การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมี นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ขอหารือในเรื่องต่าง ๆ แล้ว เมื่อครบองค์ประชุม ประธานได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม (ไม่มี)
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
๔. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้พิจารณา เรื่องด่วน ตามที่ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ได้เสนอให้มีการเลื่อนระเบียบวาระต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาตามลำดับ ดังนี้
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปราย ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับกรณีที่วุฒิสภาแก้ไขในบางมาตราเกี่ยวกับเรื่องโทษในการประพฤติผิดจรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกันจึงเห็นควรให้พิจารณาให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง ที่ประชุมจึงได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณา จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน วุฒิสภา ๑๒ คน
๒.พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยี ปทุมวัน พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปรายไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับกรณีที่วุฒิสภาแก้ไขถ้อยคำในส่วนของคำปรารภ รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับ วุฒิสภาที่แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำว่า " สถาบันจะยุติหรือชะลอการศึกษาของนักศึกษาผู้ใดด้วยเหตุเพียงว่าผู้นั้นขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริงเพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษาต่าง ๆ ให้แก่สถาบันมิได้ " แต่กลับไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์เอาไว้อย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นนักศึกษาผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นในทางปฏิบัติได้หากมีนักศึกษากล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมทั้งอาจเป็นการ ก่อภาระแก่สถาบันในอนาคตได้ และเรื่องของนายกสมาคมศิษย์เก่าและสภานักศึกษาซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่ก่อตั้งขึ้นแต่กับมีการเขียนเอาไว้ในร่างฯ อาจเป็นการไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ในการที่กำหนดให้มีบุคคล ภายนอกเข้าไปเป็นกรรมการในสภาวิชาการของสถาบันอาจไม่เหมาะสมและทำให้เกิดความยุ่งยากในการประชุมสภาวิชาการของสถาบันได้ จึงเห็นควรให้พิจารณาทบทวนเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยอีกครั้ง
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณา จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน วุฒิสภา ๑๒ คน
๓.พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปรายไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับกรณีที่วุฒิสภาแก้ไขในบางมาตรา โดยคำว่า "ข้าราชการพลเรือน" ในมาตรา ๓๔ วุฒิสภาตัดถ้อยคำ เหลือเพียงคำว่า "ข้าราชการ" ซึ่งมีความหมาย กว้างมากอาจทำให้เกิดปัญหาการตีความได้ รวมทั้งมีบางมาตราที่วุฒิสภามิได้แก้ไขแต่วิปรัฐบาลเห็นว่าอาจขัดกับรัฐธรรมนูญที่วางหลักไว้ว่า พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดีและเทียบเท่า และทรงให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย แต่ในร่างฯนี้ การออกจากราชการของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งเทียบเท่าระดับ ๑๐ ขึ้นไป และตำแหน่งศาสตราจารย์ ระบุแต่เพียงให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบเท่านั้น ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้ง ซึ่งในบางตำแหน่งเป็นอำนาจของสภาสถาบัน แต่วุฒิสภาได้มีการแก้ไขถ้อยคำในบางมาตรา อาจทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งทางกฎหมายได้ จึงเห็นควรให้พิจารณา ทบทวนเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยอีกครั้ง ที่ประชุมจึงได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณา จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน วุฒิสภา ๑๒ คน
