ภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือโดยรวมในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ยังขยายตัว แม้ว่าข่าวการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่จะกระทบความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักท่องเที่ยวต่างชาติบ้าง แต่การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนยังขยายตัวในเกณฑ์ดีและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อน สำหรับภาคการผลิต ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวดีตามความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นสำคัญ ขณะที่ภาคบริการจำนวนนักท่องเที่ยวไทยยังขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่สำหรับรายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักลดลงตามราคาสินค้าเกษตรที่ลดลง ส่วนระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวขึ้นแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ด้านเงินฝากและสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง จากการถอนเงินฝากไปลงทุนในหลักทรัพย์และชำระคืนสินเชื่อ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญของภาคเหนือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน พืชผลหลักที่เพิ่มขึ้นได้แก่ อ้อยและหอมหัวใหญ่ โดยผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และร้อยละ 66.5 ตามลำดับ จากการขยายพื้นที่เพาะปลูกตามการส่งเสริมของโรงงานน้ำตาลและแรงจูงใจของราคา ขณะที่ผลผลิตหอมแดง กระเทียมและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ร้อยละ 11.0 และร้อยละ 11.8 ตามลำดับ จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีราคาสินค้าพืชผลหลักที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ยลดลงร้อยละ 10.1 เนื่องจากราคาพืชผักสำคัญ ได้แก่ กระเทียม หอมแดงและหอมหัวใหญ่ลดลงมากถึงร้อยละ 47.4 ร้อยละ 41.1 และร้อยละ 79.7 ตามลำดับ จากการที่ต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากประเทศจีนที่มีราคาต่ำกว่า ประกอบกับผลผลิตปีนี้เพิ่มขึ้น ทำให้รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักในภาคเหนือลดลงร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่ ทำให้ยอดขายไก่เนื้อและไข่ไก่ลดลงมากต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือนก่อน อย่างไรก็ดีผู้บริโภคกลับมาบริโภคเนื้อและไข่ไก่หลังการรณรงค์บริโภคไก่และไข่ของรัฐบาล โดยการบริโภคไข่ไก่ฟื้นตัวเร็วกว่าเนื้อไก่
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือยังขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน มูลค่าการผลิตและส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.8 เป็น 127.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามความต้องการสินค้าเทคโนโลยีใหม่ของตลาดต่างประเทศ ส่วนการผลิตน้ำตาลฤดูเก็บเกี่ยวอ้อยปีการผลิต 2546/47 ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.6 เป็น 501.8 พันเมตริกตัน จากผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้นและการรณรงค์ลดการเผาอ้อยก่อนตัดทำให้ปริมาณอ้อยไฟไหม้ลดลง ขณะที่ผลผลิตสังกะสีลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 เหลือ 8,320 เมตริกตัน
3. ภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวไทยขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีจากภาวะอากาศยังหนาวเย็น หมีแพนด้า และการเพิ่มเส้นทางการคมนาคมทางอากาศที่มีราคาถูก (Low Fare Airline) สำหรับการเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกมีผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม อาทิ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน ชาวฮ่องกง กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นมากที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่และท่าอากาศยานพิษณุโลก ร้อยละ 21.9 และร้อยละ 10.2 ตามลำดับ ด้านอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 62.6 ลดลงจาก 69.5 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับราคาห้องพักเฉลี่ยลดลงจาก 939.5 บาทต่อห้อง เหลือ 930.5 บาทต่อห้อง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี การใช้จ่ายเพื่อซื้อยานยนต์แม้ว่าจะอ่อนตัวลงแต่ก็นับว่าอยู่ในระดับดีเพราะได้รับประโยชน์จากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ แรงจูงใจจากเงื่อนไขการผ่อนชำระ และการส่งเสริมการขาย ยอดจดทะเบียนรถยนต์อยู่ในเกณฑ์ดีและเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.2 โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวเกือบทุกจังหวัด ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 สำหรับการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนในเดือนมกราคม 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.1 เร่งตัวเมื่อเทียบกับอัตราเพิ่มร้อยละ 4.9 เดือนก่อน
