แท็ก
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังวางกลยุทธ์และนโยบายการดำเนินงานของสถาบันการเงินของรัฐ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รมว.ก.คลัง เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 16 เม.ย. เป็นต้นไป จะตรวจเยี่ยม ธ.เฉพาะกิจของรัฐ และ
ธ.พาณิชย์ในสังกัด ก.คลัง เพื่อให้นโยบายการดำเนินงานและการวางกลยุทธ์ของสถาบันการเงินของรัฐแต่ละ
แห่งให้มีความชัดเจนสอดคล้องกันและลดความซ้ำซ้อน เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและเป็นส่วนสำคัญใน
การฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ยั่งยืน โดย ธกส. ต้องทำหน้าที่พี่เลี้ยงและพัฒนาให้แก่เกษตรกรหลังจากที่รัฐบาลได้ปรับ
โครงสร้างหนี้ภาคประชาชนไปแล้ว เพื่อให้คนเหล่านี้มีโอกาสหารายได้เพิ่มขึ้น ส่วน ธ.ออมสินต้องเร่งปล่อย
สินเชื่อให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนในเมืองมากที่สุด ไม่ใช่เน้นปริมาณอย่างเดียวเพื่อลดความ
เดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดย ธ.ออมสินต้องมี 4 บทบาทหลัก คือ การให้บริการ สนับสนุนสินเชื่อการศึกษา
ของประชาชน การพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ การดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่วน ธ.อาคาร
สงเคราะห์ ต้องมีบทบาทในเรื่องสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ส่วน ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าต้องการให้
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้น รวมถึงการจัดตั้งบริษัทการค้าหรือเทรดดิ้งคอมพานี เพื่อสนับสนุน
บริษัทนำเข้าและส่งออก ที่สำคัญต้องมีบทบาทในผลที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการค้าแบบทวิภาคีหรือเอฟทีเอ
ในขณะที่ ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องเน้นปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อ
เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน (ไทยรัฐ)
2. ธปท.เผยตามหลักการบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี และสุขุมวิทควบรวมกิจการได้
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ตามหลักการแล้ว บริษัท
บริหารสินทรัพย์เพชรบุรี และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท สามารถดำเนินการควบรวมกิจการด้วยกันได้ แต่ขึ้น
อยู่กับการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานอย่างเป็นทางการ แต่แนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี
เพราะจะเป็นการลดต้นทุนในการดำเนินงานลง สำหรับการเตรียมความพร้อมในการรองรับการเปิดเสรี
ทางการเงิน (FTA) ธปท. ได้ดำเนินการคืบหน้าไปมากแล้ว โดยเฉพาะการออกแผนแม่บทพัฒนาระบบ
สถาบันการเงิน (Financial Master Plan) เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการเงิน โดยให้สถาบันการเงิน
ปรับตัวเพื่อให้มีความพร้อมสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ ขณะนี้รอเพียงการพิจารณาเพื่อประกาศใช้ร่าง พรบ.
ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน และร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝาก ซึ่ง ธปท. ต้องการให้ประกาศใช้โดยเร็ว
เพื่อให้สามารถใช้ควบคู่กับมาสเตอร์แพลนการเงินที่ออกไปก่อนล่วงหน้าแล้ว โดยในส่วนของ พรบ.ประกอบ
ธุรกิจการเงินนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสภาว่าจะเลือกร่าง พรบ.ฉบับไหน ระหว่างของวุฒิสภา และ
ร่างของกรรมาธิการร่วมที่ได้ผ่านการพิจารณาของสมาชิกวุฒิสภาไปเรียบร้อยแล้ว (ผู้จัดการ)
3. ยอดเช็คเด้งเดือน ก.พ.47 กทม. ลดลง 0.5% ตจว.ลดลง 33% รายงานจาก ธปท.