๔.ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. (นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติการวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. …. (นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. (นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้รวมพิจารณาในคราวเดียวกัน
หลังจากนั้น นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า โดยที่งานด้านกระบวนการยุติธรรมมีความจำเป็นต่อการสร้างความสงบเรียบร้อยให้เกิดแก่สังคม ทั้งในด้านการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม การคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้กับประชาชน การบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายและให้เกิดความสะดวกแก่ประชาชน แต่เนื่องจากในปัจจุบัน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรมมีอยู่หลายองค์กร ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบตามกฎหมายในแต่ละด้านแยกจากกัน จึงมีปัญหาในการบริหารงานด้านกระบวนการยุติธรรมที่ยังไม่มีความเชื่อมโยงเพื่อแก้ไขปัญหาให้ครบถ้วนทุกด้านไปพร้อมกัน ฉะนั้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการ
ประสานการบริหารงานยุติธรรมของชาติให้เป็นไปโดยสอดคล้องกัน และมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้การอำนวยความยุติธรรมมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของสังคม สมควรส่งเสริมให้องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรมซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการใช้กฎหมายด้านต่าง ๆ ได้ร่วมกันวางแผนการบริหารงานยุติธรรมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในกระบวนการยุติธรรม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศได้ต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องประโยชน์ของกฎหมายนี้ ต่อการบริหารงานของกระบวนการยุติธรรมและเกี่ยวข้องอย่างไรกับการเข้าไปดูแลการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ของรัฐในบางส่วน เรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติ เรื่องที่ฝ่ายบริหารอาจใช้ประโยชน์จากกฎหมายนี้ในการแทรกแซงหน่วยงานอิสระของกระบวนการยุติธรรม เรื่องสภาพบังคับของกฎหมายฉบับนี้ เรื่องการตีความของศาลยุติธรรมในเรื่องขององค์คณะในการพิจารณาคดีและเรื่องของการพิจารณาคดีต่อเนื่องเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติหรือไม่ เรื่องการดำเนินการ
เกี่ยวกับพยานหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม เรื่องที่ว่าเหตุใดจึงไม่กำหนดให้มีกรรมการการเลือกตั้ง ในคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติ เรื่องระยะเวลาในการกำหนดแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ เรื่ององค์ประชุมของคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติ และเรื่องความคล่องตัวในการจัดทำแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติเปรียบเทียบระหว่างคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติกับรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบ ซึ่งนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้ชี้แจงว่า กฎหมายฉบับนี้จะเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกันอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยที่หน่วยงานต่าง ๆ จะเป็นผู้พิจารณาแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติร่วมกัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาร่วมกันได้อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้เป็นไปโดยสุจริตนนั้นส่วนหนึ่งจะถูกกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติมาตฐานการปฏิบัติงานด้าน นิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. …. ซึ่งก็จะได้เสนอให้ที่ประชุมได้พิจารณาในลำดับต่อไปเป็นการสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม ในเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติเหตุที่ไม่ระบุตำแหน่งของผู้ที่เป็นกรรมการซึ่งมาจากศาลให้ชัดเจนนั้น เช่น ศาลยุติธรรมหากกำหนดให้ประธานศาลฎีกามาเป็นกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติก็คงจะไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่ง จึงได้กำหนดไว้แต่เพียงว่าให้มีผู้แทนของศาลเป็นกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติเท่านั้น ในเรื่องของการแทรกแซงการทำงานของฝ่ายบริหารต่อการทำงานที่เป็นอิสระของหน่วยงานต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมก็ได้มีการบัญญัติให้การคุ้มครองเอาไว้แล้วในร่างฯ ฉบับนี้ ในเรื่องสภาพบังคับของกฎหมายฉบับนี้สามารถบังคับหน่วยงานต่าง ๆ ให้ต้องปฏิบัติตามก็โดยอาศัยกลไก ในเรื่องของวิธีการ
