แท็ก
จัดเก็บรายได้
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวง
การคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำเดือนมีนาคม 2547 และในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547
ซึ่งขยายตัวในอัตราที่สูง พร้อมทั้งสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
1. เดือนมีนาคม 2547 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 103,390 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 15,975
ล้านบาท หรือร้อยละ 18.3 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 18.0) โดยเป็นรายได้สุทธิ 93,137 ล้านบาท สูงกว่าประ
มาณการตามเอกสารงบประมาณ 13,947 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.6 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.7)
การจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูงดังกล่าวข้างต้น เป็นผลมาจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และกรม
สรรพสามิต ได้สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 21.4 และ 18.0 ตามลำดับ นอกจากนี้รัฐวิสาหกิจยังนำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมาย
เนื่องจากบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้นำส่งรายได้ก่อนกำหนด
1.1 ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 27,195 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 5,630 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
26.1 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.0)
- ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ 5,600 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,800 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.4
(สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 41.2)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 8,048 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,122 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
16.2 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.2
1.2 รายได้นำส่งคลังจากรัฐวิสาหกิจจำนวน 9,996 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,508 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 33.5 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 45.9) โดยมีรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ที่สำคัญๆ ดังนี้
- บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 4,500 ล้านบาท
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2,000 ล้านบาท
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 772 ล้านบาท
2. ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - มีนาคม 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 566,953 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจำนวน 108,084 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 23.6 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 83,987 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.4 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้นจำนวน 511,769
ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 99,817 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.2 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 73,076
ล้านบาท หรือร้อยละ 16.7
ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ดังกล่าวข้างต้นเป็นการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมในสังกัดกระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร กรมสรรพ
สามิต และกรมศุลกากร) รวมทั้งสิ้น 494,335 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 76,979 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.4
(สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.1) โดยสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 301,670 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 58,269 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 23.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.5) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีทุกประเภทสูงกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่ง ภาษีเงินได้นิติบุคคล เก็บได้ สูงกว่าประมาณการร้อยละ 31.3 รองลงมาได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เก็บได้
สูงกว่าประมาณการร้อยละ 23.8 และ 14.5 ตามลำดับ
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 140,243 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 22,876 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 19.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.9) โดยจัดเก็บภาษีทุกประเภทได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีรถยนต์
ภาษีเบียร์ ภาษีสุรา และภาษีโทรคมนาคม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 32.1 25.6 22.9 และ 20.2 ตามลำดับ
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 52,422 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,166 ล้านบาท คิดเป็น