เปิดเผยถึงปริมาณเช็คในช่วงเดือน ก.พ.47 ว่า การใช้จ่ายผ่านเช็คใน กทม. และปริมณฑลที่เรียกเก็บผ่าน
ศูนย์หักบัญชีอิเล็กทรอนิคส์ มีจำนวน 4.88 ล้านล้านรายการ คิดเป็นมูลค่า 1.7 ล้านล้านบาท ในขณะที่ปริมาณ
เช็คเด้งลดลง 0.5% เหลือเพียง 6.6 หมื่นรายการ เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็น 6.23 พัน
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.7% ส่วนปริมาณเช็คที่เรียกเก็บใน กทม.และปริมณฑล โดยแยกตามช่วงมูลค่า 10 ล้าน
บาท มีปริมาณ 4.86 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 99.6% มูลค่า 7.16 แสนล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 42.17% เช็คมูลค่า 10-50 ล้านบาท ปริมาณ 1.77 หมื่นรายการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.4%
มูลค่า 3.52 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 20.7% เช็คมูลค่า 50-100 ล้านบาท มีปริมาณ 2.35 พัน
รายการ ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน มูลค่า 1.57 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.2% และเช็ค 100 ล้านบาทขึ้นไป
มีปริมาณ 1.77 พันรายการ ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน มูลค่า 4.77 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 28%
รวมปริมาณเช็คทุกประเภท 4.88 ล้านรายการ มูลค่า 1.704 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ปริมาณและมูลค่า
เช็คเด้งในเขตภูมิภาคที่เรียกเก็บผ่านสำนักหักบัญชีจังหวัด มีเช็คเด้งปริมาณ 1.7 หมื่นรายการ ลดลงจากปี
ก่อนถึง 49.1% มูลค่า 1.25 พันล้านบาท มีเช็คคืนรวมทั้งสิ้น 2.94 พันรายการ มูลค่า 2.96 พันล้านบาท มี
ปริมาณเช็คเรียกเก็บ 1.23 ล้านล้านรายการ มีมูลค่า 1.63 แสนล้านบาท ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียก
เก็บข้ามเขตสำนักบัญชีที่เรียกเก็บผ่านระบบงานของ ธปท. ณ เดือน ก.พ.47 มีเช็คเรียกเก็บข้ามเขตปริมาณ
4.82 แสนรายการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 572 รายการ มูลค่า 1.97 หมื่นล้านบาท มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 540
บ้านบาท มียอดเช็คคืนข้ามเขตปริมาณ 2.07 หมื่นรายการ มูลค่า 974 ล้านบาท มีเช็คเด้งข้ามเขต 1.52
หมื่นรายการ มูลค่า 716 ล้านบาท อนึ่ง จากปริมาณและมูลค่าเช็คที่ลดลงแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมี
ความเข้มแข็งขึ้น มีปริมาณเช็คหมุนเวียนเพิ่มขึ้น เกิดการค้าขาย การส่งออก และการแลกเปลี่ยนสินค้าเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง (โพสต์ทูเดย์)
4. ธ.กสิกรไทยขอยกเลิกสัญญาเปิดสาขาในถิ่นทุรกันดาร นายปิติ ตัณฑเกษม ผู้อำนวยการฝ่าย
บริหารการขายทางสาขา ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้ส่งหนังสือถึง ธปท. เพื่อขอให้ยกเลิกการเปิด
สาขาในถิ่นทุรกันดารที่กำหนดให้ ธ.พาณิชย์ทั้ง 13 แห่ง ต้องเปิดสาขาในอำเภอที่ไม่มีสาขาธนาคารเปิดอยู่
ซึ่งเป็นถิ่นทุรกันดาร จำนวน 21 แห่งทั่วประเทศให้เสร็จภายในปี 2547 เนื่องจากตามแผนแม่บทพัฒนาระบบ
สถาบันการเงินที่ออกใหม่นั้นได้ระบุว่า ให้ ธ.พาณิชย์สามารถเปิดสาขาโดยเสรีทั้งใน กทม.และ ตจว. พร้อม
ทั้งมีการยกเลิกหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ ธ.พาณิชย์ที่ต้องการเปิดสาขาในพื้นที่ที่มี ธ.พาณิชย์หนาแน่น ต้องกระจาย
การเปิดสาขาการไปยังอำเภอรอบนอกด้วย อีกทั้งแผนแม่บทดังกล่าวยังได้กำหนดให้มีธนาคาร 2 รูปแบบ คือ
ธนาคารที่ให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ และธนาคารเพื่อรายย่อย ที่ให้บริการแก่ประชาชนในชนบทที่ยังไม่ได้รับ
บริการทางการเงินแต่อย่างใด ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องมีบริการทางการเงินครบถ้วนเหมือนธนาคารที่ให้
บริการเต็มรูปแบบ เมื่อเป็นเช่นนั้นทางการก็ควรที่จะยกเลิกเกณฑ์เดิมที่กำหนดไว้ด้วย อนึ่ง ก่อนหน้านี้
ธปท. มีเงื่อนไขว่า หาก ธ.พาณิชย์ต้องการเปิดสาขาในพื้นที่ที่มีธนาคารเปิดหนาแน่น จะต้องไปเปิดสาขาใน
ถิ่นทุรกันดาร 1 แห่ง เพื่อเป็นการกระจายความเจริญไปในต่างจังหวัด แต่เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้มีการขอ
ชะลอเปิดสาขาออกไปก่อน แต่ในปี 2546 ธปท. เห็นว่าเศรษฐกิจดีขึ้นมากแล้ว จึงได้ส่งหนังสือขอความร่วม
