โครงการ แลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจ/ธุรกิจระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและนักธุรกิจ
จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ประกอบการทั่วประเทศจำนวนราย 100 ราย ในช่วงวันที่ 5-20 มกราคม 2547
สรุปภาพรวม
ผู้ประกอบการเห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2547 จะขยายตัวดี และธุรกิจมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้อีก โดยเฉพาะภาคการผลิตและการส่งออก ขณะที่การใช้จ่ายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความต้องการในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทางการควรเข้าไปดูแลไม่ให้เกิดภาวะฟองสบู่ บางอุตสาหกรรมเริ่มมีการขยายการลงทุนในเครี่องจักรอุปกรณ์ใหม่ๆ และบางส่วนปรับตัวด้วยการขยายการลงทุนไปในต่างประเทศรอบภูมิภาค การส่งออกโดยรวมจะขยายตัวดี แม้ว่าจะต้องเผชิญภาวะการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้น ภาวะการจ้างงานเริ่มตึงตัวในบางอุตสาหกรรม ทั้งแรงงานมีฝีมือ และไร้ฝีมือ ทางด้านสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์จะมีการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจมากขึ้นตามการฟื้นตัวของธุรกิจ โดยคาดว่าการปล่อยสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลจะมีการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงในระหว่างธนาคารพาณิชย์ และกับบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีข้อสังเกตที่ตรงกัน คือ การเร่งตัวสูงของสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล อาจนำไปสู่ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้ในอนาคต
1.การบริโภค
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่ายอดจำหน่ายในประเทศปี 2547 จะขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากปี 2546 ที่ยอดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวสูงในทุกภูมิภาค ขณะเดียวกันการใช้จ่ายด้านบริการท่องเที่ยวในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น คาดว่าความต้องการสินค้าขั้นกลางจะขยายตัวเพิ่มขึ้นตาม โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นต้น เยื่อกระดาษ และบรรจุภัณฑ์
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริโภคขยายตัว ได้แก่ ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของเศรษฐกิจ การจ้างงาน และรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีรายได้และกำลังซื้อสูงขึ้น นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ และการแข่งขันกันให้สินเชื่อส่วนบุคคลของสถาบันการเงิน ทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้จ่ายได้มากขึ้น รวมทั้งจากผลการใช้จ่ายในการสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐบาลที่จะมีมากขึ้นในปี 2547
2.การลงทุน
แนวโน้มการลงทุนเริ่มดีขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมหรือเพิ่มเครื่องจักรใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเนื่องจากธุรกิจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางส่วนเริ่มวางแผนการลงทุนขยายโรงงานในประเทศ และบางส่วนปรับตัวด้วยการขยายการลงทุนไปในประเทศอาเซียนที่มีต้นทุนต่ำกว่า เพื่อตอบสนองความต้องการที่ขยายตัวของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับธุรกิจที่มีการวางแผนลงทุนขยายโรงงานในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมียางแผ่นรมควัน ยางแท่ง อาหารทะเลแช่แข็ง สินค้าหัตถกรรม และเซรามิก รวมทั้งธุรกิจในโรงแรมในภาคเหนือและภาคใต้หลายแห่ง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับการลงทุนด้านสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปี 2546 ในทุกภูมิภาคของประเทศ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะที่ได้ยกเว้นไป 2 ปี โดยการลงทุนเริ่มกระจายตัวจากบ้านเดี่ยวไปสู่อาคารชุดพักอาศัยในย่านธุรกิจ อาคารสำนักงาน และอาคารพาณิชย์ในบางพื้นที่ สำหรับอาคารชุดพักอาศัยย่านชานเมืองยังมีอุปทานส่วนเกินและทาวน์เฮ้าส์ที่มีบ้านเอื้ออาทรเป็นคู่แข่ง คาดว่าจะไม่มีการสร้างใหม่
อย่างไรก็ตาม มีผู้ประกอบการบางส่วนที่ยังระมัดระวังในการลงทุนเนื่องจากบทเรียนจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยจะรอดูภาวะเศรษฐกิจต่อไปอีกระยะหนึ่งก่อนตัดสินใจขยายการลงทุน
