การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ เริ่มเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม ก่อนที่จะมีการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หารือในเรื่องต่าง ๆ ต่อที่ประชุม เมื่อครบองค์ประชุมแล้วประธานได้ดำเนินการตามระเบียบวาระที่ ๑ กระทู้ถาม ซึ่งไม่มี และวาระที่ ๒ เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม เป็นเรื่องรับทราบ
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าประกาศแต่งตั้งประธานคณะกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติตามคำแนะนำของวุฒิสภาดังนี้
๑. พลตำรวจเอก วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ ประธานกรรมการ
๒. นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการ
๓. นายวิเชียร วิริยะประสิทธิ์ กรรมการ
๔. นายประดิษฐ์ ทรงฤกษ์ กรรมการ
๕. นายยงยุทธ กปิลกาญจน์ กรรมการ
๖. นายชิดชัย พานิชพัฒน์ กรรมการ
๗. นายเชาว์ อรรถมานะ กรรมการ
วาระที่ ๓ รับรองรายงานการประชุม ซึ่งไม่มี จากนั้นที่ประชุมได้นำเรื่องด่วนที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาซึ่งค้างมาจากการพิจารณาของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ จำนวน ๒ เรื่อง คือ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประธานฯ จึงขอมติที่ประชุมว่าจะอนุมัติพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับหรือไม่ ผลปรากฏว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบอนุมัติ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ ด้วยคะแนน ๒๘๖ เสียง ไม่เห็นชอบ ๖๔ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง ไม่ลงคะแนน ๑ เสียง จากนั้นเห็นชอบอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ด้วยคะแนน ๒๘๖ เสียง ไม่เห็นชอบ ๖๓ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง
จากนั้นที่ประชุมพิจารณาวาระ ๒ เรื่องด่วนที่ ๓ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว เริ่มพิจารณาจากชื่อร่าง คำปรารภเรียงลำดับมาตรา โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายได้เฉพาะถ้อยคำที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือกรณีการสงวน คำแปรญัตติหรือกรรมาธิการสงวนความเห็นไว้เท่านั้น นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ ประธานคณะ
กรรมาธิการวิสามัญฯ ได้แถลงผลการพิจารณาว่าเป็นการแก้ไของค์ประกอบโครงสร้างของคณะกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์และถ้อยคำบางถ้อยคำเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้มีความสมบูรณ์ในร่างกฎหมาย โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งคำถามต่อคณะกรรมาธิการฯ จำนวน ๒ มาตรา ดังนี้ คือ
๑. มาตรา ๑๔ อนุ ๑/๑ ว่าด้วยกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์เหตุกำหนดไว้เพียง ๕ คน และเสนอให้เพิ่มเติมคำว่า "เป็น" หลังคำว่า "ซึ่ง" จากความเดิมให้เป็น "กรรมการซึ่งเป็นคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ หรือคณบดีที่เรียกชื่ออย่างอื่นหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งขึ้นแห่งละหนึ่งคน เลือกกันเองให้เหลือห้าคน"
๒. มาตรา ๕๔ ที่อนุญาตให้ผู้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิคการแพทย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ และใบอนุญาตเดิมนั้นยังคงใช้ได้ จะส่งผลกระทบในทางลบหรือไม่อย่างไร
ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ตอบข้อซักถามสำหรับมาตรา ๑๔ ว่า ต้องการกำหนดจำนวน ผู้แทนที่จะเป็นกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์ให้คงที่ เพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนบุคคลที่เกิดจากการก่อตั้งสถาบันผลิตบัณฑิตสาขาเทคนิคการแพทย์เพิ่มขึ้นในอนาคตและในเรื่องการต่ออายุผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์นั้น หากกฎหมายมีผลบังคับใช้คณะกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์มีหน้าที่ต้องเป็น
ผู้พิจารณาแนวทางรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์มาก่อนกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้ จากนั้นที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเทคนิคการแพทย์ด้วยคะแนน ๓๑๘ เสียง ไม่เห็นชอบ ๒ เสียง