มือให้เปิดสาขาในถิ่นทุรกันดาร 21 แห่ง จากปัจจุบันมีอำเภอที่ไม่มีธนาคารตั้งอยู่ 159 อำเภอ (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 เทียบต่อปี รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 12 เม.ย.47 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.47 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด จำนวน
2.157 ล้านล้านเยน (20.30 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 เมื่อเทียบต่อปี และสูงกว่า
ที่นักวิเคราะห์รอยเตอร์ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุล 2 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ ตัวเลขการเกินดุลบัญชี
เดินสะพัดของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.47 นั้นมากเป็น 2 เท่าของการเกินดุลในเดือนก่อนหน้าที่มีจำนวน 1.054
ล้านล้านเยน นอกจากนี้ ภาวะการส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เทียบต่อปี ขณะที่
นำเข้าลดลงร้อยละ 0.9 ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าจำนวน 1.546 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.1
ทั้งนี้ ภาวะการส่งออกที่แข็งแกร่งเป็นพลังขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวมากที่สุดในรอบทศวรรษกว่าที่
ผ่านมา โดยเฉพาะการส่งสินค้าออกไปยังประเทศจีนที่เป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดกำไรและการลงทุนในภาค
ธุรกิจฟื้นตัวมากขึ้นอย่างไรก็ตาม เมื่อสัปดาห์ก่อน มีรายงานจาก ธ.กลางของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เงินให้กู้ยืมของ
ธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.47 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 39 แม้ว่าจะมีอัตราการลดลงที่ชะลอตัวก็
ตาม ทั้งนี้ เงินให้กู้ยืมของธนาคารหลัก 4 ประเภท ในเดือน มี.ค.47 ซึ่งรวมถึง shinkin banks
(สหกรณ์ออมทรัพย์)ลดลงร้อยละ 4.3 เทียบต่อปี จากที่ลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเดือนก่อน (รอยเตอร์)
2. จีนขาดดุลการค้าในเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ
12 เม.ย.47 The People’s Daily newspaper เปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค.47 จีนขาดดุลการค้าจำนวน
540 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเมื่อเดือน มี.ค.46
จีนขาดดุลการค้าจำนวน 500 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนมูลค่าการนำเข้าและส่งออกของจีนในเดือน มี.ค.47
มีจำนวน 92.24 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 42.8 ซึ่งสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่
ในไตรมาสแรกของปี 47 จีนมีมูลค่าส่งออกและนำเข้ารวมทั้งสิ้น 115.7 และ 124.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.1 และ 42.3 เมื่อเทียบต่อปี ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้จะขยายตัวต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนี้ รายงานจากโซล เมื่อ 9
เม.ย.47 รมต.คลังของเกาหลีใต้คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้จะขยายตัวต่อเนื่องต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้ อัน
เป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกไปยังประเทศจีน สรอ. และญี่ปุ่นซึ่งรวมกันแล้วมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40
ของยอดส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้ โดยยอดส่งออกไปยังจีนขยายตัวถึงร้อยละ 50 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
และตั้งแต่ปีที่แล้วการส่งออกเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในขณะที่การบริโภคใน
ประเทศยังคงชะลอตัวโดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาระในการผ่อนชำระหนี้ของผู้บริโภคที่เกิดจากการใช้บัตร
เครดิตก่อนหน้านี้ โดยในเดือน มี.ค.47 ยอดขายของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ทั้งประเทศลดลงร้อยละ 11
จากปีก่อน ลดลงมากที่สุดในรอบ 5 เดือน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่มีหิมะตกหนักและยอดขาย
ของสินค้าที่เกี่ยวกับการแต่งงานลดลงตามฤดูกาล ผลสำรวจความเห็นของธุรกิจจำนวน 2,900 แห่งโดย ธ.