ร้อยละ 7.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.5) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้ 50,890 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 4,530
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.2 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.1 ซึ่งเป็นผลจากปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรเป็นหลัก ทำให้อากร
ขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่อง
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 72,618 ล้านบาท (รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่งจำนวน 25,075
ล้านบาท)สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 31,105 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74.9 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.0
ประกอบด้วย
ส่วนราชการอื่นมีรายได้นำส่งคลัง 50,173 ล้านบาท (รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง จำนวน 25,075
ล้านบาท) สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 27,876 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 125.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 101.1)
กรมธนารักษ์นำส่งรายได้ 1,628 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 962 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.1
(ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 39.8)
รัฐวิสาหกิจมีรายได้นำส่งคลัง 20,817 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,191 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
25.2 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.5) โดยมีรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ที่สำคัญๆ ดังนี้
- บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 4,500 ล้านบาท
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 4,332 ล้านบาท
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 4,000 ล้านบาท
3. สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บรายได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูง
3.1 ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจของประเทศ ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ภาวะเศรษฐกิจของประเทศได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน
ถึงแม้จะมีผลกระทบจากปัจจัยลบ เช่น โรคไข้หวัดนก และสถานการณ์ทางภาคใต้ ก็ตาม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศยังคงเติบโตได้
อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตัวชี้วัดต่างๆของประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้นและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประ
เทศ (GDP) ระดับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ อัตราการเติบโตการนำเข้าและส่งออก อัตราการขยายตัวของการบริโภค การผลิต และ
การลงทุน ตลอดจนอัตราการจ้างงาน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มมากขึ้น
3.2 การจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคที่ดีขึ้น สืบเนื่องมาจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบ
ประมาณ 2546 ซึ่งคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตลอดปีงบประมาณ 2547 โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญได้แก่รายได้จาก
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3.2 การจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้ที่ดีขึ้น เนื่องมาจากเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผลประกอบการของนิติบุคคล รวม
ถึงรายได้ของบุคคลธรรมดามีแนวโน้มที่ดีส่งผลให้ภาษีจากฐานรายได้ดีขึ้นเป็นลำดับ
4. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล
จากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2547 ที่สูงกว่าเป้าหมายตามประมาณการทั้งเมื่อรวมผลกระทบจากงบประมาณราย
จ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2547 (135,500 ล้านบาท) และการค้าและการส่งออกกับประเทศคู่ค้าหลักที่มีแนวโน้มดีขึ้นแล้ว คาดว่า
จะทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2547 จะยังคงสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูง
ตารางที่ 1
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือนมีนาคม 2547 1/
หน่วย : ล้านบาท
เทียบปีนี้กับปีที่แล้ว
ที่มาของรายได้ ปีนี้ ปีที่แล้ว จำนวน ร้อยละ งปม.ทั้งปีเท่ากับ จำนวน ร้อยละ
928,100 ล้านบาท
1. กรมสรรพากร 55,408 47,023 8,385 17.8 46,944 8,464 18.0
1.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 17,935 16,466 1,469 8.9 16,600 1,335 8.0
1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล 8,048 7,651 397 5.2 6,926 1,122 16.2
1.3 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม - 71 (71) (100.0) - - -
1.4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม 27,195 21,410 5,785 27.0 21,565 5,630 26.1
1.5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ 1,608 955 653 68.4 1,428 180 12.6