ต่อมาเป็นการพิจารณาวาระที่ ๒ เรื่องด่วนที่ ๔ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ รองประธานคณะ
กรรมาธิการฯ ได้แถลงผลการพิจารณาต่อที่ประชุม ที่กำหนดเวลาในการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยไม่มีผู้เสนอคำแปรญัตติ แต่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายเกี่ยวกับคณะกรรมการสภาวิชาชีพกายภาพบำบัด โดยขอให้เพิ่มเติมคำว่า "เป็น" หลังคำว่า "ซึ่ง" จากความเดิมให้เป็น "กรรมการซึ่งเป็นคณบดีคณะกายภาพบำบัดหรือคณบดีคณะที่เรียกชื่ออย่างอื่นหรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัด ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาให้จัดตั้งขึ้นแห่งละหนึ่งคนเลือกกันเองให้เหลือห้าคน"
สำหรับมาตรา ๒๗ เกี่ยวกับเหตุผลการตัดถ้อยคำ "หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิเป็นผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว" ออกจากร่างพระราชบัญญัติเดิม คือ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็น
ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดทำการประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดหรือแสดงด้วยวิธีการกายภาพบำบัดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว
ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่าเป็นการทำกายภาพบำบัดกับการแสดงด้วยวิธีกายภาพบำบัดมีโทษที่แตกต่างกันจึงตัดถ้อยคำดังกล่าว ออกไปแต่ได้ไปเพิ่มรายละเอียดไว้ในมาตรา ๒๙ นอกจากนี้ส่วนที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัติเดิมที่ว่า "ผู้ทำกายภาพบำบัดต้องให้การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ตามธรรมจรรยา" มาเป็นผู้ทำกายภาพบำบัดต้องให้การ ช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ตามมนุษยธรรม" นั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายว่าเป็นถ้อยคำที่มีความหมายกว้างเกินไป ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ เห็นชอบกับการอภิปรายให้คงถ้อยคำตามที่สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรเสนอให้คงไว้ตามร่างเดิม
และในมาตรา ๕๔ บทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการอนุญาตให้ผู้ที่มีใบอนุญาตก่อนหน้าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ให้เป็นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนไปพร้อมกันด้วย ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วย ซึ่งร่างพระราชบัญญัติเดิมมิได้กำหนดเช่นนี้ จึงขอให้กลับไปใช้ถ้อยคำตามร่างเดิม ซึ่งกรรมาธิการฯ ได้เห็นชอบตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ภายหลังการ
อภิปรายที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ ๓๓๖ เสียง พร้อมทั้งมีมติเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่เกี่ยวกับการกำหนดเวลาพักใบอนุญาตกรณีที่
ผู้ประกอบวิชาชีพประพฤติผิดจรรยาบรรณควรมีการกำหนดพักใช้ให้เหมาะสมกับพฤติการณ์หรือการกระทำความผิดของผู้ถูกสั่งพักใบอนุญาตด้วยเพื่อให้การสั่งพักใบอนุญาตมีผลบังคับจริงในการปฏิบัติ โดยประธานฯ จะส่งข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรีต่อไป
ลำดับต่อมาเป็นการพิจารณาวาระที่ ๒ เรื่องด่วนที่ ๕ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้แถลงผลการพิจารณาว่าไม่มีกรรมาธิการเสนอคำแปรญัตติและไม่มีการแก้ไขถ้อยคำที่ประชุมจึงลงมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ดวยด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ ๓๑๖ เสียง
จากนั้นเป็นการพิจารณาวาระที่ ๒ เรื่องด่วนที่ ๖ ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ประธานกรรมาธิการฯ ได้แถลงผลการพิจารณาต่อที่ประชุม โดยไม่มีผู้แปรญัตติซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีข้อ คำถามเฉพาะกรณีการตัดถ้อยคำ "และ" ในมาตรา ๔ ของร่างพระราชบัญญัติจึงควรตัดคำว่า "หรือ" ด้วย จากความเดิมที่ว่า "ผู้ประกอบวิชาชีพ หมายความว่า ผู้ประกอบการโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
