นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้เปิดเผยถึงภาวะการส่งออกสิ่งทอและ
เครื่องนุ่งห่มของไทยช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2547 ว่ามีมูลค่าทั้งสิ้น 933.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ
36,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 10.4 โดยแบ่งเป็นการส่งออกสินค้าเครื่อง
นุ่งห่มมูลค่า 491.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสินค้าสิ่งทอ (เส้นด้าย ผ้าผืน และสิ่งทออื่นๆ) มูลค่า 441.8
ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 52.7 และ 47.3 ตามลำดับ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งปีจะเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ประมาณร้อยละ 6 โดยคาดว่าเครื่องนุ่งห่มจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ส่วนเส้นด้ายและผ้าผืนจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10
ตลาดส่งออกหลักของไทยยังคงเป็นตลาดในข้อตกลง โดยในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2547 มีมูลค่า
ส่งออก 487.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 0.8 ตลาดสหรัฐอเมริกามี
มูลค่าส่งออก 284.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.2 ส่วนสหภาพยุโรปมีมูลค่า 184.9 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 สำหรับการส่งออกไปยังตลาดนอกข้อตกลงมีมูลค่ารวม 445.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 โดยตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่นและจีน มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 และ 82.4
ตามลำดับ
ในส่วนของการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายใต้โควตาจากการออกหนังสือรับรองการส่งออก
ของกรมการค้าต่างประเทศในเดือน ม.ค.-มี.ค. 2547 มีมูลค่า 414.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จากระยะเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 0.7 โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และแคนาดา มีมูลค่า
230.7 174.3 และ 9.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 55.6 42.0 และ 2.4 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าสิ่งทอในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2547 มีมูลค่า 374.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิด
เป็นสัดส่วนร้อยละ 40.1 ของมูลค่าการส่งออก โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ร้อยละ 94.1 เป็นสินค้าสิ่งทอเพื่อ
ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต (ผ้าผืน เส้นใย เส้นด้าย) สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.9
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน และฮ่องกง
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่าระเบียบบริหารโควตาสิ่งทอปี 2547 จะยังคง
หลักเกณฑ์การจัดสรรให้ถึงมือผู้ส่งออกอย่างแท้จริง ลดการซื้อขายโควตาที่เป็นภาระต้นทุนการส่งออก ป้องกัน
การแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้าโดยการตรวจสอบเอกสารการส่งออกให้เข้มงวดมากขึ้น ทั้งนี้กรมการค้าต่าง
ประเทศและกรมศุลกากรได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อร่วม
มือกันตรวจสอบการส่งออกและนำเข้าสินค้าแบบวันต่อวันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งจะเริ่มใช้ในเดือนเมษายน
2547 นี้ทำให้การตรวสอบมีความถูกต้องและรวดเร็วก็จะเป็นการป้องกันการแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้าได้ผล
มากยิ่งขึ้น
--กรมการค้าต่างประเทศ เมษายน 2547--
-สส-
เครื่องนุ่งห่มของไทยช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2547 ว่ามีมูลค่าทั้งสิ้น 933.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ
36,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 10.4 โดยแบ่งเป็นการส่งออกสินค้าเครื่อง
นุ่งห่มมูลค่า 491.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสินค้าสิ่งทอ (เส้นด้าย ผ้าผืน และสิ่งทออื่นๆ) มูลค่า 441.8
ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 52.7 และ 47.3 ตามลำดับ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า
การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งปีจะเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ประมาณร้อยละ 6 โดยคาดว่าเครื่องนุ่งห่มจะ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ส่วนเส้นด้ายและผ้าผืนจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10
ตลาดส่งออกหลักของไทยยังคงเป็นตลาดในข้อตกลง โดยในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2547 มีมูลค่า
ส่งออก 487.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 0.8 ตลาดสหรัฐอเมริกามี
มูลค่าส่งออก 284.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.2 ส่วนสหภาพยุโรปมีมูลค่า 184.9 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.5 สำหรับการส่งออกไปยังตลาดนอกข้อตกลงมีมูลค่ารวม 445.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 โดยตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่นและจีน มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 และ 82.4
ตามลำดับ
ในส่วนของการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายใต้โควตาจากการออกหนังสือรับรองการส่งออก
ของกรมการค้าต่างประเทศในเดือน ม.ค.-มี.ค. 2547 มีมูลค่า 414.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จากระยะเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 0.7 โดยการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และแคนาดา มีมูลค่า
230.7 174.3 และ 9.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนร้อยละ 55.6 42.0 และ 2.4 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าสิ่งทอในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2547 มีมูลค่า 374.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิด
เป็นสัดส่วนร้อยละ 40.1 ของมูลค่าการส่งออก โดยสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่ร้อยละ 94.1 เป็นสินค้าสิ่งทอเพื่อ
ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต (ผ้าผืน เส้นใย เส้นด้าย) สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.9
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน และฮ่องกง
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่าระเบียบบริหารโควตาสิ่งทอปี 2547 จะยังคง
หลักเกณฑ์การจัดสรรให้ถึงมือผู้ส่งออกอย่างแท้จริง ลดการซื้อขายโควตาที่เป็นภาระต้นทุนการส่งออก ป้องกัน
การแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้าโดยการตรวจสอบเอกสารการส่งออกให้เข้มงวดมากขึ้น ทั้งนี้กรมการค้าต่าง
ประเทศและกรมศุลกากรได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อร่วม
มือกันตรวจสอบการส่งออกและนำเข้าสินค้าแบบวันต่อวันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งจะเริ่มใช้ในเดือนเมษายน
2547 นี้ทำให้การตรวสอบมีความถูกต้องและรวดเร็วก็จะเป็นการป้องกันการแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้าได้ผล
มากยิ่งขึ้น
--กรมการค้าต่างประเทศ เมษายน 2547--
-สส-