3.การส่งออกสินค้าและบริการ
คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวมากขึ้นในปี 2547 ทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรแปรรูป ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน และโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนหนึ่งเห็นว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพที่จะขยายตัวได้อีกมาก การขยายตัวของการส่งออกส่วนใหญ่เป็นทางด้านปริมาณโดยสินค้าที่คาดว่าจะขยายตัวสูง ได้แก่
- อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ปิโตรเคมี และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังอยู่ในช่วงวัฏจักรขาขึ้น และมีความต้องการในตลาดส่งออกหลายแห่งทั้งในสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย และอินโดจีน
-อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็ง และผักผลไม้แปรรูป ยังมีความต้องการสูงจากตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป โดยเฉพาะความต้องการกุ้งแช่แข็ง ที่มีการนำเข้าเพื่อบริโภคทดแทนเนื้อสัตว์ที่มีปัญหาโรคระบาด รวมทั้งมีการนำเข้าจากไทยทดแทนประเทศจีนที่มีปัญหาสารปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเป็นผลจากมาตรการ Food Safety ของประเทศผู้นำเข้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว ผู้ประกอบการอาหารทะเลแช่แข็งมีความกังวลเกี่ยวกับ ข้อกล่าวหาการทุ่มตลาดกุ้งที่สหรัฐอเมริกาฟ้องร้องไทย
-อุตสาหกรรมยางแท่งและยางแผ่นรมควัน ขยายตัวดีตามความต้องการที่มีต่อเนื่องโดยเฉพาะประจีน
-อุตสาหกรรมเซรามิก สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในตลาดสหภาพยุโรปปัญหาการส่งออก
-อุตสาหกรรมประสบปัญหาการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรงขึ้น ทั้งด้านคุณภาพและราคา รวมทั้งเผชิญกับมาตรการการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีมากขึ้น
-อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องแข่งขันกับจีนที่มีต้นทุนต่ำกว่า และอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็งที่ต้องแข่งขันกับอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ทำให้ราคามีแนวโน้มลดลง ยกเว้นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมยางรมควัน และยางแท่งที่ราคายังสูงขึ้น เพราะความต้องการยังมีสูงต่อเนื่อง ขณะที่อุปทานทรงตัว
-วัตถุดิบที่มีจำกัดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้มากนัก เช่นอุตสาหกรรมผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ
-ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น มีส่วนทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง รวมทั้งมีส่วนทำให้ธุรกิจที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศมีผลประกอบการเมื่อเทียบเป็นบาทลดลง ซึ่งบางธุรกิจปรับตัวด้วยการทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น
สำหรับการส่งออกด้านบริการมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากยุโรป และประเทศแถบเอเซีย ที่สำคัญ คือจีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ส่วนนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ อาจเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากปัญหาการก่อการร้าย ทั้งนี้ ชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศมากขึ้น ส่วนหนึ่งจะเป็นกลุ่มนักธุรกิจที่เข้ามาติดต่อธุรกิจและลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
4.การจ้างงาน
ภาวะตลาดแรงงานเริ่มตึงตัวในหลายอุตสาหกรรม ทั้งในตลาดแรงงานฝีมือและตลาดแรงงานไร้ฝีมือ บางอุตสาหกรรมเริ่มประสบภาวะขาดแคลนแรงงาน เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายอาหาร
ผู้ประกอบการบางรายเริ่มปรับสวัสดิการให้พนักงาน และคาดว่าความต้องการแรงงานจะมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ซึ่งจะส่งผลให้ค่าจ้างมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ผู้ประกอบการหลายรายเห็นว่า ทางการควรยืดหยุ่นให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าวได้มากขึ้น
5.การผลิตและปัจจัยการผลิต
ภาคเกษตร
ผลผลิตภาคเกษตรอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากภูมิอากาศเอื้ออำนวย โดยเฉพาะข้าวและยาง ซึ่งราคาข้าวมีแนวโน้มดี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการแทรกแซงของภาครัฐ ขณะเดียวกันราคายางยังคงอยู่ในระดับสูงโดยเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1 ดอลล่าร์ สรอ.เนื่องจากความต้องการจากประเทศจีนเพิ่มขึ้น ประกอบกับปริมาณการใช้ยางในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ของญี่ปุ่นขยายตัวนอกจากนี้ ผลผลิตแป้งมันสำปะหลังมีแนวโน้มดี จากการส่งออกไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นส่วนผลผลิตปาล์มน้ำมันมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากเป็นช่วงวัฏจักรผลผลิตขาลง ในขณะที่ราคาไม่สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากยังมีสต๊อกเหลืออยู่
สำหรับผลผลิตไก่ออกสู่ตลาดน้อยลงเนื่องจากมีโรคระบาดในไก่ ทำให้ฟาร์มขนาดใหญ่ชะลอการลงทุน ราคาเนื้อไก่ ไข่ไก่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงต้นเดือนมกราคม (ก่อนภาวะโรคระบาดไข้หวัดนกจะรุนแรงขึ้น)
อุตสาหกรรม
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวดี ทั้งการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อุตสาหกรรมที่ขยายตัวดี เช่น อุตสาหกรรมยางแผ่นรมควัน อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารกระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง เยื่อกระดาษ อิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น มีบางอุตสาหกรรมที่ผลิตใกล้เต็มกำลังการผลิต และมีแนวโน้มที่จะขยายกำลังการผลิตอย่างไรก็ตาม บางอุตสาหกรรมมีข้อจำกัดด้านวัตถุดิบทำให้ไม่สามารถขยายกำลังการผลิตได้มาก เช่น อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง และอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ
อสังหาริมทรัพย์
คาดว่าความต้องการที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานมีแนวโน้มมากขึ้นต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปี โดยเฉพาะบ้านเดี่ยวระดับกลางและล่าง และอาคารชุดพักอาศัยใจกลางเมืองที่อุปทานส่วนเกินเริ่มลดลง และคาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการรายใหม่ ประกอบกับโครงการบ้านเอื้ออาทรของภาครัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการวัสดุก่อสร้างขยายตัวมากขึ้นด้วย
โรงแรมและการท่องเที่ยว
แนวโน้มการท่องเที่ยวของไทยในปี 2547 จะขยายตัวดีทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและในประเทศ คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-15
การท่องเที่ยวในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น จากกลยุทธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศและจากการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลของสายการบินราคาต่ำ (Low Cost Airline) ประกอบกับมีการใช้กลยุทธ์ลดราคาในช่วง Low Season มากขึ้น ทั้งนี้ มีแนวโน้มจะมีการลงทุนในธุรกิจโรงแรมเพิ่มขึ้นทั้งในภาคเหนือและภาคใต้ เพื่อรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยว แม้จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบในเขตภาคใต้ตอนล่างบ้าง
การเงินธนาคาร
สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่มีการฟื้นตัวดี อย่างไรก็ตามการปล่อยสินเชื่อมีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรงระหว่างธนาคารพาณิชย์และกับบริษัทที่มิใช่ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีความได้เปรียบด้านต้นทุนทางการเงิน และใช้เกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อที่ค่อนข้างผ่อนคลาย โดยในช่วงปี 2546 มีการขยายตัวเร่งขึ้นมากในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการบริโภค และสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อ โดยเฉพาะการเช่าซื้อรถยนต์ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายมีความกังวลเรื่องภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในระดับสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ในอนาคต หากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น โดยเริ่มเห็นสัญญาณการผิดนัดชำระหนี้พิจารณาจากอัตราการยึดรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้น
ความกังวลดังกล่าวทำให้ธุรกิจรายสำคัญๆรวมทั้งธุรกิจลิสซิ่ง เพิ่มความระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อ เช่นการกู้เพื่อซื้อรถจักยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในบ้าน และเพิ่มความเข้มงวดการติดตามหนี้ค้างชำระอย่างต่อเนื่อง