1.6 อากรแสตมป์ 600 452 148 32.7 413 187 45.3
1.7 อื่นๆ 22 18 4 22.2 12 10 83.3
2. กรมสรรพสามิต 24,861 22,309 2,552 11.4 20,479 4,382 21.4
2.1 ภาษีน้ำมันฯ 6,906 6,773 133 2.0 6,409 497 7.8
2.2 ภาษียาสูบ 3,220 3,139 81 2.6 2,930 290 9.9
2.3 ภาษีสุราฯ 2,611 2,514 97 3.9 1,966 645 32.8
2.4 ภาษีเบียร์ 3,828 3,549 279 7.9 3,351 477 14.2
2.5 ภาษีรถยนต์ 5,600 3,966 1,634 41.2 3,800 1,800 47.4
2.6 ภาษีเครื่องดื่ม 1,038 917 121 13.2 730 308 42.2
2.7 ภาษีเครื่องไฟฟ้า 295 219 76 34.7 202 93 46.0
2.8 ภาษีรถจักรยานยนต์ 147 139 8 5.8 129 18 14.0
2.9 ภาษีแบตเตอรี่ 61 47 14 29.8 44 17 38.6
2.10 ภาษีโทรคมนาคม 1,024 945 79 8.4 835 189 22.6
2.11 ภาษีอื่น2/ 84 83 1 1.2 73 11 15.1
2.12 รายได้อื่น 47 18 29 161.1 10 37 370.0
3. กรมศุลกากร 9,113 8,894 219 2.5 9,579 (466) (4.9)
3.1 อากรขาเข้า 8,972 8,820 152 1.7 9,412 (440) (4.7)
3.2 อากรขาออก 27 22 5 22.7 26 1 3.8
3.3 รายได้อื่น 114 52 62 119.2 141 (27) (19.1)
รวมรายได้ 3 กรม 89,382 78,226 11,156 14.3 77,002 12,380 16.1
4. หน่วยงานอื่น 14,008 9,373 4,635 49.5 10,413 3,595 34.5
4.1 ส่วนราชการอื่น 3,7863/ 2,428 1,358 55.9 2,733 1,053 38.5
4.2 กรมธนารักษ์ 2263/ 94 132 140.4 192 34 17.7
4.3 แปรรูปรัฐวิสาหกิจ - - - - - - -
4.4 รัฐวิสาหกิจ 9,996 6,851 3,145 45.9 7,488 2,508 33.5
รวมรายได้จัดเก็บ (Gross) 103,390 87,599 15,791 18.0 87,415 15,975 18.3
หัก
1. คืนภาษีของกรมสรรพากร 8,8193/ 6,518 2,301 35.3 7,091 1,728 24.4
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7,887 5,674 2,213 39.0 6,176 1,711 27.7
- ภาษีอื่นๆ 932 844 88 10.4 915 17 1.9
2. จัดสรรรายได้จาก VAT ให้ อบจ. 542 427 115 26.9 378 164 43.4
3. เงินกันชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก 8923/ 829 63 7.6 756 136 18.0
รวมรายได้สุทธิ (Net) 4/ 93,137 79,825 13,312 16.7 79,190 13,947 17.6
หมายเหตุ
1/ ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 12 เมษายน 2547
2/ ภาษีไพ่ ภาษีแก้วฯ ภาษีเครื่องหอม ภาษีเรือ ภาษีพรม ภาษีสนามม้า ภาษีสนามกอล์ฟ ภาษีสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
ภาษีไนท์คลับและดิสโก้เธค ภาษีสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด
3/ ตัวเลขคาดการณ์
4/ เป็นรายได้สุทธิก่อนการจัดสรรให้อปท.
ที่มา กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร
จัดทำโดย : กลุ่มนโยบายการคลังและงบประมาณ สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 28/2547 19 เมษายน 2547--
-นท-
การคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำเดือนมีนาคม 2547 และในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547
ซึ่งขยายตัวในอัตราที่สูง พร้อมทั้งสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
1. เดือนมีนาคม 2547 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 103,390 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 15,975
ล้านบาท หรือร้อยละ 18.3 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 18.0) โดยเป็นรายได้สุทธิ 93,137 ล้านบาท สูงกว่าประ
มาณการตามเอกสารงบประมาณ 13,947 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.6 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.7)
การจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูงดังกล่าวข้างต้น เป็นผลมาจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร และกรม
สรรพสามิต ได้สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 21.4 และ 18.0 ตามลำดับ นอกจากนี้รัฐวิสาหกิจยังนำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมาย
เนื่องจากบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้นำส่งรายได้ก่อนกำหนด
1.1 ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่
- ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 27,195 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 5,630 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
26.1 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.0)
- ภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ 5,600 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,800 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.4
(สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 41.2)
- ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 8,048 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,122 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
16.2 และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.2
1.2 รายได้นำส่งคลังจากรัฐวิสาหกิจจำนวน 9,996 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,508 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 33.5 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 45.9) โดยมีรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ที่สำคัญๆ ดังนี้
- บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 4,500 ล้านบาท