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนชะลอลงตามการก่อสร้างขณะที่การลงทุนเพื่อการผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี การลงทุนก่อสร้างชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาเหล็กเส้น อีกทั้งเป็นผลจากการที่เร่งก่อสร้างในช่วงก่อนหน้า สำหรับพื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาลของภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 43.9 ตามการลดลงของพื้นที่ก่อสร้างทุกประเภท ขณะที่ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินเริ่มกลับสู่ปกติหลังจากที่มีการเร่งทำธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ในปลายปีก่อน โดยมีมูลค่า 31.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ด้านการลงทุนเพื่อการผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี จากมูลค่านำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรกลและส่วนประกอบที่อยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 66.0 โดยมูลค่านำเข้ากว่าครึ่งเป็นการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น รองลงมาคือ ไต้หวัน มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกาตามลำดับ ขณะที่โรงงานจดทะเบียนตั้งใหม่มีจำนวน 41 โรงงาน เงินลงทุน 335 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.4 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมการเกษตร
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลผ่านสำนักงานคลังจังหวัดและคลังอำเภอในภาคเหนือเร่งตัวขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.3 เป็น 9,206.1 ล้านบาท และเพิ่มมากในหมวดเงินอุดหนุนแก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นโดยเพิ่มจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว และเพิ่มขึ้นเกือบทุกจังหวัด สำหรับการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 32.6 เป็น 1,005.5 ล้านบาท เพิ่มมากจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งเพิ่มกว่า 2 เท่าตัว ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 35.5 และร้อยละ 18.0 ตามลำดับ ทำให้ดุลในงบประมาณขาดดุล 8,200.7 ล้านบาท เทียบกับ 7,365.7 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.9 เป็น 169.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 ตามการส่งออกสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.8 เป็น 127.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากความต้องการสินค้าเทคโนโลยีใหม่ โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น คือ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา สายไฟและเคเบิ้ล ทรานสฟอร์เมอร์ มอเตอร์ และอัญมณี ขณะที่การส่งออกอุปกรณ์กีฬา หนังและผลิตภัณฑ์หนัง ลดลง ด้านการส่งออกสินค้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 เป็น 10.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกผลิตภัณฑ์จากพืช สินค้าเกษตรแปรรูป ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และอัญมณี เป็นสำคัญ ขณะที่ส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้และเซรามิกลดลง
ส่วนการส่งออกชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.7 เป็น 31.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 27.7 โดยการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 25.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่ทางการพม่าผ่อนคลายความเข้มงวดในการนำสินค้าเข้า ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โลหะขั้นมูลฐาน น้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง ส่วนการส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 4.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสามารถส่งออกสินค้าผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมาก โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว ขณะที่การส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 18.4 เป็น 1.7 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.7 เป็น 110.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นการนำเข้าสินค้าของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7 เป็น 103.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยนำเข้าเครื่องจักรตัดต่อวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลอื่นเพิ่มขึ้นมาก รองลงมากคืออัญมณี ผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่นำเข้าจาก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอิสราเอล เพิ่มขึ้น ขณะที่การนำเข้าจากอเมริกา และเกาหลีใต้ ลดลง ส่วนการนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 5.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าจากพม่าและจีนตอนใต้เป็นสำคัญ โดยการนำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 3.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าตัว และสินค้าจากพืช นำเข้าเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว ขณะที่การนำเข้าโค-กระบือลดลง ส่วนการนำเข้าสินค้าจากจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เป็น 0.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า แอปเปิ้ล สาลี่ ท้อ บ๊วย และการนำเข้าจากลาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.6 เป็น 1.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยนำเข้าผลิตภัณฑ์จากไม้และผลิตภัณฑ์จากพืชเพิ่มขึ้น