พยาบาล ผดุงครรภ์ ทันตกรรม เภสัชกรรม กายภาพบำบัด และเทคนิคการแพทย์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ให้เหตุผลว่ายังคงคำว่า "หรือ" ไว้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้อยู่ปัจจุบันซึ่งมีคำว่า "หรือ" อยู่ด้วย จากนั้นที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ ๓๒๖ เสียง
ต่อจากนั้น นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เสนอให้เลื่อนระเบียบวาระการประชุมร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วขึ้นมาพิจารณาก่อน โดย พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร ได้แถลงผลการพิจารณาว่าได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแสดงความคิดเห็นประกอบด้วย สำนักปลัดกลาโหม
กองบัญชาการทหารสูงสุด สมุหราชองครักษ์ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กรมการเงินกลาโหม
กรมพระธรรมนูญ กรมเสมียนตรา ซึ่งไม่มีผู้เสนอคำแปรญัตติ ที่ประชุมจึงลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ๓๒๐ เสียง ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง
ลำดับต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาวาระที่ ๒ ของร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดย
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ซึ่งได้รับมอบหมายนายวิษณุ เครืองาม ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ให้เป็นผู้แถลงผลการพิจารณา โดยไม่มีกรรมาธิการสงวนความเห็นและมีผู้เสนอขอแปรญัตติ ๑ คน ทั้งนี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ซึ่งมีรายละเอียดแนบมาท้ายบันทึกหลักการและเหตุผล โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาแล้วเห็นว่า คำแปรญัตติของบุคคลดังกล่าวในรายการที่ ๑, ๒ และ ๓ ขัดต่อข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อที่ ๑๑๐ วรรคสาม จึงมีมติไม่เห็นด้วยกับคำแปรญัตติดังกล่าวของผู้แปรญัตติ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนน ๓๑๔ เสียง งดออกเสียง ๑๑ เสียง
พร้อมทั้งไม่เห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กรณีเกิดความ
คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ "ชื่อ" สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในหลักการและเหตุผล หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางแล้วที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบด้วยคะแนน ๓๖๔ เสียง เห็นด้วย ๖ เสียง งดออกเสียง ๑๑ เสียง ดังนั้นร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่มี ข้อสังเกตที่จะส่งไปให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา
วาระสุดท้ายก่อนปิดการประชุมได้พิจารณาเพื่อรับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกัน ๓ ฉบับ ซึ่งเสนอโดย
๑. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ
๒. นายศรคม ฦาชา กับนายอมรเทพ สมหมาย
๓. นายภิญโญ นิโรจน์ กับนายวิทยา คุณปลื้ม
ประธานฯ จึงขอให้ยกมาพิจารณาไปในคราวเดียวกัน โดยนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวถึงเหตุผลการเสนอกฎหมายนี้เพื่อต้องการให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาด้านพลศึกษาระดับปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล สามารถดำเนินกิจการได้อย่างอิสระ พัฒนาระบบบริหารการจัดการเป็นของตนเองมีความคล่องตัว ซึ่งร่าง
พระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอื่น ๆ มีเหตุผลไปในแนวทางเดียวกัน จึงมีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในหลายประเด็นอาทิ ความไม่ชัดเจนในเรื่องการปฎิรูปการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ
การบริหารงานด้านการศึกษาแยกไปอยู่ในหลายกระทรวงทำให้ขาดความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษา รวมทั้งแนวทางการวิจัย เพื่อพัฒนาการกีฬาให้สามารถสร้างชื่อเสียงให้ประเทศได้ทัดเทียมกับต่างประเทศ และยังส่งเสริมให้พลเมืองมีวินัย การเคารพกฎกติกาของสังคมและทำให้สุขภาพแข็งแรง เป็นประชากรที่มีคุณภาพ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีความเห็นที่สอดคล้องกันทั้งหมดจึงมีมติเห็นชอบรับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันการศึกษา พ.ศ. …. ทั้ง ๔ ฉบับ ด้วยคะแนน ๓๒๙ เสียง โดยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาจำนวน ๓๕ คน ภายใน ๗ วัน
ปิดการประชุมเวลา ๑๙.๒๕ นาฬิกา
