ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน มี.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 103.0 ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์
เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มี.ค.47 อยู่ที่ระดับ
103.0 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 105.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ 96.9
ลดลงจาก 98.4 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 116.8 ลดลงจาก 118.6 ในเดือน
ก.พ.47 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อ
ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 98.1 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 100.6 โดยผู้บริโภคเห็นว่าภาวะ
เศรษฐกิจอยู่ในระดับดีร้อยละ 22.5 ปานกลางร้อยละ 55.6 และเลวลงร้อยละ 21.9 ซึ่งเป็นการลดลงของ
ดัชนีต่ำกว่า 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวภาวะเศรษฐกิจเฉลี่ยเป็นรายไตร
มาสพบว่า ไตรมาส 1 ปี 47 ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมดัชนีอยู่ที่ 105.2 ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันดัชนีอยู่ที่ 100.4
และภาวะเศรษฐกิจอนาคตดัชนีอยู่ที่ 110.1 ซึ่งทั้ง 3 รายการของดัชนีลดลงเมื่อเทียบกับดัชนีเฉลี่ยของไตรมาส
4 ปี 46 แสดงให้เห็นถึงสัญญาณดัชนีความเชื่อมั่นที่มีโอกาสปรับตัวลดลงได้ในอนาคตและชี้ให้เห็นถึงการที่ผู้
บริโภคขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์ปัจจุบัน (ไทยรัฐ, บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ)
2. โครงการพักชำระหนี้เกษตรกรส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 นรม.เปิดเผย
ภายหลังจากเป็นประธานปิดโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยว่า โครงการดังกล่าว
ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.44 และสิ้นสุดโครงการเมื่อ 31 มี.ค.47 นั้น พบว่ารายได้ของ
เกษตรกรก่อนเข้าโครงการเฉลี่ย 68,560 บาทต่อราย เพิ่มขึ้นเป็น 116,600 บาทต่อรายหลังปิดโครงการ
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 ส่วนตัวเลขการออมเงินของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) ก่อนเข้าโครงการเฉลี่ยอยู่ที่ 1,337 บาทต่อราย แต่เมื่อเข้าโครงการมีเงินออมเพิ่มขึ้นเป็น
5,647 บาทต่อราย หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นรายละ 3,910 บาท ทั้งนี้ การที่เกษตรกรมีรายได้และเงินออมเฉลี่ย
เพิ่มขึ้น เนื่องจากโครงการดังกล่าวช่วยลดภาระในเรื่องดอกเบี้ย ทำให้เกษตรกรมีกำลังเงินเพียงพอในการ
ประกอบอาชีพมากขึ้น (โลกวันนี้)
3. แนวโน้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยในไตรมาส 2 ปี47 คาดว่าจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ประธาน
สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยไตรมาส 2 ปี 47 ว่า จะขยายตัวอย่างต่อ
เนื่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 จากยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบ 2 แสนล้านบาทในปี 46 และจากตัวเลขบ้านใน
ระบบ 50,000 หน่วย ซึ่งนับว่าเป็นยอดสินเชื่อที่สูงเมื่อเทียบกับวงเงินสินเชื่อในปี 39-40 ที่มีจำนวน 2.4
แสนล้านบาท จากตัวเลขบ้านในระบบ 1.7 แสนหน่วย เนื่องจากสถาบันการเงินแต่ละแห่งยังมีสภาพคล่องคง
เหลือพอที่จะระบายสู่ตลาด นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยในตลาดยังอยู่ระดับต่ำ จึงเป็นภาวะที่สถาบันการเงินยัง
ให้ความสำคัญที่จะปล่อยกู้กับธุรกิจกลุ่มนี้อยู่ (ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเห็นชอบให้แต่งตั้ง บ. Barclays Capital จากอังกฤษเป็นผู้จัดการจำหน่ายตราสาร
หนี้ FRN ผู้อำนวยการสำนักเงินกู้ตลาดทุนต่างประเทศ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในฐานะรอง
โฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า รมว.คลังเห็นชอบให้แต่งตั้งบริษัท Barclays Capital จากประเทศอังกฤษ
เป็นผู้จัดการในการจำหน่ายตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Notes : FRN) ของ ก.