งบประมาณเป็นเครื่องมือใช้บังคับ ในเรื่องการตีความรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับเรื่องขององค์คณะในการพิจารณาคดีและการพิจารณาคดีต่อเนื่องซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องของการประสานการทำงานกัน ซึ่งหากทนายความมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น ก็สามารถเสนอผ่านนายกสภาทนายความ ซึ่งเป็นกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติเพื่อนำเข้าหารือในคณะกรรมาการยุติธรรมแห่งชาติได้ โดยแต่เดิมไม่มีกลไกนี้ในกระบวนการยุติธรรม ในเรื่องของการดำเนินการเกี่ยวกับพยานหลักฐานในคดีต่าง ๆ นั้น กฎหมายฉบับนี้จะทำให้เกิดการทำงานประสานกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในการที่จะทำให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานในคดีต่าง ๆ เป็นไปด้วยความรวดเร็วและครบถ้วน ในเรื่องเหตุใดจึงไม่ตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งมาเป็นกรรมการการ ยุติธรรมแห่งชาติด้วยนั้น ก็เนื่องจากเห็นว่าหน้าที่ความรับผิดชอบของ กกต. นั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ และหากจะมีการดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม กกต.ก็จะต้องส่งเรื่องให้อัยการดำเนินคดีต่อศาลอยู่แล้ว ในเรื่องระยะเวลาในการกำหนดแผนแม่บทนั้นเหตุที่กำหนดไว้ ๔ ปี ก็เพื่อให้มีระยะเวลาในการเตรียมการพอสมควร ซึ่งระยะเวลา ๔ ปีนั้นเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว ในเรื่องที่ว่าอาจเกิดปัญหาองค์ประชุมไม่ครบเนื่องจากกรรมการหลายท่านเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับ ปลัดกระทรวงอาจติดภารกิจไม่สามารถมาประชุมได้นั้นก็สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นมาประชุมแทนได้ซึ่งก็จะทำให้หมดปัญหาในเรื่องขององค์ประชุม ในเรื่องของความคล่องตัวในการจัดทำแผนแม่บทการบริหารการยุติธรรมแห่งชาตินั้นการที่จะมอบให้รัฐมนตรีเป็นผู้จัดทำแผนแม่บทการบริหารการยุติธรรมแห่งชาติย่อมคล่องตัวกว่าอย่างแน่นอน แต่เนื่องจากมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากและไม่เฉพาะแต่หน่วยงานของกระทรวงยุติธรรมหรือฝ่ายบริหารเท่านั้น แต่มีหน่วยงานของศาล หน่วยงานอิสระอื่น ๆ อีก ดังนั้นการกำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมกันในการจัดทำแผ่นแม่บทการบริหารการยุติธรรมถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและเหมาะสมกว่า หลังจากอภิปรายพอสมควรแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติ เห็นชอบ ๓๕๑ เสียง ไม่เห็นชอบไม่มี งดออกเสียงไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๕ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
ต่อมาเป็นการพิจารณาวาระที่ ๑ เรื่องด่วนที่ ๑๖ ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติศาสตร์ พ.ศ. …. ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกันเสนอโดย นายสุทัศน์ เงินหมื่น และคณะ ประธานฯ จึงขอให้ยกมาพิจารณาในคราวเดียวกัน โดยนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวถึงเหตุผลตามที่ได้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและการพัฒนาระบบราชการ เป็นการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวยความ ยุติธรรมในสังคม เพราะงานด้านนิติวิทยาศาสตร์เป็นงานที่ช่วยสนับสนุนให้การอำนวยความยุติธรรมมี ประสิทธิภาพ ในขณะที่ นายสุทัศน์ เงินหมื่น กล่าวถึงเหตุผลเสนอกฎหมายฉบับนี้เนื่องจากงานด้านชันสูตรพลิกศพ การตรวจร่างกาย การตรวจวินิจฉัยสภาพจิตและประสาทของบุคคล หรือการตรวจพิสูจน์
หลักฐานในกรณีที่มีการกระทำความผิดอาญา หรือต้องการยืนยันความถูกต้องของบุคคลหรือสิ่งของจำเป็นที่จะต้องกระทำโดยผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตเที่ยงธรรม
จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติในหลายประเด็นเพื่อนำไปเป็นข้อสังเกตในการพิจารณาขั้นกรรมาธิการฯ โดยเฉพาะการปฏิบัติงานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ควรเป็นไปโดยการนำขององค์กรมิใช่การปฏิบัติงานโดดเด่นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทั้งนี้ประชาชนควรได้รับทราบหน้าที่ความรับผิดชอบของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ องค์ประกอบของคณะกรรมการ
มาตรฐานงานด้านนิติวิทยาศาสตร์มีความเหมาะสมหรือไม่ และความเป็นอิสระในการให้ความเห็นตามหลักวิชาการของผู้ปฏิบัติงานนิติวิทยาศาสตร์มากน้อย ซึ่งโดยข้อเท็จจริงจักต้องมีความเป็นอิสระ ในด้านของการจัดเตรียมงบประมาณ บุคลากร และค่าตอบแทน ควรให้สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบและควรเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการชันสูตรกรณีผู้ตายเป็นอิสลามเพราะเกี่ยวข้องกับการจัดพิธีการศาสนาด้วย นอกจากนี้ควรวางระบบมาตรฐานการพิสูจน์กรณีการถูกฆาตกรรมจากบุคคลผู้ชำนาญการด้านการฆาตกรรมและการเสียชีวิตจากสารพิษ ทั้งจากการปฏิบัติจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือการถูกวางยาพิษ ควรได้วางระบบการจัดการให้มีมาตรฐานที่ชัดเจนและควรพัฒนาระบบงานให้สามารถนำภาคเอกชน เข้ามาร่วมปฏิบัติงานด้วย จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ทั้งสองฉบับด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ ๓๔๙ เสียง โดยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาจำนวน ๓๕ คน ภายใน ๑๕ วัน
ปิดการประชุมเวลา ๑๙.๑๕ นาฬิกา
---------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
๑. กระทู้ถาม (ไม่มี)
๒. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม (ไม่มี)
๓. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
๔. เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้พิจารณา เรื่องด่วน ตามที่ นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ได้เสนอให้มีการเลื่อนระเบียบวาระต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณาตามลำดับ ดังนี้
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. ….
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปราย ไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับกรณีที่วุฒิสภาแก้ไขในบางมาตราเกี่ยวกับเรื่องโทษในการประพฤติผิดจรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกันจึงเห็นควรให้พิจารณาให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง ที่ประชุมจึงได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณา จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน วุฒิสภา ๑๒ คน
๒.พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยี ปทุมวัน พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปรายไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับกรณีที่วุฒิสภาแก้ไขถ้อยคำในส่วนของคำปรารภ รวมทั้งไม่เห็นด้วยกับ วุฒิสภาที่แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำว่า " สถาบันจะยุติหรือชะลอการศึกษาของนักศึกษาผู้ใดด้วยเหตุเพียงว่าผู้นั้นขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริงเพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษาต่าง ๆ ให้แก่สถาบันมิได้ " แต่กลับไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์เอาไว้อย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นนักศึกษาผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์อย่างแท้จริง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นในทางปฏิบัติได้หากมีนักศึกษากล่าวอ้างว่าตนเป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมทั้งอาจเป็นการ ก่อภาระแก่สถาบันในอนาคตได้ และเรื่องของนายกสมาคมศิษย์เก่าและสภานักศึกษาซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่ก่อตั้งขึ้นแต่กับมีการเขียนเอาไว้ในร่างฯ อาจเป็นการไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ในการที่กำหนดให้มีบุคคล ภายนอกเข้าไปเป็นกรรมการในสภาวิชาการของสถาบันอาจไม่เหมาะสมและทำให้เกิดความยุ่งยากในการประชุมสภาวิชาการของสถาบันได้ จึงเห็นควรให้พิจารณาทบทวนเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยอีกครั้ง
