การส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนในเดือนมีนาคมปี 2547 มีมูลค่า 98.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ ร้อยละ 0.38 คาดว่าเดือนเมษายน 2547 จะมีมูลค่าการส่งออกประมาณ 81.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คาดว่ามกราคม-มีนาคม 2547 มีมูลค่าส่งออก รวม 367.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
การส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไม้ ในเดือนมีนาคมมีมูลค่า 53.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ ร้อยละ 5.19 ซึ่งมีสัดส่วนการ ส่งออกของสินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนทั้งหมดของไทยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.04 คาดว่าเดือนเมษายนจะมีมูลค่าส่งออกประมาณ 45.04ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ภาพรวมการส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน :
การส่งออกเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนในไตรมาสแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนกันของปี 2546 และมีมูลค่า 286.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปยังสหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.43 และ 26.53 อนึ่ง สำหรับตลาดญี่ปุ่น ไทยส่งออกเฟอร์นิเจอร์มูลค่า 84.20 ล้านเหรียญสหรัฐเป็น อันดับ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2546 มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 10.29 จากการสำรวจพบว่าถึงแม้ว่าอัตราการว่างงานของญี่ปุ่นอยู่ในอัตราสูงประมาณ 5 % แต่มูลค่าขายปลีกกระเตื้องขึ้น ครัวเรือนจึงมีแนวโน้มบริโภคมากขึ้น เนื่องจากจีนมีปัญหาเรื่องการส่งมอบของไม่ตรงเวลาจึงน่าจะเป็นโอกาสให้ญี่ปุ่นเริ่มกลับมานำเข้าเฟอร์นิเจอร์ไทยเพื่อตอบสนอง ความต้องการตลาดที่ยังมีอยู่ต่อไป
แม่บ้านญี่ปุ่นต้องการซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ 5 อันดับแรก คือ โซฟา โต๊ะอาหาร กล่องหรือตู้เก็บสัมภาระ เตียงนอน โต๊ะและชั้นสำหรับวางโทรทัศน์และเครื่องเสียงอื่น ตามลำดับ โซฟานิยมวัสดุหนังมากที่สุด รองมาคือ ผ้า ส่วนสีนิยมสีโทนอ่อน เช่นสีเบส น้ำตาลอ่อน ราคาจำหน่ายได้ดีประมาณ 20,000-40,000 เยนต่อชิ้น ส่วนในอิตาลีมักจะนำเข้าวัตถุดิบและจ้างผลิตในประเทศอื่นๆที่มีค่าแรงถูกกว่า โดยนำไปประกอบที่อิตาลีอีกครั้งหนึ่ง เพื่อควบคุมคุณภาพ และรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง สังเกตได้จากอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 83.94 จึงน่าจะเป็นช่องทางให้ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ไทยสามารถเข้าไปในตลาดอิตาลีเพิ่มมากขึ้น
เดือนมีนาคม เฟอร์นิเจอร์ไม้มีอัตราการขยายตัวลดลงซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันตลาดโลก เนื่องจากสิ้นสุดช่วงการส่งของซึ่งเป็นช่วงปลายปี-ก.พ. ส่วนเดือนมี.ค. เป็นช่วงระหว่างการเจรจาที่จะสั่งซื้อ และออกงานแสดงสินค้า เช่น TIFF, IFFS จึงยังไม่มีการสั่งซื้อชัดเจนในช่วงนี้ ส่วนเฟอร์นิเจอร์โลหะ มีอัตราการขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่องถึงร้อยละ 27.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2546 เนื่องจากการขาดแคลนเหล็กใช้ในประเทศ สังเกตได้จากการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.6 ทำให้ราคาเหล็กในประเทศสูง เหล็กรีดเย็นราคาเพิ่มขึ้นจากเดือนก.พ.ร้อยละ 4-5 % เป็น 28-29 บาทต่อกิโลกรัม
เป้าหมายการส่งออกปี 2547 :
มูลค่า 1,166 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปี 2546
ที่มา: http://www.depthai.go.th
-อบ-