----------------------------------------
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าประกาศแต่งตั้งประธานคณะกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติตามคำแนะนำของวุฒิสภาดังนี้
๑. พลตำรวจเอก วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ ประธานกรรมการ
๒. นายวิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการ
๓. นายวิเชียร วิริยะประสิทธิ์ กรรมการ
๔. นายประดิษฐ์ ทรงฤกษ์ กรรมการ
๕. นายยงยุทธ กปิลกาญจน์ กรรมการ
๖. นายชิดชัย พานิชพัฒน์ กรรมการ
๗. นายเชาว์ อรรถมานะ กรรมการ
วาระที่ ๓ รับรองรายงานการประชุม ซึ่งไม่มี จากนั้นที่ประชุมได้นำเรื่องด่วนที่มีมติให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาซึ่งค้างมาจากการพิจารณาของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพุธที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๗ จำนวน ๒ เรื่อง คือ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ และ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประธานฯ จึงขอมติที่ประชุมว่าจะอนุมัติพระราชกำหนดทั้ง ๒ ฉบับหรือไม่ ผลปรากฏว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบอนุมัติ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ ด้วยคะแนน ๒๘๖ เสียง ไม่เห็นชอบ ๖๔ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง ไม่ลงคะแนน ๑ เสียง จากนั้นเห็นชอบอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ ด้วยคะแนน ๒๘๖ เสียง ไม่เห็นชอบ ๖๓ เสียง งดออกเสียง ๒ เสียง ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง
จากนั้นที่ประชุมพิจารณาวาระ ๒ เรื่องด่วนที่ ๓ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว เริ่มพิจารณาจากชื่อร่าง คำปรารภเรียงลำดับมาตรา โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายได้เฉพาะถ้อยคำที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือกรณีการสงวน คำแปรญัตติหรือกรรมาธิการสงวนความเห็นไว้เท่านั้น นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ ประธานคณะ
กรรมาธิการวิสามัญฯ ได้แถลงผลการพิจารณาว่าเป็นการแก้ไของค์ประกอบโครงสร้างของคณะกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์และถ้อยคำบางถ้อยคำเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้มีความสมบูรณ์ในร่างกฎหมาย โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตั้งคำถามต่อคณะกรรมาธิการฯ จำนวน ๒ มาตรา ดังนี้ คือ
๑. มาตรา ๑๔ อนุ ๑/๑ ว่าด้วยกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์เหตุกำหนดไว้เพียง ๕ คน และเสนอให้เพิ่มเติมคำว่า "เป็น" หลังคำว่า "ซึ่ง" จากความเดิมให้เป็น "กรรมการซึ่งเป็นคณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ หรือคณบดีที่เรียกชื่ออย่างอื่นหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตเทคนิคการแพทย์ ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการให้จัดตั้งขึ้นแห่งละหนึ่งคน เลือกกันเองให้เหลือห้าคน"
๒. มาตรา ๕๔ ที่อนุญาตให้ผู้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิคการแพทย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ และใบอนุญาตเดิมนั้นยังคงใช้ได้ จะส่งผลกระทบในทางลบหรือไม่อย่างไร
ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ตอบข้อซักถามสำหรับมาตรา ๑๔ ว่า ต้องการกำหนดจำนวน ผู้แทนที่จะเป็นกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์ให้คงที่ เพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนบุคคลที่เกิดจากการก่อตั้งสถาบันผลิตบัณฑิตสาขาเทคนิคการแพทย์เพิ่มขึ้นในอนาคตและในเรื่องการต่ออายุผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์นั้น หากกฎหมายมีผลบังคับใช้คณะกรรมการสภาเทคนิคการแพทย์มีหน้าที่ต้องเป็น
ผู้พิจารณาแนวทางรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์มาก่อนกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้ จากนั้นที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเทคนิคการแพทย์ด้วยคะแนน ๓๑๘ เสียง ไม่เห็นชอบ ๒ เสียง
ต่อมาเป็นการพิจารณาวาระที่ ๒ เรื่องด่วนที่ ๔ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ รองประธานคณะ