กลางเกาหลีใต้ชี้ว่าธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในอนาคตจากการชะลอตัวของการบริโภค
ในประเทศอันเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางการเมืองกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีเมื่อเดือนที่แล้วก่อนการ
เลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 15 เม.ย.นี้ (รอยเตอร์)
4. ไตรมาสแรกปี 47 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 11.0 จากไตรมาสก่อน รายงาน
จากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 47 รมว. การค้า และอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ตัวเลขการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาสแรกปี 47 เติบโตร้อยละ 11.0 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
ขยายตัวร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราการขยายตัวดังกล่าวสอดคล้องกับที่ขยายตัวร้อยละ 11.0
ในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เนื่องจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งไปยังสรอ. และยุโรป และคาดว่า
ทั้งปีเศรษฐกิจจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 3.5 — 5.5 จากที่เคยคาดไว้เดิม ทั้งนี้ในไตรมาสแรกปี 47 ภาค
อุตสาหกรรมบริการ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 5.3 14.5 และร้อยละ
0.1 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วตามลำดับ สำหรับภาคการก่อสร้างนั้นนับเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่
ไตรมาสแรกปี 44 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12/4/47 9/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.176 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.9640/39.2511 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 691.39/13.56 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) n.a. 7,750/7,850 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.93 31.92 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังวางกลยุทธ์และนโยบายการดำเนินงานของสถาบันการเงินของรัฐ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รมว.ก.คลัง เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 16 เม.ย. เป็นต้นไป จะตรวจเยี่ยม ธ.เฉพาะกิจของรัฐ และ
ธ.พาณิชย์ในสังกัด ก.คลัง เพื่อให้นโยบายการดำเนินงานและการวางกลยุทธ์ของสถาบันการเงินของรัฐแต่ละ
แห่งให้มีความชัดเจนสอดคล้องกันและลดความซ้ำซ้อน เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและเป็นส่วนสำคัญใน
การฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ยั่งยืน โดย ธกส. ต้องทำหน้าที่พี่เลี้ยงและพัฒนาให้แก่เกษตรกรหลังจากที่รัฐบาลได้ปรับ
โครงสร้างหนี้ภาคประชาชนไปแล้ว เพื่อให้คนเหล่านี้มีโอกาสหารายได้เพิ่มขึ้น ส่วน ธ.ออมสินต้องเร่งปล่อย
สินเชื่อให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนในเมืองมากที่สุด ไม่ใช่เน้นปริมาณอย่างเดียวเพื่อลดความ
เดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดย ธ.ออมสินต้องมี 4 บทบาทหลัก คือ การให้บริการ สนับสนุนสินเชื่อการศึกษา
ของประชาชน การพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ การดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่วน ธ.อาคาร
สงเคราะห์ ต้องมีบทบาทในเรื่องสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ส่วน ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าต้องการให้
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้น รวมถึงการจัดตั้งบริษัทการค้าหรือเทรดดิ้งคอมพานี เพื่อสนับสนุน
บริษัทนำเข้าและส่งออก ที่สำคัญต้องมีบทบาทในผลที่จะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการค้าแบบทวิภาคีหรือเอฟทีเอ
ในขณะที่ ธ.พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องเน้นปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีที่มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อ
เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน (ไทยรัฐ)
2. ธปท.เผยตามหลักการบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี และสุขุมวิทควบรวมกิจการได้
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการสายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ตามหลักการแล้ว บริษัท
บริหารสินทรัพย์เพชรบุรี และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท สามารถดำเนินการควบรวมกิจการด้วยกันได้ แต่ขึ้น
อยู่กับการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานอย่างเป็นทางการ แต่แนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ดี
เพราะจะเป็นการลดต้นทุนในการดำเนินงานลง สำหรับการเตรียมความพร้อมในการรองรับการเปิดเสรี
ทางการเงิน (FTA) ธปท. ได้ดำเนินการคืบหน้าไปมากแล้ว โดยเฉพาะการออกแผนแม่บทพัฒนาระบบ
สถาบันการเงิน (Financial Master Plan) เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการเงิน โดยให้สถาบันการเงิน
ปรับตัวเพื่อให้มีความพร้อมสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ ขณะนี้รอเพียงการพิจารณาเพื่อประกาศใช้ร่าง พรบ.
ประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน และร่าง พรบ.สถาบันประกันเงินฝาก ซึ่ง ธปท. ต้องการให้ประกาศใช้โดยเร็ว
เพื่อให้สามารถใช้ควบคู่กับมาสเตอร์แพลนการเงินที่ออกไปก่อนล่วงหน้าแล้ว โดยในส่วนของ พรบ.ประกอบ
ธุรกิจการเงินนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสภาว่าจะเลือกร่าง พรบ.ฉบับไหน ระหว่างของวุฒิสภา และ
ร่างของกรรมาธิการร่วมที่ได้ผ่านการพิจารณาของสมาชิกวุฒิสภาไปเรียบร้อยแล้ว (ผู้จัดการ)
3. ยอดเช็คเด้งเดือน ก.พ.47 กทม. ลดลง 0.5% ตจว.ลดลง 33% รายงานจาก ธปท.
เปิดเผยถึงปริมาณเช็คในช่วงเดือน ก.พ.47 ว่า การใช้จ่ายผ่านเช็คใน กทม. และปริมณฑลที่เรียกเก็บผ่าน
ศูนย์หักบัญชีอิเล็กทรอนิคส์ มีจำนวน 4.88 ล้านล้านรายการ คิดเป็นมูลค่า 1.7 ล้านล้านบาท ในขณะที่ปริมาณ
เช็คเด้งลดลง 0.5% เหลือเพียง 6.6 หมื่นรายการ เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็น 6.23 พัน
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.7% ส่วนปริมาณเช็คที่เรียกเก็บใน กทม.และปริมณฑล โดยแยกตามช่วงมูลค่า 10 ล้าน
บาท มีปริมาณ 4.86 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 99.6% มูลค่า 7.16 แสนล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 42.17% เช็คมูลค่า 10-50 ล้านบาท ปริมาณ 1.77 หมื่นรายการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.4%
มูลค่า 3.52 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 20.7% เช็คมูลค่า 50-100 ล้านบาท มีปริมาณ 2.35 พัน
รายการ ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน มูลค่า 1.57 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.2% และเช็ค 100 ล้านบาทขึ้นไป
มีปริมาณ 1.77 พันรายการ ไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน มูลค่า 4.77 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 28%
รวมปริมาณเช็คทุกประเภท 4.88 ล้านรายการ มูลค่า 1.704 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ปริมาณและมูลค่า
เช็คเด้งในเขตภูมิภาคที่เรียกเก็บผ่านสำนักหักบัญชีจังหวัด มีเช็คเด้งปริมาณ 1.7 หมื่นรายการ ลดลงจากปี
ก่อนถึง 49.1% มูลค่า 1.25 พันล้านบาท มีเช็คคืนรวมทั้งสิ้น 2.94 พันรายการ มูลค่า 2.96 พันล้านบาท มี
ปริมาณเช็คเรียกเก็บ 1.23 ล้านล้านรายการ มีมูลค่า 1.63 แสนล้านบาท ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าเช็คเรียก
เก็บข้ามเขตสำนักบัญชีที่เรียกเก็บผ่านระบบงานของ ธปท. ณ เดือน ก.พ.47 มีเช็คเรียกเก็บข้ามเขตปริมาณ
4.82 แสนรายการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 572 รายการ มูลค่า 1.97 หมื่นล้านบาท มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 540
บ้านบาท มียอดเช็คคืนข้ามเขตปริมาณ 2.07 หมื่นรายการ มูลค่า 974 ล้านบาท มีเช็คเด้งข้ามเขต 1.52
หมื่นรายการ มูลค่า 716 ล้านบาท อนึ่ง จากปริมาณและมูลค่าเช็คที่ลดลงแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมี
ความเข้มแข็งขึ้น มีปริมาณเช็คหมุนเวียนเพิ่มขึ้น เกิดการค้าขาย การส่งออก และการแลกเปลี่ยนสินค้าเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง (โพสต์ทูเดย์)
4. ธ.กสิกรไทยขอยกเลิกสัญญาเปิดสาขาในถิ่นทุรกันดาร นายปิติ ตัณฑเกษม ผู้อำนวยการฝ่าย
บริหารการขายทางสาขา ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้ส่งหนังสือถึง ธปท. เพื่อขอให้ยกเลิกการเปิด
สาขาในถิ่นทุรกันดารที่กำหนดให้ ธ.พาณิชย์ทั้ง 13 แห่ง ต้องเปิดสาขาในอำเภอที่ไม่มีสาขาธนาคารเปิดอยู่
ซึ่งเป็นถิ่นทุรกันดาร จำนวน 21 แห่งทั่วประเทศให้เสร็จภายในปี 2547 เนื่องจากตามแผนแม่บทพัฒนาระบบ
สถาบันการเงินที่ออกใหม่นั้นได้ระบุว่า ให้ ธ.พาณิชย์สามารถเปิดสาขาโดยเสรีทั้งใน กทม.และ ตจว. พร้อม
