ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ฐานะการคลัง ณ 7 เม.ย.47 รัฐขาดดุลเงินสดรวม 92,440 ล้านบาท ก.คลังสรุปฐานะการคลัง
ปี งปม. 47 ล่าสุดถึงวันที่ 7 เม.ย.47 มีรายรับรวม 527,954.3 ล้านบาท จากประมาณการรายได้รวม 1.028 ล้าน
ล้านบาท ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลมี 595,009 ล้านบาท จากเป้าหมายรายจ่ายรวม 1.033 ล้านล้านบาท ซึ่งมี งปม.จากปี
งปม.อื่นรวมอยู่ด้วย โดยรัฐบาลขาดดุลเงินสดใน งปม. จนถึงวันที่ 7 เม.ย.47 จำนวน 67,054.7 ล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอก
งปม. ขาดดุล 25,385.6 ล้านบาท ส่วนเงินคงคลังจนถึงวันที่ 7 เม.ย.47 มีจำนวน 38,776.2 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนว่ารัฐบาลมี
รายได้จริงน้อยกว่ารายจ่ายจริงที่มีการเบิกจ่ายเพื่อนำเงินใช้ในการลงทุนหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่การเบิกจ่าย งปม. ปี 47
มีการเบิกจ่ายไปแล้ว49.9% ของวงเงิน งปม.รวม 1.08 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลมีเป้าหมายการเบิกจ่าย งปม.ปี 47 ให้ได้ 92%
ของวงเงิน งปม. ส่วน งปม.ปี 48 กำหนดไว้ 1.17 ล้านล้านบาท เป็น งปม.แบบสมดุล เป็นรายจ่ายประจำ 820,335.3 ล้านบาท
ลดลงจากปี งปม. 47 ประมาณ 1.9% คิดเป็น 70.1% ของวงเงิน งปม.รวม รายจ่ายลงทุน 294,840 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.7% คิด
เป็นสัดส่วน 25.2% และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 54,824.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60.5% ขณะที่ในปี 48 นายกรัฐมนตรีได้ตั้งเป้าอัตรา
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไว้ถึง 10% อนึ่ง ในปี 47 นี้จะเป็นปีสุดท้ายที่รัฐบาลจะใช้มาตรการทางการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ
ก่อนที่จะส่งไม้ให้เอกชนรับช่วงต่อ ดังนั้น ในปีนี้รัฐบาลจึงได้เร่งใช้งบประมาณกระตุ้น
เศรษฐกิจด้วยการทำ งปม.ขาดดุลและทำ งปม. เพิ่มเติมกลางปี 47 (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ผลักดันตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชนแทนตลาด อาร์/พีภายในปีนี้ นายสุรศักดิ์ ดุษฎีเมธา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า จากการที่ ธปท. ได้พยายามผลักดันให้เกิดตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชน (Private Repurchase Market)
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชนเริ่มมีการทำธุรกรรมมากขึ้นแล้ว แต่ปริมาณธุรกรรมยังไม่มากนัก
เนื่องจาก ธ.พาณิชย์ยังมีตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันและยังสามารถเข้าไปทำธุรกรรมได้ แต่ขณะนี้ธปท. ต้องการให้
ธ.พาณิชย์หันไปทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชนมากขึ้น ด้วยการจะประกาศยกเลิกตลาดอาร์/พีในปีนี้ เพื่อให้มีตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ภาคเอกชนเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้บทบาทของ ธปท.เปลี่ยนไป จากเดิมที่เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมผ่านตลาดอาร์/พี มาเป็นคู่ค้าแทน
เพื่อให้ ธปท.สามารถดำเนินนโยบายการเงินได้คล่องตัวมากขึ้น ส่วน ธ.พาณิชย์ก็ต้องหันมากู้เงินกันเองโดยการซื้อขายในตลาดซื้อคืนภาคเอกชน