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณา จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน วุฒิสภา ๑๒ คน
๓.พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. …. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๑๗๕ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้อภิปรายไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับกรณีที่วุฒิสภาแก้ไขในบางมาตรา โดยคำว่า "ข้าราชการพลเรือน" ในมาตรา ๓๔ วุฒิสภาตัดถ้อยคำ เหลือเพียงคำว่า "ข้าราชการ" ซึ่งมีความหมาย กว้างมากอาจทำให้เกิดปัญหาการตีความได้ รวมทั้งมีบางมาตราที่วุฒิสภามิได้แก้ไขแต่วิปรัฐบาลเห็นว่าอาจขัดกับรัฐธรรมนูญที่วางหลักไว้ว่า พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดีและเทียบเท่า และทรงให้พ้นจากตำแหน่ง เว้นแต่กรณีที่พ้นจากตำแหน่งเพราะความตาย แต่ในร่างฯนี้ การออกจากราชการของข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งเทียบเท่าระดับ ๑๐ ขึ้นไป และตำแหน่งศาสตราจารย์ ระบุแต่เพียงให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบเท่านั้น ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้ง ซึ่งในบางตำแหน่งเป็นอำนาจของสภาสถาบัน แต่วุฒิสภาได้มีการแก้ไขถ้อยคำในบางมาตรา อาจทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งทางกฎหมายได้ จึงเห็นควรให้พิจารณา ทบทวนเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยอีกครั้ง ที่ประชุมจึงได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกัน เพื่อพิจารณา จำนวน ๒๔ คน โดยสัดส่วนของสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๒ คน วุฒิสภา ๑๒ คน
๔.ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) และมีร่างพระราชบัญญัติที่มีลักษณะทำนองเดียวกันได้แก่
ร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. (นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ และนายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ เป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติการวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม พ.ศ. …. (นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. (นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ)
ที่ประชุมจึงได้มีมติให้รวมพิจารณาในคราวเดียวกัน
หลังจากนั้น นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้แถลงต่อที่ประชุมว่า โดยที่งานด้านกระบวนการยุติธรรมมีความจำเป็นต่อการสร้างความสงบเรียบร้อยให้เกิดแก่สังคม ทั้งในด้านการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม การคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้กับประชาชน การบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายและให้เกิดความสะดวกแก่ประชาชน แต่เนื่องจากในปัจจุบัน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรมมีอยู่หลายองค์กร ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบตามกฎหมายในแต่ละด้านแยกจากกัน จึงมีปัญหาในการบริหารงานด้านกระบวนการยุติธรรมที่ยังไม่มีความเชื่อมโยงเพื่อแก้ไขปัญหาให้ครบถ้วนทุกด้านไปพร้อมกัน ฉะนั้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการ
ประสานการบริหารงานยุติธรรมของชาติให้เป็นไปโดยสอดคล้องกัน และมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะทำให้การอำนวยความยุติธรรมมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของสังคม สมควรส่งเสริมให้องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรมซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการใช้กฎหมายด้านต่าง ๆ ได้ร่วมกันวางแผนการบริหารงานยุติธรรมและแก้ไขปัญหาอุปสรรคในกระบวนการยุติธรรม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศได้ต่อไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางในเรื่องประโยชน์ของกฎหมายนี้ ต่อการบริหารงานของกระบวนการยุติธรรมและเกี่ยวข้องอย่างไรกับการเข้าไปดูแลการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ของรัฐในบางส่วน เรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติ เรื่องที่ฝ่ายบริหารอาจใช้ประโยชน์จากกฎหมายนี้ในการแทรกแซงหน่วยงานอิสระของกระบวนการยุติธรรม เรื่องสภาพบังคับของกฎหมายฉบับนี้ เรื่องการตีความของศาลยุติธรรมในเรื่องขององค์คณะในการพิจารณาคดีและเรื่องของการพิจารณาคดีต่อเนื่องเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติหรือไม่ เรื่องการดำเนินการ
