ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.อนุญาตให้ ธพ.ประกอบธุรกรรมอนุพันธ์ซื้อขายสินค้าล่วงหน้า ผู้อำนวยการอาวุโส สาย
นโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้อนุญาตให้ ธพ.ทำธุรกรรม
อนุพันธ์ด้าน Commodity (การซื้อขายสินค้าล่วงหน้า) เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความ
ผันผวนของราคาสินค้า โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 8 เม.ย.47 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การทำธุรกรรมดังกล่าวให้อ้าง
อิงกับราคาสินค้าที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546 ได้แก่ น้ำมัน สินค้าเกษตร (ถั่วเหลือง
กาแฟ น้ำตาล และน้ำมันปาล์ม) โลหะมีค่า (เงิน) และโลหะอื่นๆ (ดีบุก ทองแดง สังกะสี และอลูมิเนียม)
โดย ธพ.จะต้องขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อ
ขอเป็นผู้ประกอบธุรกิจตามหลักเกณฑ์ และสามารถให้บริการธุรกรรมกับผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ ก.ล.ต.
กำหนดเท่านั้น (โลกวันนี้)
2. ภาพรวมสถานะทางการเงินของ บจ.ฟื้นตัวขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น รายงาน
ข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.ได้ศึกษา
วิจัยและจัดกลุ่มบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินตามสถานะทางการเงิน โดยใช้ข้อมูลจากผล
การดำเนินงานครึ่งแรกของปี 46 ทั้งสิ้น 321 บริษัท มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 1,901,786.88 ล.บาท
โดยปัจจัยที่นำมาเป็นเกณฑ์การจัดกลุ่ม ประกอบด้วย โครงสร้างหนี้สิน ความสามารถในการชำระ
ราคาดอกเบี้ยจ่าย และความสามารถในการทำกำไรระยะยาว ซึ่งสามารถแบ่ง บจ.ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1)
กลุ่มที่มีฐานะการเงินแข็งแรง 2)กลุ่มที่มีฐานะการเงินปานกลาง และ 3)กลุ่มที่มีฐานะการเงินอ่อนแอ พบว่า
บจ.กลุ่มแรกมีจำนวนมากที่สุดถึง 153 บริษัท คิดเป็น 47% ของจำนวน บจ.ที่วิเคราะห์ โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์
1.4 ล้านล้านบาท คิดเป็น 75% ของ บจ.ที่จัดกลุ่ม นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์พบว่า บจ.กลุ่มที่มีฐานการ
เงินแข็งแรง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอดในอัตราเฉลี่ย 18% ต่อปี ขณะที่ บจ.ที่มีฐานะการเงินอ่อนแอ มีแนว
โน้มลดลงต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ย 22% ต่อปี สอดคล้องกับการปรับตัวของภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในทิศทางขาขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผลการดำเนินงานของ บจ.โดยภาพรวมปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
3. สถานการณ์ค้าปลีกช่วงต้นปี 47 อยู่ในเกณฑ์ดี นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
เปิดเผยถึงสถานการณ์ค้าปลีกในช่วงต้นปี 47ว่า กำลังซื้อในการจับจ่ายใช้สอยยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากในปี
47 ราคาผลผลิตทางการเกษตรได้ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการปรับเงินเดือนข้าราชการทั่วประเทศที่เป็น
แรงกระตุ้นการซื้อ นอกจากนี้ ปัจจัยวัดอัตรากำลังซื้อที่เห็นได้ชัดอีกประการหนึ่ง คือ การขยายการลงทุนของผู้
ประกอบการค้าปลีกไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการเติบโตของกำลังซื้อในต่างจังหวัดได้เป็น
อย่างดี อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยลบที่ต้องเฝ้าระวังในไตรมาสที่ 2 ของปี ได้แก่ ราคาน้ำมันและสถานการณ์ก่อ
การร้าย ที่จะส่งผลกระทบในแง่จิตวิทยาให้ผู้บริโภคต้องระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธ.ออมสินศึกษาแนวทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในโครงการธนาคารประชาชน แหล่งข่าว
จาก ธ.ออมสิน เปิดเผยว่า ผู้อำนวยการ ธ.ออมสิน ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้ในการลด
อัตราดอกเบี้ยในโครงการธนาคารประชาชนที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 1% ต่อเดือน เพื่อเตรียมการแข่งขันกับ ธพ.