คลัง วงเงิน 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ระยะเวลาการไถ่ถอน 3 ปี โดยมีเงื่อนไขสามารถชำระคืนได้
ก่อนกำหนดนับตั้งแต่สิ้นปีแรก ซึ่งการเลือกผู้จัดจำหน่ายมีผู้เสนอชื่อเข้ามา 19 ราย สำหรับการกู้เงินในครั้งนี้
เป็นการกู้เงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดเท่าที่ ก.คลังเคยกู้จากต่างประเทศ เพื่อนำไปชำระคืนเงินกู้ธนาคาร
เพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) 80 ล้านดอลลาร์ สรอ. และธนาคารโลก (IBRD) 920 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ในเดือน พ.ค.47 ก่อนครบกำหนดการชำระ ซึ่งไทยกู้เงินดังกล่าวมาปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการ
เงินครั้งที่ 2 และปรับโครงสร้างภาคราชการในช่วงปี 47 โดยเงินส่วนเหลือจะใช้ชำระคืนเงินกู้ ADB จำนวน
3 สัญญา และเป็นเงินกู้ที่ใช้ในการปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปี 43 (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราคนว่างงานของ สรอ. ลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 8
เม.ย.47 ก.แรงงานของ สรอ. เปิดเผยว่า นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี ที่จำนวนชาวอเมริกันที่ว่าง
งานและขอรับความช่วยเหลือเงินประกันคนว่างงานของรัฐลดลงมากถึง 14,000 คน ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3
เม.ย.47 มาอยู่ที่ระดับ 328,000 คน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ประธานาธิบดี จอร์จ บุช เข้ารับตำแหน่ง
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะจ้างงานเพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนต่อจากนี้ ซึ่งอัตราการ
ว่างงานที่ลดลงอย่างมากเกินคาด ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนเริ่มเห็นแนวโน้มการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นต่อจากนี้ไป
(รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือนก.พ. 47 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11.1
รายงานจาก กัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 47 สำนักงานสถิติของมาเลเซียเปิดเผยว่าใน
เดือนก.พ. 47 ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 11.1 โดยได้รับแรงสนับสนุนอย่างมาก
จากภาคการผลิตที่มีความต้องการจากทั่วโลกในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จองมาเลเซียส่งผลให้ manufacturing
index ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของผลผลิตอุตสาหกรรม และ 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
(GDP) ของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ดังนั้นตัวเลขการส่งออกของมาเลเซียใน
เดือนก.พ. จึงขยายตัวถึงร้อยละ 16.7 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 32 เป็นการเพิ่มขึ้น
ของการส่งออกไปจีน นักวิเคราะห์เห็นว่าการขยายตัวของการส่งออกจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ของมาเลเซียในไตรมาสแรกปี 47 โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 7 — 7.5 ขณะที่ ธ.
กลางมาเลเซียคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 6.0 — 6.5 จากร้อยละ 5.2 เมื่อปี 46 (รอยเตอร์)
3. เกาหลีใต้เพิ่มเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 47 เป็น 6.0% รายงานจากกรุงโซล
เมื่อวันที่ 8 เม.ย.47 ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 47 จาก 5.2% เป็น
6.0% เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวด้านการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึง 39% ในไตรมาสแรกของปี 47 จากปี 46
แต่ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน คือ 3.75% เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศ
ยังคงอ่อนแออยู่ ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจของเดือน มี.ค.47 แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีภาพลบต่อการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจมากขึ้น จึงเป็นเครื่องขัดขวางความหวังที่จะเห็นการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศใน
ระยะเวลาอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะไม่สูงเกินกว่า 3.0% ทั้งนี้ คาดว่าในไตร
มาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 5.0% จากปี 46 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของจีนในเดือนมี.ค. 47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 จากปีก่อน รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 47 สำนักงานสถิติของจีนเปิดเผยว่า ในเดือนมี.ค. ผลผลิตโรงงานของจีนเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 19.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และคาดว่าจะยังคงขยาย
ตัวอย่างมากจนถึงช่วงครึ่งหลังปี 47 จากนั้นจะชะลอตัวลง เนื่องจากมาตรการลดความร้อนแรงในการลงทุน
