สศอ. ชี้ภาวะการผลิตและจำหน่ายอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์กระเตื้อง ฟื้นวิกฤติไข้หวัดนก ขยายตัวเพิ่มร้อยละ 8-12 เหตุอุตสาหกรรมหลักทำ 5 ดัชนีอุตสาหกรรมพุ่ง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก อิเล็กทรอนิกส์ และก่อสร้าง ยอดการจำหน่ายเพิ่ม สนองความต้องการผู้บริโภค เตือนผู้ประกอบการเตรียมเผชิญวิกฤตต้นทุนน้ำมันและก๊าซพุ่ง หวั่นกระทบการผลิตในบางอุตสาหกรรม
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 (ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม) เมื่อเทียบกับเดือนก่อน พบว่า ดัชนีอุตสาหกรรมในภาพรวมอยู่ในภาวะที่เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม โดยมี 5 ดัชนีหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 125.76 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.63 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 133.48 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.19 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 130.66 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.08 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม145.42 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4 .97 ดัชนีอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 62.39 ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่ลดลง ได้แก่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 132.40 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.17 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 120.27 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 3.92 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 104.18 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.64
ทั้งนี้ สศอ. ได้ประเมินภาวะการผลิตและจำหน่ายอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า มีทิศทางการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8-12 จากที่คาดการณ์ว่าจะลดลงประมาณ ร้อยละ 3.6-4.6 ซึ่งผลมาจากภาวะการผลิตปลากระป๋อง และอาหารทะเลแช่แข็งในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะการที่บางบริษัทได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้ารายใหม่เข้ามา และผู้ประกอบการริเริ่มแผนการเปิดตลาดใหม่ พร้อมกับการวางแผนเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการสร้างสินค้าแบรนด์เนมใหม่
ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก อิเล็กทรอนิกส์ และก่อสร้าง ที่มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้มีการออกแคมเปญและประชาสัมพันธ์สินค้าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เช่าซื้ออยู่ในระดับที่ต่ำมาก จึงเป็นเหตุให้ยอดการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ในส่วนของอุตสาหกรรมเหล็ก มีการผลิตและจำหน่ายที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก สาเหตุหลักมาจาก การบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อย และเหล็กลวด เนื่องจากช่วงนี้ธุรกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์มีอัตราการเติบโตสูงมาก ขณะเดียวกัน กลุ่มพ่อค้าคนกลางได้คาดว่าราคาวัตถุดิบบิลเลต และเหล็กเส้น มีราคาสูงขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม และจะปรับตัวสูงขึ้นอีก จึงเพิ่มคำสั่งซื้อเพื่อเก็บสต๊อกสินค้าสำเร็จรูปไว้
ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 125.76 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.63 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.34 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในงานทั่วไปอื่นๆ และ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้น เครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์
ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 130.66 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.08 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.57 อุตสาหกรรมที่ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และ การผลิตลวดและเคเบิ้ลที่หุ้มฉนวน
ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ145.42 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4 .97 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การแปรรูปผลไม้และผัก การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ การผลิตอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น และ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้น เครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์
อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 62.39 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.59 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตยานยนต์ การแปรรูปผลไม้และผัก การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 132.40 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.17 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีทีผ่านมา ดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.45 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่ การแปรรูป และการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตน้ำมันจากพืช การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ และวิทยุ
ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 120.27 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 3.92 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 5.75 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การแปรรูป และการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 104.18 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ1.64 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.61 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่ การผลิตสิ่งทอสำเร็จรูป ยกเว้นเครื่องแต่งกาย การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ การผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทีมลาก การผลิตน้ำตาล และ การผลิตรองเท้า
