สศอ. เปิดเวทีประชุมความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ไทยเล็งส่งเสริมอุตสาหกรรมต้นน้ำในประเทศ หวังลดพึ่งพาการนำเข้า ตลอดจน ร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูล กำหนดมาตรฐานสินค้า เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทยสู่สากล
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) ได้ดำเนินการจัดประชุม “The First Japan -Thailand Steel Dialogue” เพื่อประสานความร่วมมือการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กระหว่างกัน โดยจะเน้นด้านการค้าและเชื่อมโยงข้อมูล ติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหว รวมทั้ง มุ่งร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและกำหนดมาตรฐานสินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ อันจะนำไปสู่การใช้อุตสาหกรรมเหล็กเพื่อทดแทนการนำเข้าได้มากขึ้น
จากการหารือร่วมกันระหว่างสองประเทศ ได้มีการวางแผนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทย รวมถึง การหาแนวทางแก้ไขปัญหา ภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ และราคาเหล็กปรับสูงขึ้น ซึ่งทาง สศอ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมผลักดันแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำภายในประเทศ รวมทั้ง แนวทางในการทดแทนการนำเข้าเหล็กของไทย
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า นอกจากการสร้างความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุนแล้ว ยังได้มีการเสนอความร่วมมือด้านสถิติข้อมูลและวิชาการ โดยทั้งสองฝ่ายจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือกันกำหนดมาตรฐานสินค้า อีกทั้ง ขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของไทย
ทั้งนี้ จะพบว่า ภาวะการผลิตเหล็กในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในแถบทวีปเอเชีย ปริมาณการใช้เหล็กเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เนื่องจาก ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ถือเป็นปัจจัยสำคัญเชื่อมโยงกับในทุกๆภาคการผลิต ในขณะที่ ภาคอุตสาหกรรมกำลังขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วนั้น ทำให้ปริมาณการผลิตเหล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า ความต้องการใช้เหล็กโดยรวมในปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
จากการรวบรวมข้อมูลสถิติการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้า พบว่าในปี 2546 มีมูลค่าทั้งสิ้น 70,338.7 ล้านบาท แหล่งส่งออกสำคัญ คือ จีน (มูลค่า 8,107.6 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 99.58) ญี่ปุ่น (มูลค่า 7,862.4 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 21.14) มาเลเซีย (มูลค่า 6,798.9 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 58.22) สหรัฐอเมริกา (มูลค่า 6,726.1 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ -27.13) และ ฮ่องกง (มูลค่า 5,840.3 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 51.19) ตามลำดับ
สำหรับมูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าของไทย เพิ่มขึ้น เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 157,133.8 ล้านบาท แหล่งนำเข้าสำคัญ คือ ญี่ปุ่น (มูลค่า 67,245.5 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 19.77) รัสเซีย (มูลค่า 15,112.7 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 11.54) ยูเครน (มูลค่า 9,053.0 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ -36.32) บราซิล(มูลค่า 8,663.8 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 21.28) และเกาหลีใต้ (มูลค่า 8,016.4 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 6.14) ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) ได้ดำเนินการจัดประชุม “The First Japan -Thailand Steel Dialogue” เพื่อประสานความร่วมมือการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กระหว่างกัน โดยจะเน้นด้านการค้าและเชื่อมโยงข้อมูล ติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหว รวมทั้ง มุ่งร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและกำหนดมาตรฐานสินค้า เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ อันจะนำไปสู่การใช้อุตสาหกรรมเหล็กเพื่อทดแทนการนำเข้าได้มากขึ้น
จากการหารือร่วมกันระหว่างสองประเทศ ได้มีการวางแผนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทย รวมถึง การหาแนวทางแก้ไขปัญหา ภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ และราคาเหล็กปรับสูงขึ้น ซึ่งทาง สศอ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมผลักดันแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำภายในประเทศ รวมทั้ง แนวทางในการทดแทนการนำเข้าเหล็กของไทย
นางชุตาภรณ์ กล่าวเสริมว่า นอกจากการสร้างความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุนแล้ว ยังได้มีการเสนอความร่วมมือด้านสถิติข้อมูลและวิชาการ โดยทั้งสองฝ่ายจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความร่วมมือกันกำหนดมาตรฐานสินค้า อีกทั้ง ขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของไทย
ทั้งนี้ จะพบว่า ภาวะการผลิตเหล็กในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในแถบทวีปเอเชีย ปริมาณการใช้เหล็กเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เนื่องจาก ปัจจุบันอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ถือเป็นปัจจัยสำคัญเชื่อมโยงกับในทุกๆภาคการผลิต ในขณะที่ ภาคอุตสาหกรรมกำลังขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็วนั้น ทำให้ปริมาณการผลิตเหล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า ความต้องการใช้เหล็กโดยรวมในปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
จากการรวบรวมข้อมูลสถิติการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้า พบว่าในปี 2546 มีมูลค่าทั้งสิ้น 70,338.7 ล้านบาท แหล่งส่งออกสำคัญ คือ จีน (มูลค่า 8,107.6 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 99.58) ญี่ปุ่น (มูลค่า 7,862.4 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 21.14) มาเลเซีย (มูลค่า 6,798.9 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 58.22) สหรัฐอเมริกา (มูลค่า 6,726.1 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ -27.13) และ ฮ่องกง (มูลค่า 5,840.3 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 51.19) ตามลำดับ
สำหรับมูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าของไทย เพิ่มขึ้น เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 157,133.8 ล้านบาท แหล่งนำเข้าสำคัญ คือ ญี่ปุ่น (มูลค่า 67,245.5 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 19.77) รัสเซีย (มูลค่า 15,112.7 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 11.54) ยูเครน (มูลค่า 9,053.0 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ -36.32) บราซิล(มูลค่า 8,663.8 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 21.28) และเกาหลีใต้ (มูลค่า 8,016.4 ล้านบาท อัตราการขยายตัวร้อยละ 6.14) ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-กภ-