ซึ่ง ธปท. ได้เริ่มทดลองทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนภาคเอกชนกับผู้ซื้อขายรายแรก (primary dealers) ควบคู่กัน โดย primary dealers
จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านสภาพคล่องจาก ธปท. ให้กับสถาบันการเงินต่าง ๆ ในระบบ ทั้งนี้ ธปท. ได้กำหนด primary dealers
ที่จะเป็นตัวกลางในการส่งผ่านนโยบายการเงิน คือ ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย ธ.ซิตี้แบงก์ ธ.ดอยช์แบงก์ ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
ธ.เอเชีย ธ.เอบีเอ็น แอมโร และ ธ.ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ฯ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ไทยติดอันดับ 4 แหล่งลงทุนโลก สหประชาชาติร่วมกับนิตยสาร Corporate Location
เผยผลสำรวจการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญการลงทุน 87 รายทั่วโลก เกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงในต่าง
ประเทศ (Foreign Direct Investment | FDI) พบว่า ที่ปรึกษาด้านการลงทุน 77% คาดว่าสภาพเอ
ฟดีไอทั่วโลกในปี 2547-2548 จะฟื้นตัวดีขึ้นอย่างยั่งยืน และ 81% มองทิศทางในแง่ดีว่าเอฟดีไอจะเติบโตต่อ
เนื่องไปจนถึงช่วงปี 2549-2550 โดยมีเพียง 9% ที่คิดว่าบรรยากาศการลงทุนจะแย่ลง และ 14% เชื่อว่า
สถานการณ์จะไม่เปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก ทั้งนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญร่วมตอบผลสำรวจซึ่งทำงานในบริษัทที่ปรึกษา
สำคัญขององค์กรข้ามชาติต่าง ๆ ยกให้ไทยอยู่ในอันดับ 4 ของรายชื่อประเทศน่าลงทุนของโลกในช่วง 4 ปี
ข้างหน้า รองจาก จีน อินเดีย และสหรัฐ ตามด้วยโปแลนด์ สาธารณรัฐเชก เม็กซิโก มาเลเซีย อังกฤษ
สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นเรื่องเอฟดีไอในเอเชีย-แปซิฟิกว่า จีนและอินเดียติดอันดับ
แหล่งดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติสูงสุดในอนาคตอันใกล้ และไทยตามมาในอันดับ 3 โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่จะไหล
ไปที่ภาคการผลิต ส่งผลให้อุตสาหกรรมรถยนต์ ยานพาหนะขนส่งอื่น ๆ เครื่องจักร เครื่องมือ และเคมีภัณฑ์มี
อนาคตสดใส รองลงมาคือสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทสื่อและสิ่งพิมพ์ ส่วนภาคธุรกิจที่มีศักยภาพดึงดูดเอฟดีไอ
ได้แก่ ธุรกิจบริการ การเงิน บริการธุรกิจ ท่องเที่ยว ขนส่ง บริการคอมพิวเตอร์ ค้าปลีกและค้าส่ง ทั้งนี้ ผู้
เชี่ยวชาญ 88% คาดว่าในระยะสั้นและกลางบรรยากาศการลงทุนในเอเชียจะดีขึ้น และ 12% เชื่อว่า
บรรยากาศจะทรงตัว แต่ไม่มีใครคิดว่าอนาคตการลงทุนในเอเชียจะพลิกผันลงไปสู่ช่วงขาลง โดยผู้เชี่ยวชาญ
คาดว่าเงินลงทุนส่วนใหญ่จะถูกใช้ขยายธุรกิจในต่างประเทศผ่านการควบรวมซื้อกิจการท้องถิ่นและสร้างฐาน
ธุรกิจใหม่ ในสัดส่วน 41% และ 37% ตามลำดับ ส่วนอีก 22% เป็นการขยายธุรกิจผ่านวิธีการอื่น ๆ เช่น
การขอใบอนุญาตประกอบการจากบริษัทแม่ และวิธีร่วมทุนเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ (โพสต์ทูเดย์)
4. บง. 5-6 แห่ง เสนอแผนยกชั้นเป็น ธ.พาณิชย์เต็มรูปแบบ แหล่งข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า
ขณะนี้มี บง. 5-6 แห่ง เสนอขอยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์เต็มรูปแบบและมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 5,000
ล้านบาท คือ บง.เกียรตินาคิน บง.ฟินันซ่า บง.ธนชาติ บง.ทิสโก้ ส่วน บง.สินอุตสาหกรรม และ บง.