ด้านการประกันภัย โดยเฉพาะการประกันชีวิตคาดว่าจะยังขยายตัวได้อีกมากมาย เนื่องจากปัจจุบันมูลค่าประกันเฉลี่ยต่อหัวของประชากรยังอยู่ในระดับต่ำ และการประกันภัยรถยนต์มีแนวโน้มขยายตัวตามยอดการจำหน่ายรถยนต์
ต้นทุนการผลิตและราคา
ทางด้านต้นทุนการผลิต ผู้ประกอบการส่วนมากชี้ว่า ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นตามราคาวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตขั้นกลาง โดยเฉพาะราคาน้ำมัน เหล็ก ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ พลาสติก และวัตถุดิบ Naphtha สำหรับผลิตปีโตรเคมีขั้นต้น โดยไม่สามารถปรับเพิ่มราคาสินค้าที่ผลิตได้ เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยกเว้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถปรับเพิ่มราคาขยายตามได้บ้างส่วนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์จำเป็นต้องลดราคาลงจากการแข่งขันจากผู้ประกอบการรายใหม่จำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการมีผลกำไร (Margin) ลดลง
แหล่งเงินทุนและอัตราดอกเบี้ย
ปัจจุบันผู้ประกอบการหลายราย อาศัยผลการดำเนินงานของบริษัทเป็นแหล่งเงินทุนหลัก เนื่องจากมีกำไรสะสมอยู่มากจากการชะลอการลงทุนตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สำหรับบริษัทร่วมทุนกับต่างประเทศจะอาศัยแหล่งเงินทุนจากบริษัทแม่ บางส่วนระดมทุนผ่านตลาดทุนและบางส่วนใช้เงินกู้จากสถาบันการเงิน ซึ่งเริ่มหันมาเน้นการปล่อยสินเชื่อประเภท Corporate Loan มากขึ้น เนื่องจากเห็นสัญญาณการขยายตัวที่ชัดเจนของบางธุรกิจ อาทิ ชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ วัสดุก่อสร้าง ธุรกิจท่องเที่ยว การพิมพ์ อุตสาหกรรมยาง อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง
อัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำส่งผลต่อธุรกิจ ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจลดลง และสามารถลงทุนขยายการผลิตได้ และช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารงานได้คล่องตัว เนื่องจากไม่ต้องมีภาระดอกเบี้ยจ่ายสูงเกินไป หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการ และส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
--สายนโยบายการเงิน/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ประกอบการทั่วประเทศจำนวนราย 100 ราย ในช่วงวันที่ 5-20 มกราคม 2547
สรุปภาพรวม
ผู้ประกอบการเห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2547 จะขยายตัวดี และธุรกิจมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้อีก โดยเฉพาะภาคการผลิตและการส่งออก ขณะที่การใช้จ่ายในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความต้องการในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งทางการควรเข้าไปดูแลไม่ให้เกิดภาวะฟองสบู่ บางอุตสาหกรรมเริ่มมีการขยายการลงทุนในเครี่องจักรอุปกรณ์ใหม่ๆ และบางส่วนปรับตัวด้วยการขยายการลงทุนไปในต่างประเทศรอบภูมิภาค การส่งออกโดยรวมจะขยายตัวดี แม้ว่าจะต้องเผชิญภาวะการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้น ภาวะการจ้างงานเริ่มตึงตัวในบางอุตสาหกรรม ทั้งแรงงานมีฝีมือ และไร้ฝีมือ ทางด้านสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์จะมีการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจมากขึ้นตามการฟื้นตัวของธุรกิจ โดยคาดว่าการปล่อยสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลจะมีการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงในระหว่างธนาคารพาณิชย์ และกับบริษัทเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) ทั้งนี้ ผู้ประกอบการมีข้อสังเกตที่ตรงกัน คือ การเร่งตัวสูงของสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล อาจนำไปสู่ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้ในอนาคต
1.การบริโภค
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่ายอดจำหน่ายในประเทศปี 2547 จะขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องจากปี 2546 ที่ยอดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวสูงในทุกภูมิภาค ขณะเดียวกันการใช้จ่ายด้านบริการท่องเที่ยวในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น คาดว่าความต้องการสินค้าขั้นกลางจะขยายตัวเพิ่มขึ้นตาม โดยเฉพาะปิโตรเคมีขั้นต้น เยื่อกระดาษ และบรรจุภัณฑ์
