นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 8 (8th ASEAN Finance Ministers Meeting: AFMM) ระหว่าง วันที่ 6-7 เมษายน 2547 ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งคณะผู้แทนไทยที่เข้าประชุมประกอบด้วยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายวีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการคลัง และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงการคลังกับผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผลสรุปการประชุมมีสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค
เลขาธิการอาเซียนได้รายงานภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคในช่วงที่ผ่านมาว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2546 ของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 5 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2545 ที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ถึงแม้ประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้รับผลกระทบจาก สงครามอิรัก และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome หรือ SARS) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2546 อยู่ในระดับที่สูงกว่าการขยายตัวของอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกอาเซียน และการขยายตัวของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งภูมิภาค
ประเทศไทยได้รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมต่อที่ประชุมโดยแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2546 ในอัตราร้อยละ 6.7 และปี 2547 คาดการณ์อยู่ระหว่างร้อยละ 7.7- 8.1 เนื่องจาก การขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกที่มีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งรายงานดังกล่าวได้นำผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกในช่วงต้นปี 2547 มาพิจารณาด้วยแล้ว ซึ่งสมาชิกอาเซียนเห็นพ้องกันว่าโรคไข้หวัดนกส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
2. แนวทางการรวมตัวทางการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน (Roadmap for Integration of ASEAN in Finance: RIA-fin)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามแนวทางการรวมตัวทางการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ด้านการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ด้านการเปิดเสรีบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย การพัฒนาตลาดทุนอาเซียน และความร่วมมือด้านอัตราแลกเปลี่ยนอาเซียน ซึ่งมีความคืบหน้าและมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นที่น่าพอใจ
3. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI)
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าของ CMI ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2543 โดยมุ่งเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความตกลงทวิภาคีแลกเปลี่ยนเงินตรา (Bilateral Swap Arrangement: BSA) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการลงนามสัญญา BSA แล้วทั้งสิ้น 16 สัญญา ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศสมาชิก + 3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) รวมวงเงินทั้งสิ้น 36.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยที่ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศแรกที่ได้ลงนามสัญญา BSA กับประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ครบทั้ง 3 ประเทศนอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาทบทวนเงื่อนไขหลักของความตกลงตามมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ซึ่งดำเนินการมาครบ 3 ปีแล้ว โดยเฉพาะให้พิจารณาปรับปรุงข้อจำกัดในการเบิกถอนวงเงินที่ต้องผูกพันกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น โดยมีกำหนดให้คณะทำงานดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2547
4. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ได้พิจารณาความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเซีย โดยได้มีการพิจารณาผลการดำเนินงานของคณะทำงานด้านต่างๆ และประเทศไทยในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาแนวทางพัฒนาตราสารหนี้ชนิดใหม่ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงแนวทางการดำเนินการของประเทศไทยในการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทเป็นมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยจะพิจารณายกเว้นการจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในพันธบัตร อย่างแพร่หลายมากขึ้น และได้ชักชวนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมดำเนินการในลักษณะเดียวกันด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาแนวทางความร่วมมือในการเชื่อมโยงตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสมาชิกอาเซียนและเห็นชอบให้มีการจัดทำ Roadshow รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ในช่วงก่อนการประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี และ นิวยอร์ก ในช่วงปลายเดือน กันยายน 2547 เพื่อเชิญชวนให้นักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น นอกจากนี้ เนื่องในโอกาสที่ประเทศสิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปี ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในปี 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนจะร่วมมือกันเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของอาเซียน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 24/2547 8 เมษายน 2547--
-นท-
1. ภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค
เลขาธิการอาเซียนได้รายงานภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคในช่วงที่ผ่านมาว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2546 ของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 5 ซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2545 ที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ถึงแม้ประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้รับผลกระทบจาก สงครามอิรัก และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome หรือ SARS) อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนในปี 2546 อยู่ในระดับที่สูงกว่าการขยายตัวของอุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกอาเซียน และการขยายตัวของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งภูมิภาค
ประเทศไทยได้รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมต่อที่ประชุมโดยแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2546 ในอัตราร้อยละ 6.7 และปี 2547 คาดการณ์อยู่ระหว่างร้อยละ 7.7- 8.1 เนื่องจาก การขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกที่มีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งรายงานดังกล่าวได้นำผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกในช่วงต้นปี 2547 มาพิจารณาด้วยแล้ว ซึ่งสมาชิกอาเซียนเห็นพ้องกันว่าโรคไข้หวัดนกส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
2. แนวทางการรวมตัวทางการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน (Roadmap for Integration of ASEAN in Finance: RIA-fin)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามแนวทางการรวมตัวทางการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ด้านการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ด้านการเปิดเสรีบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย การพัฒนาตลาดทุนอาเซียน และความร่วมมือด้านอัตราแลกเปลี่ยนอาเซียน ซึ่งมีความคืบหน้าและมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนเป็นที่น่าพอใจ
3. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI)
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าของ CMI ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2543 โดยมุ่งเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความตกลงทวิภาคีแลกเปลี่ยนเงินตรา (Bilateral Swap Arrangement: BSA) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการลงนามสัญญา BSA แล้วทั้งสิ้น 16 สัญญา ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศสมาชิก + 3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) รวมวงเงินทั้งสิ้น 36.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยที่ประเทศไทยเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศแรกที่ได้ลงนามสัญญา BSA กับประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ครบทั้ง 3 ประเทศนอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาทบทวนเงื่อนไขหลักของความตกลงตามมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ซึ่งดำเนินการมาครบ 3 ปีแล้ว โดยเฉพาะให้พิจารณาปรับปรุงข้อจำกัดในการเบิกถอนวงเงินที่ต้องผูกพันกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น โดยมีกำหนดให้คณะทำงานดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2547
4. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ได้พิจารณาความคืบหน้าในการดำเนินมาตรการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเซีย โดยได้มีการพิจารณาผลการดำเนินงานของคณะทำงานด้านต่างๆ และประเทศไทยในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาแนวทางพัฒนาตราสารหนี้ชนิดใหม่ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงแนวทางการดำเนินการของประเทศไทยในการออกพันธบัตรสกุลเงินบาทเป็นมูลค่าประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยจะพิจารณายกเว้นการจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในพันธบัตร อย่างแพร่หลายมากขึ้น และได้ชักชวนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมดำเนินการในลักษณะเดียวกันด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาแนวทางความร่วมมือในการเชื่อมโยงตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสมาชิกอาเซียนและเห็นชอบให้มีการจัดทำ Roadshow รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ในช่วงก่อนการประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี และ นิวยอร์ก ในช่วงปลายเดือน กันยายน 2547 เพื่อเชิญชวนให้นักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น นอกจากนี้ เนื่องในโอกาสที่ประเทศสิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปี ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในปี 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนจะร่วมมือกันเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของอาเซียน
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 24/2547 8 เมษายน 2547--
-นท-