สินเอเชีย กำลังหารือกับผู้ร่วมลงทุน โดย ธ.กรุงศรีฯ จะซื้อเงินให้กู้ยืมและตั๋วเงินของ บง.กรุงศรีอยุธยา
แล้วจะคืนใบอนุญาต บง. ซึ่งคงไม่มีปัญหาเพราะธนาคารถือหุ้นอยู่ 75.78% ส่วน บง.เกียรตินาคินกำลัง
จัดทำแผนธุรกิจเสนอต่อ ธปท. ในขณะที่ บง.ทิสโก้อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะดำเนินการควบรวมกับ บง.
ไทยเพิ่มทรัพย์ หรือควบรวมกับ ธ.กสิกรไทย ซึ่งถือหุ้นอยู่ 3% เนื่องจากผู้ถือหุ้นคือ ธ.มิซูโฮ ที่ถือหุ้น 7.6%
และ ดอยซ์แบงก์ 5.2% ต้องการขายหุ้นออกไป ส่วนกลุ่มนายวิชัย ทองแตง ที่จะนำ บ.สยามเจนเนอรัล
แฟคตอริ่ง ไปควบรวมกับ บง.โกลบอลไทย กำลังเจรจากับ บง.สินอุตสาหกรรม ซึ่ง ธ.ไทยพาณิชย์ถือหุ้นอยู่
41.56% กับ บง.สินเอเชียที่ ธ.กรุงเทพถือหุ้นอยู่ (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เงินทุนไหลเข้าสุทธิของ สรอ.ในเดือน ก.พ.47 ลดลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี รายงานจาก
นิวยอร์ค เมื่อ 15 เม.ย.47 ยอดซื้อสุทธิจากต่างประเทศเพื่อซื้อหลักทรัพย์ระยะยาว เช่น พันธบัตร ตั๋วเงิน
และหุ้น ของ สรอ. ในเดือน ก.พ.47 มีจำนวน 83.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือน ม.ค.47 ซึ่ง
มีจำนวน 92.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ยังมีจำนวนสูงกว่า 40.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งเป็นจำนวนเงิน
ทุนไหลเข้าต่ำสุดต่อเดือนเพื่อให้เพียงพอที่จะชดเชยยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของ สรอ. หลังการประกาศตัว
เลขดังกล่าวเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.โดยซื้อขายกันที่ 1.1955 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโร
ก่อนที่จะอ่อนตัวลงมาปิดที่ 1.1930 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโร (รอยเตอร์)
2. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองบ้านระยะเวลา 30 ปีของ สรอ.อยู่ในระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน
ธ.ค.46 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15 เม.ย.47 อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยของเงินกู้จำนองบ้านระยะเวลา 30
ปีของ สรอ.เมื่อสัปดาห์ล่าสุดที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.89 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ5.79
โดยอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์วันที่ 5 ธ.ค.46 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.02 ต่อปี เช่นเดียวกับอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองบ้านระยะเวลา 15 ปี และ 1 ปี ซึ่งอยู่ที่ระดับ 5.23 และ 3.69 ต่อปี ตามลำดับเพิ่ม
ขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.12 และ 3.65 ต่อปี ตามลำดับ อันเป็นผลจากตัวเลขทางเศรษฐกิจ
ในเดือน มี.ค.47 ที่ชี้ไปในทางเดียวกันว่าเศรษฐกิจ สรอ.กำลังขยายตัว ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการจ้างงานใน
ภาคที่ไม่ใช่เกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้น 308,000 ตำแหน่ง ยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.0 ในเดือน ก.พ.47 และดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 สูงสุดนับ
ตั้งแต่เดือน พ.ย.44 ทำให้มีการคาดกันว่า ธ.กลาง สรอ.จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ (รอยเตอร์)