ดุลการค้า เกินดุล 58.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่เกินดุลเพียง 39.8 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งตัวเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เดือนก่อน ราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 ตามราคาข้าวสารเจ้าหอมมะลิที่สูงขึ้นจากความต้องการเพื่อส่งมอบแก่ต่างประเทศ ราคาผักและผลไม้อยู่ในเกณฑ์ดีเนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อย ขณะที่ราคาเนื้อสุกร ปลาและสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้นจากความต้องการบริโภคเพื่อทดแทนไก่ที่ประสบปัญหาโรคระบาด ส่วนราคาหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เนื่องจากค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วยเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นค่าเอฟทีเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2547
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าในเดือนมกราคม 2547 มีอัตราการจ้างงานร้อยละ 95.1 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำกว่าร้อยละ 96.2 เดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการจ้างงานในภาคเกษตรลดลง อย่างไรก็ตามการจ้างงานนอกภาคเกษตรยังคงขยายตัว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 ตามภาวะการท่องเที่ยว การขยายตัวของภาคก่อสร้าง และการขายส่ง ขายปลีก สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 4.0 สูงกว่าร้อยละ 3.1 ระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากความไม่สอดคล้องของตลาดแรงงาน โดยตลาดมีความต้องการแรงงานที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีขณะที่ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี
10. การเงิน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ปริมาณเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือมียอดคงค้าง 280,832 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 เนื่องจากมีการถอนเงินฝากเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซื้อที่ดินและชำระคืนสินเชื่อของธุรกิจค้าส่ง-ปลีก โดยเงินฝากลดลงในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำปาง ด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 200,423 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ชะลอตัวจากเดือนก่อนเนื่องจากลูกค้าธุรกิจค้าส่ง-ปลีก ก่อสร้างและธุรกิจบ้านจัดสรรชำระหนี้ตั๋วครบกำหนดและอีกส่วนหนึ่งจากการชำระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญของภาคเหนือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน พืชผลหลักที่เพิ่มขึ้นได้แก่ อ้อยและหอมหัวใหญ่ โดยผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และร้อยละ 66.5 ตามลำดับ จากการขยายพื้นที่เพาะปลูกตามการส่งเสริมของโรงงานน้ำตาลและแรงจูงใจของราคา ขณะที่ผลผลิตหอมแดง กระเทียมและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 ร้อยละ 11.0 และร้อยละ 11.8 ตามลำดับ จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น อย่างไรก็ดีราคาสินค้าพืชผลหลักที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ยลดลงร้อยละ 10.1 เนื่องจากราคาพืชผักสำคัญ ได้แก่ กระเทียม หอมแดงและหอมหัวใหญ่ลดลงมากถึงร้อยละ 47.4 ร้อยละ 41.1 และร้อยละ 79.7 ตามลำดับ จากการที่ต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากประเทศจีนที่มีราคาต่ำกว่า ประกอบกับผลผลิตปีนี้เพิ่มขึ้น ทำให้รายได้เกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักในภาคเหนือลดลงร้อยละ 4.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน
สำหรับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในไก่ ทำให้ยอดขายไก่เนื้อและไข่ไก่ลดลงมากต่อเนื่องตั้งแต่ปลายเดือนก่อน อย่างไรก็ดีผู้บริโภคกลับมาบริโภคเนื้อและไข่ไก่หลังการรณรงค์บริโภคไก่และไข่ของรัฐบาล โดยการบริโภคไข่ไก่ฟื้นตัวเร็วกว่าเนื้อไก่
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาคเหนือยังขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน มูลค่าการผลิตและส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.8 เป็น 127.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามความต้องการสินค้าเทคโนโลยีใหม่ของตลาดต่างประเทศ ส่วนการผลิตน้ำตาลฤดูเก็บเกี่ยวอ้อยปีการผลิต 2546/47 ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.6 เป็น 501.8 พันเมตริกตัน จากผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้นและการรณรงค์ลดการเผาอ้อยก่อนตัดทำให้ปริมาณอ้อยไฟไหม้ลดลง ขณะที่ผลผลิตสังกะสีลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 เหลือ 8,320 เมตริกตัน
3. ภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวไทยขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีจากภาวะอากาศยังหนาวเย็น หมีแพนด้า และการเพิ่มเส้นทางการคมนาคมทางอากาศที่มีราคาถูก (Low Fare Airline) สำหรับการเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกมีผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม อาทิ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน ชาวฮ่องกง กิจกรรมภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นมากที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่และท่าอากาศยานพิษณุโลก ร้อยละ 21.9 และร้อยละ 10.2 ตามลำดับ ด้านอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 62.6 ลดลงจาก 69.5 ระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับราคาห้องพักเฉลี่ยลดลงจาก 939.5 บาทต่อห้อง เหลือ 930.5 บาทต่อห้อง