และ ธพ.รัฐ ซึ่งมีความสนใจการปล่อยสินเชื่อลูกค้าระดับรากหญ้ามากขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าอัตราที่เหมาะสมจะอยู่ที่
0.75% ต่อเดือน (ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปี 47 จาก 4.1% เป็น 4.6%
รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 16 เม.ย.47 IMF ได้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปี
47 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 4.1% เป็น 4.6% และคาดว่าในปี 48 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวด
เร็วและจะมีอัตราการเติบโต 4.4% โดยเป็นผลจากการค้าโลกพัฒนาอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการมองภาพในแง่
ดีของตลาดการเงินและเศรษฐกิจของ สรอ. ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม IMF ได้ปรับ
ลดการคาดการณ์เติบโตทางเศรษฐกิจปี 47 ของ 12 ประเทศในเขตยูโรโซนลงเหลือ 1.7% จากเดิม 1.9%
และคาดว่าในปี 48 จะเติบโต 2.3% ส่วนเศรษฐกิจของเยอรมนีซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรปในปี 47
ได้ปรับเพิ่มจาก 1.5% เป็น 1.6% และคาดว่าปี 48 จะเติบโต 1.9% เนื่องจากการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในขณะที่การบริโภคภายในประเทศยังมีปัญหาอยู่บ้าง ทางด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่นปี 47 ได้ปรับเพิ่มขึ้นกว่าเท่า
ตัวจากเดิม 1.4% เป็น 3.4% เนื่องจากมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้รวมถึงความ
สำเร็จในการแก้ปัญหาภาวะเงินฝืดของประเทศ สำหรับ สรอ. นั้น IMF คาดว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดใน
ปีนี้จะลดลงเพียงเล็กน้อย โดยอาจอยู่ที่ประมาณ 4% ของจีดีพี และยังได้กล่าวเตือนเกี่ยวกับนโยบายการคลัง
ของ สรอ. ว่าจะกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจของ สรอ. และเศรษฐกิจโลกในระยะปานกลางได้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้จะ
ลดลง รายงานจากโรม เมื่อ 16 เม.ย.47 สำนักวิจัยเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรป 3 แห่ง คือ Ifo ของ
เยอรมนี INSEE ของฝรั่งเศส และ ISAE ของอิตาลี ได้ร่วมกันคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ของเขตเศรษฐกิจยุโรปจากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจว่า ในไตรมาสแรกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 0.3 และ
ร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปีนี้ เมื่อเทียบต่อไตรมาส จากผลสำรวจธุรกิจยังลังเลที่จะลงทุน
เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินยูโร โดยคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะไม่ขยายตัวในช่วง 6
เดือนแรกของปีนี้ และขยายตัวร้อยละ 0.3 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ใน
ไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ในส่วนการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรก
และร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2 ก่อนที่จะลดลงเหลือร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และคาดว่า
อัตราเงินเฟ้อจะคงที่อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสสุด
ท้ายปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
3. OECD ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 18 เม.ย.47 หนังสือพิมพ์ The Financial Times Deutschland (FTD)
เปิดเผยว่า องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา (OECD) ได้ประกาศปรับลดประมาณการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 47 ลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2 จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ระดับร้อยละ 1.4
ต่างจากเป้าหมายของนายกรัฐมนตรีของเยอรมนี (Gerhard Schroeder) ที่ตั้งเป้าการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของประเทศในปีนี้ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.5-2.0 นอกจากนี้ OECD ยังได้คาดการณ์ว่า การขาดดุลงบ
ประมาณในปี 48 ของเยอรมนีจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.2 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) อันเป็นระดับที่
มากกว่าร้อยละ 3.0 ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 ทั้งนี้ ภายใต้ข้อบังคับทางด้านงบประมาณของสหภาพยุโรป กลุ่ม
ประเทศสมาชิกต้องรักษาระดับการขาดดุลงบประมาณให้อยู่ในระดับต่ำ โดยมีระดับเพดานที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ
3 ของจีดีพี นอกจากนี้ OECD ยังได้คาดการณ์ระดับการขาดดุลงบประมาณของกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปในปี
47 และ 48 ดังนี้ ฝรั่งเศสอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 และ 3.5 อิตาลีอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.4 และ 4.3 และ
โปรตุเกสอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 และ 3.2 ตามลำดับ ขณะที่เนเธอร์แลนด์จะมีระดับการขาดดุลงบประมาณที่
ลดลงจากร้อยละ 3.4 ในปีนี้ เป็นร้อยละ 2.9 ในปีหน้า (รอยเตอร์)
4. Fitch ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ปรับลดลงในเขตยูโรโซน
รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 47 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch ได้ปรับเพิ่มประมาณ
การการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกในปีนี้เป็นร้อยละ 3.6 จากเดิมร้อยละ 2.8 เนื่องจากการฟื้นตัวอย่าง
แข็งแกร่งของสรอ. และญี่ปุ่น ผลักดันในเศรษฐกิจโลกขยายตัวมากกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตามแนวโน้มระยะ
กลางยังคงไม่ชัดเจนเนื่องจากความไม่สมดุลทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศของประเทศที่มีระบบ
เศรษฐกิจที่สำคัญๆของโลกรวมทั้งความไม่แน่นอนของอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ และงบประมาณที่ใช้กระตุ้น
เศรษฐกิจส่งผลให้เศรษฐกิจสรอ. ในช่วงครึ่งหลังปี 46 เติบโตสูงกว่าร้อยละ 3.0 เท่านั้น ซึ่งเป็นการยากที่
จะอธิบายว่าทำไมเศรษฐกิจสรอ. จึงไม่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นอก
จากนั้นเงินเฟ้ออาจจะกดดันให้สรอ. ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ส่วนการขาดดุลงบประมาณของสรอ.
คาดว่าเกือบถึงร้อยละ 4.7 เท่ากับปีที่แล้ว แต่สำหรับเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนนั้น Fitch ได้ปรับลดประมาณ
การการขยายตัวทางเศรษฐกิจลง จากเดิมร้อยละ 1.8 เหลือร้อยละ 1.6 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19/4/47 16/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.464 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.2845/39.5663 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 712.20/24.44 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,500/7,600 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.24 32.77 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.อนุญาตให้ ธพ.ประกอบธุรกรรมอนุพันธ์ซื้อขายสินค้าล่วงหน้า ผู้อำนวยการอาวุโส สาย
นโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้อนุญาตให้ ธพ.ทำธุรกรรม
อนุพันธ์ด้าน Commodity (การซื้อขายสินค้าล่วงหน้า) เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากความ
ผันผวนของราคาสินค้า โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 8 เม.ย.47 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การทำธุรกรรมดังกล่าวให้อ้าง
อิงกับราคาสินค้าที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546 ได้แก่ น้ำมัน สินค้าเกษตร (ถั่วเหลือง
กาแฟ น้ำตาล และน้ำมันปาล์ม) โลหะมีค่า (เงิน) และโลหะอื่นๆ (ดีบุก ทองแดง สังกะสี และอลูมิเนียม)
โดย ธพ.จะต้องขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อ
ขอเป็นผู้ประกอบธุรกิจตามหลักเกณฑ์ และสามารถให้บริการธุรกรรมกับผู้ลงทุนประเภทสถาบันตามที่ ก.ล.ต.
กำหนดเท่านั้น (โลกวันนี้)
2. ภาพรวมสถานะทางการเงินของ บจ.ฟื้นตัวขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น รายงาน
ข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.ได้ศึกษา
วิจัยและจัดกลุ่มบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินตามสถานะทางการเงิน โดยใช้ข้อมูลจากผล
การดำเนินงานครึ่งแรกของปี 46 ทั้งสิ้น 321 บริษัท มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 1,901,786.88 ล.บาท
โดยปัจจัยที่นำมาเป็นเกณฑ์การจัดกลุ่ม ประกอบด้วย โครงสร้างหนี้สิน ความสามารถในการชำระ
ราคาดอกเบี้ยจ่าย และความสามารถในการทำกำไรระยะยาว ซึ่งสามารถแบ่ง บจ.ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1)
กลุ่มที่มีฐานะการเงินแข็งแรง 2)กลุ่มที่มีฐานะการเงินปานกลาง และ 3)กลุ่มที่มีฐานะการเงินอ่อนแอ พบว่า
บจ.กลุ่มแรกมีจำนวนมากที่สุดถึง 153 บริษัท คิดเป็น 47% ของจำนวน บจ.ที่วิเคราะห์ โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์
1.4 ล้านล้านบาท คิดเป็น 75% ของ บจ.ที่จัดกลุ่ม นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์พบว่า บจ.กลุ่มที่มีฐานการ