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ.ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม โดยคาดการณ์ว่า ภาวะอุตสาหกรรมในเดือนนี้ยังมีทิศทางการขยายตัวที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีบทบาททางเศรษฐกิจ เช่น รถยนต์ ก่อสร้าง อิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโรคหวัดนกระบาดอยู่บ้าง แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการส่งออกในช่วงต้นปี ส่วนผลกระทบที่คาดว่าผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญปัญหาในระยะต่อไป คือ การเผชิญปัญหาต้นทุนด้านเชื้อเพลิงทั้งน้ำมัน และก๊าซที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบในการผลิต และส่งสินค้าในบางอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 (ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม) เมื่อเทียบกับเดือนก่อน พบว่า ดัชนีอุตสาหกรรมในภาพรวมอยู่ในภาวะที่เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม โดยมี 5 ดัชนีหลักที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 125.76 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.63 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 133.48 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.19 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 130.66 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.08 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม145.42 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4 .97 ดัชนีอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับ 62.39 ส่วนดัชนีอุตสาหกรรมที่ลดลง ได้แก่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 132.40 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.17 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 120.27 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 3.92 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 104.18 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.64
ทั้งนี้ สศอ. ได้ประเมินภาวะการผลิตและจำหน่ายอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่า มีทิศทางการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8-12 จากที่คาดการณ์ว่าจะลดลงประมาณ ร้อยละ 3.6-4.6 ซึ่งผลมาจากภาวะการผลิตปลากระป๋อง และอาหารทะเลแช่แข็งในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะการที่บางบริษัทได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้ารายใหม่เข้ามา และผู้ประกอบการริเริ่มแผนการเปิดตลาดใหม่ พร้อมกับการวางแผนเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการสร้างสินค้าแบรนด์เนมใหม่
ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก อิเล็กทรอนิกส์ และก่อสร้าง ที่มีการผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้มีการออกแคมเปญและประชาสัมพันธ์สินค้าอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เช่าซื้ออยู่ในระดับที่ต่ำมาก จึงเป็นเหตุให้ยอดการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ในส่วนของอุตสาหกรรมเหล็ก มีการผลิตและจำหน่ายที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก สาเหตุหลักมาจาก การบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เหล็กในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง เหล็กเส้น เหล็กข้ออ้อย และเหล็กลวด เนื่องจากช่วงนี้ธุรกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์มีอัตราการเติบโตสูงมาก ขณะเดียวกัน กลุ่มพ่อค้าคนกลางได้คาดว่าราคาวัตถุดิบบิลเลต และเหล็กเส้น มีราคาสูงขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนมกราคม และจะปรับตัวสูงขึ้นอีก จึงเพิ่มคำสั่งซื้อเพื่อเก็บสต๊อกสินค้าสำเร็จรูปไว้
ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 125.76 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.63 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.34 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้ในงานทั่วไปอื่นๆ และ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้น เครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์
ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 130.66 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4.08 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.57 อุตสาหกรรมที่ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอ รวมถึงการทอสิ่งทอ การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ และ การผลิตลวดและเคเบิ้ลที่หุ้มฉนวน
ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ145.42 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 4 .97 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63 ซึ่งอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การแปรรูปผลไม้และผัก การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ การผลิตอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น และ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้น เครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์
อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 62.39 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.59 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตยานยนต์ การแปรรูปผลไม้และผัก การผลิตเครื่องแต่งกายยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 132.40 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.17 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีทีผ่านมา ดัชนีเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.45 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่ การแปรรูป และการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การผลิตน้ำมันจากพืช การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ และวิทยุ
ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 120.27 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 3.92 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 5.75 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่ การผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ การแปรรูป และการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 104.18 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ1.64 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.61 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่ การผลิตสิ่งทอสำเร็จรูป ยกเว้นเครื่องแต่งกาย การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ การผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทีมลาก การผลิตน้ำตาล และ การผลิตรองเท้า
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า สศอ.ยังได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้มดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม โดยคาดการณ์ว่า ภาวะอุตสาหกรรมในเดือนนี้ยังมีทิศทางการขยายตัวที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีบทบาททางเศรษฐกิจ เช่น รถยนต์ ก่อสร้าง อิเล็กทรอนิกส์ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโรคหวัดนกระบาดอยู่บ้าง แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการส่งออกในช่วงต้นปี ส่วนผลกระทบที่คาดว่าผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญปัญหาในระยะต่อไป คือ การเผชิญปัญหาต้นทุนด้านเชื้อเพลิงทั้งน้ำมัน และก๊าซที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบในการผลิต และส่งสินค้าในบางอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-