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี การใช้จ่ายเพื่อซื้อยานยนต์แม้ว่าจะอ่อนตัวลงแต่ก็นับว่าอยู่ในระดับดีเพราะได้รับประโยชน์จากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ แรงจูงใจจากเงื่อนไขการผ่อนชำระ และการส่งเสริมการขาย ยอดจดทะเบียนรถยนต์อยู่ในเกณฑ์ดีและเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.2 โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวเกือบทุกจังหวัด ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 สำหรับการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนในเดือนมกราคม 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.1 เร่งตัวเมื่อเทียบกับอัตราเพิ่มร้อยละ 4.9 เดือนก่อน
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนชะลอลงตามการก่อสร้างขณะที่การลงทุนเพื่อการผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี การลงทุนก่อสร้างชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาเหล็กเส้น อีกทั้งเป็นผลจากการที่เร่งก่อสร้างในช่วงก่อนหน้า สำหรับพื้นที่ก่อสร้างรับอนุญาตในเขตเทศบาลของภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 43.9 ตามการลดลงของพื้นที่ก่อสร้างทุกประเภท ขณะที่ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินเริ่มกลับสู่ปกติหลังจากที่มีการเร่งทำธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ในปลายปีก่อน โดยมีมูลค่า 31.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน
ด้านการลงทุนเพื่อการผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี จากมูลค่านำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักรกลและส่วนประกอบที่อยู่ในระดับสูงและเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 66.0 โดยมูลค่านำเข้ากว่าครึ่งเป็นการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น รองลงมาคือ ไต้หวัน มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกาตามลำดับ ขณะที่โรงงานจดทะเบียนตั้งใหม่มีจำนวน 41 โรงงาน เงินลงทุน 335 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.4 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมการเกษตร
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลผ่านสำนักงานคลังจังหวัดและคลังอำเภอในภาคเหนือเร่งตัวขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.3 เป็น 9,206.1 ล้านบาท และเพิ่มมากในหมวดเงินอุดหนุนแก่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นโดยเพิ่มจากเดือนเดียวกันปีก่อนกว่า 2 เท่าตัว และเพิ่มขึ้นเกือบทุกจังหวัด สำหรับการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 32.6 เป็น 1,005.5 ล้านบาท เพิ่มมากจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งเพิ่มกว่า 2 เท่าตัว ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 35.5 และร้อยละ 18.0 ตามลำดับ ทำให้ดุลในงบประมาณขาดดุล 8,200.7 ล้านบาท เทียบกับ 7,365.7 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ การส่งออก ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.9 เป็น 169.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากเดือนก่อน ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.5 ตามการส่งออกสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.8 เป็น 127.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากความต้องการสินค้าเทคโนโลยีใหม่ โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น คือ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา สายไฟและเคเบิ้ล ทรานสฟอร์เมอร์ มอเตอร์ และอัญมณี ขณะที่การส่งออกอุปกรณ์กีฬา หนังและผลิตภัณฑ์หนัง ลดลง ด้านการส่งออกสินค้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.7 เป็น 10.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกผลิตภัณฑ์จากพืช สินค้าเกษตรแปรรูป ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และอัญมณี เป็นสำคัญ ขณะที่ส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้และเซรามิกลดลง
ส่วนการส่งออกชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.7 เป็น 31.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 27.7 โดยการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 25.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการที่ทางการพม่าผ่อนคลายความเข้มงวดในการนำสินค้าเข้า ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอ โลหะขั้นมูลฐาน น้ำมันเชื้อเพลิง ลดลง ส่วนการส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 4.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยสามารถส่งออกสินค้าผักและผลไม้เพิ่มขึ้นมาก โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว ขณะที่การส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 18.4 เป็น 1.7 ล้านดอลลาร์ สรอ.
การนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.7 เป็น 110.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นการนำเข้าสินค้าของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7 เป็น 103.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยนำเข้าเครื่องจักรตัดต่อวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลอื่นเพิ่มขึ้นมาก รองลงมากคืออัญมณี ผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์พลาสติกและเรซิน ตามลำดับ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่นำเข้าจาก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอิสราเอล เพิ่มขึ้น ขณะที่การนำเข้าจากอเมริกา และเกาหลีใต้ ลดลง ส่วนการนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 5.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าจากพม่าและจีนตอนใต้เป็นสำคัญ โดยการนำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เป็น 3.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำที่เพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่าตัว และสินค้าจากพืช นำเข้าเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว ขณะที่การนำเข้าโค-กระบือลดลง ส่วนการนำเข้าสินค้าจากจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว เป็น 0.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า แอปเปิ้ล สาลี่ ท้อ บ๊วย และการนำเข้าจากลาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.6 เป็น 1.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยนำเข้าผลิตภัณฑ์จากไม้และผลิตภัณฑ์จากพืชเพิ่มขึ้น
ดุลการค้า เกินดุล 58.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ที่เกินดุลเพียง 39.8 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน เร่งตัวเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เดือนก่อน ราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 ตามราคาข้าวสารเจ้าหอมมะลิที่สูงขึ้นจากความต้องการเพื่อส่งมอบแก่ต่างประเทศ ราคาผักและผลไม้อยู่ในเกณฑ์ดีเนื่องจากปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อย ขณะที่ราคาเนื้อสุกร ปลาและสัตว์น้ำ เพิ่มขึ้นจากความต้องการบริโภคเพื่อทดแทนไก่ที่ประสบปัญหาโรคระบาด ส่วนราคาหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เนื่องจากค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วยเพิ่มขึ้นตามการปรับขึ้นค่าเอฟทีเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2547
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าในเดือนมกราคม 2547 มีอัตราการจ้างงานร้อยละ 95.1 ของกำลังแรงงานรวม ต่ำกว่าร้อยละ 96.2 เดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการจ้างงานในภาคเกษตรลดลง อย่างไรก็ตามการจ้างงานนอกภาคเกษตรยังคงขยายตัว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 ตามภาวะการท่องเที่ยว การขยายตัวของภาคก่อสร้าง และการขายส่ง ขายปลีก สำหรับอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 4.0 สูงกว่าร้อยละ 3.1 ระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากความไม่สอดคล้องของตลาดแรงงาน โดยตลาดมีความต้องการแรงงานที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีขณะที่ผู้ว่างงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี
10. การเงิน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2547 ปริมาณเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือมียอดคงค้าง 280,832 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 เนื่องจากมีการถอนเงินฝากเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวม ซื้อที่ดินและชำระคืนสินเชื่อของธุรกิจค้าส่ง-ปลีก โดยเงินฝากลดลงในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และลำปาง ด้านสินเชื่อมียอดคงค้าง 200,423 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ชะลอตัวจากเดือนก่อนเนื่องจากลูกค้าธุรกิจค้าส่ง-ปลีก ก่อสร้างและธุรกิจบ้านจัดสรรชำระหนี้ตั๋วครบกำหนดและอีกส่วนหนึ่งจากการชำระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-