เงินแข็งแรง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอดในอัตราเฉลี่ย 18% ต่อปี ขณะที่ บจ.ที่มีฐานะการเงินอ่อนแอ มีแนว
โน้มลดลงต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ย 22% ต่อปี สอดคล้องกับการปรับตัวของภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในทิศทางขาขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผลการดำเนินงานของ บจ.โดยภาพรวมปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
3. สถานการณ์ค้าปลีกช่วงต้นปี 47 อยู่ในเกณฑ์ดี นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทย
เปิดเผยถึงสถานการณ์ค้าปลีกในช่วงต้นปี 47ว่า กำลังซื้อในการจับจ่ายใช้สอยยังอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากในปี
47 ราคาผลผลิตทางการเกษตรได้ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการปรับเงินเดือนข้าราชการทั่วประเทศที่เป็น
แรงกระตุ้นการซื้อ นอกจากนี้ ปัจจัยวัดอัตรากำลังซื้อที่เห็นได้ชัดอีกประการหนึ่ง คือ การขยายการลงทุนของผู้
ประกอบการค้าปลีกไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดการเติบโตของกำลังซื้อในต่างจังหวัดได้เป็น
อย่างดี อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยลบที่ต้องเฝ้าระวังในไตรมาสที่ 2 ของปี ได้แก่ ราคาน้ำมันและสถานการณ์ก่อ
การร้าย ที่จะส่งผลกระทบในแง่จิตวิทยาให้ผู้บริโภคต้องระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธ.ออมสินศึกษาแนวทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในโครงการธนาคารประชาชน แหล่งข่าว
จาก ธ.ออมสิน เปิดเผยว่า ผู้อำนวยการ ธ.ออมสิน ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ศึกษาความเป็นไปได้ในการลด
อัตราดอกเบี้ยในโครงการธนาคารประชาชนที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 1% ต่อเดือน เพื่อเตรียมการแข่งขันกับ ธพ.
และ ธพ.รัฐ ซึ่งมีความสนใจการปล่อยสินเชื่อลูกค้าระดับรากหญ้ามากขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าอัตราที่เหมาะสมจะอยู่ที่
0.75% ต่อเดือน (ไทยโพสต์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. IMF ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปี 47 จาก 4.1% เป็น 4.6%
รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 16 เม.ย.47 IMF ได้ปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกในปี
47 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ 4.1% เป็น 4.6% และคาดว่าในปี 48 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวด
เร็วและจะมีอัตราการเติบโต 4.4% โดยเป็นผลจากการค้าโลกพัฒนาอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการมองภาพในแง่
ดีของตลาดการเงินและเศรษฐกิจของ สรอ. ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม IMF ได้ปรับ
ลดการคาดการณ์เติบโตทางเศรษฐกิจปี 47 ของ 12 ประเทศในเขตยูโรโซนลงเหลือ 1.7% จากเดิม 1.9%
และคาดว่าในปี 48 จะเติบโต 2.3% ส่วนเศรษฐกิจของเยอรมนีซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรปในปี 47
ได้ปรับเพิ่มจาก 1.5% เป็น 1.6% และคาดว่าปี 48 จะเติบโต 1.9% เนื่องจากการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในขณะที่การบริโภคภายในประเทศยังมีปัญหาอยู่บ้าง ทางด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่นปี 47 ได้ปรับเพิ่มขึ้นกว่าเท่า
ตัวจากเดิม 1.4% เป็น 3.4% เนื่องจากมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้รวมถึงความ
สำเร็จในการแก้ปัญหาภาวะเงินฝืดของประเทศ สำหรับ สรอ. นั้น IMF คาดว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดใน
ปีนี้จะลดลงเพียงเล็กน้อย โดยอาจอยู่ที่ประมาณ 4% ของจีดีพี และยังได้กล่าวเตือนเกี่ยวกับนโยบายการคลัง
ของ สรอ. ว่าจะกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจของ สรอ. และเศรษฐกิจโลกในระยะปานกลางได้ (รอยเตอร์)
2. คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้จะ
ลดลง รายงานจากโรม เมื่อ 16 เม.ย.47 สำนักวิจัยเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรป 3 แห่ง คือ Ifo ของ
เยอรมนี INSEE ของฝรั่งเศส และ ISAE ของอิตาลี ได้ร่วมกันคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ของเขตเศรษฐกิจยุโรปจากผลสำรวจความเห็นของธุรกิจว่า ในไตรมาสแรกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 0.3 และ
ร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปีนี้ เมื่อเทียบต่อไตรมาส จากผลสำรวจธุรกิจยังลังเลที่จะลงทุน
เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินยูโร โดยคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะไม่ขยายตัวในช่วง 6