เกี่ยวกับพยานหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม เรื่องที่ว่าเหตุใดจึงไม่กำหนดให้มีกรรมการการเลือกตั้ง ในคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติ เรื่องระยะเวลาในการกำหนดแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรม แห่งชาติ เรื่ององค์ประชุมของคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติ และเรื่องความคล่องตัวในการจัดทำแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติเปรียบเทียบระหว่างคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติกับรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบ ซึ่งนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้ชี้แจงว่า กฎหมายฉบับนี้จะเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมต่าง ๆ ให้ทำงานร่วมกันอย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยที่หน่วยงานต่าง ๆ จะเป็นผู้พิจารณาแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติร่วมกัน ทำให้สามารถแก้ปัญหาร่วมกันได้อย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้เป็นไปโดยสุจริตนนั้นส่วนหนึ่งจะถูกกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติมาตฐานการปฏิบัติงานด้าน นิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. …. ซึ่งก็จะได้เสนอให้ที่ประชุมได้พิจารณาในลำดับต่อไปเป็นการสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม ในเรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติเหตุที่ไม่ระบุตำแหน่งของผู้ที่เป็นกรรมการซึ่งมาจากศาลให้ชัดเจนนั้น เช่น ศาลยุติธรรมหากกำหนดให้ประธานศาลฎีกามาเป็นกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติก็คงจะไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่ง จึงได้กำหนดไว้แต่เพียงว่าให้มีผู้แทนของศาลเป็นกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติเท่านั้น ในเรื่องของการแทรกแซงการทำงานของฝ่ายบริหารต่อการทำงานที่เป็นอิสระของหน่วยงานต่าง ๆ ในกระบวนการยุติธรรมก็ได้มีการบัญญัติให้การคุ้มครองเอาไว้แล้วในร่างฯ ฉบับนี้ ในเรื่องสภาพบังคับของกฎหมายฉบับนี้สามารถบังคับหน่วยงานต่าง ๆ ให้ต้องปฏิบัติตามก็โดยอาศัยกลไก ในเรื่องของวิธีการ
งบประมาณเป็นเครื่องมือใช้บังคับ ในเรื่องการตีความรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับเรื่องขององค์คณะในการพิจารณาคดีและการพิจารณาคดีต่อเนื่องซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องของการประสานการทำงานกัน ซึ่งหากทนายความมีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น ก็สามารถเสนอผ่านนายกสภาทนายความ ซึ่งเป็นกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติเพื่อนำเข้าหารือในคณะกรรมาการยุติธรรมแห่งชาติได้ โดยแต่เดิมไม่มีกลไกนี้ในกระบวนการยุติธรรม ในเรื่องของการดำเนินการเกี่ยวกับพยานหลักฐานในคดีต่าง ๆ นั้น กฎหมายฉบับนี้จะทำให้เกิดการทำงานประสานกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในการที่จะทำให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐานในคดีต่าง ๆ เป็นไปด้วยความรวดเร็วและครบถ้วน ในเรื่องเหตุใดจึงไม่ตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งมาเป็นกรรมการการ ยุติธรรมแห่งชาติด้วยนั้น ก็เนื่องจากเห็นว่าหน้าที่ความรับผิดชอบของ กกต. นั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งเป็นส่วนใหญ่ และหากจะมีการดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม กกต.