ของรัฐบาลจีน อย่างไรก็ตามการขยายตัวอย่างมากดังกล่าวประกอบกับการเพิ่มขึ้นของอุปทานเงิน และการลง
ทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวถึงร้อยละ 9.9 ในปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9/4/47 8/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.1 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.8952/39.1778 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1000 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 691.69/24.84 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,750/7,850 7,750/7,850 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.92 31.42 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ดัชนีความเชื่อมั่นในเดือน มี.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 103.0 ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์
เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มี.ค.47 อยู่ที่ระดับ
103.0 ลดลงจากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 105.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำอยู่ที่ 96.9
ลดลงจาก 98.4 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 116.8 ลดลงจาก 118.6 ในเดือน
ก.พ.47 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อ
ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 98.1 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 100.6 โดยผู้บริโภคเห็นว่าภาวะ
เศรษฐกิจอยู่ในระดับดีร้อยละ 22.5 ปานกลางร้อยละ 55.6 และเลวลงร้อยละ 21.9 ซึ่งเป็นการลดลงของ
ดัชนีต่ำกว่า 100 เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวภาวะเศรษฐกิจเฉลี่ยเป็นรายไตร
มาสพบว่า ไตรมาส 1 ปี 47 ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมดัชนีอยู่ที่ 105.2 ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันดัชนีอยู่ที่ 100.4
และภาวะเศรษฐกิจอนาคตดัชนีอยู่ที่ 110.1 ซึ่งทั้ง 3 รายการของดัชนีลดลงเมื่อเทียบกับดัชนีเฉลี่ยของไตรมาส
4 ปี 46 แสดงให้เห็นถึงสัญญาณดัชนีความเชื่อมั่นที่มีโอกาสปรับตัวลดลงได้ในอนาคตและชี้ให้เห็นถึงการที่ผู้
บริโภคขาดความเชื่อมั่นในสถานการณ์ปัจจุบัน (ไทยรัฐ, บ้านเมือง, กรุงเทพธุรกิจ)
2. โครงการพักชำระหนี้เกษตรกรส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 นรม.เปิดเผย
ภายหลังจากเป็นประธานปิดโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยว่า โครงการดังกล่าว
ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.44 และสิ้นสุดโครงการเมื่อ 31 มี.ค.47 นั้น พบว่ารายได้ของ
เกษตรกรก่อนเข้าโครงการเฉลี่ย 68,560 บาทต่อราย เพิ่มขึ้นเป็น 116,600 บาทต่อรายหลังปิดโครงการ
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 ส่วนตัวเลขการออมเงินของลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) ก่อนเข้าโครงการเฉลี่ยอยู่ที่ 1,337 บาทต่อราย แต่เมื่อเข้าโครงการมีเงินออมเพิ่มขึ้นเป็น
5,647 บาทต่อราย หรือเฉลี่ยเพิ่มขึ้นรายละ 3,910 บาท ทั้งนี้ การที่เกษตรกรมีรายได้และเงินออมเฉลี่ย
เพิ่มขึ้น เนื่องจากโครงการดังกล่าวช่วยลดภาระในเรื่องดอกเบี้ย ทำให้เกษตรกรมีกำลังเงินเพียงพอในการ
ประกอบอาชีพมากขึ้น (โลกวันนี้)
3. แนวโน้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยในไตรมาส 2 ปี47 คาดว่าจะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ประธาน
สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เปิดเผยถึงแนวโน้มตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยไตรมาส 2 ปี 47 ว่า จะขยายตัวอย่างต่อ
เนื่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 จากยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบ 2 แสนล้านบาทในปี 46 และจากตัวเลขบ้านใน
ระบบ 50,000 หน่วย ซึ่งนับว่าเป็นยอดสินเชื่อที่สูงเมื่อเทียบกับวงเงินสินเชื่อในปี 39-40 ที่มีจำนวน 2.4
แสนล้านบาท จากตัวเลขบ้านในระบบ 1.7 แสนหน่วย เนื่องจากสถาบันการเงินแต่ละแห่งยังมีสภาพคล่องคง
เหลือพอที่จะระบายสู่ตลาด นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยในตลาดยังอยู่ระดับต่ำ จึงเป็นภาวะที่สถาบันการเงินยัง
ให้ความสำคัญที่จะปล่อยกู้กับธุรกิจกลุ่มนี้อยู่ (ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเห็นชอบให้แต่งตั้ง บ. Barclays Capital จากอังกฤษเป็นผู้จัดการจำหน่ายตราสาร
หนี้ FRN ผู้อำนวยการสำนักเงินกู้ตลาดทุนต่างประเทศ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในฐานะรอง
โฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า รมว.คลังเห็นชอบให้แต่งตั้งบริษัท Barclays Capital จากประเทศอังกฤษ
เป็นผู้จัดการในการจำหน่ายตราสารหนี้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate Notes : FRN) ของ ก.