กรรมาธิการฯ ได้แถลงผลการพิจารณาต่อที่ประชุม ที่กำหนดเวลาในการแปรญัตติภายใน ๗ วัน โดยไม่มีผู้เสนอคำแปรญัตติ แต่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายเกี่ยวกับคณะกรรมการสภาวิชาชีพกายภาพบำบัด โดยขอให้เพิ่มเติมคำว่า "เป็น" หลังคำว่า "ซึ่ง" จากความเดิมให้เป็น "กรรมการซึ่งเป็นคณบดีคณะกายภาพบำบัดหรือคณบดีคณะที่เรียกชื่ออย่างอื่นหรือหัวหน้าภาควิชาที่ผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัด ในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาให้จัดตั้งขึ้นแห่งละหนึ่งคนเลือกกันเองให้เหลือห้าคน"
สำหรับมาตรา ๒๗ เกี่ยวกับเหตุผลการตัดถ้อยคำ "หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิเป็นผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว" ออกจากร่างพระราชบัญญัติเดิม คือ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็น
ผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดทำการประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดหรือแสดงด้วยวิธีการกายภาพบำบัดให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว
ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่าเป็นการทำกายภาพบำบัดกับการแสดงด้วยวิธีกายภาพบำบัดมีโทษที่แตกต่างกันจึงตัดถ้อยคำดังกล่าว ออกไปแต่ได้ไปเพิ่มรายละเอียดไว้ในมาตรา ๒๙ นอกจากนี้ส่วนที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัติเดิมที่ว่า "ผู้ทำกายภาพบำบัดต้องให้การช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ตามธรรมจรรยา" มาเป็นผู้ทำกายภาพบำบัดต้องให้การ ช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ ตามกฎหมาย ตามมนุษยธรรม" นั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายว่าเป็นถ้อยคำที่มีความหมายกว้างเกินไป ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ เห็นชอบกับการอภิปรายให้คงถ้อยคำตามที่สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรเสนอให้คงไว้ตามร่างเดิม
และในมาตรา ๕๔ บทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการอนุญาตให้ผู้ที่มีใบอนุญาตก่อนหน้าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ให้เป็นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนไปพร้อมกันด้วย ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะส่งผลต่อการรักษาผู้ป่วย ซึ่งร่างพระราชบัญญัติเดิมมิได้กำหนดเช่นนี้ จึงขอให้กลับไปใช้ถ้อยคำตามร่างเดิม ซึ่งกรรมาธิการฯ ได้เห็นชอบตามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ภายหลังการ
อภิปรายที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ ๓๓๖ เสียง พร้อมทั้งมีมติเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ที่เกี่ยวกับการกำหนดเวลาพักใบอนุญาตกรณีที่
ผู้ประกอบวิชาชีพประพฤติผิดจรรยาบรรณควรมีการกำหนดพักใช้ให้เหมาะสมกับพฤติการณ์หรือการกระทำความผิดของผู้ถูกสั่งพักใบอนุญาตด้วยเพื่อให้การสั่งพักใบอนุญาตมีผลบังคับจริงในการปฏิบัติ โดยประธานฯ จะส่งข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรีต่อไป
ลำดับต่อมาเป็นการพิจารณาวาระที่ ๒ เรื่องด่วนที่ ๕ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้แถลงผลการพิจารณาว่าไม่มีกรรมาธิการเสนอคำแปรญัตติและไม่มีการแก้ไขถ้อยคำที่ประชุมจึงลงมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ดวยด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ ๓๑๖ เสียง
จากนั้นเป็นการพิจารณาวาระที่ ๒ เรื่องด่วนที่ ๖ ร่างพระราชบัญญัติสถานพยาบาล (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ประธานกรรมาธิการฯ ได้แถลงผลการพิจารณาต่อที่ประชุม โดยไม่มีผู้แปรญัตติซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีข้อ คำถามเฉพาะกรณีการตัดถ้อยคำ "และ" ในมาตรา ๔ ของร่างพระราชบัญญัติจึงควรตัดคำว่า "หรือ" ด้วย จากความเดิมที่ว่า "ผู้ประกอบวิชาชีพ หมายความว่า ผู้ประกอบการโรคศิลปะ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
พยาบาล ผดุงครรภ์ ทันตกรรม เภสัชกรรม กายภาพบำบัด และเทคนิคการแพทย์ หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้ให้เหตุผลว่ายังคงคำว่า "หรือ" ไว้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้อยู่ปัจจุบันซึ่งมีคำว่า "หรือ" อยู่ด้วย จากนั้นที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ ๓๒๖ เสียง