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริโภคขยายตัว ได้แก่ ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของเศรษฐกิจ การจ้างงาน และรายได้เกษตรกรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีรายได้และกำลังซื้อสูงขึ้น นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ และการแข่งขันกันให้สินเชื่อส่วนบุคคลของสถาบันการเงิน ทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้จ่ายได้มากขึ้น รวมทั้งจากผลการใช้จ่ายในการสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐบาลที่จะมีมากขึ้นในปี 2547
2.การลงทุน
แนวโน้มการลงทุนเริ่มดีขึ้น โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมหรือเพิ่มเครื่องจักรใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเนื่องจากธุรกิจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางส่วนเริ่มวางแผนการลงทุนขยายโรงงานในประเทศ และบางส่วนปรับตัวด้วยการขยายการลงทุนไปในประเทศอาเซียนที่มีต้นทุนต่ำกว่า เพื่อตอบสนองความต้องการที่ขยายตัวของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับธุรกิจที่มีการวางแผนลงทุนขยายโรงงานในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมียางแผ่นรมควัน ยางแท่ง อาหารทะเลแช่แข็ง สินค้าหัตถกรรม และเซรามิก รวมทั้งธุรกิจในโรงแรมในภาคเหนือและภาคใต้หลายแห่ง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับการลงทุนด้านสังหาริมทรัพย์ คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากปี 2546 ในทุกภูมิภาคของประเทศ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะที่ได้ยกเว้นไป 2 ปี โดยการลงทุนเริ่มกระจายตัวจากบ้านเดี่ยวไปสู่อาคารชุดพักอาศัยในย่านธุรกิจ อาคารสำนักงาน และอาคารพาณิชย์ในบางพื้นที่ สำหรับอาคารชุดพักอาศัยย่านชานเมืองยังมีอุปทานส่วนเกินและทาวน์เฮ้าส์ที่มีบ้านเอื้ออาทรเป็นคู่แข่ง คาดว่าจะไม่มีการสร้างใหม่
อย่างไรก็ตาม มีผู้ประกอบการบางส่วนที่ยังระมัดระวังในการลงทุนเนื่องจากบทเรียนจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยจะรอดูภาวะเศรษฐกิจต่อไปอีกระยะหนึ่งก่อนตัดสินใจขยายการลงทุน
3.การส่งออกสินค้าและบริการ
คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวมากขึ้นในปี 2547 ทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรแปรรูป ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน และโดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนหนึ่งเห็นว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพที่จะขยายตัวได้อีกมาก การขยายตัวของการส่งออกส่วนใหญ่เป็นทางด้านปริมาณโดยสินค้าที่คาดว่าจะขยายตัวสูง ได้แก่
- อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ปิโตรเคมี และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังอยู่ในช่วงวัฏจักรขาขึ้น และมีความต้องการในตลาดส่งออกหลายแห่งทั้งในสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย และอินโดจีน
-อุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็ง และผักผลไม้แปรรูป ยังมีความต้องการสูงจากตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป โดยเฉพาะความต้องการกุ้งแช่แข็ง ที่มีการนำเข้าเพื่อบริโภคทดแทนเนื้อสัตว์ที่มีปัญหาโรคระบาด รวมทั้งมีการนำเข้าจากไทยทดแทนประเทศจีนที่มีปัญหาสารปนเปื้อนในอาหาร ซึ่งเป็นผลจากมาตรการ Food Safety ของประเทศผู้นำเข้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว ผู้ประกอบการอาหารทะเลแช่แข็งมีความกังวลเกี่ยวกับ ข้อกล่าวหาการทุ่มตลาดกุ้งที่สหรัฐอเมริกาฟ้องร้องไทย
-อุตสาหกรรมยางแท่งและยางแผ่นรมควัน ขยายตัวดีตามความต้องการที่มีต่อเนื่องโดยเฉพาะประจีน
-อุตสาหกรรมเซรามิก สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในตลาดสหภาพยุโรปปัญหาการส่งออก
-อุตสาหกรรมประสบปัญหาการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรงขึ้น ทั้งด้านคุณภาพและราคา รวมทั้งเผชิญกับมาตรการการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีมากขึ้น
-อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องแข่งขันกับจีนที่มีต้นทุนต่ำกว่า และอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็งที่ต้องแข่งขันกับอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ทำให้ราคามีแนวโน้มลดลง ยกเว้นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมยางรมควัน และยางแท่งที่ราคายังสูงขึ้น เพราะความต้องการยังมีสูงต่อเนื่อง ขณะที่อุปทานทรงตัว
-วัตถุดิบที่มีจำกัดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้มากนัก เช่นอุตสาหกรรมผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ
-ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น มีส่วนทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง รวมทั้งมีส่วนทำให้ธุรกิจที่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศมีผลประกอบการเมื่อเทียบเป็นบาทลดลง ซึ่งบางธุรกิจปรับตัวด้วยการทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น
สำหรับการส่งออกด้านบริการมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามการท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ นักท่องเที่ยวจากยุโรป และประเทศแถบเอเซีย ที่สำคัญ คือจีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ส่วนนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ อาจเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากปัญหาการก่อการร้าย ทั้งนี้ ชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศมากขึ้น ส่วนหนึ่งจะเป็นกลุ่มนักธุรกิจที่เข้ามาติดต่อธุรกิจและลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
4.การจ้างงาน
ภาวะตลาดแรงงานเริ่มตึงตัวในหลายอุตสาหกรรม ทั้งในตลาดแรงงานฝีมือและตลาดแรงงานไร้ฝีมือ บางอุตสาหกรรมเริ่มประสบภาวะขาดแคลนแรงงาน เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายอาหาร
ผู้ประกอบการบางรายเริ่มปรับสวัสดิการให้พนักงาน และคาดว่าความต้องการแรงงานจะมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ซึ่งจะส่งผลให้ค่าจ้างมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ผู้ประกอบการหลายรายเห็นว่า ทางการควรยืดหยุ่นให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าวได้มากขึ้น
5.การผลิตและปัจจัยการผลิต
ภาคเกษตร
ผลผลิตภาคเกษตรอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากภูมิอากาศเอื้ออำนวย โดยเฉพาะข้าวและยาง ซึ่งราคาข้าวมีแนวโน้มดี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการแทรกแซงของภาครัฐ ขณะเดียวกันราคายางยังคงอยู่ในระดับสูงโดยเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1 ดอลล่าร์ สรอ.เนื่องจากความต้องการจากประเทศจีนเพิ่มขึ้น ประกอบกับปริมาณการใช้ยางในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ของญี่ปุ่นขยายตัวนอกจากนี้ ผลผลิตแป้งมันสำปะหลังมีแนวโน้มดี จากการส่งออกไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นส่วนผลผลิตปาล์มน้ำมันมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากเป็นช่วงวัฏจักรผลผลิตขาลง ในขณะที่ราคาไม่สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากยังมีสต๊อกเหลืออยู่
สำหรับผลผลิตไก่ออกสู่ตลาดน้อยลงเนื่องจากมีโรคระบาดในไก่ ทำให้ฟาร์มขนาดใหญ่ชะลอการลงทุน ราคาเนื้อไก่ ไข่ไก่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงต้นเดือนมกราคม (ก่อนภาวะโรคระบาดไข้หวัดนกจะรุนแรงขึ้น)
อุตสาหกรรม
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวดี ทั้งการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ อุตสาหกรรมที่ขยายตัวดี เช่น อุตสาหกรรมยางแผ่นรมควัน อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารกระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง เยื่อกระดาษ อิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น มีบางอุตสาหกรรมที่ผลิตใกล้เต็มกำลังการผลิต และมีแนวโน้มที่จะขยายกำลังการผลิตอย่างไรก็ตาม บางอุตสาหกรรมมีข้อจำกัดด้านวัตถุดิบทำให้ไม่สามารถขยายกำลังการผลิตได้มาก เช่น อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง และอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ
อสังหาริมทรัพย์
คาดว่าความต้องการที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานมีแนวโน้มมากขึ้นต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปี โดยเฉพาะบ้านเดี่ยวระดับกลางและล่าง และอาคารชุดพักอาศัยใจกลางเมืองที่อุปทานส่วนเกินเริ่มลดลง และคาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการรายใหม่ ประกอบกับโครงการบ้านเอื้ออาทรของภาครัฐบาล ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการวัสดุก่อสร้างขยายตัวมากขึ้นด้วย