ทั้งมีการยกเลิกหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ ธ.พาณิชย์ที่ต้องการเปิดสาขาในพื้นที่ที่มี ธ.พาณิชย์หนาแน่น ต้องกระจาย
การเปิดสาขาการไปยังอำเภอรอบนอกด้วย อีกทั้งแผนแม่บทดังกล่าวยังได้กำหนดให้มีธนาคาร 2 รูปแบบ คือ
ธนาคารที่ให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ และธนาคารเพื่อรายย่อย ที่ให้บริการแก่ประชาชนในชนบทที่ยังไม่ได้รับ
บริการทางการเงินแต่อย่างใด ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องมีบริการทางการเงินครบถ้วนเหมือนธนาคารที่ให้
บริการเต็มรูปแบบ เมื่อเป็นเช่นนั้นทางการก็ควรที่จะยกเลิกเกณฑ์เดิมที่กำหนดไว้ด้วย อนึ่ง ก่อนหน้านี้
ธปท. มีเงื่อนไขว่า หาก ธ.พาณิชย์ต้องการเปิดสาขาในพื้นที่ที่มีธนาคารเปิดหนาแน่น จะต้องไปเปิดสาขาใน
ถิ่นทุรกันดาร 1 แห่ง เพื่อเป็นการกระจายความเจริญไปในต่างจังหวัด แต่เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้มีการขอ
ชะลอเปิดสาขาออกไปก่อน แต่ในปี 2546 ธปท. เห็นว่าเศรษฐกิจดีขึ้นมากแล้ว จึงได้ส่งหนังสือขอความร่วม
มือให้เปิดสาขาในถิ่นทุรกันดาร 21 แห่ง จากปัจจุบันมีอำเภอที่ไม่มีธนาคารตั้งอยู่ 159 อำเภอ (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 เทียบต่อปี รายงานจาก
โตเกียว เมื่อ 12 เม.ย.47 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.47 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด จำนวน
2.157 ล้านล้านเยน (20.30 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 เมื่อเทียบต่อปี และสูงกว่า
ที่นักวิเคราะห์รอยเตอร์ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุล 2 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ ตัวเลขการเกินดุลบัญชี
เดินสะพัดของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.47 นั้นมากเป็น 2 เท่าของการเกินดุลในเดือนก่อนหน้าที่มีจำนวน 1.054
ล้านล้านเยน นอกจากนี้ ภาวะการส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 เทียบต่อปี ขณะที่
นำเข้าลดลงร้อยละ 0.9 ส่งผลให้ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าจำนวน 1.546 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.1
ทั้งนี้ ภาวะการส่งออกที่แข็งแกร่งเป็นพลังขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นขยายตัวมากที่สุดในรอบทศวรรษกว่าที่
ผ่านมา โดยเฉพาะการส่งสินค้าออกไปยังประเทศจีนที่เป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดกำไรและการลงทุนในภาค
ธุรกิจฟื้นตัวมากขึ้นอย่างไรก็ตาม เมื่อสัปดาห์ก่อน มีรายงานจาก ธ.กลางของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เงินให้กู้ยืมของ
ธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นในเดือน มี.ค.47 ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 39 แม้ว่าจะมีอัตราการลดลงที่ชะลอตัวก็
ตาม ทั้งนี้ เงินให้กู้ยืมของธนาคารหลัก 4 ประเภท ในเดือน มี.ค.47 ซึ่งรวมถึง shinkin banks
(สหกรณ์ออมทรัพย์)ลดลงร้อยละ 4.3 เทียบต่อปี จากที่ลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเดือนก่อน (รอยเตอร์)
2. จีนขาดดุลการค้าในเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เทียบต่อปี รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ
12 เม.ย.47 The People’s Daily newspaper เปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค.47 จีนขาดดุลการค้าจำนวน
540 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเมื่อเดือน มี.ค.46
จีนขาดดุลการค้าจำนวน 500 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนมูลค่าการนำเข้าและส่งออกของจีนในเดือน มี.ค.47