3. การจ้างงานใหม่ของ สรอ. ในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เทียบต่อเดือน รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 15 เม.ย.47 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.47 สรอ.มีการจ้างงาน
ใหม่จำนวน 2.91 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากจำนวน 2.87 ล้านคนในเดือนก่อน เนื่องจากมีการ
จ้างงานเพิ่มขึ้นในภาคการค้า การขนส่ง และระบบสาธารณูปโภค การท่องเที่ยวมากกว่าการจ้างงานที่ลดลง
จากภาคการก่อสร้าง อุตสาหกรรม และภาคการบริการอื่น ๆ ทั้งนี้ การรายงานตัวเลขอัตราการจ้างงานใหม่
ของ ก.แรงงานจะล่าช้ากว่าตัวเลขอื่น ๆ ในตลาดแรงงาน แต่จะเป็นตัวเลขแรกของเดือน ก.พ.47 ที่มีการ
ปรับตามฤดูกาลแล้ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักวิเคราะห์ในการวิเคราะห์หาแนวโน้มการจ้างงาน สำหรับการ
จ้างงานรวมทั้งสิ้นในเดือน ก.พ.47 มีจำนวน 4.06 ล้านคน ลดลงร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อน ส่งผลให้
อัตราการจ้างงานลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.1 จากร้อยละ 3.2 ในเดือน ม.ค.47 ในขณะที่จำนวนการ
ออกจากงาน เช่น การไล่ออก การปลดคนออกจากงาน และการกษียณอายุในเดือน ก.พ.47 มีจำนวนเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.3 อยู่ที่จำนวน 4.02 ล้านคน ทำให้ในเดือนดังกล่าวมีอัตราการออกจากงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1
จากร้อยละ 3.0 ในเดือน ม.ค.47 (รอยเตอร์)
4. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน
รายงานจากโซล เมื่อ 16 เม.ย.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของ
เกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากระดับร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อน (ตัวเลขหลังปรับฤดู
กาล) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีอัตราเพิ่มขึ้นในรอบ 5 เดือน และหากเป็นตัวเลขก่อนปรับฤดูกาลอัตราการว่าง
งานในเดือน มี.ค.47 ลดลงร้อยละ 3.8 จากร้อยละ 3.9 ในเดือนก่อน โดยตลาดแรงงานอยู่ในภาวะที่
อ่อนแอ คือ ตัวเลขการจ้างงานในเดือน มี.ค.47 ลดลงอยู่ที่จำนวน 22.69 ล้านคน จากที่เคยเพิ่มขึ้นสูงสุด
ในรอบ 5 เดือนในเดือน ก.พ.47 ที่ระดับ 22.70 ล้านคน ทั้งนี้ การเพิ่มการจ้างงานเป็นเป้าหมายสูงสุดใน
การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลเกาหลีใต้ ท่ามกลางความกังวลว่าตลาดแรงงานจะทำให้การฟื้นตัว
ของการบริโภคในประเทศล่าช้าออกไปด้วย อย่างไรก็ตาม ภาวะการส่งออกที่เฟื่องฟูของเกาหลีใต้ในขณะนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปยังประเทศจีน ทำให้ ในสัปดาห์ก่อน ธ.กลางเกาหลีใต้เปลี่ยนแปลงประมาณ
การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.0 จากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 5.2 แต่รัฐบาลก็ยังคงมีความกังวลว่า ระหว่างการส่งออกที่เฟื่องฟูและการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัว
สิ่งใดที่จะมีแรงกระตุ้นต่อภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ให้คงความเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ
4 ในภาคพื้นเอเชียมากกว่ากัน ภายใต้ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16/4/47 12/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.173 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.9740/39.2598 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.125 - 1.200 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 701.72/12.38 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 n.a. 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.77 31.93 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ฐานะการคลัง ณ 7 เม.ย.47 รัฐขาดดุลเงินสดรวม 92,440 ล้านบาท ก.คลังสรุปฐานะการคลัง