ต่อจากนั้น นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เสนอให้เลื่อนระเบียบวาระการประชุมร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วขึ้นมาพิจารณาก่อน โดย พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร ได้แถลงผลการพิจารณาว่าได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแสดงความคิดเห็นประกอบด้วย สำนักปลัดกลาโหม
กองบัญชาการทหารสูงสุด สมุหราชองครักษ์ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กรมการเงินกลาโหม
กรมพระธรรมนูญ กรมเสมียนตรา ซึ่งไม่มีผู้เสนอคำแปรญัตติ ที่ประชุมจึงลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง ๓๒๐ เสียง ไม่ลงคะแนน ๒ เสียง
ลำดับต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาวาระที่ ๒ ของร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ ….) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว โดย
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ซึ่งได้รับมอบหมายนายวิษณุ เครืองาม ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ให้เป็นผู้แถลงผลการพิจารณา โดยไม่มีกรรมาธิการสงวนความเห็นและมีผู้เสนอขอแปรญัตติ ๑ คน ทั้งนี้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ซึ่งมีรายละเอียดแนบมาท้ายบันทึกหลักการและเหตุผล โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาแล้วเห็นว่า คำแปรญัตติของบุคคลดังกล่าวในรายการที่ ๑, ๒ และ ๓ ขัดต่อข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อที่ ๑๑๐ วรรคสาม จึงมีมติไม่เห็นด้วยกับคำแปรญัตติดังกล่าวของผู้แปรญัตติ จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนน ๓๑๔ เสียง งดออกเสียง ๑๑ เสียง
พร้อมทั้งไม่เห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ กรณีเกิดความ
คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ "ชื่อ" สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในหลักการและเหตุผล หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางแล้วที่ประชุมมีมติไม่เห็นชอบด้วยคะแนน ๓๖๔ เสียง เห็นด้วย ๖ เสียง งดออกเสียง ๑๑ เสียง ดังนั้นร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่มี ข้อสังเกตที่จะส่งไปให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา
วาระสุดท้ายก่อนปิดการประชุมได้พิจารณาเพื่อรับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ. …. ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกัน ๓ ฉบับ ซึ่งเสนอโดย
๑. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร กับคณะ
๒. นายศรคม ฦาชา กับนายอมรเทพ สมหมาย
๓. นายภิญโญ นิโรจน์ กับนายวิทยา คุณปลื้ม
ประธานฯ จึงขอให้ยกมาพิจารณาไปในคราวเดียวกัน โดยนายสุธรรม แสงประทุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กล่าวถึงเหตุผลการเสนอกฎหมายนี้เพื่อต้องการให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาด้านพลศึกษาระดับปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล สามารถดำเนินกิจการได้อย่างอิสระ พัฒนาระบบบริหารการจัดการเป็นของตนเองมีความคล่องตัว ซึ่งร่าง
พระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอื่น ๆ มีเหตุผลไปในแนวทางเดียวกัน จึงมีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในหลายประเด็นอาทิ ความไม่ชัดเจนในเรื่องการปฎิรูปการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ
การบริหารงานด้านการศึกษาแยกไปอยู่ในหลายกระทรวงทำให้ขาดความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษา รวมทั้งแนวทางการวิจัย เพื่อพัฒนาการกีฬาให้สามารถสร้างชื่อเสียงให้ประเทศได้ทัดเทียมกับต่างประเทศ และยังส่งเสริมให้พลเมืองมีวินัย การเคารพกฎกติกาของสังคมและทำให้สุขภาพแข็งแรง เป็นประชากรที่มีคุณภาพ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีความเห็นที่สอดคล้องกันทั้งหมดจึงมีมติเห็นชอบรับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันการศึกษา พ.ศ. …. ทั้ง ๔ ฉบับ ด้วยคะแนน ๓๒๙ เสียง โดยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาจำนวน ๓๕ คน ภายใน ๗ วัน
ปิดการประชุมเวลา ๑๙.๒๕ นาฬิกา
----------------------------------------