มีจำนวน 92.24 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 42.8 ซึ่งสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่
ในไตรมาสแรกของปี 47 จีนมีมูลค่าส่งออกและนำเข้ารวมทั้งสิ้น 115.7 และ 124.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.1 และ 42.3 เมื่อเทียบต่อปี ตามลำดับ (รอยเตอร์)
3. คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้จะขยายตัวต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนี้ รายงานจากโซล เมื่อ 9
เม.ย.47 รมต.คลังของเกาหลีใต้คาดว่าการส่งออกของเกาหลีใต้จะขยายตัวต่อเนื่องต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้ อัน
เป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกไปยังประเทศจีน สรอ. และญี่ปุ่นซึ่งรวมกันแล้วมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40
ของยอดส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้ โดยยอดส่งออกไปยังจีนขยายตัวถึงร้อยละ 50 ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
และตั้งแต่ปีที่แล้วการส่งออกเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในขณะที่การบริโภคใน
ประเทศยังคงชะลอตัวโดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากภาระในการผ่อนชำระหนี้ของผู้บริโภคที่เกิดจากการใช้บัตร
เครดิตก่อนหน้านี้ โดยในเดือน มี.ค.47 ยอดขายของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ทั้งประเทศลดลงร้อยละ 11
จากปีก่อน ลดลงมากที่สุดในรอบ 5 เดือน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่มีหิมะตกหนักและยอดขาย
ของสินค้าที่เกี่ยวกับการแต่งงานลดลงตามฤดูกาล ผลสำรวจความเห็นของธุรกิจจำนวน 2,900 แห่งโดย ธ.
กลางเกาหลีใต้ชี้ว่าธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในอนาคตจากการชะลอตัวของการบริโภค
ในประเทศอันเป็นผลจากความไม่แน่นอนทางการเมืองกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีเมื่อเดือนที่แล้วก่อนการ
เลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 15 เม.ย.นี้ (รอยเตอร์)
4. ไตรมาสแรกปี 47 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 11.0 จากไตรมาสก่อน รายงาน
จากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 47 รมว. การค้า และอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เปิดเผยว่า ตัวเลขการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในไตรมาสแรกปี 47 เติบโตร้อยละ 11.0 เทียบกับไตรมาสที่แล้ว และ
ขยายตัวร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราการขยายตัวดังกล่าวสอดคล้องกับที่ขยายตัวร้อยละ 11.0
ในไตรมาสที่ 4 ปี 46 เนื่องจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่งไปยังสรอ. และยุโรป และคาดว่า
ทั้งปีเศรษฐกิจจะขยายตัวมากกว่าร้อยละ 3.5 — 5.5 จากที่เคยคาดไว้เดิม ทั้งนี้ในไตรมาสแรกปี 47 ภาค
อุตสาหกรรมบริการ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 5.3 14.5 และร้อยละ
0.1 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วตามลำดับ สำหรับภาคการก่อสร้างนั้นนับเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่
ไตรมาสแรกปี 44 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 12/4/47 9/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.176 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.9640/39.2511 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 691.39/13.56 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) n.a. 7,750/7,850 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 31.93 31.92 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-