ก็จะต้องส่งเรื่องให้อัยการดำเนินคดีต่อศาลอยู่แล้ว ในเรื่องระยะเวลาในการกำหนดแผนแม่บทนั้นเหตุที่กำหนดไว้ ๔ ปี ก็เพื่อให้มีระยะเวลาในการเตรียมการพอสมควร ซึ่งระยะเวลา ๔ ปีนั้นเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมแล้ว ในเรื่องที่ว่าอาจเกิดปัญหาองค์ประชุมไม่ครบเนื่องจากกรรมการหลายท่านเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับ ปลัดกระทรวงอาจติดภารกิจไม่สามารถมาประชุมได้นั้นก็สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นมาประชุมแทนได้ซึ่งก็จะทำให้หมดปัญหาในเรื่องขององค์ประชุม ในเรื่องของความคล่องตัวในการจัดทำแผนแม่บทการบริหารการยุติธรรมแห่งชาตินั้นการที่จะมอบให้รัฐมนตรีเป็นผู้จัดทำแผนแม่บทการบริหารการยุติธรรมแห่งชาติย่อมคล่องตัวกว่าอย่างแน่นอน แต่เนื่องจากมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากและไม่เฉพาะแต่หน่วยงานของกระทรวงยุติธรรมหรือฝ่ายบริหารเท่านั้น แต่มีหน่วยงานของศาล หน่วยงานอิสระอื่น ๆ อีก ดังนั้นการกำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาร่วมกันในการจัดทำแผ่นแม่บทการบริหารการยุติธรรมถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและเหมาะสมกว่า หลังจากอภิปรายพอสมควรแล้ว ที่ประชุมก็ได้ลงมติ เห็นชอบ ๓๕๑ เสียง ไม่เห็นชอบไม่มี งดออกเสียงไม่มี ไม่ลงคะแนนไม่มี ให้รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. …. ไว้พิจารณาต่อไป และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นเพื่อพิจารณา จำนวน ๓๕ คน กำหนดการแปรญัตติภายใน ๑๕ วัน โดยถือเอาร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา
ต่อมาเป็นการพิจารณาวาระที่ ๑ เรื่องด่วนที่ ๑๖ ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติศาสตร์ พ.ศ. …. ซึ่งมีร่างพระราชบัญญัติในทำนองเดียวกันเสนอโดย นายสุทัศน์ เงินหมื่น และคณะ ประธานฯ จึงขอให้ยกมาพิจารณาในคราวเดียวกัน โดยนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้กล่าวถึงเหตุผลตามที่ได้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและการพัฒนาระบบราชการ เป็นการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวยความ ยุติธรรมในสังคม เพราะงานด้านนิติวิทยาศาสตร์เป็นงานที่ช่วยสนับสนุนให้การอำนวยความยุติธรรมมี ประสิทธิภาพ ในขณะที่ นายสุทัศน์ เงินหมื่น กล่าวถึงเหตุผลเสนอกฎหมายฉบับนี้เนื่องจากงานด้านชันสูตรพลิกศพ การตรวจร่างกาย การตรวจวินิจฉัยสภาพจิตและประสาทของบุคคล หรือการตรวจพิสูจน์
หลักฐานในกรณีที่มีการกระทำความผิดอาญา หรือต้องการยืนยันความถูกต้องของบุคคลหรือสิ่งของจำเป็นที่จะต้องกระทำโดยผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตเที่ยงธรรม
จากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติในหลายประเด็นเพื่อนำไปเป็นข้อสังเกตในการพิจารณาขั้นกรรมาธิการฯ โดยเฉพาะการปฏิบัติงานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ควรเป็นไปโดยการนำขององค์กรมิใช่การปฏิบัติงานโดดเด่นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทั้งนี้ประชาชนควรได้รับทราบหน้าที่ความรับผิดชอบของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ องค์ประกอบของคณะกรรมการ
มาตรฐานงานด้านนิติวิทยาศาสตร์มีความเหมาะสมหรือไม่ และความเป็นอิสระในการให้ความเห็นตามหลักวิชาการของผู้ปฏิบัติงานนิติวิทยาศาสตร์มากน้อย ซึ่งโดยข้อเท็จจริงจักต้องมีความเป็นอิสระ ในด้านของการจัดเตรียมงบประมาณ บุคลากร และค่าตอบแทน ควรให้สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบและควรเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการชันสูตรกรณีผู้ตายเป็นอิสลามเพราะเกี่ยวข้องกับการจัดพิธีการศาสนาด้วย นอกจากนี้ควรวางระบบมาตรฐานการพิสูจน์กรณีการถูกฆาตกรรมจากบุคคลผู้ชำนาญการด้านการฆาตกรรมและการเสียชีวิตจากสารพิษ ทั้งจากการปฏิบัติจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือการถูกวางยาพิษ ควรได้วางระบบการจัดการให้มีมาตรฐานที่ชัดเจนและควรพัฒนาระบบงานให้สามารถนำภาคเอกชน เข้ามาร่วมปฏิบัติงานด้วย จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ทั้งสองฉบับด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ ๓๔๙ เสียง โดยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาจำนวน ๓๕ คน ภายใน ๑๕ วัน
ปิดการประชุมเวลา ๑๙.๑๕ นาฬิกา
---------------------------------------------
กลุ่มงานสื่อมวลชน สำนักประชาสัมพันธ์
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร