นายชวน หลีกภัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายเรื่อง สถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดภาคใต้ ในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2547
ผมมีความจำเป็นต้องชี้แจงท่านประธาน ให้ท่านรมว.มหาดไทยได้ทบทวนเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมา กระผมเข้าใจดีว่า รมว.มหาดไทยท่านปัจจุบันเป็นท่านที่ 3 เพราะฉะนั้นท่านอาจจะไม่ได้ตามปัญหาและแนวทางที่รมต.มหาดไทย 2 ท่านที่แล้วได้ดำเนินการมา รวมทั้งท่านอาจจะไม่ได้สรุปแนวนโยบายที่รัฐบาลได้ทำไว้ตั้งแต่เริ่มปี 2544 แล้วในที่สุดมาถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน เพราะฉะนั้นคำตอบหลายเรื่องจึงคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงในอดีต
ท่านประธานที่เคารพความจริงญัตติเป็นญัตติที่ พ.ต.ท.วิจิตร ได้พยายามมาก เพราะว่า พ.ต.ท.วิจิตรอยู่ในจังหวัดชายแดนสงขลา เขตของท่านเป็นพี่น้องมุสลิม ท่านก็พยายามมารตั้งแต่ 2545 เพื่ออภิปรายญัตตินี้ แต่ก็ไม่มีโอกาส เพิ่งมีโอกาสในสัปดาห์ที่แล้วและก็สัปดาห์นี้ ผมกราบเรียนท่านประธานในสิ่งที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับรัฐบาลในการแก้ปัญหา คือ ในเบื้องต้นผมคิดว่าเราต้องยอมรับความเป็นจริงของสภาพพื้นที่และปัญหาในพื้นที่ อย่าปฏิเสธความเป็นจริงว่าลักษณะตรงนี้มีลักษณะพิเศษ การใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยมรดกถึงได้ยกเว้นให้เป็นพิเศษในพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ มาตั้งแต่ปี 2570 กว่า นี่คือการยอมรับตั้งแต่แรกว่าลักษณะของพื้นที่ทีมีประชาชน ที่มีความแตกต่างในเรื่องศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อ จำเป็นต้องมีการดูแลเป็นพิเศษอย่างที่เราอ้างถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งก็เป็นความจริงว่า ทรงมีวิสัยทัศน์ที่ไกล เห็นปัญหาชัดเจน และเราก็ต้องยอมรับว่าประวัติศาสตร์ของพื้นที่ตรงมีเคยมีรัฐปัตตานี ซึ่งอยู่ในความดูแลของประเทศสยามสมัยนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ความผูกพันธ์ในอดีต ความคิดที่จะแบ่งแยกดินแดน ความคิดที่จะเป็นตัวของตัวเองก็ย่อมมีอยู่เป็นธรรมดา ไม่ว่าชาติไหนก็มีโอกาสมีคนที่มีความคิดอย่างนี้ได้
แต่มองอย่างยุติธรรม ในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ที่รุนแรงในอดีต ค่อยๆเบาบางลง ผมพูดได้ว่านับตั้งแต่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จภาคใต้เมื่อปี 2502 และต่อมาได้มีพระตำหนักทักษิณราชนิเวช เมื่อปี 2535 พระองค์ท่านเสด็จทุกปีต่อเนื่องยาวนานมาไม่เคยว่างเว้น ปีใดที่พระองค์ท่านไม่ทรงสะดวก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถก็เสด็จ ความผูกพันธ์ความใกล้ชิดระหว่างผู้นำศาสนาอิสลามได้มีส่วนสำคัญยิ่ง ในการทำให้ความเข้าใจระหว่างพี่น้องไทยมุสลิมกับรัฐบาล ราชการ ดีขึ้นเป็นลำดับ และแน่นอนพื้นที่เหล่านั้นก็เหมือนกับที่อื่น จะปฏิเสธว่าไม่มีโจรผู้ร้ายเลยก็เป็นไปไม่ได้ ด้วยความตระหนักถึงข้อแตกต่างในเรื่องของพื้นที่ความเป็นจังหวัดชายแดน ความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม
เมื่อสมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ ปี 2524 ถึงได้คิดศอ.บต.ขึ้น ด้วยความคิดว่าองค์กรดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์ในการทำงานอย่างเป็นเอกภาพ และแบ่งงานอย่างเป็นระบบ อย่างที่เราทราบกัน จริงอยู่ที่ รมว.มหาดไทยกล่าว และความจริงก็เป็นคำพูดของกระผมเองตั้งแต่ต้นว่าองค์กรนี้ไม่ใช่ยาวิเศษ ไม่ใช่ของวิเศษที่จะเสกคาถาในบ้านเมืองเรียบร้อยได้ เพราะจะก่อไปด้วยปัจจัยที่เราว่าต้องมีคนดี ต้องมีคนเอาใจใส่ ต้องมีคนสนใจการทำงาน แต่องค์กรนี้ดีตรงที่ว่า คือการที่เข้าไปอุดช่องว่างรอยต่อของปัญหาระหว่างจังหวัดและเป็นองค์กรที่มีความเป็นศูนย์กลาง ความเป็นเอกภาพในการแก้ปัญหาดีขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัดไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แต่ว่าต่างต้องร่วมกันทำโดยรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้ประสาน เราจึงเห็นได้ชัดว่าสถานการณ์ค่อยๆเปลี่ยนมาดีขึ้นเป็นลำดับ จริงอยู่บางปีก็มีเหตุร้ายแบบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8/04/47--จบ--
-สส-
ผมมีความจำเป็นต้องชี้แจงท่านประธาน ให้ท่านรมว.มหาดไทยได้ทบทวนเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมา กระผมเข้าใจดีว่า รมว.มหาดไทยท่านปัจจุบันเป็นท่านที่ 3 เพราะฉะนั้นท่านอาจจะไม่ได้ตามปัญหาและแนวทางที่รมต.มหาดไทย 2 ท่านที่แล้วได้ดำเนินการมา รวมทั้งท่านอาจจะไม่ได้สรุปแนวนโยบายที่รัฐบาลได้ทำไว้ตั้งแต่เริ่มปี 2544 แล้วในที่สุดมาถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน เพราะฉะนั้นคำตอบหลายเรื่องจึงคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงในอดีต
ท่านประธานที่เคารพความจริงญัตติเป็นญัตติที่ พ.ต.ท.วิจิตร ได้พยายามมาก เพราะว่า พ.ต.ท.วิจิตรอยู่ในจังหวัดชายแดนสงขลา เขตของท่านเป็นพี่น้องมุสลิม ท่านก็พยายามมารตั้งแต่ 2545 เพื่ออภิปรายญัตตินี้ แต่ก็ไม่มีโอกาส เพิ่งมีโอกาสในสัปดาห์ที่แล้วและก็สัปดาห์นี้ ผมกราบเรียนท่านประธานในสิ่งที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์กับรัฐบาลในการแก้ปัญหา คือ ในเบื้องต้นผมคิดว่าเราต้องยอมรับความเป็นจริงของสภาพพื้นที่และปัญหาในพื้นที่ อย่าปฏิเสธความเป็นจริงว่าลักษณะตรงนี้มีลักษณะพิเศษ การใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยมรดกถึงได้ยกเว้นให้เป็นพิเศษในพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ มาตั้งแต่ปี 2570 กว่า นี่คือการยอมรับตั้งแต่แรกว่าลักษณะของพื้นที่ทีมีประชาชน ที่มีความแตกต่างในเรื่องศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อ จำเป็นต้องมีการดูแลเป็นพิเศษอย่างที่เราอ้างถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งก็เป็นความจริงว่า ทรงมีวิสัยทัศน์ที่ไกล เห็นปัญหาชัดเจน และเราก็ต้องยอมรับว่าประวัติศาสตร์ของพื้นที่ตรงมีเคยมีรัฐปัตตานี ซึ่งอยู่ในความดูแลของประเทศสยามสมัยนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ความผูกพันธ์ในอดีต ความคิดที่จะแบ่งแยกดินแดน ความคิดที่จะเป็นตัวของตัวเองก็ย่อมมีอยู่เป็นธรรมดา ไม่ว่าชาติไหนก็มีโอกาสมีคนที่มีความคิดอย่างนี้ได้
แต่มองอย่างยุติธรรม ในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ที่รุนแรงในอดีต ค่อยๆเบาบางลง ผมพูดได้ว่านับตั้งแต่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จภาคใต้เมื่อปี 2502 และต่อมาได้มีพระตำหนักทักษิณราชนิเวช เมื่อปี 2535 พระองค์ท่านเสด็จทุกปีต่อเนื่องยาวนานมาไม่เคยว่างเว้น ปีใดที่พระองค์ท่านไม่ทรงสะดวก สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถก็เสด็จ ความผูกพันธ์ความใกล้ชิดระหว่างผู้นำศาสนาอิสลามได้มีส่วนสำคัญยิ่ง ในการทำให้ความเข้าใจระหว่างพี่น้องไทยมุสลิมกับรัฐบาล ราชการ ดีขึ้นเป็นลำดับ และแน่นอนพื้นที่เหล่านั้นก็เหมือนกับที่อื่น จะปฏิเสธว่าไม่มีโจรผู้ร้ายเลยก็เป็นไปไม่ได้ ด้วยความตระหนักถึงข้อแตกต่างในเรื่องของพื้นที่ความเป็นจังหวัดชายแดน ความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม
เมื่อสมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ ปี 2524 ถึงได้คิดศอ.บต.ขึ้น ด้วยความคิดว่าองค์กรดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์ในการทำงานอย่างเป็นเอกภาพ และแบ่งงานอย่างเป็นระบบ อย่างที่เราทราบกัน จริงอยู่ที่ รมว.มหาดไทยกล่าว และความจริงก็เป็นคำพูดของกระผมเองตั้งแต่ต้นว่าองค์กรนี้ไม่ใช่ยาวิเศษ ไม่ใช่ของวิเศษที่จะเสกคาถาในบ้านเมืองเรียบร้อยได้ เพราะจะก่อไปด้วยปัจจัยที่เราว่าต้องมีคนดี ต้องมีคนเอาใจใส่ ต้องมีคนสนใจการทำงาน แต่องค์กรนี้ดีตรงที่ว่า คือการที่เข้าไปอุดช่องว่างรอยต่อของปัญหาระหว่างจังหวัดและเป็นองค์กรที่มีความเป็นศูนย์กลาง ความเป็นเอกภาพในการแก้ปัญหาดีขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัดไม่ใช่ต่างคนต่างทำ แต่ว่าต่างต้องร่วมกันทำโดยรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้ประสาน เราจึงเห็นได้ชัดว่าสถานการณ์ค่อยๆเปลี่ยนมาดีขึ้นเป็นลำดับ จริงอยู่บางปีก็มีเหตุร้ายแบบ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8/04/47--จบ--
-สส-