นายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ประเทศไทยส่งทหารไปประเทศอิรักว่า เรื่องนี้ฝ่ายค้านเตือนรัฐบาลมาตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะการส่งทหารไทยไปอิรักของรัฐบาลนั้น ไม่ได้ส่งไปเพราะเป็นการร้องขอของสหประชาชาติ และถ้ารัฐบาลส่งไปเพียงเพื่อต้องการรักษาน้ำใจของพันธมิตรอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ควรรอดูภาวะการณ์ในประเทศอิรักก่อน ว่าเป็นภาวะการณ์ที่ควรเข้าไปได้หรือไม่
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในช่วง 1 เดือนต่อจากนี้ รัฐบาลควรประเมินสถานการณ์ได้แล้ว ไม่ควรรอถึงเดือนมิถุนายน เพราะในประเทศอิรักยังคงมีภาวะแห่งสงครามอยู่ และแนวโน้มน่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ทั้งจากสาเหตุที่เหตุการณ์ภายในยังไม่สงบ การต่อต้านรัฐบาลชั่วคราว และการจับตัวประกันซึ่งเป็นคนของประเทศที่ส่งทหารเข้าไปในอิรัก ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการส่งทหารไทยไปอิรักนั้น ทำให้บางประเทศ หรือแม้แต่คนในประเทศไทยบางส่วนเสียความรู้สึก ถ้าประเทศไทยจะขอถอนทหารออกมาตอนนี้ก็คงไม่มีใครตำหนิได้ รัฐบาลไม่ควรประมาท เพราะประเทศไทยอาจจะเป็นเป้าหมายของการก่อการร้ายจากกลุ่มที่ไม่พอใจกับการส่งทหารเข้าไปในอิรักได้
‘ถ้าเวลาผ่านไปสักระยะ ภาวะแห่งการฟื้นฟูไม่ได้เกิดขึ้นจริง ถ้าเราจะถอยออกมาก็คงไม่มีใครตำหนิได้ แค่เมษาเดือนเดียวก็น่าจะพอมองออกแล้ว เพราะภาวะการณ์เช่นนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิด ถ้าดูแนวโน้มความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะๆ มันแรงขึ้น ไม่ได้ลดลง เป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาท เพราะเรื่องเข้าไปฟื้นฟูก็ดี แต่ว่าต้องเข้าไปในภาวะที่ฟื้นฟูได้ ไม่ใช่เข้าไปในภาวะที่ยังมีการยิงกันโครมๆ และก่อให้เกิดความรู้สึกได้ว่าเราจะไปร่วมรบกับเค้าด้วยหรืออย่างไร’ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13/04/47--จบ--
-สส-
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในช่วง 1 เดือนต่อจากนี้ รัฐบาลควรประเมินสถานการณ์ได้แล้ว ไม่ควรรอถึงเดือนมิถุนายน เพราะในประเทศอิรักยังคงมีภาวะแห่งสงครามอยู่ และแนวโน้มน่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ทั้งจากสาเหตุที่เหตุการณ์ภายในยังไม่สงบ การต่อต้านรัฐบาลชั่วคราว และการจับตัวประกันซึ่งเป็นคนของประเทศที่ส่งทหารเข้าไปในอิรัก ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการส่งทหารไทยไปอิรักนั้น ทำให้บางประเทศ หรือแม้แต่คนในประเทศไทยบางส่วนเสียความรู้สึก ถ้าประเทศไทยจะขอถอนทหารออกมาตอนนี้ก็คงไม่มีใครตำหนิได้ รัฐบาลไม่ควรประมาท เพราะประเทศไทยอาจจะเป็นเป้าหมายของการก่อการร้ายจากกลุ่มที่ไม่พอใจกับการส่งทหารเข้าไปในอิรักได้
‘ถ้าเวลาผ่านไปสักระยะ ภาวะแห่งการฟื้นฟูไม่ได้เกิดขึ้นจริง ถ้าเราจะถอยออกมาก็คงไม่มีใครตำหนิได้ แค่เมษาเดือนเดียวก็น่าจะพอมองออกแล้ว เพราะภาวะการณ์เช่นนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิด ถ้าดูแนวโน้มความรุนแรงที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะๆ มันแรงขึ้น ไม่ได้ลดลง เป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาท เพราะเรื่องเข้าไปฟื้นฟูก็ดี แต่ว่าต้องเข้าไปในภาวะที่ฟื้นฟูได้ ไม่ใช่เข้าไปในภาวะที่ยังมีการยิงกันโครมๆ และก่อให้เกิดความรู้สึกได้ว่าเราจะไปร่วมรบกับเค้าด้วยหรืออย่างไร’ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 13/04/47--จบ--
-สส-