ปี งปม. 47 ล่าสุดถึงวันที่ 7 เม.ย.47 มีรายรับรวม 527,954.3 ล้านบาท จากประมาณการรายได้รวม 1.028 ล้าน
ล้านบาท ส่วนรายจ่ายของรัฐบาลมี 595,009 ล้านบาท จากเป้าหมายรายจ่ายรวม 1.033 ล้านล้านบาท ซึ่งมี งปม.จากปี
งปม.อื่นรวมอยู่ด้วย โดยรัฐบาลขาดดุลเงินสดใน งปม. จนถึงวันที่ 7 เม.ย.47 จำนวน 67,054.7 ล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอก
งปม. ขาดดุล 25,385.6 ล้านบาท ส่วนเงินคงคลังจนถึงวันที่ 7 เม.ย.47 มีจำนวน 38,776.2 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนว่ารัฐบาลมี
รายได้จริงน้อยกว่ารายจ่ายจริงที่มีการเบิกจ่ายเพื่อนำเงินใช้ในการลงทุนหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่การเบิกจ่าย งปม. ปี 47
มีการเบิกจ่ายไปแล้ว49.9% ของวงเงิน งปม.รวม 1.08 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลมีเป้าหมายการเบิกจ่าย งปม.ปี 47 ให้ได้ 92%
ของวงเงิน งปม. ส่วน งปม.ปี 48 กำหนดไว้ 1.17 ล้านล้านบาท เป็น งปม.แบบสมดุล เป็นรายจ่ายประจำ 820,335.3 ล้านบาท
ลดลงจากปี งปม. 47 ประมาณ 1.9% คิดเป็น 70.1% ของวงเงิน งปม.รวม รายจ่ายลงทุน 294,840 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.7% คิด
เป็นสัดส่วน 25.2% และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 54,824.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60.5% ขณะที่ในปี 48 นายกรัฐมนตรีได้ตั้งเป้าอัตรา
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไว้ถึง 10% อนึ่ง ในปี 47 นี้จะเป็นปีสุดท้ายที่รัฐบาลจะใช้มาตรการทางการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ
ก่อนที่จะส่งไม้ให้เอกชนรับช่วงต่อ ดังนั้น ในปีนี้รัฐบาลจึงได้เร่งใช้งบประมาณกระตุ้น
เศรษฐกิจด้วยการทำ งปม.ขาดดุลและทำ งปม. เพิ่มเติมกลางปี 47 (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. ผลักดันตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชนแทนตลาด อาร์/พีภายในปีนี้ นายสุรศักดิ์ ดุษฎีเมธา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
ธ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า จากการที่ ธปท. ได้พยายามผลักดันให้เกิดตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชน (Private Repurchase Market)
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชนเริ่มมีการทำธุรกรรมมากขึ้นแล้ว แต่ปริมาณธุรกรรมยังไม่มากนัก
เนื่องจาก ธ.พาณิชย์ยังมีตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันและยังสามารถเข้าไปทำธุรกรรมได้ แต่ขณะนี้ธปท. ต้องการให้
ธ.พาณิชย์หันไปทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตรภาคเอกชนมากขึ้น ด้วยการจะประกาศยกเลิกตลาดอาร์/พีในปีนี้ เพื่อให้มีตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ภาคเอกชนเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะทำให้บทบาทของ ธปท.เปลี่ยนไป จากเดิมที่เป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมผ่านตลาดอาร์/พี มาเป็นคู่ค้าแทน
เพื่อให้ ธปท.สามารถดำเนินนโยบายการเงินได้คล่องตัวมากขึ้น ส่วน ธ.พาณิชย์ก็ต้องหันมากู้เงินกันเองโดยการซื้อขายในตลาดซื้อคืนภาคเอกชน