คลัง วงเงิน 1,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. ระยะเวลาการไถ่ถอน 3 ปี โดยมีเงื่อนไขสามารถชำระคืนได้
ก่อนกำหนดนับตั้งแต่สิ้นปีแรก ซึ่งการเลือกผู้จัดจำหน่ายมีผู้เสนอชื่อเข้ามา 19 ราย สำหรับการกู้เงินในครั้งนี้
เป็นการกู้เงินที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดเท่าที่ ก.คลังเคยกู้จากต่างประเทศ เพื่อนำไปชำระคืนเงินกู้ธนาคาร
เพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) 80 ล้านดอลลาร์ สรอ. และธนาคารโลก (IBRD) 920 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ในเดือน พ.ค.47 ก่อนครบกำหนดการชำระ ซึ่งไทยกู้เงินดังกล่าวมาปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการ
เงินครั้งที่ 2 และปรับโครงสร้างภาคราชการในช่วงปี 47 โดยเงินส่วนเหลือจะใช้ชำระคืนเงินกู้ ADB จำนวน
3 สัญญา และเป็นเงินกู้ที่ใช้ในการปรับโครงสร้างสถาบันการเงินเฉพาะกิจในปี 43 (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราคนว่างงานของ สรอ. ลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 8
เม.ย.47 ก.แรงงานของ สรอ. เปิดเผยว่า นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี ที่จำนวนชาวอเมริกันที่ว่าง
งานและขอรับความช่วยเหลือเงินประกันคนว่างงานของรัฐลดลงมากถึง 14,000 คน ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3
เม.ย.47 มาอยู่ที่ระดับ 328,000 คน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ประธานาธิบดี จอร์จ บุช เข้ารับตำแหน่ง
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าภาคเอกชนมีแนวโน้มที่จะจ้างงานเพิ่มขึ้นในช่วงหลายเดือนต่อจากนี้ ซึ่งอัตราการ
ว่างงานที่ลดลงอย่างมากเกินคาด ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนเริ่มเห็นแนวโน้มการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นต่อจากนี้ไป
(รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือนก.พ. 47 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11.1
รายงานจาก กัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 47 สำนักงานสถิติของมาเลเซียเปิดเผยว่าใน
เดือนก.พ. 47 ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 11.1 โดยได้รับแรงสนับสนุนอย่างมาก
จากภาคการผลิตที่มีความต้องการจากทั่วโลกในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จองมาเลเซียส่งผลให้ manufacturing
index ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่า 2 ใน 3 ของผลผลิตอุตสาหกรรม และ 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
(GDP) ของมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ดังนั้นตัวเลขการส่งออกของมาเลเซียใน
เดือนก.พ. จึงขยายตัวถึงร้อยละ 16.7 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 32 เป็นการเพิ่มขึ้น
ของการส่งออกไปจีน นักวิเคราะห์เห็นว่าการขยายตัวของการส่งออกจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ของมาเลเซียในไตรมาสแรกปี 47 โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 7 — 7.5 ขณะที่ ธ.
กลางมาเลเซียคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวระหว่างร้อยละ 6.0 — 6.5 จากร้อยละ 5.2 เมื่อปี 46 (รอยเตอร์)
3. เกาหลีใต้เพิ่มเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 47 เป็น 6.0% รายงานจากกรุงโซล
เมื่อวันที่ 8 เม.ย.47 ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 47 จาก 5.2% เป็น
6.0% เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวด้านการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึง 39% ในไตรมาสแรกของปี 47 จากปี 46
แต่ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน คือ 3.75% เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศ
ยังคงอ่อนแออยู่ ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจของเดือน มี.ค.47 แสดงให้เห็นว่าประชาชนมีภาพลบต่อการฟื้นตัว
ทางเศรษฐกิจมากขึ้น จึงเป็นเครื่องขัดขวางความหวังที่จะเห็นการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศใน
ระยะเวลาอันใกล้นี้ อย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคจะไม่สูงเกินกว่า 3.0% ทั้งนี้ คาดว่าในไตร
มาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 5.0% จากปี 46 (รอยเตอร์)
4. ผลผลิตโรงงานของจีนในเดือนมี.ค. 47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.4 จากปีก่อน รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 47 สำนักงานสถิติของจีนเปิดเผยว่า ในเดือนมี.ค. ผลผลิตโรงงานของจีนเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 19.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และคาดว่าจะยังคงขยาย
ตัวอย่างมากจนถึงช่วงครึ่งหลังปี 47 จากนั้นจะชะลอตัวลง เนื่องจากมาตรการลดความร้อนแรงในการลงทุน
ของรัฐบาลจีน อย่างไรก็ตามการขยายตัวอย่างมากดังกล่าวประกอบกับการเพิ่มขึ้นของอุปทานเงิน และการลง
ทุนในสินทรัพย์ถาวรของจีนจะส่งผลให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวถึงร้อยละ 9.9 ในปีนี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9/4/47 8/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.1 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.8952/39.1778 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1000 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 691.69/24.84 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,750/7,850 7,750/7,850 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.92 31.42 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-