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2,000 ล้านบาท
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 772 ล้านบาท
2. ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 (ตุลาคม 2546 - มีนาคม 2547)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 566,953 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจำนวน 108,084 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 23.6 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 83,987 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.4 โดยเป็นรายได้สุทธิทั้งสิ้นจำนวน 511,769
ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 99,817 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.2 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 73,076
ล้านบาท หรือร้อยละ 16.7
ทั้งนี้ การจัดเก็บรายได้ดังกล่าวข้างต้นเป็นการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมในสังกัดกระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร กรมสรรพ
สามิต และกรมศุลกากร) รวมทั้งสิ้น 494,335 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 76,979 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.4
(สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 16.1) โดยสรุปตามหน่วยงานจัดเก็บได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 301,670 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 58,269 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 23.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 20.5) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีทุกประเภทสูงกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่ง ภาษีเงินได้นิติบุคคล เก็บได้ สูงกว่าประมาณการร้อยละ 31.3 รองลงมาได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เก็บได้
สูงกว่าประมาณการร้อยละ 23.8 และ 14.5 ตามลำดับ
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 140,243 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 22,876 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 19.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.9) โดยจัดเก็บภาษีทุกประเภทได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีรถยนต์
ภาษีเบียร์ ภาษีสุรา และภาษีโทรคมนาคม จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 32.1 25.6 22.9 และ 20.2 ตามลำดับ
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 52,422 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,166 ล้านบาท คิดเป็น
ร้อยละ 7.4 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.5) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้ 50,890 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 4,530
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.2 และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.1 ซึ่งเป็นผลจากปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรเป็นหลัก ทำให้อากร
ขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่อง
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 72,618 ล้านบาท (รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่งจำนวน 25,075
ล้านบาท)สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 31,105 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74.9 และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 27.0
ประกอบด้วย
ส่วนราชการอื่นมีรายได้นำส่งคลัง 50,173 ล้านบาท (รวมรายได้จากการขายหุ้นให้กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง จำนวน 25,075
ล้านบาท) สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 27,876 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 125.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 101.1)
กรมธนารักษ์นำส่งรายได้ 1,628 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 962 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.1
(ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 39.8)
รัฐวิสาหกิจมีรายได้นำส่งคลัง 20,817 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 4,191 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
25.2 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 29.5) โดยมีรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ที่สำคัญๆ ดังนี้
- บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 4,500 ล้านบาท
- สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 4,332 ล้านบาท
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 4,000 ล้านบาท
3. สาเหตุสำคัญที่ทำให้การจัดเก็บรายได้ในช่วงครึ่งปีแรกของปีงบประมาณ 2547 สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูง
3.1 ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจของประเทศ ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ภาวะเศรษฐกิจของประเทศได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน
ถึงแม้จะมีผลกระทบจากปัจจัยลบ เช่น โรคไข้หวัดนก และสถานการณ์ทางภาคใต้ ก็ตาม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศยังคงเติบโตได้
อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตัวชี้วัดต่างๆของประเทศมีทิศทางที่ดีขึ้นและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประ
เทศ (GDP) ระดับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ อัตราการเติบโตการนำเข้าและส่งออก อัตราการขยายตัวของการบริโภค การผลิต และ
การลงทุน ตลอดจนอัตราการจ้างงาน เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มมากขึ้น
3.2 การจัดเก็บภาษีจากฐานการบริโภคที่ดีขึ้น สืบเนื่องมาจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบ
ประมาณ 2546 ซึ่งคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตลอดปีงบประมาณ 2547 โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญได้แก่รายได้จาก
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3.2 การจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้ที่ดีขึ้น เนื่องมาจากเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ผลประกอบการของนิติบุคคล รวม
ถึงรายได้ของบุคคลธรรมดามีแนวโน้มที่ดีส่งผลให้ภาษีจากฐานรายได้ดีขึ้นเป็นลำดับ
4. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล
จากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2547 ที่สูงกว่าเป้าหมายตามประมาณการทั้งเมื่อรวมผลกระทบจากงบประมาณราย
จ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2547 (135,500 ล้านบาท) และการค้าและการส่งออกกับประเทศคู่ค้าหลักที่มีแนวโน้มดีขึ้นแล้ว คาดว่า
จะทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2547 จะยังคงสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการในอัตราที่สูง
ตารางที่ 1
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือนมีนาคม 2547 1/
หน่วย : ล้านบาท
เทียบปีนี้กับปีที่แล้ว
ที่มาของรายได้ ปีนี้ ปีที่แล้ว จำนวน ร้อยละ งปม.ทั้งปีเท่ากับ จำนวน ร้อยละ
928,100 ล้านบาท
1. กรมสรรพากร 55,408 47,023 8,385 17.8 46,944 8,464 18.0
1.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 17,935 16,466 1,469 8.9 16,600 1,335 8.0
1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล 8,048 7,651 397 5.2 6,926 1,122 16.2
1.3 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม - 71 (71) (100.0) - - -
1.4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม 27,195 21,410 5,785 27.0 21,565 5,630 26.1
1.5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ 1,608 955 653 68.4 1,428 180 12.6
1.6 อากรแสตมป์ 600 452 148 32.7 413 187 45.3
1.7 อื่นๆ 22 18 4 22.2 12 10 83.3
2. กรมสรรพสามิต 24,861 22,309 2,552 11.4 20,479 4,382 21.4
2.1 ภาษีน้ำมันฯ 6,906 6,773 133 2.0 6,409 497 7.8
2.2 ภาษียาสูบ 3,220 3,139 81 2.6 2,930 290 9.9
2.3 ภาษีสุราฯ 2,611 2,514 97 3.9 1,966 645 32.8
2.4 ภาษีเบียร์ 3,828 3,549 279 7.9 3,351 477 14.2
2.5 ภาษีรถยนต์ 5,600 3,966 1,634 41.2 3,800 1,800 47.4
2.6 ภาษีเครื่องดื่ม 1,038 917 121 13.2 730 308 42.2
2.7 ภาษีเครื่องไฟฟ้า 295 219 76 34.7 202 93 46.0
2.8 ภาษีรถจักรยานยนต์ 147 139 8 5.8 129 18 14.0
2.9 ภาษีแบตเตอรี่ 61 47 14 29.8 44 17 38.6
2.10 ภาษีโทรคมนาคม 1,024 945 79 8.4 835 189 22.6
2.11 ภาษีอื่น2/ 84 83 1 1.2 73 11 15.1
2.12 รายได้อื่น 47 18 29 161.1 10 37 370.0
3. กรมศุลกากร 9,113 8,894 219 2.5 9,579 (466) (4.9)
3.1 อากรขาเข้า 8,972 8,820 152 1.7 9,412 (440) (4.7)
3.2 อากรขาออก 27 22 5 22.7 26 1 3.8
3.3 รายได้อื่น 114 52 62 119.2 141 (27) (19.1)
รวมรายได้ 3 กรม 89,382 78,226 11,156 14.3 77,002 12,380 16.1
4. หน่วยงานอื่น 14,008 9,373 4,635 49.5 10,413 3,595 34.5
4.1 ส่วนราชการอื่น 3,7863/ 2,428 1,358 55.9 2,733 1,053 38.5
4.2 กรมธนารักษ์ 2263/ 94 132 140.4 192 34 17.7
4.3 แปรรูปรัฐวิสาหกิจ - - - - - - -
4.4 รัฐวิสาหกิจ 9,996 6,851 3,145 45.9 7,488 2,508 33.5
รวมรายได้จัดเก็บ (Gross) 103,390 87,599 15,791 18.0 87,415 15,975 18.3
หัก
1. คืนภาษีของกรมสรรพากร 8,8193/ 6,518 2,301 35.3 7,091 1,728 24.4
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7,887 5,674 2,213 39.0 6,176 1,711 27.7
- ภาษีอื่นๆ 932 844 88 10.4 915 17 1.9
2. จัดสรรรายได้จาก VAT ให้ อบจ. 542 427 115 26.9 378 164 43.4
3. เงินกันชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก 8923/ 829 63 7.6 756 136 18.0
รวมรายได้สุทธิ (Net) 4/ 93,137 79,825 13,312 16.7 79,190 13,947 17.6
หมายเหตุ
1/ ตัวเลขเบื้องต้น ณ วันที่ 12 เมษายน 2547
2/ ภาษีไพ่ ภาษีแก้วฯ ภาษีเครื่องหอม ภาษีเรือ ภาษีพรม ภาษีสนามม้า ภาษีสนามกอล์ฟ ภาษีสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
ภาษีไนท์คลับและดิสโก้เธค ภาษีสถานอาบน้ำหรืออบตัวและนวด
3/ ตัวเลขคาดการณ์
4/ เป็นรายได้สุทธิก่อนการจัดสรรให้อปท.
ที่มา กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร
จัดทำโดย : กลุ่มนโยบายการคลังและงบประมาณ สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 28/2547 19 เมษายน 2547--
-นท-