เดือนแรกของปีนี้ และขยายตัวร้อยละ 0.3 ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ใน
ไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ในส่วนการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสแรก
และร้อยละ 0.5 ในไตรมาสที่ 2 ก่อนที่จะลดลงเหลือร้อยละ 0.4 ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และคาดว่า
อัตราเงินเฟ้อจะคงที่อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสสุด
ท้ายปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
3. OECD ปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2
รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 18 เม.ย.47 หนังสือพิมพ์ The Financial Times Deutschland (FTD)
เปิดเผยว่า องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนา (OECD) ได้ประกาศปรับลดประมาณการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 47 ลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2 จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ระดับร้อยละ 1.4
ต่างจากเป้าหมายของนายกรัฐมนตรีของเยอรมนี (Gerhard Schroeder) ที่ตั้งเป้าการเติบโตทาง
เศรษฐกิจของประเทศในปีนี้ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.5-2.0 นอกจากนี้ OECD ยังได้คาดการณ์ว่า การขาดดุลงบ
ประมาณในปี 48 ของเยอรมนีจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.2 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) อันเป็นระดับที่
มากกว่าร้อยละ 3.0 ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 ทั้งนี้ ภายใต้ข้อบังคับทางด้านงบประมาณของสหภาพยุโรป กลุ่ม
ประเทศสมาชิกต้องรักษาระดับการขาดดุลงบประมาณให้อยู่ในระดับต่ำ โดยมีระดับเพดานที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ
3 ของจีดีพี นอกจากนี้ OECD ยังได้คาดการณ์ระดับการขาดดุลงบประมาณของกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปในปี
47 และ 48 ดังนี้ ฝรั่งเศสอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 และ 3.5 อิตาลีอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.4 และ 4.3 และ
โปรตุเกสอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.8 และ 3.2 ตามลำดับ ขณะที่เนเธอร์แลนด์จะมีระดับการขาดดุลงบประมาณที่
ลดลงจากร้อยละ 3.4 ในปีนี้ เป็นร้อยละ 2.9 ในปีหน้า (รอยเตอร์)
4. Fitch ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก แต่ปรับลดลงในเขตยูโรโซน
รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 47 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch ได้ปรับเพิ่มประมาณ
การการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกในปีนี้เป็นร้อยละ 3.6 จากเดิมร้อยละ 2.8 เนื่องจากการฟื้นตัวอย่าง
แข็งแกร่งของสรอ. และญี่ปุ่น ผลักดันในเศรษฐกิจโลกขยายตัวมากกว่าที่คาดไว้ อย่างไรก็ตามแนวโน้มระยะ
กลางยังคงไม่ชัดเจนเนื่องจากความไม่สมดุลทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศของประเทศที่มีระบบ
เศรษฐกิจที่สำคัญๆของโลกรวมทั้งความไม่แน่นอนของอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ และงบประมาณที่ใช้กระตุ้น
เศรษฐกิจส่งผลให้เศรษฐกิจสรอ. ในช่วงครึ่งหลังปี 46 เติบโตสูงกว่าร้อยละ 3.0 เท่านั้น ซึ่งเป็นการยากที่
จะอธิบายว่าทำไมเศรษฐกิจสรอ. จึงไม่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นอก
จากนั้นเงินเฟ้ออาจจะกดดันให้สรอ. ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ส่วนการขาดดุลงบประมาณของสรอ.
คาดว่าเกือบถึงร้อยละ 4.7 เท่ากับปีที่แล้ว แต่สำหรับเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนนั้น Fitch ได้ปรับลดประมาณ
การการขยายตัวทางเศรษฐกิจลง จากเดิมร้อยละ 1.8 เหลือร้อยละ 1.6 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 19/4/47 16/4/47 30/1/47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 39.464 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 39.2845/39.5663 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1250 - 1.2500 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 712.20/24.44 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,500/7,600 7,450/7,550 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 32.24 32.77 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* 16.99*/14.59* ปตท.
* ปรับลด เมื่อ 10 ม.ค.47 ตามนโยบายรักษาเสถึยรภาพราคาน้ำมันของรัฐบาล
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-