ซึ่ง ธปท. ได้เริ่มทดลองทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนภาคเอกชนกับผู้ซื้อขายรายแรก (primary dealers) ควบคู่กัน โดย primary dealers
จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านสภาพคล่องจาก ธปท. ให้กับสถาบันการเงินต่าง ๆ ในระบบ ทั้งนี้ ธปท. ได้กำหนด primary dealers
ที่จะเป็นตัวกลางในการส่งผ่านนโยบายการเงิน คือ ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย ธ.ซิตี้แบงก์ ธ.ดอยช์แบงก์ ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
ธ.เอเชีย ธ.เอบีเอ็น แอมโร และ ธ.ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ฯ (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ไทยติดอันดับ 4 แหล่งลงทุนโลก สหประชาชาติร่วมกับนิตยสาร Corporate Location
เผยผลสำรวจการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญการลงทุน 87 รายทั่วโลก เกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงในต่าง
ประเทศ (Foreign Direct Investment | FDI) พบว่า ที่ปรึกษาด้านการลงทุน 77% คาดว่าสภาพเอ
ฟดีไอทั่วโลกในปี 2547-2548 จะฟื้นตัวดีขึ้นอย่างยั่งยืน และ 81% มองทิศทางในแง่ดีว่าเอฟดีไอจะเติบโตต่อ
เนื่องไปจนถึงช่วงปี 2549-2550 โดยมีเพียง 9% ที่คิดว่าบรรยากาศการลงทุนจะแย่ลง และ 14% เชื่อว่า
สถานการณ์จะไม่เปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก ทั้งนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญร่วมตอบผลสำรวจซึ่งทำงานในบริษัทที่ปรึกษา
สำคัญขององค์กรข้ามชาติต่าง ๆ ยกให้ไทยอยู่ในอันดับ 4 ของรายชื่อประเทศน่าลงทุนของโลกในช่วง 4 ปี
ข้างหน้า รองจาก จีน อินเดีย และสหรัฐ ตามด้วยโปแลนด์ สาธารณรัฐเชก เม็กซิโก มาเลเซีย อังกฤษ
สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นเรื่องเอฟดีไอในเอเชีย-แปซิฟิกว่า จีนและอินเดียติดอันดับ
แหล่งดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติสูงสุดในอนาคตอันใกล้ และไทยตามมาในอันดับ 3 โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่จะไหล
ไปที่ภาคการผลิต ส่งผลให้อุตสาหกรรมรถยนต์ ยานพาหนะขนส่งอื่น ๆ เครื่องจักร เครื่องมือ และเคมีภัณฑ์มี
อนาคตสดใส รองลงมาคือสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทสื่อและสิ่งพิมพ์ ส่วนภาคธุรกิจที่มีศักยภาพดึงดูดเอฟดีไอ
ได้แก่ ธุรกิจบริการ การเงิน บริการธุรกิจ ท่องเที่ยว ขนส่ง บริการคอมพิวเตอร์ ค้าปลีกและค้าส่ง ทั้งนี้ ผู้
เชี่ยวชาญ 88% คาดว่าในระยะสั้นและกลางบรรยากาศการลงทุนในเอเชียจะดีขึ้น และ 12% เชื่อว่า
บรรยากาศจะทรงตัว แต่ไม่มีใครคิดว่าอนาคตการลงทุนในเอเชียจะพลิกผันลงไปสู่ช่วงขาลง โดยผู้เชี่ยวชาญ
คาดว่าเงินลงทุนส่วนใหญ่จะถูกใช้ขยายธุรกิจในต่างประเทศผ่านการควบรวมซื้อกิจการท้องถิ่นและสร้างฐาน
ธุรกิจใหม่ ในสัดส่วน 41% และ 37% ตามลำดับ ส่วนอีก 22% เป็นการขยายธุรกิจผ่านวิธีการอื่น ๆ เช่น
การขอใบอนุญาตประกอบการจากบริษัทแม่ และวิธีร่วมทุนเป็นหุ้นส่วนเชิงกลยุทธ์ (โพสต์ทูเดย์)
4. บง. 5-6 แห่ง เสนอแผนยกชั้นเป็น ธ.พาณิชย์เต็มรูปแบบ แหล่งข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า
ขณะนี้มี บง. 5-6 แห่ง เสนอขอยกระดับเป็น ธ.พาณิชย์เต็มรูปแบบและมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 5,000
ล้านบาท คือ บง.เกียรตินาคิน บง.ฟินันซ่า บง.ธนชาติ บง.ทิสโก้ ส่วน บง.สินอุตสาหกรรม และ บง.
สินเอเชีย กำลังหารือกับผู้ร่วมลงทุน โดย ธ.กรุงศรีฯ จะซื้อเงินให้กู้ยืมและตั๋วเงินของ บง.กรุงศรีอยุธยา
แล้วจะคืนใบอนุญาต บง. ซึ่งคงไม่มีปัญหาเพราะธนาคารถือหุ้นอยู่ 75.78% ส่วน บง.เกียรตินาคินกำลัง
จัดทำแผนธุรกิจเสนอต่อ ธปท. ในขณะที่ บง.ทิสโก้อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะดำเนินการควบรวมกับ บง.
ไทยเพิ่มทรัพย์ หรือควบรวมกับ ธ.กสิกรไทย ซึ่งถือหุ้นอยู่ 3% เนื่องจากผู้ถือหุ้นคือ ธ.มิซูโฮ ที่ถือหุ้น 7.6%
และ ดอยซ์แบงก์ 5.2% ต้องการขายหุ้นออกไป ส่วนกลุ่มนายวิชัย ทองแตง ที่จะนำ บ.สยามเจนเนอรัล
แฟคตอริ่ง ไปควบรวมกับ บง.โกลบอลไทย กำลังเจรจากับ บง.สินอุตสาหกรรม ซึ่ง ธ.ไทยพาณิชย์ถือหุ้นอยู่
41.56% กับ บง.สินเอเชียที่ ธ.กรุงเทพถือหุ้นอยู่ (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. เงินทุนไหลเข้าสุทธิของ สรอ.ในเดือน ก.พ.47 ลดลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี รายงานจาก
นิวยอร์ค เมื่อ 15 เม.ย.47 ยอดซื้อสุทธิจากต่างประเทศเพื่อซื้อหลักทรัพย์ระยะยาว เช่น พันธบัตร ตั๋วเงิน
และหุ้น ของ สรอ. ในเดือน ก.พ.47 มีจำนวน 83.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือน ม.ค.47 ซึ่ง
มีจำนวน 92.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. แต่ยังมีจำนวนสูงกว่า 40.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งเป็นจำนวนเงิน
ทุนไหลเข้าต่ำสุดต่อเดือนเพื่อให้เพียงพอที่จะชดเชยยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของ สรอ. หลังการประกาศตัว
เลขดังกล่าวเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.โดยซื้อขายกันที่ 1.1955 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโร
ก่อนที่จะอ่อนตัวลงมาปิดที่ 1.1930 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโร (รอยเตอร์)
2. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองบ้านระยะเวลา 30 ปีของ สรอ.อยู่ในระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน
ธ.ค.46 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 15 เม.ย.47 อัตราดอกเบี้ยถัวเฉลี่ยของเงินกู้จำนองบ้านระยะเวลา 30
ปีของ สรอ.เมื่อสัปดาห์ล่าสุดที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.89 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ5.79
โดยอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์วันที่ 5 ธ.ค.46 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.02 ต่อปี เช่นเดียวกับอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองบ้านระยะเวลา 15 ปี และ 1 ปี ซึ่งอยู่ที่ระดับ 5.23 และ 3.69 ต่อปี ตามลำดับเพิ่ม
ขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.12 และ 3.65 ต่อปี ตามลำดับ อันเป็นผลจากตัวเลขทางเศรษฐกิจ
ในเดือน มี.ค.47 ที่ชี้ไปในทางเดียวกันว่าเศรษฐกิจ สรอ.กำลังขยายตัว ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการจ้างงานใน
ภาคที่ไม่ใช่เกษตรกรรมที่เพิ่มขึ้น 308,000 ตำแหน่ง ยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.0 ในเดือน ก.พ.47 และดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 สูงสุดนับ
ตั้งแต่เดือน พ.ย.44 ทำให้มีการคาดกันว่า ธ.กลาง สรอ.จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ (รอยเตอร์)
3. การจ้างงานใหม่ของ สรอ. ในเดือน ก.พ.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เทียบต่อเดือน รายงาน
จากวอชิงตัน เมื่อ 15 เม.ย.47 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ก.พ.47 สรอ.มีการจ้างงาน
