำคัญของภาคใต้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตยางพารา และ กาแฟ ขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ทางด้านราคาพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 ตามราคายางพาราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 เป็นผลจากความต้องการใช้ยางในตลาดโลก และราคาปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง ส่งผลให้รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.4
ภาวะประมงทะเลปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยมีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และ 4.8 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า เนื่องจากเป็นช่วงปิดทะเลทางฝั่งอ่าวไทย ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำยังคงชะลอลง ทางด้านราคาเปลี่ยนแปลงไม่มาก โดยราคากุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัว/กิโลกรัม ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เนื่องจากผลผลิตลดลง ขณะที่ความต้องการบริโภคเพื่อทดแทนไก่เพิ่มขึ้น
สำหรับปศุสัตว์ สุกรมีราคาสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.7 ขณะที่ราคาไก่เนื้อลดลงร้อยละ 11.7 เป็นผลจากโรคไข้หวัดนก
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตภาคอุตสาหกรรมของภาคใต้ในเดือนนี้ชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยอุตสาหกรรมยางพาราการผลิตชะลอลงตามการผลิตยางแผ่นรมควันที่ลดลง เนื่องจากความต้องการของตลาดญี่ปุ่นลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่การผลิตสินค้ายางพาราอื่นคงขยายตัว ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบมีผลผลิตลดลงร้อยละ 12.9 ตามปริมาณวัตถุดิบที่น้อยลง เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องที่มีการผลิตลดลงเล็กน้อย ตามปริมาณวัตถุดิบที่ลดลง ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ตามการผลิตของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็งในเดือนนี้ขยายตัว ตามปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3
ภาคบริการท่องเที่ยว
ภาวะท่องเที่ยวของภาคใต้ในเดือนนี้ชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกและสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบฐานในปีก่อนสูง เพราะเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ลดลง ร้อยละ 8.7 อย่างไรก็ตาม อัตราการเข้าพักโรงแรมในเดือนนี้คงอยู่ในเกณฑ์ดีโดยอยู่ที่ร้อยละ 61.6 ซึ่งเป็นผลจากนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการเปิดสายการบินต้นทุนต่ำ ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น
การอุปโภคบริโภค
การใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากราคาพืชเศรษฐกิจหลักอยู่ในเกณฑ์ดี โดยสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1 และอุปสงค์ต่อสินค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์คงขยายตัวในอัตราสูง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่ำ การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ และกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา โดยการวางเงินดาว์นน้อย ผ่อนชำระนาน และการให้บริการหลังการขาย
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ขยายตัวดีมาตั้งแต่ปีก่อน ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยเดือนนี้มีพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0 และโครงการที่ได้รับอนุมติส่งเสริมการลงทุนมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนถึง 30 เท่า
การจ้างงาน
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในเดือนมกราคม 2546 ภาคใต้มีอัตราว่างงาน ร้อยละ 1.9 และจากสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลกระทบให้เกิดการปัญหาการขาดแคลนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากแรงงานจากภูมิภาคอื่นมีความกังวล ไม่ต้องการย้ายมาทำงานในภาคใต้ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายกำลังการผลิตของผู้ประกอบการ
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงคือ หมวดข้าวแป้ง ผลิตภัณฑ์จากแป้ง และผักสดและผลไม้
การค้าต่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง แม้ได้รับผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการค้ารวมในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 เป็น 775.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.5 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้ายางพารา เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ถุงมือยาง และสัตว์น้ำ และการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1 ตามการนำเข้าเครื่องจักร และเครื่องประมวลผลข้อมูล เป็นสำคัญ
การคลัง
ในเดือนนี้ สำนักงานคลังจังหวัดในภาคใต้จ่ายเงินงบประมาณให้กับส่วนราชการเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.0 โดยในช่วง 5 เดือนของปีงบประมาณ 2547 มีการเบิกจ่ายงบประมาณแล้วร้อยละ 69.9 ของเงินที่ภาคใต้ได้รับการจัดสรร ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 เป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาษีจากฐานการบริโภคและฐานรายได้เพิ่มขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของภาษีสรรพากรและสรรพสามิต เป็นสำคัญ
ภาคการเงิน
เงินฝากคงค้างของธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อเพื่อการผลิตและการส่งออก และสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ด้านธุรกรรมของธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน มียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.8 และ 4.2 ตามลำดับ ขณะเดียวกันธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยมียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.9 ตามการขยายตัวของการส่งออก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคใต้--
-ยก-
ทางด้านการใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์ดี ทั้งการอุปโภคบริโภคและการลงทุน ขณะเดียวกันมูลค่าการส่งออกยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของราคา ประกอบกับการใช้จ่ายภาครัฐบาลขยายตัวในเกณฑ์ดี สำหรับระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนภาวะการเงินขยายตัวทั้งเงินฝากและสินเชื่อ