โรงแรมและการท่องเที่ยว
แนวโน้มการท่องเที่ยวของไทยในปี 2547 จะขยายตัวดีทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและในประเทศ คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-15
การท่องเที่ยวในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น จากกลยุทธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศและจากการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลของสายการบินราคาต่ำ (Low Cost Airline) ประกอบกับมีการใช้กลยุทธ์ลดราคาในช่วง Low Season มากขึ้น ทั้งนี้ มีแนวโน้มจะมีการลงทุนในธุรกิจโรงแรมเพิ่มขึ้นทั้งในภาคเหนือและภาคใต้ เพื่อรองรับการขยายตัวของนักท่องเที่ยว แม้จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบในเขตภาคใต้ตอนล่างบ้าง
การเงินธนาคาร
สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่มีการฟื้นตัวดี อย่างไรก็ตามการปล่อยสินเชื่อมีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรงระหว่างธนาคารพาณิชย์และกับบริษัทที่มิใช่ ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีความได้เปรียบด้านต้นทุนทางการเงิน และใช้เกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อที่ค่อนข้างผ่อนคลาย โดยในช่วงปี 2546 มีการขยายตัวเร่งขึ้นมากในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อการบริโภค และสินเชื่อเพื่อการเช่าซื้อ โดยเฉพาะการเช่าซื้อรถยนต์ ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายมีความกังวลเรื่องภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นในระดับสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ในอนาคต หากอัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น โดยเริ่มเห็นสัญญาณการผิดนัดชำระหนี้พิจารณาจากอัตราการยึดรถจักรยานยนต์ที่เพิ่มขึ้น
ความกังวลดังกล่าวทำให้ธุรกิจรายสำคัญๆรวมทั้งธุรกิจลิสซิ่ง เพิ่มความระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อ เช่นการกู้เพื่อซื้อรถจักยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายในบ้าน และเพิ่มความเข้มงวดการติดตามหนี้ค้างชำระอย่างต่อเนื่อง
ด้านการประกันภัย โดยเฉพาะการประกันชีวิตคาดว่าจะยังขยายตัวได้อีกมากมาย เนื่องจากปัจจุบันมูลค่าประกันเฉลี่ยต่อหัวของประชากรยังอยู่ในระดับต่ำ และการประกันภัยรถยนต์มีแนวโน้มขยายตัวตามยอดการจำหน่ายรถยนต์
ต้นทุนการผลิตและราคา
ทางด้านต้นทุนการผลิต ผู้ประกอบการส่วนมากชี้ว่า ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นตามราคาวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตขั้นกลาง โดยเฉพาะราคาน้ำมัน เหล็ก ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์ พลาสติก และวัตถุดิบ Naphtha สำหรับผลิตปีโตรเคมีขั้นต้น โดยไม่สามารถปรับเพิ่มราคาสินค้าที่ผลิตได้ เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ยกเว้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถปรับเพิ่มราคาขยายตามได้บ้างส่วนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์จำเป็นต้องลดราคาลงจากการแข่งขันจากผู้ประกอบการรายใหม่จำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการมีผลกำไร (Margin) ลดลง
แหล่งเงินทุนและอัตราดอกเบี้ย
ปัจจุบันผู้ประกอบการหลายราย อาศัยผลการดำเนินงานของบริษัทเป็นแหล่งเงินทุนหลัก เนื่องจากมีกำไรสะสมอยู่มากจากการชะลอการลงทุนตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สำหรับบริษัทร่วมทุนกับต่างประเทศจะอาศัยแหล่งเงินทุนจากบริษัทแม่ บางส่วนระดมทุนผ่านตลาดทุนและบางส่วนใช้เงินกู้จากสถาบันการเงิน ซึ่งเริ่มหันมาเน้นการปล่อยสินเชื่อประเภท Corporate Loan มากขึ้น เนื่องจากเห็นสัญญาณการขยายตัวที่ชัดเจนของบางธุรกิจ อาทิ ชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ วัสดุก่อสร้าง ธุรกิจท่องเที่ยว การพิมพ์ อุตสาหกรรมยาง อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง
อัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำส่งผลต่อธุรกิจ ทำให้ต้นทุนการดำเนินธุรกิจลดลง และสามารถลงทุนขยายการผลิตได้ และช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารงานได้คล่องตัว เนื่องจากไม่ต้องมีภาระดอกเบี้ยจ่ายสูงเกินไป หากอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการ และส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
--สายนโยบายการเงิน/ธนาคารแห่งประเทศไทย--