ใหม่จำนวน 2.91 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากจำนวน 2.87 ล้านคนในเดือนก่อน เนื่องจากมีการ
จ้างงานเพิ่มขึ้นในภาคการค้า การขนส่ง และระบบสาธารณูปโภค การท่องเที่ยวมากกว่าการจ้างงานที่ลดลง
จากภาคการก่อสร้าง อุตสาหกรรม และภาคการบริการอื่น ๆ ทั้งนี้ การรายงานตัวเลขอัตราการจ้างงานใหม่
ของ ก.แรงงานจะล่าช้ากว่าตัวเลขอื่น ๆ ในตลาดแรงงาน แต่จะเป็นตัวเลขแรกของเดือน ก.พ.47 ที่มีการ
ปรับตามฤดูกาลแล้ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักวิเคราะห์ในการวิเคราะห์หาแนวโน้มการจ้างงาน สำหรับการ
จ้างงานรวมทั้งสิ้นในเดือน ก.พ.47 มีจำนวน 4.06 ล้านคน ลดลงร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อน ส่งผลให้
อัตราการจ้างงานลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.1 จากร้อยละ 3.2 ในเดือน ม.ค.47 ในขณะที่จำนวนการ
ออกจากงาน เช่น การไล่ออก การปลดคนออกจากงาน และการกษียณอายุในเดือน ก.พ.47 มีจำนวนเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.3 อยู่ที่จำนวน 4.02 ล้านคน ทำให้ในเดือนดังกล่าวมีอัตราการออกจากงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1
จากร้อยละ 3.0 ในเดือน ม.ค.47 (รอยเตอร์)
4. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน
รายงานจากโซล เมื่อ 16 เม.ย.47 สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานของ
เกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากระดับร้อยละ 3.3 ในเดือนก่อน (ตัวเลขหลังปรับฤดู
กาล) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีอัตราเพิ่มขึ้นในรอบ 5 เดือน และหากเป็นตัวเลขก่อนปรับฤดูกาลอัตราการว่าง
งานในเดือน มี.ค.47 ลดลงร้อยละ 3.8 จากร้อยละ 3.9 ในเดือนก่อน โดยตลาดแรงงานอยู่ในภาวะที่
อ่อนแอ คือ ตัวเลขการจ้างงานในเดือน มี.ค.47 ลดลงอยู่ที่จำนวน 22.69 ล้านคน จากที่เคยเพิ่มขึ้นสูงสุด
ในรอบ 5 เดือนในเดือน ก.พ.47 ที่ระดับ 22.70 ล้านคน ทั้งนี้ การเพิ่มการจ้างงานเป็นเป้าหมายสูงสุดใน
การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลเกาหลีใต้ ท่ามกลางความกังวลว่าตลาดแรงงานจะทำให้การฟื้นตัว
ของการบริโภคในประเทศล่าช้าออกไปด้วย อย่างไรก็ตาม ภาวะการส่งออกที่เฟื่องฟูของเกาหลีใต้ในขณะนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปยังประเทศจีน ทำให้ ในสัปดาห์ก่อน ธ.กลางเกาหลีใต้เปลี่ยนแปลงประมาณ
การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.0 จากที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ที่ระดับ
ร้อยละ 5.2 แต่รัฐบาลก็ยังคงมีความกังวลว่า ระหว่างการส่งออกที่เฟื่องฟูและการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัว
สิ่งใดที่จะมีแรงกระตุ้นต่อภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ให้คงความเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ
4 ในภาคพื้นเอเชียมากกว่ากัน ภายใต้ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 16/4/47 12/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.173 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.9740/39.2598 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.125 - 1.200 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 701.72/12.38 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,450/7,550 n.a. 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.77 31.93 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-