ภาคเกษตร
ผลผลิตพืชสำคัญของภาคใต้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.1 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตยางพารา และ กาแฟ ขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ทางด้านราคาพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 ตามราคายางพาราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 เป็นผลจากความต้องการใช้ยางในตลาดโลก และราคาปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง ส่งผลให้รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.4
ภาวะประมงทะเลปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยมีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 และ 4.8 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงทั้งปริมาณและมูลค่า เนื่องจากเป็นช่วงปิดทะเลทางฝั่งอ่าวไทย ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำยังคงชะลอลง ทางด้านราคาเปลี่ยนแปลงไม่มาก โดยราคากุ้งกุลาดำขนาด 40 ตัว/กิโลกรัม ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.7 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เนื่องจากผลผลิตลดลง ขณะที่ความต้องการบริโภคเพื่อทดแทนไก่เพิ่มขึ้น
สำหรับปศุสัตว์ สุกรมีราคาสูงขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.7 ขณะที่ราคาไก่เนื้อลดลงร้อยละ 11.7 เป็นผลจากโรคไข้หวัดนก
ภาคอุตสาหกรรม
การผลิตภาคอุตสาหกรรมของภาคใต้ในเดือนนี้ชะลอตัวลงเล็กน้อย โดยอุตสาหกรรมยางพาราการผลิตชะลอลงตามการผลิตยางแผ่นรมควันที่ลดลง เนื่องจากความต้องการของตลาดญี่ปุ่นลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่การผลิตสินค้ายางพาราอื่นคงขยายตัว ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบมีผลผลิตลดลงร้อยละ 12.9 ตามปริมาณวัตถุดิบที่น้อยลง เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องที่มีการผลิตลดลงเล็กน้อย ตามปริมาณวัตถุดิบที่ลดลง ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 3.0 อย่างไรก็ตามการผลิตของอุตสาหกรรมสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็งในเดือนนี้ขยายตัว ตามปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3
ภาคบริการท่องเที่ยว
ภาวะท่องเที่ยวของภาคใต้ในเดือนนี้ชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกและสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบฐานในปีก่อนสูง เพราะเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ลดลง ร้อยละ 8.7 อย่างไรก็ตาม อัตราการเข้าพักโรงแรมในเดือนนี้คงอยู่ในเกณฑ์ดีโดยอยู่ที่ร้อยละ 61.6 ซึ่งเป็นผลจากนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และการเปิดสายการบินต้นทุนต่ำ ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น
การอุปโภคบริโภค
การใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นผลจากราคาพืชเศรษฐกิจหลักอยู่ในเกณฑ์ดี โดยสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.1 และอุปสงค์ต่อสินค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์คงขยายตัวในอัตราสูง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่ำ การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ และกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา โดยการวางเงินดาว์นน้อย ผ่อนชำระนาน และการให้บริการหลังการขาย
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ขยายตัวดีมาตั้งแต่ปีก่อน ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ โดยเดือนนี้มีพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.0 และโครงการที่ได้รับอนุมติส่งเสริมการลงทุนมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนถึง 30 เท่า
การจ้างงาน
จากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรในเดือนมกราคม 2546 ภาคใต้มีอัตราว่างงาน ร้อยละ 1.9 และจากสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่งผลกระทบให้เกิดการปัญหาการขาดแคลนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากแรงงานจากภูมิภาคอื่นมีความกังวล ไม่ต้องการย้ายมาทำงานในภาคใต้ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายกำลังการผลิตของผู้ประกอบการ
ระดับราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงคือ หมวดข้าวแป้ง ผลิตภัณฑ์จากแป้ง และผักสดและผลไม้
การค้าต่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง แม้ได้รับผลกระทบค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการค้ารวมในเดือนนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 เป็น 775.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการส่งออกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.5 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้ายางพารา เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ถุงมือยาง และสัตว์น้ำ และการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.1 ตามการนำเข้าเครื่องจักร และเครื่องประมวลผลข้อมูล เป็นสำคัญ
การคลัง
ในเดือนนี้ สำนักงานคลังจังหวัดในภาคใต้จ่ายเงินงบประมาณให้กับส่วนราชการเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.0 โดยในช่วง 5 เดือนของปีงบประมาณ 2547 มีการเบิกจ่ายงบประมาณแล้วร้อยละ 69.9 ของเงินที่ภาคใต้ได้รับการจัดสรร ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 เป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ภาษีจากฐานการบริโภคและฐานรายได้เพิ่มขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของภาษีสรรพากรและสรรพสามิต เป็นสำคัญ
ภาคการเงิน
เงินฝากคงค้างของธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อเพื่อการผลิตและการส่งออก และสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ด้านธุรกรรมของธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน มียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.8 และ 4.2 ตามลำดับ ขณะเดียวกันธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยมียอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.9 ตามการขยายตัวของการส่งออก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคใต้--
-ยก-